Song Code Reads Graphic1 Graphic2 Graphic3

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ


รคลำไส้อักเสบติดต่อ

หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขคืออะไร

ตั้งแต่ปี 2521 หรือปี ค.ศ.1978

มีรายงานพบว่าสุนัขทุกอายุ ทุกเพศและทุกพันธุ์

สามารถเป็นไวรัสที่สามารถติดต่อที่รุนแรง

ที่ทำลายระบบทางเดินอาหาร เม็ดเลือดขาว

และในสุนัขบางตัวจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ

เกิดจากการติดเชื้อพาโวไวรัส (parvovirus: CPV)

ปัจจุบันเรียกโรคนี้ว่า

โรคติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัข

หรือโรคลำไส้อักเสบติดต่อ (canine parvoviral infection)

ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

การติดเชื้อพาโวไวรัส

สามารถแพร่กระจายจากสุนัขตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง

การติดต่อมีโอกาสมากขึ้นเมื่อสุนัขไปอยู่รวมกันมาก

เช่น ในงานประกวดสุนัข โรงเรียนฝึกสุนัข

คอกผสม หรือร้านขายผลิตภัณฑ์ของสุนัข

สนามเด็กเล่น หรือบริเวณอื่นๆ ที่เป์นที่อยู่ที่เล่น

หรือแหล่งรวมสุนัข ก็จะเป็นแหล่งที่ทำให้สุนัขปกติ

ไปรับเชื้อมาจากการสัมผัสได้

สุนัขที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หรือไว้ในคอก ในสวน

มีโอกาสที่จะสัมผัส หรือเล่นกับสุนัขตัวอื่นได้ยาก

จะมีโอกาสที่จะสัมผัสติดเชื้อไวรัสได้ยาก

การติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถติดต่อได้กับสุนัขด้วยกัน

หรือสัตว์ในตระกูลสุนัข

โรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัส

จะเกิดขึ้นเฉพาะแต่สุนัข หรือสัตว์ในตระกูลสุนัขเท่านั้น

จะไม่ก่อให้เกิดโรคลำไส้ใน สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคน

แต่สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคน

สามารถที่จะเป็นพาหะนำเชื้อพาโวไวรัส

มาติดกับสุนัขของตนเองได้

สุนัขสามารถติดเชื้อได้

จากอุจจาระของสุนัขที่ป่วยเป็นโรค

หรือของเหลวที่สุนัขป่วยอาเจียนออกมา

ในอุจจาระของสัตว์ป่วยจะพบมีเชื้ออยู่จำนวนมาก

พาโวไวรัสเป็นไวรัสที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมมาก

ไวรัสสามารถ มีชีวิตอยู่นอกตัวสัตว์

หรือในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน

ไวรัสสามารถแพร่กระจาย

จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ ด้วยการติดไปกับขน ผม

หรือเท้าของสุนัขที่ป่วย หรือติดเชื้อ

หรือเชื้อไวรัสอาจจะปนเปื้อนไปกับกรง

รองเท้า หรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ


เราจะทราบได้อย่างไร ว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัส

อาการเริ่มแรกของสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัส

คือ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและท้องเสีย อย่างรุนแรง

อุณหภูมิของร่างกายอาจจะสูงขึ้น

อุณหภูมิของร่างกายที่วัดจากทวารหนักของสุนัข

มีค่าประมาณ 101º - 102ºF

อาการป่วยดังกล่าวมักจะปรากฎขึ้น

ภายหลังจากที่สุนัขได้รับเชื้อ ไวรัสได้ประมาณ 5-7 วัน

ในระยะแรกของการติดเชื้อ(แสดงอาการแล้ว)

อุจจาระของสุนัขจะมีลักษณะเหลวมีสีออกเทา

หรือเหลืองเทา (yellow-gray)

ในบางครั้งอาการแรกเริ่ม

สุนัขอาจจะถ่ายเหลวโดยมีเลือดปนออกมาได้

เมื่อสุนัขมีการถ่ายเหลว หรืออาเจียนอย่างรุนแรง

ทำให้สุนัขสูญเสียน้ำและเกลือแร่

ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว

สุนัขป่วยบางตัวจะมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง

และถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีน้ำตาล

จนถึงสีแดง(มีเลือดปน)พุ่งจนตายได้

ในสุนัขบางตัวอุจจาระอาจจะมีลักษณะเหลวเท่านั้น

และสามารถฟื้นตัวจากการป่วยได้

อาการป่วยมักพบว่า

ลูกสุนัขจะแสดงอาการป่วยรุนแรงกว่าสุนัขโต

สุนัขมักจะตายภายใน 48-72 ชั่วโมง

หลังจากที่เริ่มแสดงอาการ

ลูกสุนัขมักจะตายด้วยภาวะช๊อค

โดยมักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน

ในอดีตพบว่าลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 5 เดือน

มีอัตราการป่วยค่อนข้างสูงและประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์

