Song Code Reads Graphic1 Graphic2 Graphic3

เมื่อสุนัขท้องเสีย...

สุนัขท้องเสีย


ท้องเสีย...





ทำไมสุนัขจึงถ่ายเหลว
บางตัวถ่ายไม่หยุดนอนหมดแรง
และมักเกิดร่วมกับอาการอาเจียน
โดยเฉพาะในลูกสุนัข
ที่มักมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ความตาย
ในเวลาอันรวดเร็วเป็นชั่วโมง
หรือ 1-2 วัน
แตกต่างจากในสุนัขโตอายุมากกว่า 1 ปี
ที่มักพบอาการถ่ายเหลวจนเรื้อรัง
คือ มีอาการถ่ายเหลวนานเกิน 7 วัน
ทั้งๆ ที่สามารถกินอาหารได้ปกติ
บางตัวกินอาหารเก่ง กินน้ำเก่ง
แต่ร่างกายกลับดูผอมลง และมีน้ำหนักตัวลดลง
อาการที่กล่าวมาข้างต้น ในสุนัขโตมันอันตราย
แต่มักไม่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
สุนัขจะมีอาการถ่ายเหลวไม่หยุด บางตัวมีเลือดปน
ในช่วงนั้นจะเริ่มมีอันตรายมากขึ้น
อาการท้องเสียที่พบในสุนัขโต
มักพบเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบของลำไส้
โดยเฉพาะส่วนของลำไส้เล็ก
เราเรียกกลุ่มอาการนี้ เป็นภาษาอังกฤษว่า
Inflammatory Bowel Disease (IBD)
ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เกิดการอักเสบหนาตัวขึ้นของลำไส้
เนื่องจากมีเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte ,
Plasma cell , Eosinophil
มาสะสมเป็นจำนวนมากที่ลำไส้
ก่อนให้การรักษาสัตวแพทย์จะต้องมีการตรวจเลือด
โดยเฉพาะการตรวจหาค่าโปรตีนในเลือด
(Albumin , Globulin)
ค่าซีรั่มในเลือด และการตรวจ Biopsy ของลำไส้
เพื่อใช้เป็นข้อสรุปว่าสาเหตุเกิดจากกลุ่มอาการนี้ก่อนให้ยา


สาเหตุของการท้องเสียที่พบโดยทั่วไป
มีสาเหตุมาจาก 2 แห่งคือ


1. จากทางเดินอาหารโดยตรง
คือกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่

2. จากระบบอื่นในร่างกายที่ไม่ใช่ระบบทางเดินอาหาร
ได้แก่ โรคตับ โรคตับอ่อนอักเสบ โรค Hyperthyroid
พบบ่อยในแมว,โรค hypoadenocorticsm


การแบ่งประเภทการเกิดท้องเสีย
ตามอาการที่เกิดแบ่งได้ 2 แบบคือ


1. แบบเฉียบพลัน มีสาเหตุดังนี้
a. จากอาหารที่ให้กินมากเกินไป
การเปลี่ยนอาหารทันที
หรืออาหารให้กินไม่สะอาด บูดเน่า

b. จากพยาธิ์ในลำไส้
ได้แก่พยาธิ์ใส้เดือน พยาธิ์ปากขอ

c. จากโปรโตซัว
ได้แก่เชื้อ Gliardia Coccidia

d. จากการติดเชื้อ ได้แก่เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย

e. จากการได้รับสารพิษต่างๆ เช่น สารพิษตะกั่ว


2. แบบเรื้อรัง
a. จากอาหาร ได้แก่ การแพ้อาหารที่กิน การขาดแลคโตส

b. จากพยาธิ์ในลำไส้ และโปรโตซัว

c. การติดเชื้อแบคทีเรีย
โดยเฉพาะการเกิด Bacteria overgrowth
ในลำไส้เล็ก (SIBO)

d. จากการสะสมของเซลเม็ดเลือดขาว
ชนิด Eosinophil Plasma Cell Lymphocyte
โดยเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่
ส่วนโคลอน พบบ่อยในสุนัขพันธุ์บอกเซอร์
อัลเซเชียน เรียกกลุ่มนี้ว่าเป็น IBD

e. การเกิดเนื้องอกที่ทางเดินอาหาร
เช่น Diffuse Lymphosarcoma ,
Adenocarcinoma


กลุ่มอาการ IBD ดังกล่าว
จะทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีน ในทางเดินอาหาร
ในปัจจุบันการรักษาแผนใหม่
ที่จะควบคุมอาการดังกล่าว
นอกจากใช้ยาลดการัอักสเบจำพวกเสตียร์รอยด์
ที่ใช้ในการรักษาเบื้องต้น
ไม่สามารถจะให้เป็นเวลานานๆ
เนื่องจากมีผลข้างเคียงของยา
จึงมีการพิจารณาในเรื่องของอาหาร
ที่ให้สัตว์กินในระยะยาวร่วมด้วย


