>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
คำตอบโต๊ะศาสนา "เจอพระที่มีความสามารถในการเข้าทรงแบบนี้อาบัติไหมครับ"Y9940916

คำถาม

             พอดีมีอยู่วันหนึ่งเดินทางไปจ.กาญจนบุรีกับญาติๆบอกว่าจะไปทำบุญกันจึงนั่งรถกันไป พอไปถึงก็บอกว่าพระอยู่บนเขาแต่ผมจำไม่ได้ว่าเขาอะไรนะครับซึ่งของที่ทำบุญก็เป็นพวกอาหาร น้ำ ซึ่งทางเดินขึ้นเขาชั้นและสูงมาก ระหว่างทางก็มีรูปพระ หรือฤาษี ตลอดทาง พอไปถึงก็มีพระพุทธรูปอยู่ 1 องค์ ก็แปลกใจทำไมไม่มีอะไรที่บ่งบอกว่าเป็นวัดเลย พอขึ้นไปถึงบนสุดก็มีกระท่อม มีพะรอยู่ 1 รูปก็ยังงงๆอยู่ ญาติก็บอกว่าให้เอาของเตรียมถวายท่าน พอถวายเสร็จ ก็มีกระดาษให้ท่องคาถา ในคาถาเขียนว่า คาถาพระครูเทพโลกอุดร พอท่องใกล้เสร็จพระรูปนั้นก็ตะโกนออกมาเวียงดังแล้วก็เปลี่ยนเสียงเป็นคนแก่พูด แล้วเค้าก็ให้ผมถวายหมาก ท่านก็รับหมากไปเคี้ยวแล้วก็พูดๆ อะไรบางก็จำไม่ได้แล้ว ซักพักนึงก็เหมือนในหนังท่านก็คอตกก้มหน้าเหมือนว่า องค์ที่ประทับออกแล้ว แล้วก็คุยสัพเพเหระทั่วไป หลังจากนั้นท่านก็บอกว่าจะสร้างพระสร้างอาราม แต่ที่สงสัยอยู่ว่าการกระทำเข้าทรงแบบนี้ไม่อาบัติหรือ และสถานที่ๆไปก็ไม่ใช่วัดเลยด้วย แล้วรวมถึงกาจะสร้างพระ สร้างอารามอีก ซึ่งผมดูแล้วไม่สบายใจเหมือนโดนหลอกเลยว่าให้มาทำบุญ ถ้าเปลี่ยนจากห่มจีวร เป็นคนธรรมดาใส่เสื้อผ้า แล้วเข้าทรงผมว่าไม่ต่างกันเลย ที่มาแสดงอิทธิฤทธิ์ ไม่รู้สึกว่าศรัทธาใดๆทั้งสิ้น ไม่ทราบว่าผมคิดถูกหรือผิด แล้วถ้าผมคิดถูกจะมีการ และที่ทราบเพิ่มเติมว่าตอนนี้มีการระดมเงินเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่นั่นเพิ่มเติมแล้วอีกด้วย...



             ผู้กระทำแยกเป็น 2 กรณี คือ
  • หลอกตัวเอง คือสะกดจิตตัวเองหรือหลงนั้นแหละ อันนี้น่าสงสาร
  • หลอกผู้ชม คือรู้อยู่แต่แสร้งเพื่อ ลาภสักการะ อันนี้น่าส่งศาล

  • ทางแก้ 2 ส่วน 1.ในส่วนของผู้เข้าใจว่าทรงเอง 2.กับผู้ที่หลงเชื่อ
    1.ทางแก้ในส่วนของผู้เข้าใจว่าทรงเอง(อันนี้ฝากไว้กับคนทั้วไปด้วย) อันนี้จะกล่าวเฉพาะผู้ปฏิบัติที่เห็นผิดคือสะกดจิตตนเอง ท่านต้องเอาใหม่ ทรงองค์ใหม่ คือ องค์ศีล องค์สมาธิ องค์ปัญญา โดยหากพิจารณาเรื่องศีลภิกษุท่านจะไม่สามารถกระทำการอย่างเช่นนั้นได้ คือ

                 สิกขาบทข้อ "อวดอุตริมนุษยธรรม" พิจารณาดังนี้ ท่านอวดในสิ่งที่มีในตนหรือเข้าใจว่ามีในตน(เข้าใจผิด) อันนี้ไม่เป็นอาบัติปาราชิก แต่ผิดปาจิตตีย์ เพราะทำเลสอุตริมนุษยธรรมกับโยม(อนุปสัมบัน) คือโยมต้องเข้าใจอยู่แล้วว่าอาการนี้ไม่ใช่ธรรมดาต้องเกิดจากสภาพเหนือปกติวิสัย อันนี้พระที่ท่านทรงไตรสิกขาท่านไม่ทำอย่างนี้แน่นอน ยกเว้นอุตริมนุษธรรมนั้นทำกับพระด้วยกันไม่เป็นอาบัติข้อใดเลย แต่ก็น้อยท่านที่จะทำเพราะล่อแหลมกับการอยู่ด้วยกันเพราะพระเพื่อนอาจไม่คบหาด้วย หรือหากท่านจะกล่าวก็จะกล่าวกับผู้ที่ร่วมปฏิบัติด้วยกันเท่านั้น ไม่มาแสดงกับโยมอย่างนี้