จะตายจากการติดเชื้อนี้

ปัจจุบันเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลาย

อัตราการป่วยและอัตราการตายจากการติดเชื้อจึงลดลง

เว้นแต่เจ้าของสุนัข ไม่ค่อยสนใจฉีดวัคซีน

ป้องกันโรคให้กับสุนัขเป็นประจำ

โอกาสป่วยเป็นโรคจึงมีมากขึ้น

ลูกสุนัขช่วงระหว่างหย่านม (1 เดือน)ถึงอายุ 6 เดือน

เป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค

มีรายงานการศึกษาพบว่า

สุนัขบางพันธุ์จะแสดงอาการป่วย

ที่มีความรุนแรงในบางสายพันธุ์

เช่น ร๊อตไวเลอร์ และโดเบอร์แมนพิ้นเชอร์

อาการป่วยของสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสอีกรูปแบบหนึ่ง

นอกเหนือไปจากการแสดงอาการของลำไส้อักเสบ

คือ การเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ(myocarditis)

ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน

ลูกสุนัขที่ป่วยในรูปแบบนี้มักจะไม่ แสดงอาการท้องเสีย

เนื่องจากเชื้อไวรัสจะมีการเจริญ

หรือแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกล้ามเนื้อหัวใจของลูกสุนัข

ลูกสุนัขที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ

อันเนื่องมาจากการติดเชื้อพาโวไวรัสจะมีอาการซึม

ไม่ดูดนมเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเสียชีวิต

ยังไม่มีการรักษาใดที่จำเพาะต่อการติดเชื้อในรูปแบบนี้

ลูกสุนัขที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อ

จะพบว่ามีความเสียหายของหัวใจ

แต่ลูกสุนัขอาจจะจะตาย ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว

หลังรอดจากการติดเชื้อในเวลาต่อมา

(เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน)


โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข

สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างไร

การวินิจฉัยจะอาศัยอาการทางคลินิก

แต่ทั้งนี้ต้องแยกโรคให้ได้

จากภาวะที่ทำให้สุนัข ท้องเสียและอาเจียนอื่นๆ

แต่สิ่งที่อาจจะแสดงให้เห็นว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัส

คือ การแพร่กระจายของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว

การตรวจวินิจฉัยยีนยันสามารถทำได้

ด้วยการแยกเชื้อไวรัสจากอุจจาระ

อย่างไรก็ตามยังไม่ยาชนิดใดที่จำเพาะ

ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้

การรักษาการโรคติดเชื้อพาโวไวรัส

ควรเริ่มทันทีเมื่อวินิจฉัยว่าสัตว์แสดงอาการป่วย

โดยเริ่มจากการให้สารน้ำ

เพื่อทดแทนภาวะการสูญเสียของเหลว

และเกลือแร่ของร่างกาย

ควบคุมอาการอาเจียนและท้องเสียของสุนัขป่วย

และป้องการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ

ควรให้ความอบอุ่นกับร่างกายของสุนัขป่วย

และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด.


การป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข

การป้องกันโรคลำไส้อักเสบ

จากการติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถทำได้

ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน

โดยปกติในลูกสุนัขมักจะเริ่มต้นฉีด

เมื่ออายุประมาณ 6-8 สัปดาห์

หลังจากนั้นจะฉีดวัคซีน

กระตุ้นอีกครั้งที่อายุประมาร 10-12 สัปดาห์

(ห่างจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน)

เพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอ

สำหรับการป้องกันโรค วัคซีนป้องกันโรคนี้

มีทั้งแบบที่แยกเป็นวัคซีนชนิดนี้เพียงอย่างเดียว

หรือรวมอยู่กับวัคซีนชนิดอื่น

เช่น ไข้หัด ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส หวัด เป็นต้น

ซึ่งเรียกวัคซีนประเภทนี้ว่า วัคซีนรวม

หลังจากนั้นจึงฉีดวัคซีนประจำทุกปี

ซึ่งควรสอบถามสัตวแพทย์

ถึงโปรแกรมการฉีดในลำดับต่อไปด้วย

กรณีที่สุนัขที่เลี้ยงเกิดป่วยติดเชื้อพาโวไวรัส

ต้องทำความสะอาดบริเวณกรง หรือคอก

หรือที่อยู่ของสุนัขป่วย

เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

ด้วยยาฆ่าเชื้อ พวกสารละลายโซเดียมไฮโดรคลอไรต์

ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อ

ที่มีใช้อยู่ในบ้าน อยู่แล้ว(ยาทำความห้องน้ำ ครัว)

อย่าลืมว่าเชื้อพาโวไวรัสนี้

สามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เป็นเดือนๆ

เจ้าของสุนัขควรป้องกัน

ไม่ให้สุนัขไปสัมผัสกับสิ่งขับถ่ายของสุนัขอื่นๆ

เมื่อนำมันออกไปนอกบ้าน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 6เดือน

ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง

สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายของสุนัข

ควรกำจัดทิ้งให้เร็วที่สุด ไม่ควรกัก หมักหมมไว้

ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจสอบ

ดูสิ่งขับถ่ายของสุนัขข้างบ้านด้วย

และควรแนะนำให้ปฏิบัติตาม

สุนัขจะได้ปลอดภัยไม่นำเชื้อมาให้กันและกัน

ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขของเรากำลังจะป่วย

ด้วยการติดเชื้อพาโวไวรัส

หรือโรคลำไส้อักเสบหรือไม่

ควร ปรึกษาสัตวแพทย์

การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพาโวไวรัสที่ดีที่สุด

คือป้องกันสุนัขไม่ให้ไปสัมผัสกับสุนัขอื่นๆ

โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้

*****************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 1:12:30 น.
Counter : 902 Pageviews.  

ไข้หัดสุนัข

ไข้หัดสุนัขคืออะไร


ข้หัดสุนัข หรือ canine distemper

เป็นโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ตระกูลสุนัข

ไข้หัด

เป็นโรคชนิดที่มีผลต่อประชากรสุนัขในโลก

มากที่สุดโรคหนึ่ง.

สุนัขที่โตเต็มที่ที่ติดเชื้อนี้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะตาย

ส่วนในลูกสุนัขอัตราการป่วยตายประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์

ในสุนัขบางตัวที่ป่วยและมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ

สุนัขอาจจะไม่ตายจากการติดเชื้อ

แต่มักจะมีความผิดปกติ(ตลอดไป)

เช่น เกี่ยวกับระบบประสาท

เนื่องจากเชื้อไวรัส

ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท

รวมทั้งประสาทรับกลิ่น การฟัง

หรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับการมองเห็น

ส่วนอาการที่ทำให้เกิดอัมพาตบางส่วน

หรือทั้งตัวพบได้น้อย

ส่วนโรคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปอดชื้น

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก

มักเกิดแทรกซ้อนขึ้นเมื่อสุนัขมีความอ่อนแอ

จากการติดเชื้อไวรัสไข้หัด

ลูกสุนัข หรือสุนัขที่มีอายุน้อยมักจะไวต่อการติดเชื้อ

แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นในสุนัขที่มีอายุมากได้เช่นกัน

แต่พบได้น้อยกว่า นั่นหมายความว่า

โรคไข้หัดสุนัขพบได้ในสุนัขทุกอายุ

แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ไวต่อการติดเชื้อไข้หัดสุนัข

ส่วนโรค "ไข้หัดแมว หรือ feline distemper"

เป็นโรคที่แตกต่างไปจากโรคไข้หัดสุนัข

เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน

โรคตับอักเสบชนิดติดต่อเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบในสุนัข

โรคนี้ในบางครั้งสามารถพบได้ว่า

สุนัขมีการติดเชื้อพร้อมกับโรคไข้หัดสุนัขได้

ทั้งโรคไข้หัดสุนัขและโรคตับอักเสบ

ติดต่อในสุนัขไม่ติดคน


ไข้หัดมีผลต่อสุนัขอย่างไร

โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง

สำหรับสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสขนาดเล็ก

เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขติดต่อได้

ด้วยการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากตา

และจมูกของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้

แต่การสัมผัสกับน้ำปัสสาวะและอุจจาระของสุนัขที่ป่วย

สามารถทำให้ติดโรคนี้ได้เหมือนกัน

สุนัขปกติสามารถติดเชื้อได้

โดยที่ไม่ได้สัมผัสกับสุนัขที่เป็นไข้หัดสุนัขก็ได้

คอกสุนัข หรือบริเวณที่สุนัขเล่น หรืออยู่ของสุนัขป่วย

อาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปยังสุนัขปกติได้

การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข

สามารถแพร่ไปได้โดยทางอากาศและวัตถุสิ่งของต่างๆ

อาการป่วยของสุนัขที่ป่วยด้วยโรคไข้หัดสุนัข

มักมีไม่มีรูปแบบที่แน่นอน

ด้วยเหตุนี้ในบางครั้งทำให้วินิจฉัยได้ช้า

ทำให้การรักษาทำได้ช้ากว่าปกติ

หรือละเลยโรคนี้ไป เนื่องจากในบางครั้ง

สุนัขจะมีอาการเหมือนกับเป็นหวัดอย่างรุนแรง

สุนัขส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคนี้

มักมีไข้สูงและสุนัขบางตัว

อาจจะพบอาการของหลอดลมอักเสบ

ปอดอักเสบและมีอาการกระเพาะอาหารอักเสบ

และลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงได้

อาการที่พบได้ในระยะแรกๆ

ของการติดเชื้อไข้หัดสุนัขคือ

เจ้าของอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการตาอักเสบ

ไม่สู้แสง มีขี้ตามาก สุนัขมีน้ำหนักตัวลด

ไอ อาเจียน และมีน้ำมูก

บางครั้งอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการท้องเสียร่วมด้วย

