Song Code Reads Graphic1 Graphic2 Graphic3

โรคพาร์โวไวรัส หรือลำไส้อักเสบ

โรคพาร์โวไวรัส หรือลำไส้อักเสบ


รคพาร์โวไวรัส หรือลำไส้อักเสบ

เป็นโรคที่มีการระบาดไปทั่วโลก

และแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

นับเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในสุนัข

ที่สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาล

การระบาดเกิดขึ้นได้ง่าย รวดเร็วและรุนแรง

ทำให้สุนัขตายไป เป็นจำนวนมากด้วยอาการท้องเดิน

อาเจียน ไม่กินอาหาร ไข้สูง

สุขภาพร่างกายสูญเสียน้ำจำนวนมาก

โรคลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัสนี้

มักพบบ่อยในลูกสุนัขอายุตั้งแต่ 2 ถึง 6 เดือน

หลังจากได้รับเชื้อโรคไปแล้วประมาณ 5-7 วัน

ลูกสุนัขจะไม่กินอาหาร มีไข้สูงๆ ต่ำๆ

แสดงอาการอาเจียนบ่อยครั้ง ต่อมาไข้จะสูงขึ้น

นอนซึมหมดแรง เพราะอาเจียนอย่างมาก

พร้อมกันนี้ก็เริ่มมีอาการท้องร่วง

ถ่ายออกมาเป็นน้ำเหลวสีโอวัลติน หรือสีแดง

เพราะมีเลือดสดๆปนออกมา มีกลิ่นเหม็นคาวมาก

ไวรัสจะเข้าไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ

ทำให้ช๊อคตายได้อย่างรวดเร็ว

อัตราการตายของลูกสุนัขจะสูงมาก

ส่วนสุนัขโตแพ้โรคนี้น้อย

โดยปกติโรคนี้ไม่มียารักษาโดยตรง

เพียงแต่รักษาตามอาการที่พบเท่านั้น

ทางที่ดีควรหาทางป้องกันไว้ก่อน

โดยการฉีดวัคซีนตั้งแต่เมื่อลูกสุนัขอายุได้ 3 เดือน

หลังจากนั้นก็ฉีดกระตุ้นภูมิทุกๆปี ปีละ 1 ครั้ง

*************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 1:01:12 น.
Counter : 1516 Pageviews.  

โรคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์

โรคสุนัขที่พบบ่อย


รคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์

เป็นโรคฮิตติดอันดับ สำหรับสุนัขโรคหนึ่ง

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อยๆ

ตั้งแต่ 2-3 เดือนไปต้นไป

บางครั้งก็พบว่าเกิดในสุนัขอาวุโสได้เช่นกัน

เป็นแล้วโอกาสหายสำหรับสุนัขที่ ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้

ค่อนข้างต่ำ น้อยตัวนักที่จะหาย

ถึงจะหายแต่ก็ไม่ปกติ มักแสดงอาการทางประสาท

คือ กระตุกหรือชักตลอดชีวิต

ส่วนใหญ่แล้วตายอย่างค่อนข้างทรมาน

อาการของโรคนี้มักแสดงออกทางระบบหายใจก่อน

คือมีขี้มูกสีเขียวไหลย้อย ดูเหมือนเป็นปอดบวม

มีไข้ เบื่ออาหาร ซึม มีตุ่มหนองขึ้นใต้ท้อง

มีขี้ตาสีเขียวๆ เกรอะกรังตลอดเวลา

เมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้น

จะพบว่ามีอาการทางประสาท คือ ริมฝีปากสั่น กระตุก

และจะลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง

อาจพบว่าบริเวณฝ่าเท้ากระด้างขึ้น

บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วมด้วย

สุดท้ายของโรคมักตาย

นับเป็นภัยใหญ่หลวงชนิดหนึ่งของลูกสุนัข

แต่สามารถป้องกันได้

โดยการ พาลูกสุนัขไปรับการฉีดวัคซีน

ป้องกันโรคไข้หัดตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็มแรก

หลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือน

ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง

เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฉีดซ้ำทุกๆปี ปีละ 1 ครั้ง

**************





 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 0:59:34 น.
Counter : 1143 Pageviews.  

