อุปสรรคทุกอย่างมีทางแก้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวิธีแก้อย่างไร
Group Blog
 
All Blogs
 

เลนส์ Zeiss สำหรับ กล้อง Contax Rangfinder (Contax II/III และ IIa/IIIa)

  คู่ปรับเลนส์ไลก้าในยุคเดียวกันก็หนีไม่พ้น Contax ซึ่งผลิตโดย Carl Zeiss

โดยมีหลากหลายระยะเช่นเดียวกับ Leica

ฺBiogon 21/4.5
Topogon 25/4
Tessar 28/8
Biogon 35/2.8
Biometar 35/2.8
Planar 35/3.5
Herar 35/3.5
Orthometar 35/4.5
Biotar 42.5/2
Sonnar 50/1.5
Sonnar 50/2
Tessar 50/2.8
Tessar 50/3.5
Sonnar 85/2
Triotar 85/4
Sonnar 135/4
Tessar 115/3.5
Sonnar 180/2.8




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2557    
Last Update : 25 กรกฎาคม 2557 22:28:25 น.
Counter : 2002 Pageviews.  

ตำนานร้านซ่อมกล้องในไทย

อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรเรื่องร้านซ่อมนะครับ แต่อาจจะท้าวความประวัติร้านซ่อมเลนส์ที่มีชื่อเสียงในอดึต....

ในประเทศไทยสมัย 60 ปีก่อน ร้านที่ซ่อมเลนส์ดีๆ แพงๆ ต้องส่งไปซ่อมที่ร้านนี้ร้านเดียวเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้าน "ชาญศิลป์" เป็นร้านซ่อมเลนส์หรือกล้องที่มีคุณภาพมากๆ ในราคาย่อมเยา ถึงขนาดช่างเทคนิคจากเยอรมันเจ้าของสินค้าบินมาดูกิจการ และวิธีการในการซ่อม ทำให้งานซ่อมมีเป็นจำนวนมาก ต้องรอคิวซ่อมราวๆ 1-2 เดือนเป็นอย่างน้อย แต่ถ้าต้องรออะไหล่ก็จะนานสักหน่อย บางครั้งลูกค้าอาจจะไม่เข้าใจว่าอะไหล่แท้ แต่ละชิ้นของเลนส์แพงๆ นั้นต้องสั่งจากตัวแทนจำหน่าย บางครั้งไม่มี Stock ไว้ก็ต้องรอการส่งมาจากเมืองนอกนาน 2-3 เดือน หรือบางอะไหล่เลิกผลิตแล้ว ก็ทำให้หายากมาก ทำให้ต้องรอนาน ก็จะมาตำหนิเจ้าของร้าน....เจ้าของร้านก็จะไม่ง้อลูกค้าเลยยยยย....ยินดีคืนกลับให้ลูกค้า...แต่ในที่สุดเจ้าของเลนส์หรือกล้องนั้นๆ ก็ต้องนำกลับมาซ๋อมที่ร้านนี้อยู่ดี เนื่องจากหาช่างซ่อมดีๆ ไม่ได้

ต่อมาหลังจากเจ้าของได้เสียชีวิตลง ก็มีช่างจากร้าน "ชาญศิลป์" ต่างไปเปิดร้านกันเอง อีก 2-3 ร้าน....หนึ่งในนั้น คือ ร้าน Photo Service โดยเจ้าของร้านมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างดี สามารถแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ (Accessories) ที่ใช้ร่วมกับกล้องในสภาพแสงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการซ่อมกล้องชนิดต่างๆ ในราคาย่อมเยา และคุณภาพงานซ่อมเป็นอย่างดี ทำให้คิวในการซ่อมใช้เวลาราวๆ 1-2 เดือนเป็นอย่างน้อย บางกรณีก็นานเช่นกัน เนื่องจากหาอะไหล่ไม่ได้....(ปัจจุบันถ้าถามหาร้านนี้ ช่างซ่อมบางร้านอาจจะยังรู้จักอยู่บ้าง)

