>>>        ชาวพุทธแท้ หรือชาวพุทธในทะเบียนบ้านต่างกันอย่างไร ?       อลัชชีคืออะไร ?        เงินกับพระอย่างไรเหมาะควร ??        กรรมของชาวไทย ปัจจุบันและวิธีแก้ไข            หนทางสู่การปฏิบัติ            อานาปานสติอย่างที่ท่านเข้าใจจริงหรือ ?และFAQ อานาปานสติ
อภิธรรม 7 คัมภีร์

บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พร้อมคำแปล

พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรม (มี ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน) (สภาวธรรม) ล้วน ๆ ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ส่วนที่เรียกชื่อว่า นาย ก นาย ข นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย

พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่

๑ คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ คือ

๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น

๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น

๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของปรมัตถธรรม

๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของปรมัตถธรรม

๒ คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ (หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ส่วนวิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต ดังนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง) เรียกว่า ขันธวิภังค์

๓ ธาตุกถา แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)

๔ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอัน เกี่ยวกับบุคคล

๕ คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ อันถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย

๖ คัมภีร์ยมก ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ

๗ คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร

สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงอยากให้ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรม นั้นต่างกันอย่างไร

จาก //www.dharma-gateway.com



อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูง หัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สำหรับอภิธรรมส่วนใหญ่พระท่านจะสวดบทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

มีอุปมาเอาไว้ว่า พระอภิธรรมปิฎกมีความสำคัญเปรียบเสมือนรากแก้ว พระวินัยปิฏกประหนึ่งลำต้น พระสุตตันตปิฎกเหมือน กิ่งก้านสาขา บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระอภิธรรมจึงมีความสำคัญที่สุด เป็นความรู้ระดับสูง ที่ท่านเรียกว่า ปรมัตถธรรม

คำอาราธนาธรรม

พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ

พระสังคิณี

กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณังวา ธัมมา รัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.

พระสังคิณี (แปล)

ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรุปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ ความฟุ้งซ้านย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล.

พระวิภังค์

ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขักขันโธ, ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะ ตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิตธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา ทีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อภิสัญญูหิตวา อภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.

พระวิภังค์ (แปล)

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุปัน ภายในก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม นั้นกล่าวรวมกันเรียกว่ารูปขันธ์

พระธาตุกะถา

สังคะโห อะสังคะโห, สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.


พระธาตุกะถา (แปล)

การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้ สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราห์ไม่ได้.

พระปุคคะละปัญญัตติ

ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนา ภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน.

พระปุคคะละปัญญัตติ (แปล)

บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ สัจจบัญญัติ อินทรีย์บัญญัติ บุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้ ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้ ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา ผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร ผู้เที่ยง ผู้ไม่เที่ยง ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์.

พระกถาวัตถุ

ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, นะ เหวัง วัตตัพเพ, อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, มิจฉา.

พระกถาวัตถุ (แปล)

(ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ
(ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง
(ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ
(ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด.

พระยะมะกะ

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะลามูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา.

พระยะมะกะ (แปล)

ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล อีกอย่าง ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล.

พระมหาปัฏฐาน

เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากาปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.

พระมหาปัฏฐาน (แปล)

ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้ ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย.

นำมาจากงานเขียน คุณชงโค



พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

คำย่อพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. ป.
คำเต็มพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ
๑. สํ. หมายถึง คัมภีร์พระธรรมสังคณี
๒. วิ. หมายถึง คัมภีร์พระวิภังค์
๓. ธา. หมายถึง คัมภีร์พระธาตุกถา
๔. ปุ. หมายถึง คัมภีร์พระปุคคลบัญญัติ
๕. ก. หมายถึง คัมภีร์พระกถาวัตถุ
๖. ย. หมายถึง คัมภีร์พระยมก
๗. ป. หมายถึง คัมภีร์พระมหาปัฎฐาน

คัมภีร์ที่ ๑ พระธรรมสังคณี
พระบาลี คำแปล
กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล, ธรรมทั้งหลาย
อพฺยากตา ธมฺมา ที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต
กตเม ธมฺมา กุสลา? ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศาล เป็นไฉนเล่า?
ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ กามาวจรกุศลจิต สหรคตแล้วด้วยโสมนัส
จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ สัมปยุตแล้วด้วยญาณปรารภเอารูปารมณ์หรือ
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ, หรือว่าสัททารมณ์ คันธารมณ์หรือ หรือว่า
รูปารมฺมณํ วา สฺททารมฺมณํ วา รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์หรือ หรือว่าธัมมา-
คนฺธารมฺมณํ วา รสารมฺมณํ วา รมณ์ ก็หรือว่าอารมณ์ใด ๆ เป็นจิตที่เกิดขึ้น
โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา ธมฺมารมฺมณํ แล้ว ในสมัยใด,
วา ยํ ยํ วา ปนารพฺภ,
ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ, ในสมัยนั้น ผัสสะ ย่อมเกิด, อวิกเขปคือ
อวิกฺเขโป โหติ, เย วา ปน สมาธิย่อมเกิด, ก็หรือว่า นามธรรมเหล่าใด
ตสฺมึ สมเย, อญฺเญปิ อตฺถิ แม้เหล่าอื่นที่อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วในสมัยนั้น
ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺนา, อรูปิโน มีอยู่, ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นกุศลฯ
ธมฺมา, อิเม ธมฺมา กุสลา.



ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้
๑. กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศล หมายเอา กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘

๒. กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอกุศล หมายเอา อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗

๓. อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอัพยากฤต หมายเอา วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ รูป ๒๘ นิพพาน ๑

๔. อารมณ์ ๖ หมายเอา รูป ๑ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โผฏฐัพพะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อีก ๓ รวมเป็น ๗ เรียกว่า วิสัยรูป ๗

๕. ธัมมารมณ์ ๖ หมายเอา ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ พระนิพพาน ๑ และบัญญัติ

๖. ปโรปัณณาสธรรม ๕๖ คือ
ก. ผัสสปัญจกะ ๕ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิตฯ
ข. วิตักกปัญจกะ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาฯ
ค. อินทรีย์อัฏฐกะ ๘ คือ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมสัสสินทรีย์ และชีวิตนทรีย์ฯ
ฆ. สัมมาทิฐิปัญจกะ ๕ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ
ง. สัทธาพลสัตตกะ ๗ คือ สัทธาพละ วีริยะพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละฯ
จ. อโลภติกะ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะฯ
ฉ. อนภิชฌาติกะ ๓ คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฐิ ฯ
ช. หิริทุกะ ๒ คือ หิริ โอตตัปปะ ฯ
ฌ. ปัสสิทธิทุกะ ๒ คือ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสิทธิ ฯ
ซ. กายลหุตาทุกะ ๒ คื กายลหุตา จิตตลหุตา ฯ
ญ. กายมุทุตาทุกะ ๒ คือ กายมุทุตา จิตตมุทุตา ฯ
ฎ. กายกัมมัญญตาทุกะ ๒ คือ กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา ฯ
ฎ.กายปาคุญญตาทุกะ คื ๑ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฐ. กายุชุกตาทุกะ ๒ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฑ. สติทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ฒ. สมถทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ณ. ปัคคาหทุกะ ๒๑ คือ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ

๗. เย วา ปน ธรรมที่เกิดร่วมในจิตตุปบาทนั้นอีก ๙ คือ มนสิการ อธิโมกข์ ฉันทะ วิรตี ๓ และ อัปปมัญญา ๒ (รวม ๙)
หมายเหตุ ปโรปัณณธรรม ๕๖ มีปรากฎอยู่ในพระธรรมสังคิณีบาลี หน้าต้น และเยวาปนธรรม ๙ มีปรากฎอยู่ในอรรถสาลินี ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๑๗๖ แม้ปโรปัณณาสกธรรม ๕๖ ท่านก็ได้แสดงไว้เหมือนกัน

รวมคัมภีร์นี้แล้วมี ๔ กัณฑ์ คือ
๑. จิตตุปปาทกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของจิตทั้งหมด
๒. รูปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของรูปทั้งหมด
๓. นิกเขปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของติกะ ทุกะ และสุตตันติกะทั้งหมด
๔. อรรถกถากัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของเนื้อความในติกะ ทุกะ และนิคมกถา ฯ

จบคัมภีร์พระธรรมสังคณี

คัมภีร์ที่ ๒ พระวิภังค์

ปญฺจกฺขนฺธา รูปกฺขนฺโธ, เวทนากฺขนฺโธ, สญฺญากฺขนฺโธ, สงฺขารกฺขนฺโธ วิญฺญาณกฺขนฺโธ. ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ? ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ, อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา, โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา, หีนํ วา, ปณีตํ วา, ยํ ทูเร วา, สนฺติเก วา, ตเทกชฺฌํ ภิสญฺญูหิตฺวา, อภิสงฺขิปิตฺวา อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ.

คำแปล
ขันธ์ ๕ ทั้งหลาย คือ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์. ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น รูปขันธ์ เป็นไฉนเล่า ? รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันก็ดี, เป็นภายในหรือภายนอกก็ดี, หยาบหรือละเอียดก็ดี, เลวหรือประณีตก็ดี, หรือว่า รูปใดมีอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้, พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรวมรูปนั้นแล้วย่อเป็นอันเดียวกัน ตรัสเรียกว่า “รูป” นี้ว่า เป็นรูปขันธ์ ฯ

ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้
ขันธ์ ๕ หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ฯ
๑. รูปขันธ์ หมายเอารูป ๒๘ ที่แจกออกเป็น มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔
๒. เวทนาขันธ์ หมายเอาเวทนาเจตสิก ๑ แจกออกเป็น สุข ทุกข์ อุเบกขาเวทนา
๓. สัญญาขันธ์ หมายเอาสัญญาเจตสิก ๑ ที่แจกออกเป็น รูป สัททะ คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ และ ธัมมสัญญา ๖
๔. สังขารขันธ์ หมายเอาเจตสิก ๕๐ ที่เหลือปรุงแต่งจิตให้เป็นบุญบ้าง บาปบ้าง เป็นอัพยากฤตบ้าง
๕. วิญญาณขันธ์ หมายเอาจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์
๖. คำว่า “ขันธ์” ในที่นี้ หมายความว่า ขันธ์แต่ละขันธ์ ก็จะต้องกองด้วยลักษณะ ๑๑ อย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ จะเป็นรูปขันธ์หรือนามขันธ์ก็ตาม ก็จะต้องกองไว้ด้วยลักษณะ ๑๑ คือ อดีต, อนาคต, ปัจจุบัน, ภายใน, ภายนอก, หยาบ, ละเอียด, เลว, ประณีต, ไกล, ใกล้, ฯ
๗. ความหมายอีกอย่างหนึ่ง คำว่า “ขันธ์” หมายความว่า ทรงไว้ซึ่งความสูญเปล่า เน่าเสีย ทั้งนี้ก็เพราะว่า รูปทั้งหลายตั้งแต่เกิดปรากฏมาแต่ต้นจนกระทั่งเสียชีวิต ก็มิได้มีรูปใดหลงเหลืออยู่เลย กล่าวคือ เกิดมาเท่าไร ก็สูญไปหมดเท่านั้น แม้เวทนาคือสุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ ความจำเช่นจำรูป จำเสียง จำกลิ่น เป็นต้น สังขารคือความรัก ความชัง ความอิสสาริษยา เป็นต้น หรือวิญญาณที่เคยได้เห็น ได้ยิน ดมกลิ่น ลิ้มรส เป็นต้น เท่าที่เคยมีมาแล้วตั้งแต่หนุ่มสายตลอดจนเฒ่าแก่ ก็มิได้เหลืออยู่เลย เมื่อมีมาแล้วก็หมดไปอย่างนี้
ข้อที่ควรสังเกต อันที่จริง คัมภีร์วิภังค์ที่แปลว่า แจกคัมภีร์นี้องค์พระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงแจกไว้เพียงขันธวิภังค์เท่านั้น แต่ทรงแจกไว้ในพระคัมภีร์นี้ทั้ง ๑๘ วิภังค์ คือ นอกจากขันธวิภังค์แล้ว ก็ยังมี อายตนวิภังค์ ธาตุวิภังค์ สัจจวิภังค์ อินทรียวิภังค์ ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ สติปัฏฐานวิภังค์ สัมมัปปธานวิภังค์ อิทธิปาทวิภังค์ โพชฌังควิภังค์ มัคควิภังค์ ฌานวิภังค์ อัปปมัญญาวิภังค์ สิกขาปทวิภังค์ ปฏิสัมภิทาวิภังค์ ญาณวิภังค์ ขุททกวัตถุวิภังค์ และธัมมหทัยวิภังค์ และทรงแจกไว้ทั้งอภิธรรมภาชนีย์ และสุตตันตภาชนีย์ตลอดถึงปัญหาปุจฉกะ โดยแจกไปตามติกะ และทุกะ ซึ่งผู้ใคร่การศึกษา และปฏิบัติจะทราบรายละเอียดได้ในคัมภีร์วิภังค์นี้ทั้งหมด
ตัวย่างที่ควรทราบ ทรงแจกขันธ์ตามภิธรรมภาชนีย์เป็นต้นว่า รูปขันธ์มีอย่างเดียวคือรูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุ, เป็นอเหตุกะไม่มีเหตุ ไม่ประกอบด้วย สัมปยุตเหตุเป็นต้นไปจนกระทั่งถึงธรรมที่ไม่เที่ยง และเป็นธรรมที่ถูกความเก่าคร่ำคร่าครอบงำแล้ว รวม ๔๔ อย่าง จากนั้นก็ทรงแจกเป็น ๒ อย่างไปจนถึงรูป ๑๑ อย่าง แล้วจึงทรงแจกเวทนาขันธ์ต่อไป จนครบขันธ์ ๕

