นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
Group Blog
 
All blogs
 
แก้คำของผู้ปฏิเสธ พระอภิธรรมปิฎก ที่อ้างว่า อภิธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม

ข้อความนี้ เขียนไว้เพื่อ แก้ไขกรณีมีผู้ปฏิเสธพระอภิธรรมปิฎก

โดยผู้ปฏิเสธพระอภิธรรมปิฎก มักจะยกข้ออ้างว่า อภิธรรม ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗



ซึงจะได้ขออธิบายชี้แจงไว้เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงสืบไปดังต่อไปนี้

_______________________________________________

คำว่า อภิธมฺเม ที่แปลว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีที่มาจาก

_______________________________________________


มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
 กินติสูตร

ความว่า
  [๔๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริในเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคผู้อนุเคราะห์ 
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้นแล ธรรมเหล่าใด 
อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
 อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกันยินดี
ต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้น
พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง 
เป็นสองรูป ฯ
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=793&Z=939&pagebreak=0
(อรรถกถา)
บทว่า อภิธมฺเม ได้แก่ ในธรรมอันวิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=42

_______________________________________________


ท่านพระคันธสาราภิวงศ์ได้อธิบายไว้ว่า[1]

ในข้อนี้ คำว่า อภิธมฺเม แปลตามศัพท์คือ "ธรรมอันพิเศษ" คำนี้ใน กินติสูตร
จึงหมายถึง โพธิปักขิยธรรม ซึ่งเป็นทางตรัสรู้อันพิเศษกว่า ทานและศีล
นอกจากนี้ใน ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร  คำว่า อภิธมฺเม หมายถึง
มรรคผลที่พิเศษกว่า โลกิยธรรม ดังที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้[2] 

ความจริงการยกเอา กินติสูตร มาอ้างแล้วปฏิเสธว่า พระอภิธรรม
ไม่ใช่พระอภิธรรมปิฎก ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง เพราะข้อความนั้นเป็นการ
แสดงความหมายอย่างเจาะจง ซึ่งเป็นคำธรรมดาที่คำบางคำอาจสื่อ
ความหมายแตกต่างกันตามตำแหน่งที่ปรากฏ เช่นคำว่า ธมฺมจักขุํ (ธรรมจักษุ)
ในคัมภีร์อรรถกถาบางแห่งจะหมายถึง โสดาปัตติมรรค บางแห่งก็หมายถึง
มรรคญาณชั้นสูง ๓ อย่าง ดังที่กล่าวไว้ ในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินีว่า

"ธมฺมจกฺขุนฺติ ธมฺเมสุ จกฺขุ, ธมฺมมยํ วา จกฺขุ. อญฺเญสุ ฐาเนสุ ติณฺณํ มคฺคานํ
  เอตํ อธิวจนํ. อิธ ปน โสตาปตฺติมคฺคสเสว"

  คำว่า ธมฺมจกฺขุ มีความหมายว่า จักษุในธรรม หรือจักษุที่เกิดจากธรรม
  คำนี้เป็นชื่อของมรรค ๓ ในฐานะอื่น ส่วนในพระสูตรนี้ เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคอย่างเดียว


มีข้อสังเกตในเรื่องนี้ว่า ผู้กล่าวคัดค้านพระอภิธรรมได้อ้างคัมภีร์อรรถกถา 
มายืนยันมติของตนว่า พระอภิธรรมไม่ใช่อภิธรรมปิฎก แต่กลับไม่ยอมรับ
ข้อความอื่นในคัมภีร์อรรถกถา ที่กล่าวว่า พระอภิธรรมคือพระอภิธรรมปิฎก.....


 เช่น ความว่า
_______________________________________________

............ เขาบวชแล้วอยู่มาได้ประมาณครึ่งเดือน เมื่อไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ตกไปในอำนาจกิเลส สึกไป พอลำบากด้วยอาหาร ก็มาบวชอีก เรียนพระอภิธรรม ด้วยอุบายนี้ สึกแล้วบวชถึง ๖ ครั้ง. 

               ในความเป็นภิกษุครั้งที่ ๗ เป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ ได้บอกธรรมแก่ภิกษุเป็นอันมาก บำเพ็ญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. 


_______________________________________________


นอกจากกินติสูตรและสังคีติสูตรที่ได้อธิบายไปแล้วนั้น

คำว่า อภิธรรม แทบทุกแห่ง ที่แสดงในพระไตรปิฎกอรรถกถานั้น 

 ก็หมายถึงปรมัตถธรรม อันได้แก่ พระอภิธรรมปิฎก เจ็ดคัมภีร์ 
อันเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง

ดังตัวอย่างหลักฐานใน 
พระวินัยปิฏก หน้า ๒๒๗ บรรทัดที่ ๘ ปริวาร     ความว่า......

องฺคีรโส สกฺยมินี สพฺพภูตานุกมฺปโก
สพฺพสตฺติตฺตโม ปิฏเก ตีณิ เทสยิ
สุตฺตนฺต อภิธมฺมญฺจ วินยญฺจาปิ มหาคุณํ

พระอังคีรสศากยมุนี ผู้อนุเคราะห์แก่ประชาทุกถ้วนหน้า 
อุดมกว่าสรรพสัตว์ดุจราชสีห์ 
ทรงแสดงพระไตรปิฎก คือ 
พระวินัย ๑ พระสุตตันตะ ๑ พระอภิธรรม ๑ ซึ่งมีคุณมาก อย่างนี้





แหล่งข้อมูลอ้างอิง เพื่อศึกษาเพิ่มเติม





Create Date : 20 เมษายน 2555
Last Update : 10 มิถุนายน 2556 3:43:19 น. 0 comments
Counter : 1485 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชาวมหาวิหาร
Location :
Germany

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Thepathofpurity.com
Friends' blogs
[Add ชาวมหาวิหาร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.