เจ้าของร้านเคยเล่าให้ฟังว่า "มีลูกค้าเคยนำเลนส์หรือกล้องมาให้ซ่อม แต่ต้องปฏิเสธ เนื่องจากจะต้องทิ้งเลนส์หรือกล้องไว้นาน เพราะต้องหาอะไหล่ให้ ทำให้ลูกค้านำไปซ่อมร้านอื่น เมื่อผ่านไป 3 เดือน ลูกค้ารายเดิมนำเลนส์หรือกล้องตัวเดิมกลับมาให้ซ่อมอีก คราวนี้ต้องถึงกับ "ไม่รับซ่อมกล้องนั้นอีกเลย เพราะมันถูกรื้อจนพังแล้ว ไม่คุ้มกับการซ่อมแล้ว หรืออีกกรณี ช่างซ่อมร้านอื่น ถึงกับต้องนำเลนส์หรือกล้องที่ถอดการซ่อมแล้ว ยกมาเป็นชิ้นๆ มาให้ช่วยซ่อมต่อให้หน่อย เนื่องจากตัวช่างคนนั้นๆ ซ่อมให้ไม่ได้ หรือประกอบกลับไปไม่ได้".....เจ้าของร้านบอกว่า ช่างซ่อมรุ่นใหม่ๆ ไม่ค่อยจะระมัดระวังเลนส์หรือกล้องของลูกค้า ดั่งเป็นเจ้าของเลนส์หรือกล้องนั้นเอง ทำให้ไม่ค่อยใส่ใจในความระมัดระวังในการซ่อมมากนัก" ตรงนี้แหละครับที่เป็นหัวใจของช่างซ่อม แต่ในที่สุดร้านนี้ก็ปิดตัวลงไป....ผมยังคงได้ยินว่า "เจ้าของร้านยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน...."

ปัจจุบันผมยังไม่พบเห็นร้านซ่อมกล้องหรือเลนส์ที่มีคุณภาพแบบนั้นอีกแล้วครับ....แม้ว่าช่างต่างๆ ที่มีการพูดถึงตามหน้าเว็ปต่างๆ ณ วันนี้ บางชิ้นงานที่ส่งกลับมา ผมถึงกับรับผลงานซ่อมไม่ค่อยจะได้อยู่หลายต่อหลายครั้ง (ตรงนี้อาจจะเป็นทัศนะส่วนตัวเกี่ยวกับการดูผลงานการซ่อม ซึ่งคนอื่นๆ อาจจะ Happy กับผลงานการซ่อมก็ได้นะครับ)




 

Create Date : 07 มกราคม 2555    
Last Update : 7 มกราคม 2555 7:48:22 น.
Counter : 1302 Pageviews.  

เลนส์ Leica แบบเกลียว หรือ M39 หรือ Screw Mount

เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการคัดลอกมาจากตำราหลากหลายเล่ม และหลาย Forum ใน Internet จุดประสงค์ คือ ต้องการรวบรวมเรื่องราวของกล้อง/เลนส์ Rangefinder ของ Zeiss และ Leica แบบภาษาไทย

หากต้องการรู้ว่ากล้อง Leica ของเราผลิตในปีใด รุ่นใด สามารถดูจาก Serial Number ได้ที่นี่
รุ่น Srew Mount (M39) //www.cameraquest.com/ltmnum.htm
รุ่น M Mount (Beyonet) //www.cameraquest.com/mtype.htm

(ขอเวลาในการรวบรวมข้อมูลเรื่อง Lens ปีที่ผลิต แล้วจะมาลำดับการผลิตอีกทีครับ)

แรกเริ่มกล้อง Leica จะใช้เลนส์แบบ Fix ติดตายตัวกับตัวกล้อง โดยไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ (กล้องจะเป็นรุ่น Leica Null (0-Series) และ Leica I (a) และ Leica I (b) ซึ่งมีเลนส์ 3 รุ่น ที่ผลิตออกมา คือ