อาหารที่จะต้องใช้
ควรให้อาหารที่มีการควบคุมชนิดของโปรตีน ที่ย่อยง่าย
และมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นอยู่ในอาหารด้วย
ลดปริมาณไขมันในอาการท้องเสีย เพราะการที่ไขมันสูง
ทำให้การดูดซึมอาหาร ที่กินเข้าไปน้อยลง
โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาของตับอ่อนอักเสบ
หรือการขาดเอ็นไซม์ของตับอ่อน
ไม่ควรให้กินอาหารที่มีไขมัน
เนื่องจากร่างกายขาดเอ็นไซม์ที่จะย่อยไขมัน
โดยทั่วไปจะเลือกเป็นอาหาร
ที่ทำให้เกิดการแพ้น้อยที่สุด
พบว่า Eukanuba Low-Residue
เป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษา


นอกจากนี้
อาจเกิดมาจากการอักเสบของถุงน้ำดีในร่างกาย
ทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรัง
ก่อนการพิจารณาเลือกชนิดของอาหาร
ที่จะให้แก่สัตว์ที่มีอาการทอ้งเสีย
ควรจะทราบก่อนว่าการท้องเสียนั้น
มีสาเหตุมาจากอะไร
และโดยทั่วไปอาหารที่เหมาะสม
ควรมีคุณสมบัติดังนี้


1. เป็นอาหารที่ย่อยง่าย

2. มาจากแหล่งอาหารโปรรตีนอย่างเดียว
และมีคุณค่าทางโปรตีนแต่ไม่สูงเกินไป
เช่น โปรตีนจากเนื้อแกะ กระต่าย ไก่ ปลา กวาง

3. มาจากแหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตแหล่งเดียว
ปราศจาก Gluten ควรใช้แหล่งจากข้าว
มันฝรั่ง มันสัมปะหลัง ข้าวโพด (บางตัวอาจแพ้ข้าโพด)

4. ปรับปริมาณของกรดไขมันในอาหาร
(Omega3-Omega6 ratio 5:1-10:1)

5. มีปริมาณสายใยอาหารที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป
(3-7 เปอร์เซนต์ของอาหารสายใยทั้งหมด)

6. มี fermentable fiber ที่พอดี

7. ลดปริมาณไขมัน



โดยร.ต.อ.สพ.ญ. อารยา ผลสุวรรณ์
ที่มา : วารสาร Eukanuba Privilege News Issue 3/2003


***************






 

Create Date : 25 กันยายน 2550    
Last Update : 25 กันยายน 2550 21:23:00 น.
Counter : 1114 Pageviews.  

เห็บกับสุนัข (TICK)

เห็บในสุนัข


ห็บกับสุนัข





สุนัขโดยเฉพาะที่บริเวณ หู คอ ซอกขา และง่ามนิ้วเท้า
สำหรับตัวอ่อนมักเกาะตามผิวหนัง ที่มีขนปกคลุมอยู่
ถ้าตรวจพบว่า สุนัขของท่าน
มีตัวเห็บมาแอบแฝงดูดเลือดจะต้องรีบกำจัดให้หมดไปโดยเร็ว
อย่าลืมว่าตัวเห็บนี้เป็นอันตรายต่อคนเราด้วย
เพราะมันจะดูดเลือดคนเราได้สบายๆ เช่นกัน
เห็บจะทำอันตรายต่อสุนัขโดยก่อการระคายเคืองผิวหนัง
และยังเป็นพาหะของ โรคพยาธิในเม็ดเลือดหลายชนิด
ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการโลหิตจาง
ตับม้ามบวมโต และดีซ่านในสุนัขด้วย

การป้องกันและ การรักษา
สามารถใช้สารกำจัด เห็บในรูปของแชมพู,
สบู่ หรือ แป้งฝุ่นที่มีขายในท้องตลาดทั่วไป
อาบ และโรยตัวสุนัขเป็นประจำ
หรือใช้ยาฆ่าเห็บ เช่น แกมมา-บี เอวซี 0.2-0.5 %
หรือทอคซาฟีน นำมา ผสมน้ำ
แล้วจุ่มตัวสัตว์หรือฉีดพ่นลงบนตัวสัตว์