โรคแท้งติดต่อในสุนัข

โรคแท้งติดต่อในสุนัข


รคแท้งติดต่อในสุนัข

:ประวัติการค้นพบโรค:

โรคแท้งติดต่อในสุนัขนี้ได้

มีการตรวจพบครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ.2509

ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยโรคนี้ทำให้เกิดการแท้ง

และทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์พันธุ์

ในพ่อและแม่พันธุ์ในฟาร์มสุนัขแห่งหนึ่ง

สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

ชื่อว่า บรูเซลล่า เคนิส (Brucella canis)

โรคนี้จึงถูกเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า บรูเซลโลซีส (Brucellosis)

หรืออาจเรียกสั้นๆว่าโรค "บรู"

ต่อมาพบการระบาดของโรคนี้ในประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก


:การติดต่อของโรค:

1. โดยการกิน

เป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญที่สุดและรวดเร็วที่สุด

การติดต่อจากสุนัขเพศเมีย

โดยการกีนหรือเลียสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอด

ของสุนัขเพศเมียที่เป็นสัด

กินเนื้อเยื่อของลูกที่แท้ง

กินหรือเลียรกหรือน้ำคร่ำที่ออกมาจากการแท้ง

หรือกินสิ่งที่ปนเปื้อนจากสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอด

ในสุนัขเพศเมียหลังแท้ง

หรือกินน้ำนมจากเต้านมของแม่สุนัขที่ติดเชื้อ

ส่วนน้ำปัสสาวะของสุนัขเพศเมีย

พบเชื้อในปริมาณเล็กน้อย

การติดต่อจากสุนัขเพศผู้

โดยการกินหรือเลียน้ำอสุจิของสุนัขเพศผู้ที่ติดโรค

น้ำปัสสาวะของสุนัขเพศผู้ที่ติดเชื้อ

พบว่ามีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก

นอกจากนี้ยังสามารถพบเชื้อได้ในน้ำลาย

และในโพรงจมูกของสัตว์ที่ติดเชื้อโรคได้


2. โดยการผสมพันธุ์

เป็นการติดต่อที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด

เป็นการติดต่อระหว่างสุนัขเพศผู้และสุนัขเพศเมีย

ที่ตัวใดตัวหนึ่งเป็นโรค เป็นวิธีการติดต่อ

ที่จะนำโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้ง่ายที่สุด

ส่วนการติดต่ออื่นๆ

พบว่ามีรายงานการติดต่อทางการหายใจด้วย

เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายแล้ว

เชื้อจะถูกจับกินโดยเม็ดเลือดขาว

จากนั้นจะผ่านไปที่ต่อมน้ำเหลือง

และเชื้อจะแพร่กระจายไปทางกระแสเลือด

ไปที่อวัยวะอื่นๆ

นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด

โดยพบเชื้ออยู่ในเม็ดเลือดขาว

ซึ่งเชื้อยังมีการแบ่งตัวอยู่

เชื้อนี้ยังสามารถแบ่งตัวได้ในต่อมน้ำเหลือง

ม้าม ตับ ระบบสืบพันธุ์ มดลูกของสุนัขตั้งท้อง

ลูกอัณฑะ ต่อมลูกหมาก

สุนัขสามารถจะถูกตรวจพบภาวะที่เชื้อแบคทีเรีย

อยู่ในกระแสเลือด 2-4 สัปดาห์

หลังการติดเชื้อและจะคงอยู่นาน 6-24 เดือนได้

อาการ โรคนี้เป็นได้กับสุนัขทุกอายุ

ส่วนใหญ่สุนัขที่เป็นโรคนี้

จะไม่พบอาการป่วยของระบบอื่นๆ ให้เห็น

ดูโดยทั่วไปแล้วก็เป็นสุนัขที่แข็งแรงดี

ยกเว้นแต่มีปัญหาระบบสืบพันธุ์ที่กล่าวมาแล้ว


อาการในสุนัขเพศเมีย

แม่พันธุ์สุนัขอาจมีปัญหาเรื่องการผสมไม่ติด

หรือถ้าผสมติดก็อาจตรวจพบการตายของลูกในท้อง

ในระยะแรกของการตั้งท้อง

ทำให้อาจเข้าใจผิดว่าสุนัขผสมไม่ติด

แต่ถ้าแม่สุนัขสามารถตั้งท้องต่อไป

ก็อาจตรวจพบอาการแท้งของลูกสุนัข

ซึ่งมักจะแท้งในช่วงการตั้งท้องประมาณ 45 วันขึ้นไป

ซึ่งการแท้งนี้อาจแท้งออกมาหมดทุกตัว

หรือแท้งเพียงบางตัวและเหลือรอดบางตัว

ซึ่งก็สามารถอยู่จนครบกำหนดคลอด

แต่ลูกที่คลอดออกมาก็มักจะตายภายในสัปดาห์แรก

หรือตายก่อนหย่านม

แม่สุนัขบางตัวอาจมีสิ่งคัดหลั่งไหลออกมาจากช่องคลอด

ส่วนใหญ่แม่สุนัขบางตัวอาจไม่พบอาการป่วยเลย

ยกเว้นแต่มีอาการแท้งเท่านั้น

พบว่าเชื้อฏโรคแท้งติดต่อ

ไม่ทำให้วงรอบการเป็นสัดเปลี่ยนแปลง


อาการในสุนัขเพศผู้

สุนัขพ่อพันธุ์ที่เป็นโรคนี้

จะก่อให้เกิดปัญหาการผสมไม่ติด

อาจพบมีการอักเสบของถุงหุ้มอัณฑะ

ท่อนำน้ำเชื้ออักเสบ และอาจเกิดการบวมขยายของอัณฑะ

ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

แต่ส่วนมากแล้วพบว่า

ทำให้เกิดการอักเสบของท่อนำน้ำเชื้อ

มากกว่าลูกอัณฑะอักเสบ

ถ้าสุนัขพ่อพันธุ์เป็นโรคนี้อย่างเรื้อรัง

อาจก่อให้เกิดการฝ่อแฟบของลูกอัณฑะได้

และบางตัวอาจพบการบวมขยายใหญ่

ของต่อมน้ำเหลืองร่วมด้วย

การอักเสบที่ลูกอัณฑะ

อาจมีผลทำให้หยุดการผลิตน้ำเชื้ออสุจิ

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการตืดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก

ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พบเชื้อปริมาณมาก

ในปัสสาวะของสุนัขเพศเมีย

แต่ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการของต่อมลูกหมากอักเสบ

น้ำเชื้ออสุจิในสุนัขที่เป็นโรคนี้จะมีคูณภาพไม่ดี

ซึ่งก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผสมไม่ติดได้


ในสุนัขบางรายอาจพบอาการป่วยของระบบอื่นๆ

ได้แก่การบวมขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลือง

ม้ามโต ตับอักเสบลูกตาและม่านตาอักเสบ

หรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ

มีรายงานว่าโรคนี้สามารถติดต่อมายังคนได้

ซึ่งพบได้ในคนที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ

ที่เกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรียนี้

หรือในคนที่เลี้ยงสุนัข

อยู่ใกล้ชิดคลุกคลีกับสุนัขที่เป็นโรคนี้

อาการในคนไม่แน่นอน อาจไม่แสดงอาการเลย

หรืออาจแสดงอาการมีไข้ขึ้นๆ ลงๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ

อาจพบอาการตัวสั่น ปวดศีรษะร่วมด้วย

ในคนที่เป็นโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้

โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ

แต่ในสุนัขไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคนี้ได้

และยังมียาตัวอื่นในการรักษาโรคนี้

การรักษาในสุนัขด้วยยาปฏิชีวนะนั้น

เพียงแต่ช่วยควบคุมปริมาณเชื้อในกระแสเลือดเท่านั้น

เมื่อไหร่ที่หยุดกินยา

เชื้อนี้ก็สามารถเพิ่มจำนวนได้

และเชื้อนี้อาจอยู่ในตัวสุนัขนานนับปี


:การวินิจฉัยโรค:

สุนัขที่แลดูมีสุขภาพปกติดีสามารถจะติดเชื้อบรูเซลล่าได้

แนวทางการวินิจฉัยโรคจึงประกอบไปด้วย

1. ประวัติและอาการที่เคยแสดงออกมา

ให้เห็นถึงความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์

เช่นในสุนัขเพศเมียเคยมีลักษณะของการแท้งลูก

หรือในเพศผู้มีลักษณะการผิดปกติของอัณฑะ

และถุงหุ้มอัณฑะ เป็นต้น


2. การเพาะแยกเชื้อบรูเซลล่า

การพบเชื้อบรูเซลล่าในสุนัข

ถือว่าเป็นการยืนยันที่ดีที่สุดที่แสดงถึการเป็นโรคนี้

โดยทั่วไปนิยมเพาะหาเชื้อจากเลือดของสุนัขที่สงสัย

อย่างไรก็ตามเชื้อสามารถปะปนออกมาได้

กับสารคัดหลั่งในช่องคลอด (Vaginal discharges)

ลูกสุนัขที่แท้งออกมา ในน้ำนม ปัสสาวะ

ตลอดจนเนื้อเยื่อต่างๆ ของลูกอัณฑะ

ที่เกิดอักเสบหรือผิดปกติ


ในการส่งตัวอย่างตรวจจากสิ่งที่แท้ง

ที่แม่สุนัขขับออกมานั้นควรเก็บส่งตรวจให้เร็วที่สุด

หากจำเป็นต้องใช้เวลาในการขนส่ง

ก็ควรจะใส่ภาชนะปิดพร้อมแช่น้ำแข็งตลอดเวลา

จนกว่าจะได้ทำการตรวจ

สำหรับน้ำนมหรือน้ำปัสสาวะ

ก็ควรเก็บใสขวดที่ปลอดจากเชื้อและแช่ในน้ำแข็ง

หรือเก็บในตู้เย็นก่อนส่งห้องปฏิบัติการ

เพื่อทำการตรวจก็ได้เช่นกัน

ในบางกรณีอาจใช้แท่งไม้ที่พันด้วยสำลี (cotton swab)