สำหรับสุตตันตภาชนีย์นั้น ก็ทรงขยายรูป ๑๑ ลักษณะออกไปแต่ละอย่าง ๆ เช่นรูปที่เป็นอดีตก็ทรงแจกออกไปเป็น ๙ ลักษณะ มีอดีตล่วงไปแล้ว นิรุทธะดับไปแล้วเป็นต้น ทรงแจกทั้งมหาภูตรูป และอุปาทายรูป แม้นามขันธ์ก็ทรงแจกเช่นกัน และทรงแจกออกเป็นมูลหนึ่ง มูลสองเป็นต้นไป เมื่อจบแล้วก็ตั้งเป็นปัญหาปุจฉกะ คือตั้งเป็นคำถาม เช่นถามว่า รูปขันธ์ และนามขันธ์เป็นกุศลเท่าไร? อกุศลเท่าไร? อัพยา กฤตเท่าไร? แจกอกไปจนจบติกะแล้วก็แจกทุกะอีก ๑๐๐ จนจบ แม้ที่เหลืออีก ๑๗ วิภังค์ก็ทรงแจกโดยนัยนี้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นรายละเอียดต่าง ๆ ผู้ใคร่ในการศึกษาสภาวะของธรรมชั้นสูงจะทราบได้จากคัมภีร์วิภังค์ทั้งหมด ฯ

จบคัมภีร์วิภังค์

คัมภีร์ที่ ๓ ธาตุกถา

สงฺคโห อสงฺคโห. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ. อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ, สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ, อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ, สมฺปโยโค วิปฺปโยโค, สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตตํ, วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ, อสงฺคหิตํ.

คำแปล
มาติกา คือแม่บท ๑๔ คือ ธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้ ธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ๑. ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมที่ประกอบกันได้ ธรรมที่ประกอบกันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้และที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้และที่นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบกันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบกันได้ และประกอบกันไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับลงเข้ากันไม่ได้ ๑, และธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ และนับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบกันไม่ได้ ๑ รวม ๑๔ นัย

ข้อที่ควรกำหนดมาติกา ๑๔ นัย
นัยที่ ๑ คือ สงฺคโห อสงฺคโห.
นัยที่ ๒ คือ สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ.
นัยที่ ๓ คือ อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ.
นัยที่ ๔ คือ สงฺคหิเต สงฺคหิตํ.
นัยที่ ๕ คือ อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ.
นัยที่ ๖ คือ สมฺปโยโค วิปฺปโยโค.
นัยที่ ๗ คือ สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตตฺตํ.
นัยที่ ๘ คือ วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๙ คือ สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๐ คือ วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๑ คือ สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๒ คือ สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ.
นัยที่ ๑๓ คือ อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ.
นัยที่ ๑๔ คือ วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ.

ตามนัยแห่งพระบาลีทรงจัดมาติกา ไว้ ๕ คือ :-
๑. นยมาติกา ๒. อัพภันตรมาติกา ๓. นยมุขมาติกา ๔. ลักขณมาติกา และ ๕. พาหิรมาติกา
ความประสงค์ของนัย
นัยที่ ๑ ทรงแสดงไขให้ทราบถึงธรรมที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ และเข้ากันไม่ได้ แจกออกเป็น ๘ ตอน คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปปาทาทิ ติกะ ทุกะ
ยกตัวอย่างนัยที่ ๑ ที่ทรงแสดงไว้ในพระบาลีธาตุกถา ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓ ข้อ ๖ ว่า
รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิโต, รูปกฺขนฺโธ เอเกน ขนฺเธน รูปกฺขนฺโธ เอเกน ขนฺเธน เอกาทสหายตเนหิ เอกาทสหิ ธาตูหิ สงฺคหิโต, กตีหิ อสงฺคหิโต ? จตูหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน สตฺตหิ ธาตูหิ อสงฺคหิโต.

แปลว่า รูปขันธ์ นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยขันธ์ทั้งหลายเท่าไร ? อายตนะทั้งหลายเท่าไร ธาตุทั้งหลายเท่าไร รูปขันธ์นับสงเคราะห์เข้าได้แล้วด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยขันธ์เป็นต้นเท่าไร ? นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุทั้งหลาย ๗ (จากนั้นก็แจกอกไปเป็นมูละ ตั้งมูล ๑-๒-๓-๔ และ ๕ เป็นที่สุด)
หมายเหตุ ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียดนัยมาติกาทั้ง ๑๔ นัยนี้ โปรดตรวจดูได้ ในพระบาลี และ
อรรถกถาของธาตุถถานี้ต่อไป สำหรับในที่นี้ขอแสดงไว้พอเป็นทัสนนัยเท่านั้น ฯ

จบคัมภีร์ธาตุกถา

คัมภีร์ที่ ๔ ปุคคลบัญญัติ

ฉ ปญฺญตฺติโย. ขนฺธปญฺญตฺติ, อายตนปญฺญตฺติ, ธาตุปญฺญตฺติ สจฺจปยฺญตฺติ, อินฺทฺริยปญฺญตฺติ, ปุคฺคลปญฺญตฺติ, กิตฺตาวตา, ปุคฺคลานํ ปุคคฺคลปญฺญตฺติ ?
สมยวิมุตฺโต อสมวิมุตฺโต กุปฺปธมฺโม, อกุปฺปธมฺโม, ปริหานธมฺโม, อปริหานธมฺโม, เจตนาภพฺโพ, อนุรกฺขนาภพฺโพ, ปุถุชฺชโน, โคตฺรภู, ภยูปรโต, อภยูปรโต, ภพฺพาคมโน, อภพฺพาคมโน, นิยโต, อนิยโต, ปฏิปนฺนโก, ผเลฏฐิโต, อรหา, อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน.