หากท่านมีเวลาว่างจะหยิบจับออกโดยตรงจากสัตว์
แล้วหย่อนลงในขวดน้ำมันก็ได้
แต่ห้ามบี้ตัวเห็บโดยตรง
เพราะจะทำให้ ไข่แตกกระจายไปที่อื่น
เมื่อกำจัดเห็บบนตัวสุนัขได้แล้ว
การควบคุมที่ได้ผลนั้นท่านต้องรักษาพื้นดินพื้นคอก
หรือกรงสุนัขให้ปราศจากไข่ของตัวเห็บ
ที่อาจมีอยู่บนพื้นดินซึ่งสามารถทำได้โดยนำน้ำร้อนจัดๆ
ราดลงบนพื้นกรง หรือใช้สารกำจัดแมลง
เช่น มาลาไธออน หรือเบนซิลเฮ็กซ่าคลอไรด์
ฉีดพ่นทุกๆ 2 สัปดาห์
ในสุนัขบางรายที่มีเห็บมาก
ควรตรวจ หาพยาธิเม็ดเลือด
เพื่อให้การรักษาโดยเร็วก่อนแสดงอาการป่วย


ที่มา :
หนังสือคู่มือการเลี้ยงโกลเด้น รีทรีพเวอร์
คุณวิชัย คูสกุล


***************






 

Create Date : 25 กันยายน 2550    
Last Update : 25 กันยายน 2550 21:21:49 น.
Counter : 705 Pageviews.  

การดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงหน้าฝน

สัตว์เลี้ยงในช่วงหน้าฝน


ารดูแลสัตว์เลี้ยงช่วงหน้าฝน





การฉีดสเปรย์กำจัดเห็บหมัดก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง
ที่พอจะช่วยลดปัญหาเห็บหมัดในช่วงหน้าฝนได้


ระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน
ไม่ว่าจะเป็นท้องเสีย อาหารเป็นพิษ หรือโรคที่ร้ายแรง
เช่น โรคลำไส้อักเสบ ซึ่งพบได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ
ช่วงหน้าฝนมีความชื้นมากขึ้น
เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรค
นอกจากการฉีดวัคซีน
ซึ่งต้องฉีดกันตามช่วงอายุแล้วหรือวัคซีนประจำปี
เจ้าของต้องดูแลความสะอาดเรื่องอาหารและน้ำให้เขาด้วย
อาหารเม็ดควรจะสดใหม่ ไม่เก่าหรือขึ้นรา
อาหารที่ปรุงเองควรจะสะอาด สุก และไม่ค้างคืน
หากสัตว์เลี้ยงมีอาการผิดปกติ
เช่น อาเจียน ท้องเสีย หรือซึม
ควรรีบพาเขาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน


ระบบทางเดินหายใจ ช่วงหน้าฝน โรคที่พบบ่อยๆ
ก็จะเป็นพวกไข้หวัด หลอดลมอักเสบ
ซึ่งบางทีก็จะมีโรคที่รุนแรงแถมมาด้วย
เช่น ไข้หัดสุนัข หัดแมว เป็นต้น
เราไม่ควรปล่อยให้เขาเล่นน้ำฝนหรือตากฝน
บางตัวชอบเล่นน้ำฝน อย่างสนุกสนาน
พอวันต่อมาก็มีน้ำมูก ไข้ขึ้น
ในช่วงนี้ เราก็ควรให้เขาได้อยู่ในที่อุ่นๆและแห้ง ไม่ชื้น
ในบางครั้งถ้าตัวไหนเขาขี้หนาวอาจจะต้องหาเสื้อให้เขาใส่
ถ้าสังเกตว่าเขามีไอ หรือมีน้ำมูกขึ้นมา
ควรจะพาไปหาหมอทันที อย่าพยายามหายาให้ทานเอง
เพราะสุนัขและแมวไม่เหมือนคน
ซึ่งอาจจะแพ้ยาบางตัว แล้วมีอันตรายถึงชีวิตได้