1. Anastigmat 50/3.5 ผลิตออกมาในปี 1924 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18

2. Elmax 50/3.5 ผลิตออกมาในปี 1925 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18

3. Elmar 50/3.5 ผลิตออกมาในปี 1926 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (ลดจำนวนชิ้นเลนส์ลง 1 ชิ้นเพื่อลดต้นทุนในการผลิต)
โดยตัว Elmar ที่ใช้บนกล้อง Leica I (b) จะมีชัตเตอร์แบบ Compur อยู่บนตัวเลนส์

ปี 1930
พอถึงปี 1930 Leica จึงเริ่มผลิตกล้องเป็นแบบเปลี่ยนเลนส์ได้รุ่นแรก คือ Leica I (c) เลนส์รุ่นแรกที่ใช้กับกล้อง คือ Elmar 50/3.5 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 ต่อมาได้มีการแก้ไขให้หน้ากล้องหรี่เล็กสุดได้ที่ F16 และรุ่นสุดท้ายได้ที่ F22 แทน (เลนส์ Elmar 50/3.5 มีการผลิตจนถึงปี 1962)
หมายเหตุ เนื่องจากเลนส์ Elmar 50/3.5 มีช่วงปีที่ผลิตยาวนาน ทำให้ตัวเลนส์จะมีข้อแตกต่างกันหลายแบบ ในรุ่นเดียวกัน เช่น จุดสังเกตุที่ F , จุดสังเกตุที่ก้านปรับโฟกัสที่มีต่างกันถึง 4 แบบ , จุดสังเกตุที่วัสดุทำตัวเลนส์ , จุดสังเกตุที่เมาท์ของเลนส์ เป็นต้น

ปี 1930 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 35/3.5 ออกมา เป็นเลนส์ตัวที่สองที่เป็นแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ และเป็นเลนส์ Wide Angle ตัวแรก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (เลนส์ Elmar 35/3.5 มีการผลิตจนถึงปี 1950)

ปี 1931
ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 50/2.5 ออกมา (Hektor มาจากชื่อสุนัข ของ Prof. Max Berek) เพื่อที่จะได้เลนส์ที่มีความไวแสงกว่าเดิมขึ้น ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (เลนส์ Hektor 50/2.5 มีการผลิตจนถึงปี 1948)

ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 90/4 ออกมา ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 27 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 โดยรุ่นสุดท้ายเปิดหน้ากล้องได้ที่ F32 (เลนส์ Elmar 90/4 มีการผลิตจนถึงปี 1968)
หมายเหตุ เนื่องจากเลนส์ Elmar 90/4 มีช่วงปีที่ผลิตยาวนาน ทำให้ตัวเลนส์จะมีข้อแตกต่างกันหลายแบบ ในรุ่นเดียวกัน เช่น จุดสังเกตุที่ F , จุดสังเกตุที่วัสดุทำตัวเลนส์ , จุดสังเกตุที่เมาท์ของเลนส์ เป็นต้น

ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 135/4.5 ออกมา ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 18 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.5 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Elmar 135/4.5 มีการผลิตจนถึงปี 1936)

ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 73/1.9 ออกมา โดยเป็นเลนส์ Tele ตัวแรกที่มีความไวแสงสูง ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 34 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.5 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F25 (เลนส์ Hektor 73/1.9 มีการผลิตจนถึงปี 1942)

ปี 1932 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 105/6.3 ออกมา (คนส่วนใหญ่เรียกว่า Mountain Elmar) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 23 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 3 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Elmar 105/6.3 มีการผลิตจนถึงปี 1937)