คำแปล

บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ, อายตนบัญญัติ, ธาตุบัญญัติ, สัจจบัญญัติ, อินทริยบัญญัติ, ปุคคลบัญญัติ มีอยู่ การบัญญัติบุคคลว่าเป็นปุคคลบัญญัติ จะมีได้ ด้วยประมาณเท่าไร ? แก้ว่า จะมีได้ ด้วยประมาณเท่านี้ คือ
บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้ไม่พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้มีฌานกำเริบ, บุคคลผู้มีฌานไม่กำเริบ, บุคคลผู้มีฌานธรรมเสื่อม, บุคคลผู้มีฌานธรรมไม่เสื่อม, บุคคลผู้ไม่ควรเสื่อมเพราะเจตนา, บุคคลผู้ควรแก่การตามรักษา, บุคคลผู้เป็นปุถุชน, บุคคลผู้ที่ได้โคราภูญาณ, บุคคลผู้อันเว้นจากภัย, บุคคลผู้อันไว้เว้นจากภัย, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ควร, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ไม่ควร, บุคคลผู้แน่นอน, บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว, บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่ในผล, บุคคลเป็นอรหันต์, บุคคลผู้ที่ดำเนินไปแล้ว เพื่อความเป็นอรหันต์ ฯ

ขยายความหมายบุคคล

๑. บุคคลผู้ที่พ้นวิเศษแล้วจากสมัยนั้น ตามอรรถกถานัย ท่านหมายเอาพระโสดาบัน พระสกทาคาม
และพระอนาคามีผู้ที่ได้สมาบัติแปดฯ

๒. อสมยวิมุตตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พ้นโดยวิเศษไม่ได้แล้วจากสมัย ท่านหมายเอาพระขีณาสพผู้ที่เป็นสุกขวิปัสสกคือไม่ได้สมาบัติแปดนั้นเองฯ

๓. กุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมกำเริบ ท่านหมายเอาบุคคลผู้ที่ได้สมาบัติแล้ว แต่ต่อมาสมาบัติเกิดเสื่อม

๔. อกุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมไม่กำเริบ ท่านหมายถึง บุคคลผู้ที่ได้สมาบัติ แต่ทว่าไม่เสื่อมฯ

๕. ปริหานธรรม และอปริหานธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมเสื่อม และไม่เสื่อมนั้น ตามอรรถกถานัยฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓๔ ข้อ ๕ ท่านแสดงได้ว่า “ปริหานธมฺมาปริหานธมฺมนิทฺเทสาปิ กุปฺปธมฺมากุปฺปธมฺมทฺเทสวเสเนว เวทิตพฺพา. เกวลญฺหิ อิธ ปุคฺคลสฺส ปมาทํ ปฏิจฺจ ธมฺมานํ ปริหานมฺปิ อปริหานมฺปิ คหิตนฺติ อิทํ ปริยายเทสนามตฺตเมว นามํ” ความว่า แม้นิเทสแห่งปริหานธรรม และอปริหานธรรมก็ควรเข้าใจเหมือนกับกุปปธรรม และอกุปปธรรมนั้นแหละ ท่านจัดไว้เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลอย่างเดียว จึงเป็นเพียงปริยายเทศนาเท่านั้น (ความ) ไม่แตกต่างกันเลย ฯ

๖. เจตนาภัพพบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่ไม่ควรเพื่อความเสื่อมแห่งความตั้งใจ คือความตั้งใจเจริญสมาบัติอยู่อย่างเต็มที่แล้ว ไฉนเล่าจึงจะเสื่อมได้ ฯ

๗. อนุรักขนาภัพพบุคคล ท่านหมายถึงบุคคลที่ไม่เสื่อมจากสมาบัติ ด้วยการตามรักษาเจริญแต่อุปการธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งสมาบัติเท่านั้น ฯ

๘. ปุถุชนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ยังละทิฐิสัญโญชน์ สีลัพพตปรมาสสัญโญชน์ และวิจิกิจฉาสัญโญชน์ ด้วยสมุจเฉทปหานยังไม่ได้นั่นเอง เมื่อจะว่ากันตามสภาวปรมัตถ์แล้ว ก็ได้แก่บุคคลที่เป็นปุถุชน ๔ จำพวก คือ ทุคติบุคคล สุคติบุคคล ทวิเหตุบุคคล และติเหตุปุถุชนบุคคลนั่นเอง ฯ

๙. โคตรภูบุคคล คือ บุคคลที่กำลังเกิดวิปัสสนาญาณขั้นโคตรภู ที่ทำลายโคตรปุถุชนรับเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ตรงหน้าโสดาปัตติมรรค ที่ในโสดาปัตติมรรควิถีนั้น อันนี้ ท่านเอาเฉพาะพระโยคาวจรผู้กำลังเกิดโคตรภูญาณอยู่ขณะนั้นเท่านั้น เรียกว่า ขณะที่โคตรภูญาณเกิดอยู่ ๓ ขณะ คือ อุปาทขณะ ปีติขณะ และภังคขณะ ๓ นั้นที่เรียกกันว่า “โคตรภูบุคคล” ฯ

๑๐. ภยูปรโตบุคคล คือ บุคคล ๘ คน คือ กัลยาณปุถุชนและพระเสขบุคคล ๗ จำพวกที่กลัวต่อภัยในทุคติ ๑ ภัยในวัฏฏะ ๑ ภัยที่เกิดจากกิเลส ๑ และภัยที่ถูกติเตียน ๑ จึงงดเว้นจากการทำบาปทั้งต่อหน้าและลับหลัง ฯ

๑๑. อภยูปรโตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่หมดจากความกลัวแล้ว ท่านหมายเอาพระขีณาสพผู้ที่สิ้นจาก อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อภัยอะไรอีกต่อไปแล้ว ฯ

๑๒. ภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อบรรลุสัมมตนิยามอันหมายถึงพระอริยมรรค ๔ ตามที่พระบาลีธรรมสังคณีแสดงไว้ในข้อ ๑๐๓๖ หน้า ๒๑๑ แห่งธรรมสังคิณีบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา เพราะบุคคลพวกนี้ไม่มีกัมมันตราย คืออนันตริยกรรม ๕ ไม่มีกิเลสสันตรายคือนิยตมิจฉาทิฐิ และไม่มีวิปากันตรายคือวิบากขันธ์ที่เป็นทุคติ สุคติ หรือทวิเหตุกะมาเป็นเหตุกางกั้นอีกต่อไปแล้ว นั่นเอง ฯ