ระบบผิวหนัง หน้าฝนเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง
สภาวะอับชื้นก็เป็นตัวการสำคัญ
ที่จะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย อาจจะมีตุ่ม ผื่นคัน
ยิ่งถ้ามีการติดเชื้อก็จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ หรือเชื้อราได้
ซึ่งจะพบได้บ่อยตามบริเวณใบหูด้านใน
ง่ามนิ้วเท้า รอบจมูกหรือรอบตา
โดยทั่วไปโรคผิวหนังที่พบในบ้านเรา
ส่วนมากจะมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน
เช่น เป็นทั้งเชื้อรา ติดเชื้อแบคทีเรีย
หรือขี้เรื้อนรูขุมขนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตามเจ้าของควรจะหมั่นดูแลเรื่องผิวหนัง
ขน ของเขา ต้องให้แห้ง อย่าปล่อยให้เปียก หรือชื้น
หากพบว่าสุนัขมี ตุ่มคัน เกา สะบัดหูบ่อยๆ
ซึ่งดูว่ามากผิดปกติควรจะรีบพาไปหาหมอ
เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะกลายเป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง
ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานาน


อีกเรื่องหนึ่งซึ่งสำคัญมาก
ในการเลี้ยงสุนัขในบ้านเราคือเรื่อง เห็บหมัด
สุนัขมีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากเห็บ
ในปริมาณที่มากเป็นอันดับหนึ่ง
ถ้าเทียบกับการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ
เห็บเป็นทั้งพาหะนำโรค
คือ พยาธิในเม็ดเลือดหรือไข้เห็บ
และเห็บยังเป็นตัวที่ทำให้สัตว์อ่อนแอ โลหิตจาง
เนื่องจากเห็บดูดเลือด
ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ลดต่ำลง
ซึ่งจะทำให้สัตว์ติดเชื้อและเกิดโรคได้ง่าย
ภูมิอากาศในบ้านเราร้อนชื้น
เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ของเห็บ
ยิ่งในช่วงหน้าฝน
อัตราการเจ็บป่วยเนื่องจากเห็บจะเพิ่มมากขึ้น
ทั้งโรคที่เกิดจากเห็บโดยตรง และโรคอื่น
อันเนื่องมาจากสัตว์อ่อนแอเพราะถูกเห็บดูดเลือด
การกำจัดเห็บถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
โดยเจ้าของต้องเข้าใจ
และต้องทำการกำจัดอย่างต่อเนื่อง


ที่มา :
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย โดย
น.สพ.ไชยา คุณธรรม
(อาสาสมัครสมาคมฯ)


***************





 

Create Date : 25 กันยายน 2550    
Last Update : 25 กันยายน 2550 21:20:47 น.
Counter : 727 Pageviews.  

อาหารสำเร็จรูปที่มีคุณภาพสำหรับสุนัข

อาหารสำเร็จรูปสำหรับสุนัข


บ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่





1. อาหารสำเร็จรูปทั่วไป (Generic)
ส่วนมากจะไม่มีการติดยี่ห้อ บรรจุอย่างง่ายๆ
ผลิตและขายกันในท้องถิ่นใช้วัตถุดิบ ที่ราคาถูก
หาได้ในพื้นที่ โรงงานผลิต
อาจจะมีการควบคุมคุณภาพมากหรือน้อยก็ได้


2. อาหารสำเร็จรูปยอดนิยม (Popular Brand)
เป็นยี่ห้อที่มีวางขายทั่วไปตามร้านค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต
ซึ่งโดยมากมักใช้ วัตถุดิบหลายตัวเป็นแหล่งโปรตีน
ทำให้ดูเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงเป็นจุดขายในตลาด
เน้นความน่ากินมากกว่าคุณค่าทางอาหาร ที่เหมาะสม


3. อาหารสำเร็จรูปคุณภาพสูง (Premium Brand)
เป็นอาหารที่มีคุณภาพสูง
จะวางขายในคลีนิคสัตวแพทย์ หรือร้าน Petshop
ที่มีคนขายคอยแนะนำ เป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบอย่างดี
ย่อยง่ายให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม
เน้นที่สุขภาพของสัตว์เลี้ยง เป็นสิ่งสำคัญ
ทำให้ราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง
เพราะอาหารตัวนี้มีความเข้มข้น ทำให้กินปริมาณน้อย
แต่ได้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน


การตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปนั้น
คงต้องดูจากปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน
เป็นต้นว่าราคาของ สินค้าและคุณภาพผลิตภัณฑ์
โดยมีข้อพิจารณาเลือกซื้ออาหารสุนัขสำเร็จรูปที่มีคุณภาพ ดังนี้