การติดเชื้อในระยะท้ายๆ มักจะพบว่า

เชื้อไวรัสมีการเข้าไปอยู่ในระบบประสาท

ทำให้สุนัขมีอาการอัมพฤก

มีอาการชักกระตุก เกร็งได้

สุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะซึม

ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกินอาหารด้วย

ในบางครั้ง หรือในสุนัขบางตัว

สุนัขป่วยอาจจะแสดงอาการไม่มาก หรือไม่ชัดเจน

ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้

เช่น สุนัขอาจจะมีไข้เพียงเล็กน้อย

เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

หรือถ้ามีภาวะปอดชื้น หรือมีการอักเสบของลำไส้

หรืออาการอื่นๆ เกิดขึ้น

มีผลทำให้การฟี้นตัวของสุนัขในกลุ่มนี้

ยาวนานออกไป (สุนัขกลุ่มนี้มักไม่ตาย)

ปัญหาทางระบบประสาทมักจะพบได้

ภายหลังจากที่สุนัขฟื้นตัวจากการป่วย(หลายสัปดาห์)

ในสุนัขบางราย เชื้อไวรัสจะทำให้มีการเจริญ

ของ tough keratin cells ของฝ่าเท้า

ทำให้ฝ่าเท้าหนาและแข็ง

โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่พบได้อย่างแพร่หลาย

และอาการป่วยจากการติดเชื้อค่อนข้างผันแปร

มีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง

ดังนั้นควรนำสุนัขที่สงสัยว่าป่วย

ไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจและวินิจฉัย

และรับการรักษาที่ถูกต้องเป็นการดีที่สุด


การป้องกัน

สุนัขที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข

มักจะมีภูมิต้านทานที่เพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัส

สุนัขจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกสุนัข

มักจะตายจากการติดเชื้อไวรัสนี้

การป้องกันโรคที่ดีที่สุด

คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค

แต่ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดเลย

ที่สามารถจะให้ภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิตของสุนัข

ดังนั้นสุนัขจึงต้องมีการฉีดวัคซีน

กระตุ้นเป็นประจำทุกปี

ลูกสุนัขที่เกิดมาจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้ในระดับหนึ่ง

ภูมิคุ้มกันนี้เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากแม่สุนัข

หลังจากที่คลอดออกมาแล้ว ผ่านทางนมน้ำเหลือง

(ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด)

ดังนั้นระดับภูมิคุ้มกันของลูกสุนัข

จึงขึ้นอยู่กับภูมิกันของแม่สุนัข

โดยทั่วไปมักมีระดับไม่สูงมากนัก

ภูมิคุ้มกันที่รับจากแม่สุนัขผ่านทางนมน้ำเหลืองนี้


จะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8 วัน

ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่

จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง

และลดลงประมาร 3 ใน 4 หรือ 75เปอร์เซ็นต์

ที่อายุประมาณ 2 สัปดาห์

ดังนั้นการฉีดวัคซีนให้กับลูกสุนัข

จึงมักกระทำเมื่อระดับภูมิคุ้มกันจากแม่หมดไป

ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตรวจวัด

ระดับภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด

แต่โดยทั่วไปมักจะทำการฉีดวัคซีนเข็มแรก

เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8 สัปดาห์


การมีสุขภาพดีของสุนัข

สัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพดี

จะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนที่มีความสุข

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีชีวิตที่ดี

เจ้าของสัตว์จะต้องให้ความใส่ใจ

ในการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด

และควรทำเป็นประจำ เพื่อลดโอกาสการป่วยชองสัตว์


ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา

หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์

เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้

พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา

หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย

สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง

หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ

ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ

หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ

หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน

หรืออ่อนเพลีย พบมีก้อนผิดปกติ

เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก

มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย

หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ

มีรังแค ขนร่วง มีแผลกดทับ

หรือมีขนหยิกหยอง หยาบไม่มันวาว

ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น

หรือพบมีหินปูนเกาะที่ฟันมาก

***************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 1:10:17 น.
Counter : 494 Pageviews.  

การป้องกันโรคเหงาในสุนัข

การป้องกันโรคเหงาในสุนัข


ทความพิเศษ

เรื่อง การป้องกันโรคเหงาในสุนัข

(สนับสนุนข้อมูลโดย น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี.)