๑๓. อภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อความยังหลุดพ้นไม่ได้ หมายถึงบุคคลผู้ที่ยังมีเครื่องกางกั้นพระอริยมรรค ๔ ที่เรียกว่าอันตรายคือ มีกัมมันตราย ๕ อย่าง มีฆ่ามารดาเป็นต้น ๑ มีความเห็นผิดอย่างดิ่งที่เรียกว่า “นิตยมิจฉาทิฐิ” ๑ มีวิบากขันธ์เป็นอันตรายต่อมรรคอันเป็นสัมมัตตนิยามธรรม คือเป็นสัตว์ที่หาเหตุไม่ได้คือเป็นทุคติบุคคล เป็นสุคติบุคคล เป็นบุคคลสองเหตุ ๑ มีความไม่เชื่อในพระรัตนตรัย ขาดปัญญาที่มาพร้อมกับปฏิสนธิปาริหาริกปัญญา และวิปัสสนาปัญญา ๑ เป็นผู้ที่ขาดจากอุปนิสัยแห่งมรรคผลเป็นอภัพพบุคคล ๑. ฯ

๑๔. นิยตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนต่อผลของกรรมที่ตนจะพึงได้รับ โดยไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางได้เลย ซึ่งในอรรถกถาปัญจปกรณ์ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓๗ ข้อ ๑๔ ท่านได้พรรณนาไว้ว่า นิยตานิยตนิทฺเทเส อานนฺตริกาติ อานนฺตริกกมฺมสมงฺคิโน. มิจฺฉาทิฏฐิกาติ นิยตมิจฺฉาทิฏฺฐิสมงฺคิโน. สพฺเพปิ เหเต นิรยสฺส อตฺถาย นิยตตฺตา นิยตา นาม. อฏฺฐ ปน อริยปุคฺคลา สมฺมากาวาย อุปรูปริมคฺคผลตฺถายเจว อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย จ นิยตตฺตาทนิยตา นาม. ความว่า ในนิทเทสแห่งนิยตะ และ อนิยตบุคคล ควรมีความเข้าใจดังต่อไปนี้ บทว่า “อานนฺตริกา” หมายถึงผู้ที่มีอนันตริยกรรม บท “มิจฺฉาทิฏฐิกา” หมายถึงผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างดิ่ง ก็บุคคลตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ทุก ๆ จำพวกชื่อว่า นิยตบุคคลคือบุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะแน่นอนต่อประโยชน์แก่นรก ส่วนพระอริยบุคคล ๘ ที่ได้นามว่า นิยตบุคคล เพราะเป็นผู้ที่แน่นอน เพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลที่สูง ๆ ขึ้นไป โดยการเจริญโดยชอบด้วย และแน่นอนเพื่ออนุปาทานิพพานด้วย ฯ

๑๕. อนิยตบุคคล คือ บุคคลที่นกเหนือจากบุคคลที่เป็นนิยตตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ ๑๔ นั่นเอง เพราะบุคคลดังกล่าวในข้อที่ ๑๕ นี้ เป็นบุคคลที่ไม่แน่นอนในส่วนของคติที่พึงจะเกิดไปด้วย ในผลแห่งกรรมที่คนจะพึงได้จากการกระทำด้วย ฯ

๑๖. ปฏิปันนกบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๑๗ ข้อ ๑๕ ท่านได้ให้คำอธิบายไว้ว่า (๑๕) ปฏิปนฺนกนิทฺเทเส มคฺคสมงฺคิโนติ มคฺคฏฺฐกปุคฺคลา เต หิ ผลตฺถาย ปฏิปนฺนตฺตา ปฏิปนฺนกา นาม. ควรทำความเข้าใจ ในนิทเทสแห่งปฏิปันนกบุคคลดังต่อไปนี้ บุคคลที่ตั้งอยู่ในมรรคชื่อว่า “มคฺคสมงฺคีบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมรรค ด้วยว่าคนเหล่านั้น เท่าที่ได้นามว่า “ปฏิปนฺนกบุคคล” ก็เพราะเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผล ฯ

ผเลฏฐิตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่แล้วในผล ซึ่งมีในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ในหน้าและข้อเดียวกัน ท่านก็ได้ให้อธิบายไว้ว่า ผลสงฺคิโนติ ผลปฏิลาภสมงฺคิตาย ผลสมงฺคิโน. ผลปฏิลาภโต ปฏฺฐาย หิ เต ผลสมาปตฺตึ อสมาปนฺนาปิ ผเล ฐิตาเยว นาม. ความว่า บทว่า “ผลสมงฺคิโน” ได้แก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยผล เพราะเป็นผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยผลโดยเฉพาะ ด้วยว่า พระอริยผลบุคคลเหล่านั้น นับตั้งแต่ได้ผลโดยเฉพาะเป็นต้นมา แม้ถึงไม่เข้าผลสมาบัติก็ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในผลได้แน่นอนทีเดียว ฯ
ส่วนพระอรหันต์และท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์นั้นในอรรถกถาที่มา ท่านมิได้อธิบายไว้โดยเฉพาะ แต่ท่านกลับอธิบายถึงพระอริยบุคคลที่เป็นสมสีสีไว้ ๓ จำพวกคือ
๑. อิริยาปถสมสีสี คือ พระอริยบุคคลผู้ที่กำลังเดินจงกรมเจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ได้บรรลุพระอรหัตนิพพาน เหมือนกับพระปทุมเถระเป็นตัวอย่าง บางองค์ก็นั่งเจริญวิปัสสนาอยู่ก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้วก็นิพพานในอิริยาบถนั่นเอง, บางองค์ก็นอนเจริญวิปัสสนาอยู่แล้วได้บรรลุพระอรหัตในขณะนอนแล้วก็นิพพาน ในขณะที่นอนอยู่นั่นเอง อย่างนี้เรียกว่า “อิริยาปถสมสีสี”
๒. โรคสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังเป็นโรคภัยไข้เจ็บอยู่ ท่านก็ไม่ประมาทรีบเจริญวิปัสสนาแล้วก็บรรลุพระอรหัตนิพพานอย่างพระติสสเถระที่มีตัวเน่าเป็นต้น ฯ
๓. ชีวิตสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่สิ้นชีพไปพร้อมกับสีสะทั้งสองคืออวิชชากับชีวิตนั่นเอง