ที่ใช้ในการเพาะหาเชื้อทางการแพทย์

มาแต้มสารคัดหลั่งในช่องคลอดสุนัข

หรือแต้มบริเวณลูกอัณฑะที่อักเสบบวม

มีหนองหรือน้ำเหลือง เพื่อส่งไปตรวจหาเชื้อบรูเซลล่า


ข้อควรระวังในการเก็บตัวอย่างส่งตรวจก็คือ

ผู้เก็บตัวอย่างตรวจอาจติดเชื้อบรูเซลล่าได้

หากไม่มีความระมัดระวังมากพอ

นายสัตว์แพทย์ส่วนใหญ่

จึงนิยมและแนะนำให้เพาะหาเชื้อจากเลือดสุนัข

เพราะโอกาสของคนที่จะติดเชื้อจากเลือดสุนัข

ค่อนข้างจะน้อยกว่าการเก็บสิ่งแท้งส่งตรวจ


3. การตรวจทางซีรั่มวิทยา

วิธีการนี้จะเป็นการตรวจหาภูมิต้านทาน

ต่อโรคบรูเซลล่าในสุนัข หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

ก็คือการตรวจหาแอนติบอร์ดี้ไตเตอร์

ต่อเชื้อบรูเซลล่าในซีรั่มของสุนัขนั่นเอง

ห้องปฏิบัติการที่ตรวจโรคแห้งติดต่อ

มักจะทำการตรวจทางซีรั่มวิทยา

ควบคู่ไปกับการตรวจเพาะเชื้อในกระแสเลือด

มีรายงานการตรวจที่ค่อนข้างจะตรงกันเป็นส่วนใหญ่

ว่าหากสุนัขมีระดับไตเตอร์ตั้งแต่ระดับ 1 : 200 แล้ว

มักจะตรวจพบเชื้อในกระแสเลือดด้วยเช่นกัน

การที่สุนัขมีระดับไตเตอร์สูง

แต่ตรวจไม่พบเชื้อในกระแสเลือด

ก็มิได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรค

ในทางกลับกันก็มีรายงาน

กับการตรวจพบเชื้อในกระแสเลือดได้

ในขณะที่สุนัขมีระดับต่ำกว่า 1 : 200

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสุนัขเพิ่งจะติดเชื้อได้ไม่นานนั่นเอง

อีกทั้งการที่สุนัขได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อนจะเจาะเลือดตรวจ

จะทำให้โอกาสการพบเชื้อบรูเซลล่ายากยิ่งขึ้น

การตรวจทางซีรั่มวิทยา

ในสุนัขที่เพิ่งได้รับเชื้อไม่เกิน 12 สัปดาห์

จะทำให้ความแน่นอนในการตรวจลดน้อยลง

การเพาะเชื้อจากเลือดร่วมด้วยจึงเป็นทางเลือกที่ดีขึ้น


การควบคุมและป้องกันโรค

“โรคนี้อย่างที่กล่าวมาแล้วว่ายังไม่มียารักษา

และไม่มีวัคซีนที่จะใช้ในการป้องกันโรคนี้ได้”

วิธีที่ดีที่สุดคือ

พยายามอย่าให้สุนัขไปคลุกคลีกับสุนัขอื่น

ที่ไม่ทราบประวัติที่แน่นอน

และถ้าเป็นการเลี้ยงในระดับฟาร์มแล้ว

โอกาสสัมผัสติดต่อโรคนี้จากสุนัขอื่นนอกฟาร์ม

เป็นไปได้สูงมาก ไม่ว่าจากการผสมพันธุ์

หรือจากสนามประกวดสุนัข


มาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคนี้คือ

1. การผสมพันธุ์ระหว่างแม่และพ่อพันธุ์สุนัขจากฟาร์มอื่น

ควรมีการตรวจสุขภาพรับรองว่าปลอดจากโรคนี้จากสัตวแพทย์

2. พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขของเรา

อยู่ใกล้ชิดคลุกคลีกับสุนัขอื่นที่ไม่ทราบประวัติ

อาจเป็นในสนามประกวดหรือสถานที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็น