อย่างไรที่เรียกว่าโรคเหงา

คุณคงไม่สามารถที่จะอยู่กับสุนัขได้ตลอดเวลา

สุนัขของคุณชอบเห่า ปัสสาวะเรี่ยราด

หรือชอบทำลายข้าวของบ้างหรือเปล่า

ถ้าเป็นอาจจะแสดงว่าสุนัขของคุณเป็นโรคเหงา

สุนัขเป็นสัตว์สังคม สุนัขป่าก็ยังอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง

สุนัขบ้านจะถือว่าสมาชิกในครอบครัว

คือฝูงของมันเช่นเดียวกัน

สุนัขที่สนิทกับเจ้าของหรือสมาชิกในครอบครัวมากๆ

จะเกิดอาการเครียดและเหงา

เมื่อถูกปล่อยให้อยู่เพียงลำพัง

โดยแสดงออกด้วยการเห่า ขุด กัดแทะ

และพยายามทำลายข้าวของในบ้าน

คุณต้องเข้าใจว่าสุนัขของคุณไม่ได้มีเจตนาแกล้ง

เพียงแต่มันรู้สึกไม่สบายใจเวลาที่ต้องอยู่เพียงลำพัง

และพยายามที่จะหาทางไปหาเจ้าของให้ได้

เช่น การขุด กัดแทะประตู

หรือทำไปเพื่อผ่อนคลายอารมณ์เครียด

เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ หรือรื้อข้าวของในบ้านมากัดเล่น


แล้วสุนัขของคุณเป็นโรคเหงาหรือเปล่า

คุณจะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขของคุณเป็นโรคเหงา

การที่สุนัขเห่า กัดทำลายของ

หรือ ขุดคุ้นทำลายสวนสวยของคุณ

ไม่ได้เป็นอาการของโรคเหงาเพียงอย่างเดียว

อาจจะมีอย่างอื่น เช่น คันฟัน ปวดฟัน ฯลฯ

ซึ่งต้องให้สัตวแพทย์ตรวจดูว่า

ไม่ได้มีสาเหตุจากโรคเหล่านี้ก่อน


สุนัขที่เป็นโรคเหงา

มักจะแสดงอาการเมื่อเจ้าของไม่อยู่ด้วย

หรือเห็นเจ้าของแต่เจ้าของไม่มาหา

สัตว์ก็จะแสดงอาการกระวนกระวาย

การแก้อาการเหงา

เป็นเรื่องที่คุณต้องทำงานมากทีเดียว

มีขั้นตอนหลายขั้นในการรักษาอาการอยู่ตัวเดียวไม่ได้

ซึ่งต้องทำไปพร้อมๆ กันหลายๆ ขั้นพร้อมๆ กันไป

เป้าหมายของแต่ละขั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ

- ลดความต้องการอยู่ใกล้ชิดเจ้าของของสุนัข

- เพิ่มความมั่นใจให้กับสุนัข

สุนัขที่มีความมั่นใจในตัวเอง

จะไม่กังวลกับการที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน

หรือถูกทิ้งไว้เพียงลำพัง

และจะไม่ทำลายข้าวของของคุณ

เช่นเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง

แต่ไม่ได้หมายความว่าสุนัขจะเฉยหรือเย็นชาเมื่อเห็นคุณ

เพียงแต่สุนัขเกิดความมั่นใจ

ว่าคุณจะไม่ได้ทิ้งเขาไปเฉยๆ โดยไม่กลับมา

ดังนั้นคุณต้องให้สุนัขมั่นใจ

ว่าทุกครั้งที่คุณออกจากบ้านไป

คุณจะกลับมาหาเขาทุกครั้ง


ขั้นแรก

ลดอาการดีใจหรือเสียใจสุดเหวี่ยง

เมื่อเวลาที่คุณเข้าหรือออกจากบ้าน

เมื่อเจ้าของกลับมาบ้านหรือออกจากบ้าน

ทั้งสองอย่างก่อให้เกิดความเครียดในตัวสุนัขอย่างมาก

พฤติกรรมทำลายข้าวของจะเกิดทันที

ที่เจ้าของก้าวเท้าออกจากบ้าน

หรือก้าวเท้าเข้ามาในบ้าน

(โดยเฉพาะผู้ที่กลับบ้านตรงเวลา)