ในอรรถกถาแห่งนั้น ได้ขยายสีสะออกไปถึง ๑๓ อย่างคือ –
๑. ตัณหา เป็นปลิโพธสีสะเครื่องรบกวน
๒. มานะ เป็นวินิพันธสีสะเครื่องรบกวน
๓. ทิฐิ เป็นปรามาสสีสะเครื่องยึดมั่น
๔. อุทธัจจะ เป็นวิกเขปสีสะเครื่องทำให้ฟุ้งซ่าน
๕. อวิชชา เป็นสังกิเลสสีสะเครื่องทำให้เศร้าหมอง
๖. สัทธา เป็นอธิโมกขสีสะเครื่องทำให้น้อมใจเชื่อที่เป็นอุปสรรคของวิปัสสนา
๗. วิริยะ เป็นปัคคหสีสะเป็นเครื่องพยายามเกินขัดต่อวิปัสสนาปัญญาที่จะดำเนินต่อไป
๘. สติ เป็นอุปัฎฐานสีสะ สติเป็นสภาพที่ปรากฎชัดเกินไปจนวิปัสสนาปัญญาอัปรัศมี
๙. สมาธิ เป็นอวิกเขปสีสะเป็นเครื่องทำให้นิ่งเกินไป
๑๐. ปัญญา เป็นทัสนสีสะ คือเห็นชัดเกินไปจนศรัทธาเกิดยากไม่เสมอกัน
๑๑. ชีวิตทรีย์ เป็นสีสะอยู่ต่อไปหยุดไม่ได้
๑๒.วิโมกข์เป็นโคจรสีสะ คือเป็นอารมณ์
๑๓.นิโรธมีสังขารเป็นสีสะเครื่องปรุงแต่งดับไม่ได้ ฯ
ในบรรดาสีสะทั้ง ๑๓ นั้น พระอรหัตมรรคทำลายอวิชชาซึ่งเป็นสีสะของกิเลส จุติจิต ทำลายชีวิติน ทรีย์ที่เป็นสีสะที่ทำให้เป็นไป หยุดไม่ได้ จิตทำลายชีวิตตินทรีย์ได้ แต่ไม่อาจจะทำลายอวิชชาได้ จิตที่ทำลายอวิชชากับจิตที่ทำลายชีวิตเป็นคนละอย่างกัน แต่สีสะทั้งสองคืออวิชชา และชีวิตของท่านผู้ใดถึงความสิ้นไปได้ ท่านผู้นั้นจึงจะเรียกว่า “ชีวิตสมสีสี” ฯ

จบคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ

คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ

ปฺคคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ?
อามนฺตา.
โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ?
นเหวํ วตฺตพฺเพ, อาชานาหิ หิคฺคหํ, หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ, สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน ?
เตน วต รเ วตฺตพฺเพ. โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺ- เถนาติ มิจฺฉา.

คำแปล

สกวาที ถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถที่อย่างยิ่งกระนั้นหรือ ?
ปรวาที ตอบว่า ใช่ ฯ
สกวาที ซักต่อไปว่า สภาพใดที่มีอรรถอันแจ่มแจ้ง และมีอรรถอย่างยิง มีปรากฎอยู่ ท่านเข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถอันยิ่งกระนั้นหรือ ?
ปรวาที กล่าวปฏิเสธว่า ไม่สมควรจะกล่าวอย่างนั้น
สกวาที กล่าวว่า ท่านรู้แต่พลั้งไป ถ้าว่า ท่านหยั่งรู้เห็นบุคคลได้โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และอรรถอย่างยิ่งได้แล้วไซร้ ?
เพราะเหตุนั้นแล ท่านก็ควรจะกล่าวว่า สภาพใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถอย่างยิ่งมีปรากฎอยู่ ข้าพเจ้าก็เข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้งและโดยอรรถอันเยี่ยมยิ่งได้ เพราะเหตุนั้น ดังนี้ (ในปัญหากรรมนี้ ท่านควรจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าไปหยั่งเห็นบุคคลโดยอรรถที่แจ่มแจ้งแลโดยที่อย่างยิ่ง แต่ไม่สมควรจะกล่าวว่า สภาพใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถอันอย่างยิ่งปรากฎอยู่ ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นบุคคลนั้นโดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถที่อย่างยิ่งดังนี้ คำของท่าน) จึงผิดพลาด ฯ
หมายเหตุ อันที่จริงบาลีตรงนี้ มีบาลีเต็ม แต่ในอภิธรรมคัมภีร์ที่ ๕ เท่าที่โบราณาจารย์ของเราคัดมา ไม่ได้
เอามาด้วย แต่เวลาแปลก็แปลให้เต็มบาลีที่มีอยู่ ฯ
ข้อความที่ควรทำความเข้าใจในคัมภีร์นี้ เป็นคัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตร ได้ยึดเอานัยเท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาไว้แล้ว ก็ตั้งเป็นรูปสกวาที และตบกันเป็นสูตรสำหรับถาม ๕๐๐ สูตร และสูตรสำหรับแก้อีก ๕๐๐ สูตร เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะทำลายทิฐิ คือความเห็นที่ผิดพลาดของฝ่ายอื่นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคำสอนในพระพุทธศาสนานี้นั่นเอง รวมคำถามของฝ่ายพุทธ ๕๐๐ ของฝ่ายอื่น ๕๐๐ สูตร จึงรวมเป็น ๑,๐๐๐ สูตรพอดี สำหรับท่านที่สนใจโปรดตรวจดูได้ในกถาวัตถุ และอรรถกถาที่ท่านได้แก้ไว้อย่างวิจิตรพิสดารแล้ว ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ฯ

จบคัมภีร์กถาวัตถุ

คัมภีร์ที่ ๖ ยมก

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลมูลา ?
เย วา ปน กุสลมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา.
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลามูเลน เอกมูลา ?
เย วา ปน กุสลมูเล เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา.