ปี 1933 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summar 50/2 ออกมา โดยออกแบบแก้ไขกลุ่ม Lens ให้สามารถเก็บ Detail ได้ดีขึ้นกว่ารุ่น Hektor 50/2.5 ที่เน้น Contrast และมีความไวแสงเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F12.5 (เลนส์ Summar 50/2 มีการผลิตจนถึงปี 1940)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 35/4.5 ออกมา เป็นเลนส์ Wide Angle ราคาประหยัดรุ่นแรกที่ผลิตออกมาจำนวนจำกัด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 65 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 3 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (เลนส์ Elmar 35/4.5 มีการผลิตจนถึงปี 1935)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Thambar 90/2.2 ออกมา เป็นเลนส์ Tele ความไวแสงสูงอีกตัวที่ออกแบบมาแล้วผิดพลาด ทำให้ต้องมี Filter ใส่อยู่ด้านหน้า เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องเรื่องความสว่างตรงกลางของเลนส์ที่สูงเกินไป ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 27 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F25 (เลนส์ Thambar 90/2.2 มีการผลิตจนถึงปี 1942)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 28/6.3 ออกมา เป็นเลนส์ Wide Angle ที่กว้างที่สุดตัวแรก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 76 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F25 (เลนส์ Hektor 28/6.3 มีการผลิตจนถึงปี 1955)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 200/4.5 ออกมา เป็นเลนส์ Tele ระยะ 200mm ตัวแรกที่ผลิต ต้องใช้ร่วมกับ Adapter หรือ Visoflex I ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 12 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 3 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Telyt 200/4.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)

ปี 1936 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/5 Version I ออกมา เป็นเลนส์ Tele ระยะ 400mm ที่ผลิตออกมาเพื่อลองรับ Olympic ที่เบอร์ลิน เลนส์ต้องใช้ร่วมกับ Adapter หรือ Visoflex I ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 6 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 8 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Telyt 400/5 มีการผลิตจนถึงปี 1955)

ปี 1936 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Xenon 50/1.5 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ให้ทาง Schneider ออกแบบให้เพื่อสามารถส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ ภายใต้สิทธิบัตรที่เริ่มมีการบังคับใช้ โดย version ที่ส่งออกไปยังประเทศอื่น จะมีการแกะชื่อว่า "Taylor Hobson อยู่ที่หน้าเลนส์ด้วย ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F9 (เลนส์ Xenon 50/1.5 มีการผลิตจนถึงปี 1950)

ปี 1939 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summitar 50/2 ออกมา (ผลิตก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2) เพื่อแก้ไขกลุ่ม Lens ให้สามารถเก็บ Detail ได้ดีกว่ารุ่น Summar 50/2 โดยมี 3 รุ่นย่อย รุ่นแรกเป็น Lens ไม่มี Coated และมีม่านหรี่แสงแบบวงกลม รุ่นสองเป็น Lens ที่มี Coated และมีม่านหรี่แสงแบบวงกลม (ปี 1946 เป็นปีแรกที่เริ่มมีการใช้ Coated ในเลนส์) ในรุ่นนี้มีรุ่นพิเศษที่ทำออกมาเพื่อใช้ในงานทางทหาร จะมีสัญญาลักษณ์ * อยู่ต่อท้ายชื่อ Lens ด้วย (โดย Summitar* 50/2 นั้นถือเป็น Summicron 50/2 Prototype) รุ่นสามเป็น Lens ที่มี Coated และมีม่านหรี่แสงแบบหกเหลี่ยม (Hexagonial)
ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summitar 50/2 มีการผลิตจนถึงปี 1955)

ปี 1943 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summarex 85/1.5 ซึ่งเป็นเลนส์แบบใหม่ตัวแรกที่ผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (อันที่จริง ยังมีเลนส์รุ่นก่อนหน้าตามข้างต้นด้วยที่ผลิตช่วงสงคราม) เป็นเลนส์ Tele ที่ไวแสงที่สุดในยุคนั้น ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักสะสมอย่างมาก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 28 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summarex 85/1.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)

ปี 1946 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summaron 35/3.5 เพื่อเป็น Lens Wide Angle ราคาประหยัด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summaron 35/3.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)
หมายเหตุ เลนส์ Summaron 35/2.8 มีการผลิตออกมาในหลาย 2 รูปแบบ คือ แบบ Screw mount / แบบมี Goggle (แว่น) เพื่อใช้ร่วมกับ M3 ซึ่งไม่มี Frameline 35mm

ปี 1949 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summarit 50/1.5 โดยเป็นการพัฒนาต่อจากเลนส์ Xenon 50/1.5 ซึ่งเลนส์ที่ใช้ในการส่งออกไปประเทศอื่นจะมีการแกะสลักชื่อ "Taylor Hobson" อยู่ที่ด้านข้างของกระบอกเลนส์ด้วย ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summarit 50/1.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)