3. การสั่งซื้อและนำเข้าของสุนัขจากต่างประเทศ

ควรขอใบตรวจยืนยันว่าสุนัขที่สั่งซื้อมานี้ปลอดภัยจากโรคนี้

4. การซื้อสุนัขใหม่เข้ามาในฟาร์ม

ควรขอใบตรวจยืนยันว่าสุนัขปลอดจากโรคนี้เช่นกัน

สุนัขตัวใหม่ที่เข้ามาในฟาร์มควรขังแยกอย่างน้อย 1 เดือน

และควรมีผลตรวจที่ปลอดโรคอย่างน้อย 2 ครั้ง (ห่างกัน 1 เดือน)

หมายถึงตรวจครั้งแรกที่นำเข้ามาและขังแยกอีก 1 เดือน

และตรวจซ้ำครั้งที่ 2

5. ฟาร์มสุนัขควรมีการตรวจโรคนี้อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน

ในฟาร์มที่พบการระบาดของโรคนี้

ควรตรวจโรคนี้ในสุนัขทุกตัว

ตัวที่พบว่าเป็นโรคจากการตรวจซีรั่ม

ควรตรวจซ้ำอีกครั้ง (1 เดือนถัดไป)

ส่วนตัวที่ตรวจไม่พบให้ตรวจซ้ำอีกทุกๆ เดือนจนครบ 3 เดือน

เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อนี้และควรตรวจซ้ำทุกๆ 6 เดือน

ยาฆ่าเชื้อในฟาร์มที่พอใช้ได้ผลดีคือ quartery ammonium compound

และ iodophors (น้ำยาผสมแอมโมเนียม หรือน้ำยาผสมไอโอโดโฟร์)

6. ในสุนัขรายที่มีปัญหาและอาการที่กล่าวมานี้

ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ด่วน

ส่วนสุนัขที่เป็นโรคนี้

มีวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคนี้คือ

การฉีดยาให้หลับตลอดไป

วิธีนี้จะเป็นการป้องกันที่จะไม่ให้แพร่โรคไปได้เลย

ส่วนวิธีที่สอง

คือการทำหมันทั้งในสุนัขเพศเมียและเพศผู้

ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการลดการแพร่ของโรคนี้ได้มากแต่ไม่ 100%

เพราะยังอาจแพร่โรคได้อยู่แต่น้อยมาก

และควรแยกเลี้ยงต่างหาก

โดยไม่ให้ปะปนกับพ่อและแม่พันธุ์

หรือสุนัขอื่นๆ ในฟาร์ม

และที่สำคัญห้ามขายสุนัขที่เป็นโรคให้กับฟาร์มอื่น

เพราะจะทำให้การแพร่ของโรคเป็นไปได้มากขึ้น

ซึ่งจะทำให้การควบคุมโรคนี้ทำได้ลำบากมากขึ้น

และจะไม่สามารถกำจัดโรคนี้ออกจากประเทศไทยได้

ส่วนผู้เลี้ยงสุนัขควรมีการป้องกันตนเอง

เช่นพยายามอย่าคลุกคลีกับสุนัขที่ไม่ทราบประวัติ

หรือควรล้างมือทุกครั้งที่จับต้องสุนัข

โดยเฉพาะก่อนทานอาหาร

***************




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 0:50:15 น.
Counter : 3024 Pageviews.  

"ทำไมสุนัขชอบทำลายข้าวของ"

ทำไมสุนัขจึงชอบรื้อทุกอย่างออกมากัดเล่น


ทความพิเศษ

ทำไมสุนัขของผมชอบทำลายข้าวของ

( สนับสนุนข้อมูลโดย น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร

ผ.อ. โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี. )








จอมซนที่ชอบรื้อของประจำบ้าน

ความจริงแล้วการรื้อค้นของออกมากัดเล่น

เป็นพฤติกรรมปกติของสุนัข

ปากของสุนัขเปรียบได้กับมือของคน

สุนัขใช้ปากในการสำรวจสิ่งของรอบตัว

ใช้ในการงับหรือคาบอาหาร และใช้ปาก

เป็นเครื่องระบายความเซ็งและความเครียด

แต่ก็ยังดีกว่าการใช้ปากของมนุษย์

ที่บางครั้งก็ก่อมหันตภัยให้กับคนรอบข้าง

สุนัขที่ใช้ปากมากเกินจำเป็น

อาจจะต้องไปหาสัตวแพทย์

เนื่องจากเหงือกอักเสบหรือฟันหักกร่อน

หรือเนื่องจากไปกัดเอาของที่เป็นพิษเข้า

บางตัวคงกลุ้มใจพิษเศรษฐกิจ

หนักขนาดจะกินยาตาย

เพราะดันไปคว้าเอายาลดความดัน

หรือยาแก้ปวดของเจ้าของมากัดเล่น

แถมไม่เล่นเปล่า

ยังกลืนลงท้องไปอีกไม่ทราบปริมาณ

เดือนร้อนทั้งเจ้าของและสัตวแพทย์

ที่ต้องหาทางช่วยชีวิตสุนัขเอาไว้

ที่หนักข้อหน่อยก็คว้าเอายาฆ่าแมลงมาซดเล่น

ช่วยทันก็รอดช่วยไม่ทันก็ตาย

หรือบางทีช่วยทัน แต่บังเอิญ..

