ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
CCNA - Metric ใน Routing Protocol คืออะไร? และ OSPF Cost หรือ OSPF Metric แบบเน้นๆ

(บทความนี้จะเหมาะกับคนที่พอมีความรู้เรื่อง Cisco Router มาบ้าง หรือคนที่จะสอบ CCNA ครับ)

สำหรับบทความนี้จะกล่าวเน้นเรื่องของ Metric ที่ใช้งานอยู่ใน Cisco Router และผมก็จะเน้นเรื่อง Metric ของ OSPF เป็นกรณีพิเศษให้นะครับ

Metric ใน Cisco Router คืออะไร?
Metric ก็คือ ค่า หรือ พารามิเตอร์ (parameter) ที่ Routing Protocol (ไม่ว่าจะเป็น RIP, OSPF หรือ EIGRP) ใช้ในการตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด (the best path) ที่จะไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ ในกรณีที่มีเส้นทางไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ มากกว่าหนึ่งเส้นทาง

ซึ่งในช่วงต้นๆ นี้ผมจะขอกล่าวถึงเรื่อง Metric แบบง่ายๆ ก่อน รวมถึงการยกตัวอย่างเล็กๆ เพื่อให้เห็นภาพนะครับ โดยผมขอยกตัวอย่าง Metric ของ Routing Protocol RIP และ OSPF มาเปรียบเทียบให้เห็นภาพดังนี้ครับ

Metric สำหรับ Routing Protocol RIP คือ Hop Count หรือจำนวนของ Router ที่มันต้องผ่าน เพื่อไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ ซึ่งในกรณีที่มีเส้นทางที่จะไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ มากกว่าหนึ่งเส้นทางแล้ว Router ที่ run Routing Protocol RIP จะเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุด หรือเส้นทางที่ต้องวิ่งผ่าน Router เป็นจำนวนที่น้อยที่สุดเป็น Best Path หรือเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ในการไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ โดยไม่สนใจว่า Bandwidth ที่ใช้ในการเดินทางจะมีค่ามากหรือน้อยเพียงใด ดังตัวอย่างในรูปที่ 1

หมายเหตุ
คำว่า Bandwidth คืออะไร?
Bandwidth จะเป็น parameter ตัวหนึ่งบน interface ของ Router ซึ่ง Bandwidth จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณหา Best Path ของ Routing Protocol เช่น OSPF และ EIGRP โดย Interface และ Bandwidth จะมีความสัมพันธ์กันในลักษณะสองลักษณะ ดังต่อไปนี้ครับ

------------------------------------

มุมมองแบบเปรียบเทียบ:
- Bandwidth = Speed หรือความเร็วในการไหลของข้อมูลภายใน Interface นั้นๆ ซึ่ง Bandwidth จะมีหน่วยเป็น bits/sec

ลองนึกถึงบันไดเลื่อนดูนะครับ
- สมมุติว่าบันไดเลื่อนยืนได้แค่ 1 คนต่อขั้นเท่านั้น (ไม่อิงความจริงนะครับ) แล้วให้จุดที่คนเดินออกจากบันไดเลื่อนเป็นจุดที่จะจับเวลา
- ถ้าใน 1 วินาที บันไดเลื่อนพาคนออกจากทางออก หรือผ่านจุดจับเวลาได้แค่ 1 คนเท่านั้น นั่นคือ Bandwidth หรือ Speed = 1 คน/วินาที หรือ 1 คน/sec.
- แต่ถ้าบันไดเลื่อนตัวเดิมถูกปรับความเร็วให้เร็วขึ้นไปอีก ทำให้คนสามารถออกจากบันไดเลื่อน หรือผ่านจุดจับเวลาได้ถึง 10 คนใน 1 วินาที นั่นคือ Bandwidth หรือ Speed = 10 คน/วินาที หรือ 10 คน/sec.