มีความชอบกินสูง
สุนัขควรดมกลิ่นทันทีที่เทอาหารลงชาม
หรือไม่ควรทิ้งไว้เกิน 1 ชั่วโมง
มีความครบถ้วนของสารอาหารสมบูรณ์
และสมดุลไม่มากหรือน้อยเกินไป
ซึ่งดูได้จากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
จะมีระบุอยู่ด้านหลังถุงอาหาร
โดยเรียงตามปริมาณวัตถุดิบที่มีมากที่สุดไปหาน้อย


สารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการ
คาร์โบไฮเดรต (แป้ง) »
เป็นแหล่งสำคัญที่ให้พลังงานแก่สัตว์ทั้งหมด
มีแหล่งที่มาจากพืช เช่น Ground corn (ข้าวโพดบด),
Wheat (ข้าวสาลี), Barley (ข้าวบาร์เล่) เป็นต้น


โปรตีน »
ร่างกายจะดูดซึมกรดอะมิโนที่จำเป็นจาก
แหล่งโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ได้ดีกว่าพืช
โดยเฉพาะโปรตีน จากเนื้อไก่
ส่วนโปรตีนจากพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพด ถั่งเหลือง
จะมีสารบางอย่างที่ขัดขวางการย่อย ทำให้ร่างกายสุนัข
ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่


ไขมัน »
ควรมีแหล่งที่มาจากไขมันสัตว์เพราะสุนัขสามารถดูดซึม
ไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าไขมันจากพืช เช่น Chicken fat


เส้นใยอาหาร »
ควรได้มาจากเส้นใยของพืชที่ร่างกายสัตว์ไม่สามารถย่อยได้
แต่จำเป็นต้องมีเพื่อช่วยในการย่อย อาหารของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
เช่น Beet Pulp (เส้นใยจากหัวบีท)
และไม่ควรมีเกินกว่า 5 %
เพราะจะไป ขัดขวางกาดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ


วิตามิน/เกลือแร่ »
เป็นส่วนที่มีอยู่น้อยแต่สำคัญและขาดไม่ได้
เนื่องจากมีผลต่อความมันเงาของขนสัตว์เลี้ยง


วัตถุกันเสีย »
ควรใช้สารสกัดจากธรรมชาติ
เช่น วิตามิน E และวิตามิน C เป็นต้น


***************





 

Create Date : 25 กันยายน 2550    
Last Update : 25 กันยายน 2550 21:19:19 น.
Counter : 530 Pageviews.  

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า


ป็นโรคที่มนุษย์รู้จักมากว่า 500 ปีแล้ว

เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อเรบี้ส์ (Rabies)

ไวรัสชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในระบบประสาทมากที่สุด

จึงทำให้สัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้

แสดงอาการทางประสาท ออกมาอย่างเด่นชัด

เป็นเหตุให้เรียกว่า "บ้า"

นอกจากเป็นกับสุนัขแล้ว ยังติดไปกับสัตว์อื่นๆรวมทั้งคน

การติดโรคนี้เชื้อจะเข้าทางบาดแผลที่ถูกกัด

แล้วจะแสดงอาการป่วยภายใน 21 ถึง 60 วัน

หรืออาจจะเป็นก่อนหรือหลังนี้ก็ได้

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง

ทำให้คนหรือสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้

ต้องตายด้วยความทุรนทุราย

เชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เรบีส์ไวรัส มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน

จะอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตเท่านั้น

เมื่อออกมานอกร่างกายจะมีชีวิตได้ไม่นาน

ถูกทำลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด

หรือในสภาพแห้งแล้ง

ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ผลดี คือ ฟอร์มาลิน , 70 %

แอลกอฮอล์ , ไลโซล , กรดหรือด่างอย่างแรง

หรือ 10 % ไฮโปคลอไรท์

( น้ำผสมคลอรีนไฮเตอร์ หรือคลอร็อก

ในอัตราส่วน 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน )


สัตว์ที่สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

สัตว์เลือดอุ่นทุกชนิดโดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

เช่น วัว ควาย ม้า หมู ลิง ชะนี กระรอก กระแต

เสือ ค้างคาว คน ฯลฯ

แต่ในประเทศไทย

สัตว์ที่พบว่าเป็น โรคพิษสุนัขบ้า มากที่สุด คือ สุนัข

( 96 % ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัย

ในห้อง -ปฏิบัติการ )

รองลงมา คือ แมว ( 3% )

การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คน

โดยการได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลายสัตว์

เข้าทางบาดแผลที่เกิดจากการถูกกัด ข่วน

หรือถูกเลียบริเวณบาดแผลที่มีอยู่เดิม

หรือได้รับเชื้อเข้าทางเยื่อตา เยื่อปาก

การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อกระจกตา

อาจพบว่าติดเชื้อจากการหายใจ แต่น้อยมาก

ในสัตว์มักติดโรคโดยถูกสุนัขกัด

เช่น วัวที่เลี้ยงปล่อยฝูง หรือสุกรที่เลี้ยงใต้ถุนเรือน

คอก หรือเล้าที่ไม่มิดชิด


คนถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด

ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะแสดงอาการ

ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนกระทั่งปรากฏอาการ

หรือระยะฟักตัวจะกินเวลาตั้งแต่ 7 วัน ถึง 2 ปี

ขึ้นอยู่กับลักษณะบาดแผลและบริเวณที่ถูกกัด

ถ้าถูกกัดบริเวณใบหน้าหรือใกล้สมอง

และบาดแผลฉกรรจ์ ระยะฟักตัวจะเร็ว

ถ้าถูกกัดบริเวณขา ระยะฟักตัวนานกว่า

เพราะเชื้อจะเดินทางมาถึงสมอง

โดยเฉลี่ยประมาณ 2-6อาทิตย์


อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า มี 2 แบบ

คือ แบบก้าวร้าว ดุร้าย และแบบอัมพาต

อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะอาการเริ่มแรก

อาจมีอาการไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว

มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

เจ็บคอคล้ายเป็นหวัด อาจมีอาการคลื่นไส้

ปวดท้อง และที่พบบ่อย คือ อาการคัน เสียว

หรือชาบริเวณแผลที่ถูกกัด


ระยะอาการทางระบบประสาท

อาจคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กลัวน้ำ กลัวลม

ความรู้สึกไวกว่าปกติ ทุรนทุราย

หรือมีอาการซึม เป็นอัมพาต

น้ำลายไหลต้องบ้วนทิ้ง กลืนน้ำไม่ได้


ระยะสุดท้าย ไม่รู้สึกตัว หายใจกระตุก

ผู้ป่วยส่วนมากมักจะตายภายใน 7 วัน

หลังจากเริ่มแสดงอาการ

ถ้าเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนในสมองมาก

ก็จะแสดงอาการแบบคลุ้มคลั่ง ดุร้าย

แต่ถ้าเชื้อ ไวรัสเพิ่มจำนวนมากในไขสันหลัง

จะแสดงอาการอัมพาต


อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

แบ่งได้เป็น 2 แบบ

คือ แบบดุร้าย แสดงอาการชัดเจนและพบบ่อย

และแบบซึมซึ่งแสดงอาการไม่ชัดเจน

อาการของโรคมี 3 ระยะ คือ

ระยะอาการเริ่มแรก

สุนัขจะมีนิสัยแปลกไปจากเดิม

ตัวที่เคยขลาดกลัวจะเข้ามา คลอเคลีย

ตัวที่เคยเชื่องชอบเล่น จะหงุดหงิด

หลบไปตามมุมมืด เงียบ

กินอาหารและน้ำน้อยลง

ระยะนี้มีอาการ 2 - 3 วัน

จะเข้าสู่ระยะที่ 2 ระยะตื่นเต้น

จะมีอาการทางประสาท มีความรู้สึกไวกว่าปกติ

กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่อยู่นิ่ง

กัดแทะสิ่งของ ตัวแข็ง ขากรรไกรแข็ง

ปากอ้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหล ม่านตาขยาย

บางตัววิ่งพล่านไปทั่ว

เมื่อพบสัตว์หรือคนขวางหน้าจะกัด ส่งเสียงเห่าหอน

ในระยะที่แสดงอาการแบบซึม อาจไม่แสดงอาการเช่นนี้

แต่เมื่อถูกรบกวนอาจกัด

ต่อมา กล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรงลง

ทรงตัวไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ได้ บางตัวชักกระตุก

อาการระยะนี้พบได้ 1 - 7 วัน

จึงจะเข้าระยะสุดท้าย ระยะอัมพาต

เกิดอาการอัมพาตลามทั้งตัว เริ่มจากขาหลัง

ต่อมากล้ามเนื้อคอจะเป็นอัมพาต กลืนอาหารไม่ได้

ระบบหายใจล้มเหลวและตายในที่สุด

รวมระยะเวลาเริ่มแสดงอาการจนตายประมาณ 10 วัน


อาการโรคพิษสุนัขบ้าในแมว

ในระยะที่มีอาการชัดเจน แบ่งได้เป็น 3 ระยะ เช่นกัน

คือ ระยะอาการนำ

มีอาการหงุดหงิด นิสัยเปลี่ยนไป

ชอบหลบซุกในที่มืด ระยะนี้มักสั้น ไม่เกิน 1 วัน

ระยะตื่นเต้น แสดงอาการดุร้าย

กัด หรือข่วนคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้

กล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล กลืนลำบาก

ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 - 4 วัน

ระยะอัมพาต

เริ่มเป็นอัมพาตจากขาหลัง

แล้วลามมายังลำตัว ขาหน้าและหัว

จนทั่วตัวอย่างรวดเร็ว แล้วถึงแก่ความตาย

อาการในแมวมักไม่ชัดเจน อาจเป็นแบบซึม