ปี 1953 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 50/2 ออกมา ช่วงกลางๆ ของการผลิตเลนส์รุ่นนี้ หลายโรงงานที่ผลิตเลนส์มีการคิดค้นในการที่จะใช้แร่รังสีมาเป็นส่วนประกอบในการ Coated Lens ซึ่งเป็นรุ่นที่นักสะสมต้องการมาก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summicron 50/2 มีการผลิตจนถึงปี 1968)

ปี 1954 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 125/2.5 เป็นเลนส์ที่ผลิตออกมาในงาน Photokina 1954 โดยใช้ร่วมกับ Visoflex I หรือ ต่อกับ Adapter เพื่อใช้ร่วมกับ Visoflex II / III ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 20 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.2 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Hektor 125/2.5 มีการผลิตจนถึงปี 1963)

ปี 1955 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summaron 28/5.6 ออกมา เพื่อเป็น Lens Wide Angle ราคาประหยัด ที่ผลิตมาแทน Hektor 28/6.3 (จำนวนชิ้นเลนส์ และกลุ่มเลนส์ เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานของ Summaron 35/3.5) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 76 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summaron 28/5.6 มีการผลิตจนถึงปี 1963)

ปี 1956 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/5 Version II เป็นการพัฒนาต่อจาก Version I โดยลดน้ำหนักของเลนส์ให้ลดลง ใช้ร่วมกับ Visoflex II/III ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 6 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 8 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F32 (เลนส์ Telyt 400/5 มีการผลิตจนถึงปี 1966)

ปี 1957 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 50/2.8 ออกมา เป็นการพัฒนาต่อจาก Elmar 50/3.5 ให้มีความไวแสงมาขึ้น อีกทั้งยังเป็นราคาประหยัดกว่า Summicron 50/2 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ที่มีงบจำกัด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Elmar 50/2.8 มีการผลิตจนถึงปี 1974)

ปี 1958 (ปีทองของเลนส์ Leica)
ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 35/2 Version I โดยเป็นเลนส์ Wide Angle ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 8 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.7 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summicron 35/2 V I มีการผลิตจนถึงปี 1969)
หมายเหตุ เลนส์รุ่น V I มีการผลิตออกมาในหลาย 3 รูปแบบ คือ แบบ Screw mount (มีการผลิตออกมาน้อยมาก) แบบมี Goggle (แว่น) เพื่อใช้ร่วมกับ M3 ซึ่งไม่มี Frameline 35mm แบบไม่มี Goggle (ไม่มีแว่น) เพื่อใช้กับ M2/M4

ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 90/2 Version I ออกมา โดยในตอนแรกที่ผลิต จะเป็นรุ่นที่ใช้กับ Screw Mount อย่างเดียว (ผลิตออกมาจำนวนน้อย) ซึ่งไม่สามารถถอดหัวได้ และฮูดเป็นแบบแยก ต่อมาได้พัฒนาให้สามารถถอดหัวได้ เพื่อไปใช้กับ Visoflex II/III ได้ และเป็นฮูดในตัว มีทั้งแบบ Screw Mount และ M Mount ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 27 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summicron 90/2 V I มีการผลิตจนถึงปี 1980)

ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summaron 35/2.8 ออกมาด้วย เพื่อเป็นเลนส์ Wid Angle ราคาประหยัดสำหรับผู้ที่มีงบจำกัด ที่ไม่สามารถซื้อ Summicron 35/2 ได้ และเป็นการออกมาแทน Summaron 35/3.5 ที่กำลังจะเลิกผลิต ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.7 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summaron 35/2.8 มีการผลิตจนถึงปี 1974)
หมายเหตุ เลนส์ Summaron 35/2.8 มีการผลิตออกมาในหลาย 3 รูปแบบ คือ แบบ Screw mount (มีการผลิตออกมาน้อยมาก) แบบมี Goggle (แว่น) เพื่อใช้ร่วมกับ M3 ซึ่งไม่มี Frameline 35mm แบบไม่มี Goggle (ไม่มีแว่น) เพื่อใช้กับ M2/M4

ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Super Angulon 21/4 เป็นเลนส์ Wide Angle ที่กว้างที่สุดที่ได้ผลิตมา โดยได้ให้ทาง Schneider ออกแบบ ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 9 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 92 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.4 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Super Angulon 21/4 มีการผลิตจนถึงปี 1963)

ปี 1959 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summilux 50/1.4 Version I ออกมา เป็นเลนส์ที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก Xenon ในช่วงปีท้ายๆ ของการผลิตได้มีการเปลี่ยนคุณภาพของ Optic แต่อยู่ในบอดี้เดิมของ V I ด้วย ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summilux 50/1.4 V I มีการผลิตจนถึงปี 1965)

ปี 1959 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 90/2.8
ปี 1959 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 200/4

ปี 1960 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 65/3.5
ปี 1960 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 135/4
ปี 1961 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summilux 35/1.4 Version I ออกมา
ปี 1961 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 280/4.8
ปี 1963 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Super Angulon 21/3.4
ปี 1963 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 135/2.8

ปี 1964 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 90/4
ปี 1964 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmarit 90/2.8 Version I
ปี 1965 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 28/2.8 Version I
ปี 1965 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmar 135/4
ปี 1965 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmarit 135/2.8

ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summilux 50/1.4 Version II
ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Noctilux 50/1.2
ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/5.6
ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 560/5.6

ปี 1969 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 35/2 Version II
ปี 1969 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 50/2 Version II
ปี 1970 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/6.8
ปี 1971 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 560/6.8
ปี 1972 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt-S 800/6.3
ปี 1972 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hologon 15/8
ปี 1972 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 28/2.8 Version II
ปี 1973 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit-C 40/2.8
ปี 1973 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron-C 40/2
ปี 1973 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar-C 90/4
ปี 1974 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmarit 90/2.8 Version II
ปี 1976 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Noctilux 50/1
ปี 1979 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 28/2.8 Version III
ปี 1979 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 35/2 Version III
ปี 1979 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 50/2 Version III
ปี 1980 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit-C 21/2.8
ปี 1980 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 90/2 Version II




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 7 มกราคม 2555 7:32:37 น.
Counter : 4432 Pageviews.  

ตำนานกล้อง/เลนส์ Rangefinder ของ Zeiss และ Leica

เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการคัดลอกมาจากตำราหลากหลายเล่ม และหลาย Forum ใน Internet จุดประสงค์ คือ ต้องการรวบรวมเรื่องราวของกล้อง/เลนส์ Rangefinder ของ Zeiss และ Leica แบบภาษาไทย

Zeiss แต่เดิมเป็นโรงงานผลิตกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) สำหรับใช้ในวงการแพทย์ ส่วน Leica แต่เดิมเป็นโรงงานผลิตกล้องดูดาว กล้องพิกัด (Telescope) แล้วต่างก็พัฒนาเลนส์มาสู่กล้อง 35mm

โดยเริ่มแรกฟิล์มขนาด 135 ยังไม่แพร่หลาย กล้องส่วนใหญ่ยังใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ และถ่ายภาพได้จำนวนน้อยรูปต่อการใส่ฟิล์ม 1 ครั้ง ซึ่งตัวกล้องมีขนาดใหญ่ พกพาลำบาก ขณะนั้นมีผู้ผลิตเลนส์หลากหลายยี่ห้อ โดยส่วนใหญ่เลนส์เหล่านั้นจะมีระบบชัตเตอร์อยู่ติดกับเลนส์ ที่ดังๆ ก็เห็นจะเป็นเลนส์ตระกูล Compur ทั้งหลาย (ชื่อ Compur มาจากผู้ผลิต Shutter) และ Zeiss เองก็ได้ผลิตเลนส์ให้กับกล้องประเภทนี้เป็นจำนวนมากมาก่อนแล้ว