เมื่อย้อนกลับมาดูความเป็นจริงทางเทคนิคแล้วจะได้ว่า
- Interface เทียบเท่ากับบันไดเลื่อน
- ข้อมูล (หน่วยเป็น bit) ที่ไหลผ่าน Interface เทียบเท่ากับคน (หน่วยเป็นคน) ที่อยู่บนบันไดเลื่อน
- Bandwidth เท่ากับความเร็ว หรือจำนวน bit (คน) ที่สามารถผ่าน interface ออกไปได้ โดยการจับเวลา ณ. จุดใดจุดหนึ่ง

ดังนั้นเราจะสามารถสรุปได้ว่า ยิ่ง Interface มี Bandwidth (bits/sec) สูงมากเท่าไหร่ อัตราการไหลของข้อมูล (Speed) ยิ่งเร็วมากขึ้นเท่านั้น





รูปที่ 1 แสดงการเลือก Best Path ของ RIP

จากรูปที่ 1 เป็นรูปของ Network ที่ Router ทุกตัว run แต่ Routing Protocol RIP เพียงอย่างเดียว และเมื่อ R1 ต้องการจะส่งข้อมูลไปยัง Network 10.0.0.0/8 ซึ่งเป็น Network ปลายทาง และ R1 เองก็ run Routing Protocol RIP อยู่ด้วย ดังนั้น R1 จะตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด (Best Path หรือเส้นทางที่สั้นที่สุด) ที่จะไปยัง Network 10.0.0.0/8 นั่นก็คือเส้นทาง R1 --> R3 นั่นเอง

สรุป
Metric ของ RIP = Hop Count หรือจำนวนของ Router ที่ต้องวิ่งผ่านเพื่อไปยัง Network ปลายทาง
Best Path ของ RIP = Lowest Hop Count หรือเส้นทางที่มีจำนวนของ Router ที่ต้องวิ่งผ่านที่น้อยที่สุด จนไปถึง Network ปลายทาง

Metric สำหรับ Routing Protocol OSPF คือ Bandwidth ตลอดเส้นทางที่จะไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ ซึ่งในกรณีที่มีเส้นทางที่จะไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ มากกว่าหนึ่งเส้นทางแล้ว Router ที่ run Routing Protocol OSPF จะเลือกเส้นทางที่มี Bandwidth ตลอดเส้นทางที่มากที่สุดเป็น Best Path หรือเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดที่จะไปยัง Network ปลายทางนั้นๆ โดยไม่สนใจว่าจะต้องวิ่งอ้อมผ่าน Router หลายๆ ตัวก็ตาม
ดังตัวอย่างในรูปที่ 2



รูปที่ 2 แสดงการเลือก Best Path ของ OSPF

จากรูปที่ 2 เป็นรูปของ Network ที่ Router ทุกตัว run แต่ Routing Protocol OSPF เพียงอย่างเดียว และเมื่อ R1 ต้องการจะส่งข้อมูลไปยัง Network 10.0.0.0/8 ซึ่งเป็น Network ปลายทาง และ R1 เองก็ run Routing Protocol OSPF อยู่ด้วย ดังนั้น R1 จะตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด (Best Path หรือเส้นทางที่มี Bandwidth สูงๆ ตลอดเส้นทาง) ที่จะไปยัง Network 10.0.0.0/8 นั่นก็คือเส้นทาง R1 --> R2 --> R3 นั่นเอง

ลึกอีกนิดกับเรื่อง Metric ของ OSPF
Metric ของ OSPF มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ค่า Cost ครับ(อย่าพยายามไปแปลภาษาอังกฤษคำว่า Cost เป็นภาษาไทยเลยครับ ให้เข้าใจว่าค่า Cost ของ OSPF ก็คือ Metric ของ OSPF นั่นเอง)
ค่า Metric ของ OSPF หรือค่า Cost ของ OSPF แม้จะมีที่มาที่แท้จริงจากค่าของ Bandwidth แต่ค่า Metric หรือค่า Cost ของ OSPF ก็ไม่ได้เท่ากับค่าของ Bandwidth โดยตรงซะทีเดียวครับ ซึ่งเราต้องนำค่าของ Bandwidth มาเข้าสูตรคำนวณก่อน จึงจะได้ค่า Metric หรือค่า Cost ของ OSPF ออกมา
ซึ่งค่า Metric หรือค่า Cost ของ OSPF จะมีสูตรหรือสมการดังรูปที่ 3 ข้างล่างครับ