ยาไปทำลายอวัยวะภายในเสียหายยับเยิน

ก็ตายเหมือนกัน


:พฤติกรรมการกัดของเล่นเป็นเพราะอะไร:

การที่สุนัขหรือสัตว์เลี้ยงของท่าน

ชอบกัดแทะเป็นเพียงพฤติกรรมตามปกติ

เนื่องจากสุนัขใช้ปากแทนมือ

ในการสำรวจสิ่งของและสิ่งแวดล้อม

ใช้ในการจับอาหารเข้าปาก

และใช้เพื่อระบายความเบื่อและความเครียด

บ่อยครั้งทีเดียวที่สุนัขใช้ปาก

เพื่อรักษาโรคของตัวสุนัขเอง

ที่เห็นได้เด่นชัดคือ การแทะของใช้ในบ้าน

เพื่อระงับอาการปวดฟันและเหงือกอักเสบ

เช่นในรายลูกสุนัขและสุนัขอายุมาก

ซึ่งกรณีนี้มักจะกัดแทะจนกว่าจะหายปวด

ซึ่งกินเวลานานหลายวันหรือจนกว่าอาการจะหายไป

อีกกรณีคือ สุนัขปวดท้อง หรือปวดบริเวณลำคอ

ซึ่งมักแสดงอาการกัดแทะเพียงระยะเวลาสั้น ๆ

การที่สุนัขทำลายข้าวของบางครั้ง

ก็เป็นเนื่องจากสภาพทางอารมณ์

อันเนื่องมาจากความเครียด

เช่น จากความกลัว หรือกังวลใจบางอย่าง

หรือเกิดเนื่องจากความพลั้งพลาดของเจ้าของเอง

เช่น เจ้าของให้สุนัขกัดถุงเท้าเก่าหรือตุ๊กตาเก่าเล่น

สุนัขของท่านคงไม่สามารถแยกได้

ว่าของที่เล่นอยู่เป็นของเก่าหรือใหม่

เขาก็จะกัดเล่นไปหมด


:เราจะทราบได้อย่างไร

ว่าสุนัขชอบทำลายข้าวของหรือไม่

และจะหาสาเหตุได้อย่างไร:


บ่อยครั้งทีเดียวที่การกัดแทะของเล่น

เริ่มจากการเล่นสนุกของสุนัข

และพฤติกรรมนี้ถูกเจ้าของละเลย

เนื่องจากของที่กัดเล่นอาจจะไม่มีค่า

แต่เมื่อไหร่ที่ของที่สุนัขนำมากัดเล่นเป็นของที่มีราคา

พฤติกรรมนี้จะเกิดปัญหาตามมาทันที

ประการแรกท่านต้องพาสุนัขของท่าน

ไปหาสัตวแพทย์ประจำเพื่อหาสาเหตุของโรค

สัตวแพทย์บางท่านอาจจะช่วยท่านเจ้าของได้

ในกรณีที่การทำลายของ

เกิดเนื่องจากความเครียดจากความกลัวบางสิ่ง

หรือเนื่องจากถูกทิ้งไว้ตัวเดียว

ความกลัวจะเห็นได้ชัด

เมื่อมีการเปิดประตูหรือหน้าต่าง

สัตว์จะพยายามหนีออกไป

ส่วนความเหงาเนื่องจากถูกทิ้งไว้ตัวเดียว

สัตว์จะเรื่มกัดแทะเมื่ออยู่เพียงลำพัง

เนื่องจากมีการเปลี่ยนตารางเวลาของสัตว์ใหม่

เช่น เจ้าของมีงานอื่นมาใหม่

หรือมีเด็กอ่อนคนใหม่เข้ามาในบ้าน เป็นต้น


:มีสาเหตุอื่นหรือไม่ในการที่สุนัขทำลายข้าวของ:

ยังมีสาเหตุอื่นๆเช่น สุนัขของท่านกินเศษผ้า

หรือของแปลกปลอมเข้าไป

เคยพบกระทั่งตะปูตอกสายไฟ โซ่ทั้งเส้น

หิน กระดูกก้อนโต เม็ดทุเรียน ลูกกอล์ฟ

เข็ม กระดิ่ง ผ้าขนหนู ฯลฯ

ผลก็คือต้องให้สัตวแพทย์ผ่าออก

เป็นเรื่องใหญ่โตทีเดียว

เพราะกว่าจะทราบบางทีก็สายเกินแก้

จะทำอย่างไรที่จะให้สุนัขเลิกทำลายข้าวของ

เราต้องเข้าใจก่อนว่าสุนัขใช้ปาก

ในการสำรวจของ และเป็นเรื่องปกติ

วิธีง่ายที่สุดคือหาของให้สัตว์แทะเล่น

เช่น กระดูกเทียม ตุ๊กตาผ้า

หรือพลาสติกที่ทำมาเพื่อให้สุนัขเล่น

ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ

ท่านเจ้าของอาจจะเลือกซื้อมาหลายอย่างสักหน่อย

แล้วดูว่าสุนัขของท่านชอบของเล่นแบบไหนมากที่สุด

ท่านก็อาจจะซื้อมาหลายชิ้นหน่อย

และวางไว้ในที่ ๆ สุนัขเห็นได้ง่าย

เมืองนอกมีของเล่น

ที่สามารถซ่อนขนมสุนัขไว้ข้างในได้

ซึ่งช่วยได้อย่างมาก

เพราะสุนัขจะสนุกกับการหาขนม

ที่ซ่อนอยู่ในของเล่นจนลืมทำลายข้าวของไปได้

อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

บ้านเราไม่มีของเล่นแบบนั้น

ดัดแปลงเอาได้โดยทาขนม

เช่น เนยถั่ว ชีส ทุเรียนกวน (ถ้าสุนัขชอบ)ฯลฯ


ท่านสามารถฝึกสุนัขของท่าน

ให้กัดแทะและไม่กัดแทะบางสิ่งได้

ขั้นแรก ท่านอาจจะวางของเล่นสุนัข 9 อย่าง

ปนกับรองเท้า สั่งให้สุนัขไปคาบของเล่นของเขามา

(หรือคำสั่งใด ๆ ก็ได้ที่คุณต้องการสื่อกับสุนัข)