ขณะที่ Leica ในช่วงแรกที่เข้าสู่การผลิตกล้องแรกๆ ก็ได้ผลิตเลนส์ให้กับกล้องประเภทนี้เช่นกัน แต่ด้วยการที่เห็นช่องทางในการทำตลาดใหม่ ทำให้ Leica ได้คิดค้นกล้องขนาดเล็กที่สามารถพกพาไปใช้ได้สะดวก และสามารถบันทึกภาพได้ในจำนวนมากต่อการใส่ฟิล์ม 1 ครั้ง ซึ่งเป็นที่มาของกล้อง Rangefinder ที่ใช้ฟิล์ม 135 นับแต่นั้นมา

โดยกล้องรุ่นแรกที่เป็น Rangefinder ของ Leica จะเรียกว่า Null-Series (0-series) และใช้เลนส์เป็นแบบเกลียวขนาด 39mm หรือที่เราเรียกกันว่า M39 หรือ Screw mount ซึ่งทำให้คนใช้กล้องหันมาใช้กล้อง 35mm กันมากขึ้น โดยผู้คิดค้นกล้องคือ Oskar Barnack ส่วนผู้คิดค้นเลนส์คือ Prof. Max Berek (ซึ่ง Max Berek เคยทำงานกับ Zeiss มาก่อน)

เมื่อความนิยมใช้กล้อง 35mm มากขึ้น ทาง Zeiss จึงได้เริ่มผลิตกล้อง Contax ออกมาเพื่อเป็นการแข่งขันกับทาง Leica บ้าง ซึ่งทาง Zeiss จะใช้เลนส์เป็นแบบเขี้ยว ที่เราเรียกกันว่า Bayonet mount โดยแบ่งเขี้ยวเลนส์เป็น 2 แบบในเมาท์เดียวกัน คือ เขี้ยวด้านใน กับเขี้ยวด้านนอก ซึ่งเขี้ยวด้านในจะใช้กับเลนส์ 50mm เท่านั้น ส่วนเขี้ยวด้านนอกจะใช้กับเลนส์ Wide Angle กับ Tele ทั้งหมด โดย Zeiss เองได้ผลิตกล้องให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าทาง Leica คือ มี Speed สูงกว่า Leica ออกมาก่อน เริ่มตั้งแต่ Contax I / II / III (Viewfinder สว่างกว่ารุ่นที่ลงท้ายด้วย IIa / IIIa) และ IIa / IIIa เป็นลำดับ

เมื่อทาง Zeiss ได้ออกกล้อง Contax I ทาง Leica จึงได้เริ่มพัฒนากล้องของตนเองรุ่น Leica I / II / III ซึ่งพัฒนาเรื่อง Speed ต่ำก่อน แล้วค่อยมาเป็น Speed สูงขึ้น เป็นลำดับ

ในช่วงระหว่างการแข่งขันทั้ง 2 ค่าย เวลาขณะนั้นเริ่มต้นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ทั้ง 2 โรงงานต้องปรับกระบวนการผลิตกล้องเพื่อสนับสนุนงานทางการทหาร ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งตัวบอดี้กล้อง และเลนส์จะมีการสลัก หรือเขียนคำว่าเป็นกล้องหรือเลนส์ที่ใช้ในทางการทหารด้วย ภายหลังสงครามกลุ่มนักสะสมจึงนิยมเก็บสะสมกล้องและเลนส์ในช่วงดังกล่าว เพราะมีการผลิตออกมาจำกัด และบางบอดี้มีการพัฒนาความสามารถเฉพาะออกมา เช่น การกันน้ำ หรือ บางเลนส์มีการพัฒนาช่วงระยะเลนส์เฉพาะออกมา โดยกล้องของ Zeiss ที่อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวคือ Contax II และ Leica คือ Leica IIIc

ในช่วงใกล้สงครามยุติทาง Leica ได้รับคำสั่งให้ผลิตตัวกล้องเป็นหลัก และทาง Zeiss ได้รับคำสั่งให้ผลิตเลนส์เป็นหลัก จึงทำให้เกิดเลนส์บางส่วนของ Zeiss เป็น Mount เกลียวแบบ Leica (ซึ่งภายหลังเลนส์แบบนี้ถูกออกแบบให้กับ Kiev เป็นส่วนใหญ่ เพราะได้แปลนการผลิตเลนส์แบบนี้ไป)