             
    สรุป
    ถ้าท่านหลงหลอกตัวเอง ท่านไม่เป็นอาบัติปาราชิก แต่เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ทางแก้กับไปทรงสิกขา(เรียนใหม่) ส่วนหากไม่มีในตนคือโกหก ขณะก่อนทำก็รู้ว่าโกหก ขณะกระทำก็รู้ว่าโกหก ขณะกระทำแล้วก็รู้ว่าโกหก อันนี้เป็น ปาราชิก หาสังวาสมิได้
    2.ทางแก้กับผู้ที่หลงเชื่อ ต้องหาผู้ที่ชำนาญวินัย(ย้ำชำนาญจริงๆ) ไปกราบท่านแล้วเล่าเรื่องให้ฟังโดยให้ผู้ที่หลงเชื่อฟังอยู่ด้วย ก็จะเพิ่มปัญญาท่านผู้ฟัง และลดความหลงลงได้ ส่วนจะแจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง ก็มีตามลำดับคณะปกครองสงฆ์อยู่แล้ว เช่น เจ้าอาวาส > เจ้าคณะตำบล >อำเภอ >จังหวัด... ลองปรึกษาท่านเหล่านั้นดู

    ถามเพิ่ม แล้วอีกอย่างถ้าสมุติว่า บวชเองไม่มีผู้บวชให้หรือ ไม่มีที่มาที่ไปว่าบวชมาจากวัดไหน..ด้วยอันนี้ยังไงก็ผิดใช่ไหมครับ

                
    ตอบ
    ตามความเข้าใจหากจะให้วิเคราะห์ลงลึกกว่านี้ วิเคราะห์ว่า พระภิกษุรูปนี้น่าจะบวชอย่างถูกต้องครับ และท่านมีปฏิปทาดีคือชอบความวิเวกจึงยึดเอาสถานที่หลีกเร้นเช่นนั้น และน่าจะมีคุณธรรมระดับสมาธิระดับหนึ่ง แต่อย่างที่ว่าเมื่อท่านไม่แยบคายในศีลละเอียดข้อดังที่กล่าวไว้ใน คห.ที่ 9 นั้น มันส่อแววว่าท่านผู้นี้ หลงทางมากกว่าที่คิดจะ อวดอุตริ เพื่อหาทรัพย์หรือลาภสักการะ
    ฉะนั้นจึงได้กล่าวว่า "ท่านน่าสงสาร" อาจเป็นเพราะเกิดอาการขัดใจกับสำนักที่บวชว่าไม่มีปฏิปทาเรื่องการภาวนา ท่านจึงหลีกเร้นผู้เดียวโดยที่ไม่ศึกษาหรือไม่มีที่ให้ศึกษาก็ได้ในเรื่องศีลละเอียด
    โดยส่วนใหญ่พระภิกษุเหล่านี้จะบวชเมื่ออายุมากแล้ว และข้อสำคัญคือไม่มีโอกาสพบเจอ หมู่สงฆ์ที่ปฏิบัติอย่างถูกต้องชัดเจนจึงทำให้ ศีลวัตรออกนอกแนวอย่างนั้น สังเกตุได้ว่าที่ท่านผู้นี้เอ่ยเรื่องการสร้างวัด สร้างพระ ซึ่งส่อเจตนาว่าท่านคิดดี แต่รากมูลของการคิดนั้นมันเบี่ยงเบนเสียแล้วจากเรื่องวินัยละเอียดไม่ได้ศึกษา(สิกขา) หรือไม่ได้ประพฤติ เรื่งของพระภิกษุรูปนี้เป็นเหตุให้สาธุชนในที่นี้ได้แง่คิดมากครับว่า
    สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงดำรัสนั้นพระองค์ไม่ได้ทรงใช้คำว่า "ให้ทำดี" ทรงมีพุทธดำรัสว่า จงยังกุศลให้ถึงพร้อม ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า "ความดี" กับ"กุศล" นั้นอาจแตกต่างกันได้ ซึ่งผู้แปลหลายที่ แปลข้อความตรงนี้ว่า จงทำดี ซึ่งอาจให้ความหมายที่ไม่ตรงได้ในยุคนี้


              สัพพปาปัสสะ อกรณัง              การไม่ทำบาปทั้งปวง

              กุสลัสสูปสัมปทา                    การทำกุศลให้ถึงพร้อม

              สจิตตปริโยทปนัง                   การชำระจิตของตนให้หมดจด 3 อย่างนี้ 

              เอตัง พุทธานะ สาสนัง              เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