คำแปล
อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นมูลของกุศลใช่ไหม ?
ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่าธรรมะเหล่าใด ที่ชื่อว่าเป็นมูลของกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ?
อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นมูลเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ?
ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใด ที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ?
หมายเหตุ ตามคำแปล และบาลีเท่าที่ยกมาสวดตามประเพณีทั้งหมดนี้ จะเห็นว่ามีแต่เฉพาะคำถามเท่านั้นทั้งส่วนอนุโลมและปฏิโลมปุจฉาไม่ได้มีคำวิสัชนาอยู่เลย ถ้าจะทำความเข้าใจเฉพาะบาลีที่ได้นำเอามาสวดกับคำแปลเท่านั้น ก็ย่อมจะทำความเข้าใจให้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย ยิ่งเป็นพระหรือชาวบ้านที่ไม่มีพื้นการศึกษาสภาวะอยู่บ้างแล้ว ก็ยิ่งจะมืดแปดด้านเหมือนกับเดินเข้าถ้ำที่ปราศจากแสงสว่างทีเดียว เพื่อให้เกิดแสงสว่างตามที่พอจะทำได้ก็จะขอแยกความเข้าใจไว้ในที่นี้สักเล็กน้อยพอเป็น นิทัสสนนัย ก่อนอื่นควรจะทราบถึงคำว่า “กุศล” กับคำว่า “มูล คือรากเหง้าของกุศล” เสียก่อน จึงจะแยกออกว่าอะไร เป็นอะไร ไม่อย่างนั้น มันจะปนกันไปหมดอย่างชนิดที่ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้เลย ก็คำว่า “กุศล” เท่าที่ทรงแสดงองค์ธรรมไว้ในกุสลติกะนั้นก็ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ กับเจตสิกที่เกิดร่วมกันอีก ๓๘ เท่านั้น ส่วนมูลที่เป็นรากเหง้าของกุศลนั้น มี ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เท่านั้น ที่ว่านี้ เป็นองค์ธรรมของข้อความในพระบาลีทั้ง ๔ ตอนนี้
เมื่อได้รับทราบถึงตัวธรรมะของคำว่า “กุศล” และคำว่า “มูลคือรากเหง้าของกุศล” แล้ว ก็หันมาพิจารณาดูพระบาลี และคำแปลที่ได้ยกเอามาสวดกันดูว่า ตามคำถามที่ได้ถามนั้น หมายความถึงอะไร ? คำถามในอนุโลมปุจฉาที่เป็นสันนิษฐานบทที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ? ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, สพฺเพ เต กุสลมูลา ? ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมดเป็นมูลของกุศลใช่ไหม ? ซึ่งคำถามตอนหลังนี้เป็นอนุโลมปุจฉา สังสยบท ก็จะมีคำวิสัชนาออกมาว่า ตีเณว กุสลมูลานิ, อวเสลา ธมฺมา น กุสล-มูลา. ความว่า เฉพาะความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลง ๓ ตัวนี้เท่านั้น ที่จัดเป็นมูลคือรากเหง้าของกุศล, กุศลธรรมที่เหลือคือกุศลจิต ๒๑ เจตสิกอีก ๓๕ (โดยยกเอากุศลเหตุ ๓ ตัว ที่ออกไปเสียแล้ว) เป็นเพียงกุศล แต่ไม่ใช่เป็นมูลคือรากเหง้าของกุศล ฯ
ส่วนบาลีในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท และสังสยบทที่ว่า เย วา ปน กุสลมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ? ความว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใดที่ว่าเป็นมูลของกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. รับรองว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่ากุศลมูลคือตัวของความไม่โลภ ความไม่โกรธและความไม่หลงซึ่งเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าให้เกิดกุศลแล้ว ตัวเองก็เป็นกุศลด้วย (ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของบาลีที่เป็นคำถามในตอนแรก พูดถึงเรื่องของมูล มูลของกุศลกับกุศลเท่านั้น)
ส่วนพระบาลีในท่อนที่ ๒ ต่อมาที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา ? ความว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งเป็นกุศลมีอยู่ทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ? เมื่อมีคำถามขึ้นมาอย่างนี้ คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. ซึ่งแปลว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่า กุศลธรรมทั้งหมดที่เกิดร่วมกันเมื่อจะแยกออกให้เห็นชัด ๆ แล้ว ก็พอจะจำกัดความได้ว่า ในกุศลจิตตุปบาทอย่างหนึ่ง เช่นเกิดจิตกุศลขึ้น ๑ จะมีเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันถึง ๓๘ คราวนี้ในเจตสิก ๓๘ นั้น ก็ยกเอา เจตสิกที่เป็นมูลของกุศลคือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ออกเสีย ๓ ตัว ส่วนที่เหลืออีก ๓๕ และจิตอีก ๑ เป็น ๓๖ เมื่อถามว่า กุศลจิต ๑ กับเจตสิกที่นอกจากมูลอีก ๓๕นั้น ทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศมูลใช่ไหม ตอบว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่า มี ๒ อย่างด้วยกันคือ อย่างที่ ๑ กุศลจิต ๑ กับเจตสิกที่เหลือจากมูล ๓๕ ก็เป็นธรรมที่มีมูลเป็นอันเดียวกับกุศลมูลคือตัว อโลภะ อโทสะ และอโมหะ อย่างที่ ๒ หมายเอาตัวมูลเองก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลเหมือนกันคือ อโลภะ ก็มีอโทสะและอโมหะเป็นมูล อโทสะ ก็มีอโลภะและ อโมหะเป็นมูล และอโมหะ ก็มีอโลภะและอโทสะเป็นมูล เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า “มีมูล” เป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลตามบาลีนั้น คราวนี้ คำถามที่เกี่ยวกับยมกที่เป็นมูลเดียวกันในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท และสงสัยบทที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเล เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ? ความว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. ซึ่งแปลว่า “ใช่” หมายความว่า ธรรมะที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลนั้น ก็พอจะรวมได้เป็น ๒ พวกคือ กุศลที่ไม่ใช่มูล แต่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลย่างหนึ่ง และกุศลที่เป็นตัวมูล และก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในพระบาลีที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา, ก็หมายเอาทั้งกุศล และกุศลมูล โดยเน้นถามลงไปว่า ทั้งกูศลและทั้งกุศลมูลนั้นเป็นกุศลใช่ไหม ? ก็ต้องตอบว่า “ใช่” เรื่องของเรื่องก็มีอยู่เท่านั้น เป็นเพียงเอกเทศเท่านั้น เพราะธรรมะที่เกิดมาจากกุศลที่อยู่ในปัญจโวการภพ มิใช่มีแต่เฉพาะนามขันธ์เท่านั้น แม้รูที่เกิดมาจากกุศลเป็นสมุฏฐานก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ในคำตบของปฏิโลมปุจฉานี้ ท่านจึงได้ออกวิสัชนาเป็นตัวธรรมะที่มีได้ทั้งรูปทั้งนามว่า รูปที่เกิดจากกุศลเป็นสมุฏฐาน ก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล แต่ทว่าไม่ใช่กุศล, ส่วนกุศลที่เหลือก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลด้วย และเป็นได้ทั้งกุศลด้วย คำตอบที่ว่านี้ เป็นคำตอบที่เต็มตามสภาวธรรมทีเดียว ตัวธรรมะทั้งหมดตรงนี้ก็ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ และกุศลจิตตัชรูปอีก ๑๗ นั่นเอง ฯ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคัมภีร์ยมก เท่าที่ได้ยกเอามาสวดนี้ มีเพียงคำถามเท่านั้น และก็ย่อเอามาเฉพาะมูลยมก กล่าวถึงเรื่องกุศลมูลของกุศลและธรรมที่เป็นมูลเดียวกันกับกุศลเท่านั้น ในส่วนที่ยังเหลืออีกมากมายถึง ๑๐ คัมภีร์ และในคัมภีร์หนึ่ง ๆ ก็มีมากมาย เช่นในมูลยมกนิทเทสวารของกุศลติกะ ก็มีถึง ๑๐ วาระ และใน ๑๐ วาระนั้น ก็มีถึง ๔ นัยคือ
กุศลบท ๔ นัย คือ มูลนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ มูลกนัย มูลมูลกนัย ๑ แม้ในอกุศลบทและอัพยากตบทก็มี อย่าง ๔ นัยเหมือนกัน นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีนามบทอีก ๔ นัย ถือ มูลนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ มูลกนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ เมื่อทรงแสดงมูลยมกจบแล้ว ก็ทรงแสดง ขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก สังขารยมก อนุสยยมก จิตตยมก และอินทริยยมก ในยมกเหล่านี้ก็ทรงแสดงไว้อีกมากมาย เช่นทรงแสดงถึงมหาวาระไว้ ในอนุสยยกว่า อุปปัตติวาระ มหาวาระ
๑. อนุสยวาระ แยกออกเป็น ๓ ตอน คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส และอนุโลมปุคคโลกาส และแยกออกอีก ๓ ตอน คือ ปฏิโลมบุคคล ปฏิโลมโอกาส และปฏิโลมปุคคโลกาส
๒. สานุสยวาระ แยกออกเป็น ๒ ตอน คือ เป็นฝ่ายอนุโลม ๓ คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส อนุโลมปุคคโลกาส แม้ฝ่ายปฏิโลมก็มี ๓ เช่นกัน
๓. ปชหนวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖
๔. ปริญญาวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖
๕. ปหีนวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖
แม้ในยมกที่ยังเหลืออีก ๙ ยมก หรือ ๙ คัมภีร์ที่ยังมิได้ยกมาแสดง ก็ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์นั้นอย่างวิจิตรพิสดารเช่นกัน ผู้ต้องการโปรดตรวจดูได้ในที่นั้นเถิด เพราะในอรรถกถาปัญจปกรณ์แก้คัมภีร์ที่หกได้อธิบายไว้อย่างวิจิตรพิสดารแล้ว สำหรับในสถานที่นี้จะขอยกเอามาแสดงไว้พอเป็นนิทัสสนนัยเท่านั้น ฯ