การลดความเครียดของสุนัขในเรื่องนี้

ทำโดยอย่าทำให้สุนัขตื่นเต้น

เมื่อเวลาเจ้าของเข้าหรือออกจากบ้าน

โดยทำทีไม่สนใจตัวสุนัขสัก 5 นาที

ขณะที่คุณเตรียมเก็บเอกสารหรือข้าวของ

เช่นกุญแจ เสื้อคลุม ฯลฯ ทำอย่างปกติเรียบๆ

ก่อนออกอาจจะกล่าวคำว่าสวัสดี

หรือบ๊ายบาย ด้วยน้ำเสียงปกติ

แล้วเดินออกจากบ้านไปอย่างปกติธรรมดา

อย่ากล่าวคำสั่งเสียกับสุนัข

เช่น ดูแลบ้านให้ดีนะ อย่ากัดทำลายของ ฯลฯ

เพราะจะไปกระตุ้นให้สุนัข

เกิดความตื่นตัวก่อนที่เราจะออกจากบ้าน

เพราะจะทำให้สุนัขรู้สึกว่าถูกทิ้งตามลำพัง

ซึ่งสุนัขจะรู้สึกว่าแย่ การที่ทำทีไม่สนใจสุนัข

เขาจะเข้าใจว่าคุณอยู่บ้านในที่ใดสักแห่งที่เขาไม่เห็น


เวลากลับเข้าบ้านก็เช่นเดียวกัน

ทำเป็นไม่เห็นสุนัขของคุณสัก 5 นาที

ขณะเดียวกันคุณก็วางข้าวของของคุณตามปกติ

อย่าพูดกับสุนัขยกเว้นดุให้เขาสงบลง

สำหรับสุนัขที่ควบคุมยากให้ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง

อย่าทักทายสุนัขจนกว่าสุนัขจะสงบลง

จึงกล่าวคำทักทาย เช่น ตบเบาๆ ที่ไหล่

แล้วกล่าวคำว่าสวัสดี แต่อย่าทำให้สุนัขตื่นเต้นดีใจอีก


ข้อควรระวัง

คือ ห้ามลงโทษสุนัขเมื่อกลับเข้ามาในบ้าน

ไม่ว่าสุนัขของคุณ

จะทำลายข้าวของเสียหายขนาดไหนก็ตาม

เพราะสุนัขอาจจะคิดว่า

คุณทำโทษเขาเพราะเขาอยู่เพียงลำพัง

ซึ่งจะยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก

ถ้าสุนัขเคยฝึกให้อยู่ในที่เฉพาะก็จะยิ่งง่าย

แต่สุนัขบางตัวก็อาจยิ่งมีอาการตื่นกลัว

เมื่อถูกจำกัดบริเวณหรืออยู่ในที่แคบ

โดยเฉพาะในกรงของสุนัข

กรณีนี้ไม่ควรให้สุนัขอยู่ในกรง


ขั้นที่ 2

จำกัดบริเวณสุนัข วัตถุประสงค์

เพื่อลดการทำลายข้าวของในบ้านให้น้อยลง

ถ้าเจ้าของทำได้ ควรจำกัดบริเวณที่สุนัขอยู่ให้แคบลง

เพื่อลดการทำลายข้าวของ


ขั้นที่ 3

หาอะไรให้สุนัขทำ

อย่างเช่นหาของเล่น พวกของแทะหรือกระดูกเทียม

หรือสิ่งที่สุนัขชอบ ของเล่นที่มีโพรงข้างใน

อาจใส่ขนมล่อใจที่สัตว์ชอบสุนัข

เพื่อให้สุนัขพยายามแคะออกมากิน

หรือห่อขนมไว้ในกระดาษหนังสือพิมพ์

แล้วใส่ไว้ในกล่องอีกทีแล้วปิดเทปกาวทับ

สุนัขก็จะพะวงกับการเอาขนมออกจากกล่อง

สุนัขก็จะไม่มีเวลาไปทำลายข้าวของในบ้าน

แต่สุนัขบางตัว

ก็ไม่ยอมรื้อขนมออกจากกล่องที่ท่านทำไว้

ท่านเจ้าของต้องพยายามล่อใจ

ให้สุนัขสาละวนกับของที่ให้ไว้ก่อนออกจากบ้าน


ขั้นที่ 4

ภาวะที่สุนัขจะยอมรับเมื่อเจ้าของออกจากบ้าน

ขั้นนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุด

และต้องใช้ระยะเวลานานที่สุด

ท่านต้องใจเย็นมากๆ

สุนัขที่เฝ้าดูเจ้าของเก็บกุญแจบ้าน,

กุญแจรถ, กระเป๋าถือฯลฯ

เวลาที่เจ้าของออกจากบ้าน

สุนัขที่เป็นโรคเหงาจะเริ่มแสดงอาการ

เมื่อเจ้าของก้าวไปที่ประตูบ้าน

เจ้าของต้องรอจนกว่าสุนัขจะคลายความตื่นเต้น

หรือกังวลลง เพื่อให้สุนัขตายใจ

ว่าท่านไม่ได้กำลังออกจากบ้าน

และเจ้าของต้องไม่เปิดประตู

หรือทำท่าว่าจะออกไปจากบ้าน

เมื่อสุนัขผ่อนคลายความกังวลลง

ให้ขนมหรือของที่สุนัขชอบ