ถ้าสุนัขคาบได้ถูกต้องก็ให้รางวัล เช่นของขบเคี้ยว

หรือการลูบหัวหรือตบเบา ๆ ที่ไหล่เพื่อแสดงความพอใจ

รวมทั้งใช้คำพูดที่อ่อนโยน

แต่ถ้าสุนัขของคุณคาบรองเท้ามา

ให้ตวาดหรือส่งเสียงดัง ๆ

แสดงความไม่พอใจจนกว่าสุนัขจะวางของนั้นลง

ถ้าสุนัขมีพัฒนาการที่ถูกต้อง

คือคาบของได้ถูกต้องทุกครั้ง

คุณก็ค่อย ๆ ลดของเล่นเขาลง

และเพิ่มปริมาณของใช้ส่วนตัว

ที่ไม่ต้องการให้สุนัขกัด

ภายใน 2-3 สัปดาห์

ถ้าท่านฝึกได้อย่างสม่ำเสมอ

สุนัขก็จะทราบว่าสิ่งของที่เขาควรจะกัดมีอะไรบ้าง


หากิจกรรมอื่นให้สุนัขของท่านทำจนเหนื่อย

หรือยุ่งจนไม่มีเวลาไปทำลายข้าวของ

เช่น ให้วิ่งไล่คาบของมาให้

หรือเล่นซ่อนหากับสุนัขของท่าน

แต่ถ้าสุนัขของท่านไม่มีทีท่าว่าจะเลิกทำลายข้าวของ

อาจจะต้องใช้มาตรการขั้นสุดท้าย

เช่น การวางกับดักไว้

บริเวณที่สุนัขจะเข้าไปหาของที่ไม่ควรจะเล่น

เช่น ใช้กระป๋องเปล่าใส่เหรียญวางขวางทางไว้

เวลาล้มจะมีเสียงดังสุนัขจะตกใจวิ่งหนี

ใช้พริก หรือพริกไทย

โรยของที่ไม่ต้องการให้สุนัขกัด

(ต่างประเทศจะมีขายในรูปสเปรย์) ฯลฯ


ถ้าท่านเห็นสุนัขกำลังกัดของ

ให้ว่ากล่าวสุนัขด้วยเสียงที่แสดงความไม่พอใจทันที

อย่าไปตำหนิหลังจากนั้น

เพราะสุนัขจะจำไม่ได้ว่าไปทำอะไรมา

แต่ถ้าสุนัขทำดีท่านต้องให้รางวัล

และพูดคุยกับเขาด้วยน้ำเสียงที่แสดงความยินดี

ถ้าสุนัขของท่านชอบรื้อขยะ

ให้วางกระป๋องเปล่าไว้บนถังขยะ

เพื่อว่าเวลาสุนัขมารื้อกระป๋องจะล้มเกิดเสียงดัง

สุนัขจะตกใจไม่กล้ามารื้อถังขยะอีก

คุณต้องคอยชี้แนะสุนัขและสัตว์เลี้ยงของคุณ

ในการเรียนรู้ว่าสิ่งไหนควรกัดสิ่งไหนไม่ควร

ถ้าคุณไม่สามารถทำสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นได้

หรือพยายามแล้วไม่สำเร็จ

ทางเดียวที่จะแก้ได้คือ

คุณต้องจำกัดบริเวณสุนัขและสัตว์เลี้ยงของคุณ

ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่สัตว์ไม่สามารถทำลายข้าวของได้

อย่าขังไว้ในห้องครัวหรือห้องน้ำ

ที่มีตู้หรือชั้นวางของก็แล้วกัน

เพราะสุนัขก็จะรื้อหรือกัดแทะตู้เสียหาย

ให้คุณได้จ่ายเงินอีก

***********









 

Create Date : 20 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 0:39:43 น.
Counter : 942 Pageviews.  

วิธีป้องกันตัวเมื่อโดนสุนัขจู่โจม



ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ตัวก่อนว่า
สุนัขตัวไหนกำลังไม่พอใจเราอยู่
ให้ลองสังเกตและฟังเสียงของเค้าดู
ถ้าสังเกตเห็นว่าหูของเค้าพาดไปด้านหลัง
ติดกับหัวของเค้าเลย และยืนเกร็งขาอยู่
หรือว่าสังเกตเห็นขนบริเวณหลังของเค้าตั้งฟูขึ้น
พร้อมกับมีการทำเสียงขู่ในลำคอด้วยแล้วละก็
นั่นก็เป็นสัญญาณเตือนให้คุณรู้ว่า
" ถ้าเข้ามาใกล้อีกนิด ผมจะกัดคุณแน่ ๆ นะครับ "
ให้คุณรีบอยู่นิ่งๆ นับ 1 - 5 ช้า ๆ ในใจ
แล้วพยายามก้าวหลบไปด้านข้าง
หรือถอยหลังกลับไปช้า ๆ
แต่ถ้าสุนัขตัวนั้นไม่สงบลง
แล้วกระโดดเข้าใส่ตัวคุณ
ให้รีบก้มลงแล้วม้วนตัวลงเป็นก้อนกลม
ใช้ลำแขนกุมส่วนของศีรษะไว้ให้มิด
เพื่อให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บน้อยที่สุด

หลายคนมักที่จะมีความเข้าใจผิด ๆ ที่ว่า
เมื่อสุนัขขู่คำรามใส่ ให้รีบจ้องตามันไว้อย่างเขม็ง
อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดมากทีเดียว
เพราะสำหรับสุนัขแล้ว
การที่คู่ต่อสู้ส่งสายตามาปะทะกับสายตาตัวเองนั้น
ถือว่าเป็นการท้าทายอำนาจอย่างแรงกล้า
จะยิ่งทำให้เค้ารู้สึกไม่พอใจและโมโหเข้าไปกันใหญ่ เหตุการณ์ที่ตามมาอาจจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้น
แถมการที่เรามัวแต่ไปจ้องตาโต้ตอบกับสุนัขแล้ว
ยิ่งเปิดโอกาสให้เค้าจู่โจมใส่หน้าของเราได้อีก
ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมาก ก็ต้องระวังกันไว้ให้ดีด้วย.


*************************




 

Create Date : 26 มิถุนายน 2548    
Last Update : 12 มกราคม 2549 20:52:55 น.
Counter : 652 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

black shadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เก็บตกสารพันปัญหาของน้องหมา

จากคอลัมม์ คนรักหมา

โดย ท่านบัญชร ชวาลศิลป์

คอลัมม์ พิชิตปัญหาสัตว์

กับคุณหมอปานเทพ รัตนากร

จากน.ส.พ คม ชัด ลึก

และจากข้อมูล online

เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง "Pets"

กราบขอบพระคุณทุกท่าน

ที่ให้ความรู้ สาระประโยชน์

เพื่อคนรักสัตว์ และเพื่อนรักสี่ขา

ไว้ ณ. ที่นี้อย่างสูงค่ะ


Nome da música - Nome do cantor

" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"

GRAPHIC SITE

visitors currently

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add black shadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.