จบคัมภีร์ยมก

คัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน

เหตุปจฺจโย, อารมฺมณปจฺจโย, อธิปติปจฺจโย, อนนฺตรปจฺจโย, สมนนฺตรปจฺจโย, สหชาตปจฺจโย, อญฺญมญฺญปจฺจโย, นิสฺสยปจฺจโย, อุปนิสฺสยปจฺจโย, ปุเรชาตปจฺจโย, ปจฺฉาชาตปจฺจโย, อาเสวนปจฺจโย, กมฺมปจฺจโย, วิปากปจฺจโย, อาหารปจฺจโย, อินฺทริยปจฺจโย, ฌานปจฺจโย, มคฺคปจฺจโย, สมฺปยุตฺตปจฺจโย, วิปฺปยุตฺตปจฺจโย, อตฺถิปจฺจโย, นตฺถิปจฺจโย, วิคตปจฺจโย, อวิคตปจฺจโย.

คำแปล
ธรรมที่มีเหตุหกเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีอารมณ์หกเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอธิบดีสองประเภทเป็น ปัจจัย, ธรรมที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างขั้นมิได้เป็นปัจจัย. ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างคั่นมิได้โดยลำดับเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นที่อาศัยสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมอาศัยกันอย่างมีกำลังแรงสามประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีรูปธรรมที่เกิดก่อนสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ซึ่งเกิดในภายหลังเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอาเสวนชวนะเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีเจตนากรรมสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีมรรถเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีวิบากเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์สมปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามรูปเป็นวิปปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีรูปนามที่กำลังมีอยู่เป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ไม่มีแล้วเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย, และธรรมะที่มีนามรูปที่ยังไม่ดับไปเป็นปัจจัย ฯ

อธิบายโดยย่อ ในคัมภีร์ปัฏฐานมหาปกรณ์นี้ เป็นคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้อย่างกว้างขวางวิจิตรพิสดารอย่างเหลือเกิน ซึ่งก็พอจะสรุปให้เห็นเป็นรูปร่างย่อ ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ธรรมะทั้งหมดที่มีปรากฎอย่างในปัจจัย ๒๔ นี้ ถ้าจะจัดเข้าเป็นตอน ๆ แล้วจัดเป็น ๓ ตอน คือ
๑. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจัย คือ ผู้อุปการะ
๒. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจยุบัน คือ ผู้ได้รับอุปการะหรือที่เกิดมาจากปัจจัย
๓. ธรรมที่นกเหนือออกไปจากธรรมที่เกิดจากปัจจัย เช่น อย่างอารัมมณปัจจัยเป็นตัวอย่าง
รูปารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็น รูปารมณ์เป็นตัวปัจจัย ส่วนการเห็นและเจตสิกที่เกิดร่วมอีก ๗ ผัสสะ เป็นต้น ก็เป็นปัจจยุบัน คือ เป็นธรรมที่เกิดจากรูปารมณ์เป็นปัจจัยให้ ส่วนปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก และรูปที่เหลือซึ่งไม่ได้มีปรากฎอยู่ในปัจจุบันธรรมนั้น ก็เป็นปัจจนิกไปเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า ธรรมะที่เป็นปัจจัยก็คือเป็นผู้ให้อุปการะ ธรรมะที่เป็นปัจจยุบันที่เกิดจากปัจจัยก็คือผู้รับ ส่วนธรรมะที่ไม่ได้รับ อุปการะก็ตกเป็นปัจจนิกธรรมไป จากนั้นก็ทรงแสดงไว้ถึง ๗ วาระ และแสดงไปตามติกาะ ๒๒ ทุกะ ๑๐๐ แสดงอนุโลม ๑ เป็นปฏิโลม ๑ อนุโลมปฏิโลม ๑ เป็นต้น ฯ

จบคัมภีร์มหาปัฏฐาน

จากเวป //www.abhidhamonline.org


Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2554 19:18:38 น. 0 comments
Counter : 825 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

aero.1
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




การศึกษาทางโลก
รบ. ธรรมศาสตร์ 2536(นักศึกษาทุนภูมิพล)

การศึกษาทางธรรม
-สัทธิวิหาริก สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 พศ 2535
-พระเจ้าหน้าที่เวรดูแลพระอาการ สมเด็จญาณสังวร
-อดีตพระป่า(หนองป่าพง)
-ประธานรุ่นนักศึกษาภาคมหาบัณฑิตมหามกุฏราชวิทยาลัย 2546

.

**************************
Friends' blogs
[Add aero.1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.