เจ้าของอาจต้องทำท่าอย่างที่กล่าวซ้ำหลายๆ ครั้ง

เพื่อให้สุนัขไม่แสดงอาการกังวล

ขั้นต่อไปคือทำท่าทางเก็บข้าวของออกจากบ้าน

เดินตรงไปที่ประตูแล้วเปิดประตู

แต่อย่างก้าวเดินออกไปเป็นอันขาด

แค่เดินไปเปิดแล้วปิด ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง

จนสุนัขรู้สึกชินและเฉยจึงให้รางวัลล่อใจ

ขั้นตอนต่างๆ ที่ทำซ้ำ

ควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-10 นาที

ขั้นต่อไปคือ

ทำท่าเก็บข้าวของออกจากบ้านเดินไปที่ประตู

เปิดประตูแล้วเดินออกไปแต่อย่าปิดประตู

ทำซ้ำเช่นเดิมจนสุนัขชินจึงให้รางวัล

ขั้นต่อมาคือ

ทำท่าเหมือนจะออกจากบ้าน

แล้วเดินไปที่ประตู เปิดแล้วเดินออกจากประตู

พร้อมกับปิดประตู

แต่ท่านเจ้าของต้องรีบเข้ามา

ถ้าสุนัขเริ่มมีความระแวง

ถ้าสุนัขเฉยท่านรอสัก 30 วินาที

ค่อยเดินเข้าประตูมา

เจ้าของสุนัขต้องทำเช่นที่กล่าวซ้ำๆ

แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาที่อยู่นอกประตู

ให้นานขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าสุนัขจะชิน

เช่นเพิ่มเวลาจาก 30 วินาทีเป็น 1 นาที,

2 นาที, 5 นาที, 10 นาที, 20 นาที,

เพิ่มไปเรื่อยๆ จนเป็นชั่วโมง

สุนัขแต่ละตัวอาจต้องการเวลาในการฝึกแตกต่างกัน

เมื่อเพิ่มเวลาอยู่นอกบ้านของเจ้าของได้เป็นชั่วโมง

ก็ง่ายที่จะเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ จนถึง 7-8 ชั่วโมง


สุนัขจะกังวลมากเมื่อถูกทิ้งไว้ตัวเดียว

โดยแสดงอาการต่างๆ เช่น ครางหงิ๋ง ๆ ,

เห่า, ขุด, แทะ, หอน,

ปัสสาวะเรี่ยราด, วิ่งวนไปรอบๆ ,

พยายามหลบหนีออกนอกกรงหรือบ้าน

สุนัขที่ขี้เหงามักจะอ้อนเจ้าของค่อนข้างมาก

และต้องการเวลาทักทายเมื่อพบเจ้าของ

หลังเวลาเลิกงาน นานกว่าสุนัขปกติ

สุนัขพวกนี้มักเดินตามเจ้าของไปรอบบ้าน

กระโดดหรือเข้ามาคลอเคลีย เห่า ครางหงิ๋ง

หรือเลียมือและหน้าเจ้าของเป็นเวลานาน ๆ


ถ้าสุนัขไม่ดีขึ้นจะทำอย่างไร

โรคเหงาเป็นอาการที่รักษาได้ยาก

และสุนัขบางตัวก็ไม่คลายกังวลเมื่อเวลาอยู่ตัวเดียว

ถ้าเป็นเช่นนี้

ท่านลองส่งสุนัขไปฝึกกับครูฝึกสุนัข อาจจะช่วยได้

หรือบางรายอาจต้องให้ยาคลายเครียด

ซึ่งได้ผลดี ปรึกษาสัตวแพทย์ดูได้


สิ่งสำคัญในการฝึก

สุนัขเป็นสัตว์สังคม และเป็นเรื่องปกติ

ที่สุนัขจะคิดถึงเจ้าของเมื่อเวลาเจ้าของไม่อยู่

อย่าให้สุนัขตื่นเต้นเวลาคุณออกจากบ้าน

ฝึกให้สุนัขสงบเมื่อเวลาคุณกลับเข้าบ้าน

จำกัดบริเวณสุนัขตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก

ให้ของที่สุนัขกัดแทะได้เพื่อไม่ให้มีเวลาไปทำลายข้าวของ

หาอะไรให้สุนัขทำเวลาอยู่ตัวเดียว

ให้ทำตามขั้นตอนทั้ง 4 ที่กล่าวมา มักได้ผลดี

อาจต้องพึ่งยาในรายที่ไม่สามารถฝึก

ให้คุ้นกับการอยู่ตัวเดียวได้


เอกสารอ้างอิง

Campbell WE: Behavior problems in dogs,

1992, American Veterinary Pubs. Goleta, CA.

Hart BL; Hart LA: Canine and feline behavioral therapy,

1985, Lea & Febiger. Philadelphia, PA.