รูปที่ 3 แสดงสูตร หรือสมการการคำนวณ OSPF Cost

ตัวอย่างที่ 1 เช่น Interface มีค่า Bandwidth = 64 Kbits/sec = 64,000 bits/sec
ดังนั้น
OSPF Metric หรือ OSPF Cost จะมีค่า = 100,000,000/64,000 = 1,563

ตัวอย่างที่ 2 เช่น Interface มีค่า Bandwidth = 1,544 Kbits/sec = 1,544,000 bits/sec
ดังนั้น
OSPF Metric หรือ OSPF Cost จะมีค่า = 100,000,000/1,544,000 = 64

ซึ่งเมื่อดูจากสมการในสูตร และจากคำกล่าวที่กล่าวไปแล้วว่า "Routing Protocol OSPF จะเลือกเส้นทางที่มี Bandwidth ตลอดเส้นทางที่มากที่สุดเป็น Best Path"
เมื่อนำทั้งสองสิ่งมาพิจารณาดีๆ จะได้ดังนี้ครับ

จากสมการ เราจะเห็นได้ว่า OSPF Cost เกิดจาก ค่า Reference Bandwidth (ค่า default คือ 100,000,000) ซึ่งเป็นค่าคงที่ ที่หารด้วยค่าของ Bandwidth และเมื่อเราลองสังเกตให้ดีๆ เราจะพบว่า ยิ่งถ้า Bandwidth มีค่ามากขึ้นเท่าไหร่แล้ว ค่า OSPF Metric หรือ ค่า OSPF Cost ก็จะยิ่งมีค่าน้อยลงเท่านั้น และยิ่งค่า OSPF Cost (OSPF Metric) ยิ่งมีค่าน้อยมากเท่าไหร่ นั่นก็หมายความว่าเส้นทางที่มีค่า Metric ที่น้อยที่สุดนั้นก็จะเป็น Best Path ของ OSPF protocol เพราะในความเป็นจริงแ้ล้วทุกๆ Routing Protocol เช่น RIP, OSPF และ EIGRP ต่างก็จะเลือกเส้นทางที่มีค่า Metric ที่น้อยที่สุดเป็น Best Path เสมอครับ

สรุป
Metric หรือ Cost ของ OSPF = Bandwidth ตลอดเส้นทางที่จะไปยัง Network ปลายทาง ซึ่งต้องนำมาคำนวณเป็นค่า Cost อีกทีหนึ่งตามสูตรที่ได้กล่าวไปแล้วนะครับ
Best Path ของ OSPF = เส้นทางที่มีผลรวมของค่า Cost ตลอดเส้นทางที่น้อยที่สุด หรือเส้นทางที่มี Bandwidth ตลอดเส้นทางที่มากที่สุดนั่นเอง
หมายเหตุ ค่าของ OSPF Cost จะแปรผกผันกับค่าของ Bandwidth ครับ

แถมให้อีกนิด กับเรื่องของ Bandwidth อีกหน่อยครับ
Bandwidth เป็น Parameter ตัวหนึ่งที่อยู่บน Interface ของ router ครับ ซึ่งเราสามารถเข้าไป configure ค่า Bandwidth บน Interface ของ Router ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

เช่น เราต้องการ configure ค่า Bandwidth บน Interface s0/0 ของ Router R1111 เป็น 64 Kbits/sec หรือ 64,000 bits/sec เราสามารถทำการ configure ได้ดังนี้ครับ

R1111#configure terminal
R1111(config)#interface s0/0

R1111(config-if)#bandwidth ?
<1-10000000> Bandwidth in kilobits
inherit Specify that bandwidth is inherited
receive Specify receive-side bandwidth