มีระยะตื่นเต้นสั้นมาก หรือไม่แสดงอาการเลย

อาจพบว่ากินอาหารและน้ำลำบาก

แล้วเป็นอัมพาตลามไปทั่วตัว

ตายในเวลา 3 - 4 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ


ทำไม…จึงเรียกโรคพิษสุนัขบ้าว่า โรคกลัวน้ำ

อาการกลัวน้ำ เป็นอาการที่แปลก

พบในโรคพิษสุนัขบ้าเท่านั้น

เนื่องจากกล้ามเนื้อคอเป็นอัมพาตและกระตุกเกร็ง

แม้ว่าจะหิวน้ำ แต่เมื่อกินจะสำลักและเจ็บปวดมาก

ในสุนัขจะเห่าหอนผิดปกติ

เนื่องจากเกิดอัมพาตกล้ามเนื้อกล่องเสียง

ต่อมาจะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ

เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน

ทำให้ใช้ลิ้นตวัดน้ำเข้าปากไม่ได้

ขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อยมีสีแดงคล้ำ

น้ำลายไหล กลืนน้ำไม่ได้

ในคนเริ่มจาก รู้สึกแน่นตึงในลำคอ

กลืนอาหารลำบาก

เมื่อกินน้ำจะสำลักออกทางปากทางจมูก

เวลาพยายามดื่มน้ำจะเจ็บปวดมาก

เนื่องจาก กล้ามเนื้อในลำคอ กระตุกเกร็ง


เมื่อถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด

ควรทำอย่างไร

1. รีบล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง

เพื่อล้างเชื้อออกจากบาดแผล

ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก

อย่าบีบหรือเค้นแผล

เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น

2. เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

ควรใช้สารละลายโพวีโดนไอโอดีน เช่น เบตาดีน

ถ้าไม่มี อาจใช้แอลกอฮอล์ 70 % หรือทิงเจอร์ไอโอดีน

3. ไม่ควรเย็บแผล

ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3 - 4 วัน

ถ้าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่

อาจเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อระบายไว้

4. กักสัตว์ไว้ดูอาการอย่างน้อย 10 วัน

โดยให้น้ำและอาหารตามปกติ

อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์ดุร้าย

กัดคนและสัตว์อื่น หรือไม่สามารถกักสัตว์ได้

ถ้าสัตว์หนีหายไป

ให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

5. รีบไปพบแพทย์ทันที หลังจากถูกสัตว์กัด

เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน

อย่ารอจนกระทั่งสัตว์ที่กัดตาย

อาจพิจารณาให้การป้องกันบาดทะยัก และยาปฏิชีวนะ

เพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย

6. พบสัตว์แพทย์ กรมปศุสัตว์

หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน

เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสัตว์

เช่น ชนิดสัตว์ สี เพศ พันธุ์ อายุ สถานที่ถูกกัด

เพื่อวางมาตรการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป

7. เมื่อสัตว์ตาย ตัดหัวส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า

8. ต้องซักประวัติโดยละเอียดและส่งไปพร้อมซากสัตว์

เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ

เกี่ยวกับการดูแลผู้สัมผัสโรค


ความเชื่อเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

ในปัจจุบัน

แม้ว่าคนจะตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าน้อยลง

เนื่องจากคนมีความรู้มากขึ้น

วัคซีนมีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น

ราคาถูกและหาได้ง่ายขึ้น รวมทั้งวัคซีนสัตว์ด้วย

ประการสำคัญ รัฐได้ให้ความสนใจต่อการป้องกัน

และกำจัดโรคนี้อย่างจริงจัง

แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อย

ต้องตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า

เพราะความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า


ความเชื่อ ความจริง ที่ว่า

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในหน้าร้อนเท่านั้น

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ทั้งปี

เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส

ติดต่อโดยได้รับเชื้อจากน้ำลายสัตว์ป่วย

ไม่ใช่เกิดเพราะความเครียดเนื่องจากความร้อน


เมื่อถูกสุนัขกัดต้องใช้รองเท้าตบแผล

หรือใช้เกลือขี้ผึ้งบาล์มหรือยาฉุนยัดลงในแผล


การใช้รองเท้าตบแผล จะทำให้แผลช้ำ

เชื้อกระจายไปรอบบริเวณแผลได้ง่าย