              คำว่า "กุศล" นั้น แตกต่างจาก "ความดี" ซึ่งในสมัยนี้เรื่องบางเรื่องสังคมอาจมองว่าเป็นเรื่องดี เช่นกรณีธรรมกาย หรือเหล่า อลัชชี ทั้งหลาย เป็นต้น แต่ถ้าหากเราได้ศึกษาและพิจารณาคำสอน คำสั่ง ของพระพุทธองค์แล้ว เราจะสามารถแยกออกได้ว่า ความดี แตกต่างจากคำว่ากุศลอย่างไร โดยที่จะเข้าใจความเบี่ยงเบนของศัพท์ที่ว่า "ความดี" โดยความหมายของชนในยุคนี้ชัดขึ้น และข้อสำคัญขณะเดียวกันก็จะทราบความหมายแห่งพุทธนัยยะ "กุสลัสสูปสัมปทา" ได้อย่างถูกต้องตรงตามพุทธประสงค์
    กุศลมูลจิต หมายถึง จิตที่ประกอบไปด้วย ทาน ศีล ภาวนา เท่านั้นนอกนั้นเป็นอกุศล
    ฉะนั้นกรณีที่ จขกท. กล่าวมานี้จึง อาจจะกล่าวได้วว่า พระรูปนี้ท่านทำดี(ภาษาปัจจุบัน) แต่ไม่ใช่พุทธประสงค์ กล่าวคือไม่ใช่การอันเป็น กุศล ไม่ใช่กิจของสงฆ์นั้นเอง


              ถามเพิ่ม แล้วถ้าเราทำบุญไปก็ถือว่าเป็นเจตนาดีก็ไม่ถือว่าทำไปแล้วจะเสียเปล่าใช่ไหมครับ

    ตอบ
    ไม่เสียเปล่าครับ บุญเกิดจากจิตที่คิดจะสละ ในส่วนของบุญนี้บรรลุวัตถุประสงค์ไปแล้ว คือโดยจิตที่คิดสละนั้นแต่ทว่าในส่วนเสีย หากเราไม่เลือกปฏิคาหก(ผู้รับ) ก็อาจนำมาซึ่ง อกุศลมูลจิตที่ตามมาได้และแน่นอนผลย่อมเป็นลบ เพราะต้องข้องเกี่ยวกับบุคคลหรือหมู่บุคคลที่ นอกธรรมวินัย และอาจก่อเป็นกรรมขั้น ตู่พุทธพจน์ กร่อนพุทธดำรัส ได้ ซึ่งทางภาษากฎหมายอาจใช้แทนว่า ต่างกรรมต่างวาระ คือจิตที่ได้สละดับไปแล้ว จิตอื่นๆ ที่ทำกิจกรรมร่วม อาจไม่เป็นกุศล
    อันการทำบุญนั้นมี 10 แบบวิธี เรียกภาษาธรรมว่า บุญกริยาวัตถุ 10 ประกอบด้วย
  • ๑. ให้ทาน แบ่ง ปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดย ส่วนรวม
  • ๒. รักษาศีล ก็ เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและ พัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ
  • ๓. เจริญภาวนา ก็ เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น
  • ๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อย อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)
  • ๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจมัย)
  • ๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)
  • ๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้ อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)
  • ๘. ฟังธรรม บ่ม เพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)
  • ๙. แสดงธรรม ให้ ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)
  • ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มี การปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)

  • แนวพิจารณา
    เนื่องจากข้อแรกทำไว้ผิด ข้ออื่นจึงจะบริสุทธิ์ไปไม่ได้เปรียบเหมือนกับการติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ด แรก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อให้ทาน กับคณะที่ทุศีล ก็ต้องอยู่ใกล้ชิดคณะนั้นๆ รักษาศีลก็ไม่ตรง ภาวนาจึงผิดทาง อ่อนน้อมก็ผิดที่ผิดคน ช่วยเหลือก็ช่วยกันผิดๆ ชวนกันไปก็ชวนกันไปผิดๆ โมทนาก็ผิดๆ ฟังธรรมปฏิรูป แสดงธรรมก็เบี้ยวๆ ความเห็นจึงไม่มีทางถูกควรได้เลยเพราะจากที่กล่าวในเหตุของกรรมบ้านเมือง ตามกระทู้บทที่ 2

              ฉะนั้นทางแก้จึงง่ายมากคือ การทำความเห็นให้ตรง และปรับท่าทีให้เป็นผู้กำหนดรู้ว่าจะแยบคายในการให้ทานที่ถูกต้องตามพุทธ พจน์ดำรัส ฉะนั้นเมื่อทำได้ดังนี้ ทานจึงบริสุทธิ์ได้และข้อสำคัญบุญทั้ง 10 ชนิดจึงมีอันทำได้โดยปราศจากพิษ



    Create Date : 23 พฤศจิกายน 2553
    Last Update : 3 ธันวาคม 2553 21:28:27 น. 1 comments
    Counter : 565 Pageviews.

     


    โดย: MaFiaVza วันที่: 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา:6:38:27 น.  

    ชื่อ :
    Comment :
      *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     

    aero.1
    Location :
    นนทบุรี Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    การศึกษาทางโลก
    รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

    การศึกษาทางธรรม
    -สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
    -พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
    -อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
    -ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

    .

    **************************
    Friends' blogs
    [Add aero.1's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.