หมายเหตุ จุดที่น่าสังเกตคือ หน่วยของ Bandwidth ในสูตร หรือในสมการของ OSPF Cost ที่ถูกอ้างถึงใน Document ของ Cisco จะมีความแตกต่างกับหน่วยที่ถูกแสดงใน Parameter "bandwidth" บน Interface ของ Cisco Router ครับ คือ เมื่อเราใช้ command "bandwidth ?" ภายใต้ interface command (config-if) บน Cisco Router แล้ว เราจะสังเกตเห็นได้ว่าหน่วยของ Bandwidth จากการใช้ command ดังกล่าวจะถูกแสดงออกมาเป็น kilobits (ไม่ใช่ kilobits per second นะครับ) แต่เมื่อไปดูสูตรตามรูปที่ 3 ซึ่งจะถูกอ้างอิงจากเอกสาร หรือ Document หลายๆ เล่มของ Cisco แล้ว จะเห็นว่าสูตรใน Document ของ Cisco จะใช้หน่วยของ Bandwidth เป็น bits per sec ครับ ขอเน้นคำว่า per sec ครับที่แตกต่างกันครับ แต่ไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องสนใจ และอย่าไปกังวลกับเรื่องนี้มาก แต่ขอให้เข้าใจไว้ว่า parameter "bandwidth" ที่ Interface Command (config-if) มันก็คือสิ่งๆ เดียวกันกับ Interface Bandwidth ที่อยู่ในสูตรตามรูปที่ 3 ครับ

ดังนั้นเมื่อเราต้องการใส่ค่า Bandwidth = 64 Kbits หรือ 64 kilobits หรือ 64,000 bits เราก็สามารถใส่ค่าได้ดังนี้ครับ

R1111(config-if)#bandwidth 64
(ไม่ต้องใส่ "0" ตามหลัง เพราะมันมีหน่วยเป็น kbits อยู่แล้วครับ)

ซึ่ง Router จะนำค่า Bandwidth = 64 (kbit/sec) หรือ 64,000 bit/sec ไปทำการคำนวณหาค่า Cost ออกมาเองอย่างอัตโนมัติด้วยสูตรดังรูปที่ 3 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ หรือ OSPF Cost ออกมาคือ

OSPF Metric หรือ OSPF Cost จะมีค่า = 100,000,000/64,000 = 1,563

เมื่อค่า Reference Bandwidth เราใช่ค่า default (100,000,000)

ถามว่าสำหรับ Routing Protocol OSPF ไม่ทำการ configure ค่า Bandwidth บน Interface ได้ไหม?

ตอบ สามารถทำได้ครับ เพราะ Cisco Router จะมีค่า Bandwidth โดย Default (ค่าที่ใส่ให้เองหากเราไม่ไปกำหนดค่าใดๆ ให้กับมัน) สำหรับ Interface แต่ละชนิดไว้อยู่แล้วดังนี้ครับ



รูปที่ 4 แสดงค่า Default Bandwidth ของ Interface แต่ละชนิดบน Cisco Router ในกรณีที่เราไม่ได้เข้าไปแก้ไขค่า Bandwidth ใดๆ

คำเตือนเรื่อง Interface แบบ Serial กับ Parameter "bandwidth" บน Interface
บางท่านเข้าใจผิดว่าเมื่อ Serial Interface ของ Cisco Router ถูกต่อเข้ากับ Modem หรือ CSU/DSU แล้ว Router จะทำการ set ค่า bandwidth บน Serial Interface ของมันเองอย่างอัตโนมัติ ตาม Speed ของ Modem หรือ CSU/DSC ที่ Router ตัวนั้นต่ออยู่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Speed ของ Modem หรือ CSU/DSU ที่จริงแล้วก็คือ Clock Rate ที่ Network ของผู้ให้บริการ จ่ายให้กับ Router ผ่านมาทาง Modem หรือ CSU/DSU เท่านั้นเองครับ ซึ่งมันจะไม่ได้เข้าไปแก้ไขค่า parameter "bandwidth" บน Serial Interface ให้อย่างอัตโนมัตินะครับ เราเองเท่านั้นที่จะต้องเข้าไป configure ค่า "bandwidth" ให้กับ Serial Interface ของ Cisco Router ครับ เช่น