และอาจมีเชื้อโรคอื่น

ทำให้เกิดการอักเสบของบาดแผล

หรือเกิดบาดทะยักได้

เกลือหรือยาฉุน อาจมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่

ไม่ควรใส่ลงในแผล

ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง

เพื่อช่วยล้างเชื้อออก แล้วใส่ยาใส่แผล

เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือแอลกอฮอล์

ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้


การรดน้ำมนต์ช่วยรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้

เมื่อถูกสุนัขกัด การฆ่าสุนัขนั้นให้ตาย

แล้วนำตับสุนัขมารับประทาน

คนจะไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า



การรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ที่ได้ผลดีที่สุด

คือ ได้รับการฉีดวัคซีนทันทีเมื่อสัมผัสโรค

เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค

แต่ถ้าไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ปล่อยให้เชื้อเข้าสู่สมอง

จนถึงขั้นแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว

ไม่มียาใด ๆ รักษาได้

เนื่องจากเชื้อไปทำลายสมอง

ทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการคลุ้มคลั่งและตายในที่สุด

เนื่องจากกล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นอัมพาต

ดังนั้น การรดน้ำมนต์ไม่สามารถรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้


-เมื่อถูกสุนัขบ้ากัด การตัดหู ตัดหางสุนัขนั้น

จะช่วยให้สุนัขไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า


สุนัขหรือสัตว์อื่นที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด

หากไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน ควรทำลายทิ้ง

แต่หากต้องการรักษาชีวิตสัตว์นั้นไว้

ควรฉีดวัคซีนทันที

แล้วกักสัตว์ไว้ดูอาการ อย่างน้อย 6 เดือน

หรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์


คนท้องไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ปัจจุบัน มีความปลอดภัยสูง ฉีดได้แม้ในคนท้อง

สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

จะมีอาการดุร้าย ตัวแข็ง หางตกเท่านั้น

อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

มีทั้งแบบซึมและแบบดุร้าย

แบบซึมสุนัขจะหลบซุกตัวในมุมมืด

ถ้าถูกรบกวนอาจจะกัด ต่อมาจะเป็นอัมพาต แล้วตาย

บางตัวอาจแสดงอาการคล้ายกระดูกหรือก้างติดคอ

ทำให้เจ้าของเข้าใจผิด

พยายามล้วงปากสุนัข เพื่อหาเศษกระดูก

จึงไม่ควรล้วงคอสุนัข

หากจำเป็น ควรใส่ถุงมือทุกครั้ง

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นในสุนัขเท่านั้น

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นได้ในสัตว์เลือดอุ่น

เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด

แต่พบมากที่สุดในสุนัข

วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดรอบสะดือ 14 เข็ม

หรือ 21 เข็ม ถ้าหยุดต้องเริ่มต้นใหม่

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบัน มีคุณภาพดี

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนหรือใต้ผิวหนัง เพียง 5 เข็ม

และไม่ต้องฉีดทุกวัน

***************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 1:24:06 น.
Counter : 581 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

black shadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เก็บตกสารพันปัญหาของน้องหมา

จากคอลัมม์ คนรักหมา

โดย ท่านบัญชร ชวาลศิลป์

คอลัมม์ พิชิตปัญหาสัตว์

กับคุณหมอปานเทพ รัตนากร

จากน.ส.พ คม ชัด ลึก

และจากข้อมูล online

เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง "Pets"

กราบขอบพระคุณทุกท่าน

ที่ให้ความรู้ สาระประโยชน์

เพื่อคนรักสัตว์ และเพื่อนรักสี่ขา

ไว้ ณ. ที่นี้อย่างสูงค่ะ


Nome da música - Nome do cantor

" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"

GRAPHIC SITE

visitors currently

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add black shadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.