น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร

**************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 1:07:25 น.
Counter : 572 Pageviews.  

ขี้เรื้อนในสุนัข

ขี้เรื้อน


สุนัขที่เป็นขี้เรื้อนจะมีอาการคัน ใช้เท้าเกาตามลำตัว

หรือเอาตัวถูตามต้นไม้ ขนตามร่างกายจะร่วง

หรือบางตัวขนกลางหลังจะร่วง ซูบผอม เดินโซเซ

สุนัขบางตัวขนร่วงหมด จนถูกขนานนามว่าหมาหนังกลับ

สาเหตุของขี้เรื้อนมีต่างๆกัน

เช่น เกิดจากเห็บ หมัด จากการแพ้ต่างๆ จากพยาธฺหัวใจ

จากการขาดฮอร์โมนบางชนิด

แต่สาเหตุที่แท้จริงและเป็นขี้เรื้อนขนานแท้

ก็คือ เกิดจากพยาธิผิวหนัง ทำให้ผิวหนังคัน ขนร่วง

เป็นทั้งตัวก็ได้หรือเป็นเฉพาะที่ก็ได้

จึงควรปรึกษาสัตวแพทย์ให้ตรวจ

โดยต้องขูดเอาผิวหนัง มาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์

เพื่อหาพยาธิซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด

ชนิดที่อยู่ที่ผิวหนัง

เรียกว่าเชื้อ ซาคอปติต เป็นขี้เรื้อนแห้ง

เพราะสุนัขจะแสดงอาการคันขนร่วง

ตกสะเก็ดแห้งๆตามตัว

ขี้เรื้อนนี้ไม่รุนแรงนักรักษาให้หายขาดได้

ขี้เรื้อนที่อยู่ในต่อมน้ำเหลือง ที่รากโคนขน

เกิดจากเชื้อดีโมเด็กซ์

ชาวบ้านนิยมเรียก ขี้เรื้อนเปียก

เพราะผิงหนังของสุนัขที่มีเชื้อ จะมีหนองเยิ้ม

มันจะแทรกซอนตัวเองลงไปในรูขุมขน ทำให้รักษายาก

การรักษาขี้เรื้อนต้องอดทน เพราะใช้เวลานาน

นอกจากให้สัตวแพทย์ช่วยรักษาให้แล้ว

อาจทำเองได้ โดนเฉพาะขี้เรื้อนแห้ง

ให้ตัดขนบริเวณนั้นออก แล้วขูดผิวหนัง

ฟอกด้วยสบู่อ่อนๆ แล้วจึงค่อยมายาพวก ขี้ผึ้ง กำมะถัน

ผสมน้ำมันมะพร้าว ทาทุกวันจนกว่าจะหาย

หากเป็นขี้เรื้อนเปียก

ควรจะขูดผิวกนังลึกๆ ถึงรากขน

หรือขูดให้เลือดซิบๆ แล้วฟอกด้วยสบู่ที่ใช้รักษาโรคเรื้อน

แล้วทาด้วยยาฆ่าแมลง เช่น เบนโซเอท

แล้วจึงใช้ยาพวกกำมะถันทา

**************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 1:03:48 น.
Counter : 1410 Pageviews.  

โรคปอดบวม

โรคปอดบวม


รคนี้พบมากในลูกสุนัขเล็กๆ และสุนัขชรา

เพราะทั้งสองวัย มีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอพอๆกัน

ส่วนสุนัขรุ่นๆก็ไม่ค่อยพบ เนื่องจากสภาพร่างกายแข็งแรง

โรคปอดบวมในสุนัข เกิดจากสาเหตหลายประการ

ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบดทีเรีย พยาธิ

เข้าทำลายปอดทำให้ปอดอักเสบ

แต่มักเกิดจากแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่

สุนัขจะแสดงอาการซึม มีไข้สูงมาก

อาจถึง 106 องศาฟาเรนไฮต์

เบื่ออาหารจนถึงไม่กินอาหาร

ชอบหลบไปนอนในที่เย็นๆ เช่น ห้องน้ำ ข้างโอ่ง

หายใจกระหืดกระหอบ มีขี้มูกไหลออกมา

สีขาวจนถึงเขียวข้น บางครั้งมีอาเจียน

เพราะไอมีเสลดหนาในลำคอ

บางตัวเป็นมากๆ น้ำท่วมปอดต้องนั่งตลอดเวลา

นอนไม่ได้จะหายใจไม่ออก

ซ้ำร้ายต้องหายใจทางปากตลอดเวลา

เพราะจมูกอุดตันเต็มไปด้วยน้ำมูก

ข้อควรปฏิบัติ คือ การดูแล เลี้ยงให้อาหารอย่างดี

รักษาความสะอาด ให้ความอบอุ่น

ใส่เสื้อหนาๆ โดนเฉพาะที่คอ หน้าอกและแผ่นหลัง

ห่มผ้า ปูรองพื้นที่นอนด้วยผ้า

อย่าให้นอนในที่อับชื้น หรือโดนฝนสาด

และนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษา

*************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 1:02:34 น.
Counter : 759 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

black shadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เก็บตกสารพันปัญหาของน้องหมา

จากคอลัมม์ คนรักหมา

โดย ท่านบัญชร ชวาลศิลป์

คอลัมม์ พิชิตปัญหาสัตว์

กับคุณหมอปานเทพ รัตนากร

จากน.ส.พ คม ชัด ลึก

และจากข้อมูล online

เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง "Pets"

กราบขอบพระคุณทุกท่าน

ที่ให้ความรู้ สาระประโยชน์

เพื่อคนรักสัตว์ และเพื่อนรักสี่ขา

ไว้ ณ. ที่นี้อย่างสูงค่ะ


Nome da música - Nome do cantor

" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"

GRAPHIC SITE

visitors currently

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add black shadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.