ช่วงใกล้สงครามโลกครั้งที่ 2 ใกล้ยุติ โรงงานของ Zeiss โดนระเบิดถล่มเสียหาย และเยอรมันแพ้สงครามในเวลาต่อมา ทำให้ประเทศเยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ คือ เยอรมันตะวันออก และ เยอรมันตะวันตก ขณะที่โรงงาน Zeiss เดิมอยู่ในเขตเยอรมันตะวันออก และทำให้ผู้คนต่างๆ รวมถึงคนงานของ Zeiss ต่างหนีภัยสงครามไปคนละทิศละทาง เมื่อสงครามยุติจึงมีการตั้งโรงงานใหม่ เป็น 2 ฝั่ง คือ Zeiss ตะวันออก ซึ่งใช้ชื่อ Carl Zeiss Jena และโรงงาน Zeiss ตะวันตก ซึ่งใช้ชื่อ Carl Zeiss เฉยๆ
และมีคนงานบางส่วนที่หนีภัยสงครามไปยังประเทศอื่นๆ แล้วผลิตเลนส์ หรือกล้องที่ใช้สูตรใกล้เคียงกับ Carl Zeiss เช่น รัสเซีย จะได้แบบแปลนกล้องและเลนส์ไป จึงได้ตั้งโรงงาน Kiev ขึ้น ช่วงเวลานี้เองทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับกล้อง และเลนส์ต่างๆ ของ Zeiss สูญหายเป็นจำนวนมาก เราจึงไม่มีหนังสือไว้เทียบ Serial Number ของกล้องและเลนส์ Zeiss ที่ครบถ้วนถูกต้อง (จนราวปี 199x ได้มีช่างโรงงาน Zeiss ที่อพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ได้เขียนเป็นบันทึกออกมา เพื่อเรียงลำดับ Serial number และรุ่นของเลนส์ที่ได้ผลิตในช่วงก่อน และหลังสงคราม)

ส่วนทาง Leica เองโรงงานไม่ได้รับความเสียหายมากนัก เนื่องจากตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก จึงได้ผลิตกล้องและเลนส์ต่อมาภายหลังสงคราม จนมาถึงช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ Leica ออกกล้อง Leica M series มาได้พักนึงแล้ว ดังนั้นช่วงสงครามเวียดนามจึงมีบอดี้กล้อง Leica M ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ และเป็นที่ต้องการของนักสะสมเป็นอย่างมาก เช่น Leica M2R หรือ Leica M4 Safari เป็นต้น

ช่วงเวลาดังกล่าวของทั้ง 2 โรงงานถือว่าเป็นยุคทอง (Golden era) ของกล้องระบบ Rangefinder เพราะเลนส์ของกล้องทั้ง 2 โรงงาน มีคุณภาพสูงมาก สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างดี จึงทำให้เป็นที่นิยมของผู้ใช้กล้องในการถ่ายภาพ แต่เนื่องจากกล้องระบบ Rangefinder ยังมีข้อด้อยหลัก คือ ไม่สามารถจัดองค์ประกอบของภาพให้ตรงกับเลนส์ได้อย่างง่ายดาย กล่าวคือ หากจะใช้เลนส์ Wide Angle หรือ Tele จำเป็นต้องใช้ View finder ต่างหากมาติดตั้งตรงช่องเสียบแฟลช ทำให้ลำบากสำหรับผู้ใช้ ดังนั้นจึงมีการออกแบบกล้อง SLR เกิดขึ้นต่อมา เพื่อแก้ไขข้อจำกัดเรื่องดังกล่าว

เลนส์ของกล้อง Rangefinder ของทั้ง 2 โรงงาน ขออธิบายรุ่นต่างๆ เพิ่มเติมในบทความต่อไป

หมายเหตุ *** ความลับของเลนส์ คือ แก้วเลนส์ที่ผลิตโดย Schott Glass ***
//www.schott.com/english/company/corporate_history/milestones.html




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 25 กรกฎาคม 2557 22:36:33 น.
Counter : 3462 Pageviews.  


rogthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add rogthai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.