เราเช่า Link Lease Line ที่มี Speed หรือ Bandwidth เท่ากับ 128 Kbits/sec จากผู้ให้บริการรายหนึ่ง เราก็ควรจะเข้าไปบน Serial Interface ของ Router ซึ่งต่ออยู่กับ Modem หรือ CSU/DSU ของ Lease Line เพื่อเข้าไป configure parameter "bandwidth" ให้มีค่าของ bandwidth ที่ตรงกับ Speed ที่ใช้งานจริงนะครับ มิฉะนั้นแล้ว Cisco Router จะทำการกำหนดค่า "bandwidth" โดยใช้ค่า default ดังรูปที่ 4 คือ 1.544 Mbits/sec หรือ 1,544 Kbits/sec ซึ่งพอเข้าสูตรเพื่อคำนวณหาค่า OSPF Cost แล้ว เราก็จะได้ค่า OSPF Cost เท่ากับ 64 (เมื่อค่า Reference Bandwidth ใช้ค่า default = 100,000,000) ซึ่งเป็นค่าที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง จะส่งผลให้ OSPF คำนวณค่า Metric ผิด และท้ายสุด การเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด หรือที่เราเรียกว่า Best Path ก็จะไม่ใช่ Best Path ที่แท้จริงนะครับ

สิ่งที่ถูกต้องคือ
ถ้า Link Lease Line มี Speed หรือ Bandwidth = 128 Kbits/sec แล้ว เราก็ควรที่จะต้องเข้าไปทำการ configure ค่า parameter bandwidth บน Serial Interface เป็น 128 Kbits ด้วยเช่นกัน ซึ่งท้ายสุดแล้วเราก็จะได้ค่า OSPF Cost คือ 100,000,000/128,000 = 781
เมื่อค่า Reference Bandwidth ใช้ค่า default = 100,000,000


หมายเหตุ-แถมอีกแล้วครับ
- Modem หรือ CSU/DSU กับ Clock Rate จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของ เทคโนโลยีเครือข่ายแบบ WAN (Lease Line หรือ Frame Relay เป็นต้น ซึ่งเป็นงานเก่าผมที่ทำมา 8 ปีเลยแหล่ะ)
- Lease Line จะมี Speed หรือ Bandwidth แบบ N x 64 Kbits/sec เมื่อ N = 1,2,3, ... 32 (64 Kbits/sec ถึง 2048 Kbits/sec)
- Lease Line จะมี Speed หรือ Bandwidth ที่สามารถลองรับได้สูงสุดแค่ 2 Mbits/sec หรือ 2048 Kbits/sec เท่านั้นนะครับ
- Interface ของ Router ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ Network แบบ Lease Line จะต้องใช้เป็น Interface แบบ Serial ครับ
- เนื่องจาก Lease Line มี Speed หรือ Bandwidth สูงสุดเพียง 2 Mbits/sec ดังนั้น Lease Line จะเป็น Technology ที่จะต้องตายไปในอนาคตครับ และจะมี Technology ที่เข้ามาทดแทนคือ Metro Ethernet รวมถึง MPLS ซึ่งสามารถมี Speed หรือ Bandwidth ได้สูงถึง 100 Mbits/sec หรือมากกว่านั้นครับ
- Modem ต่างกับ CSU/DSU ยังไง? ติดไว้ก่อนครับ
- Clock Rate คืออะไร? ยาวครับ ขอข้ามไปก่อน แต่สำหรับท่านที่เคยทำงานมาบ้างผมมั่นใจว่าเข้าใจครับ

แล้วค่าำ Reference Bandwidth คืออะไรล่ะ?
ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ว่า "ค่าำ Reference Bandwidth คืออะไร?" เราไปเรียนรู้สาเหตุของเรื่องนี้กันก่อนดีกว่าครับ
จากรูปที่ 4 เราลองสังเกตและเปรียบเทียบค่า OSPF Cost ที่เป็นค่า Default (Default OSPF Cost) ระหว่าง Link Type Fast Ethernet กับ Gigabit Ethernet ดูสิครับ จะเห็นได้ว่ามีค่าเป็น "1" ทั้งคู่

มันเป็นเยี่ยงนี้ครับ นานมาแล้ว (นานจนผมเองก็จำไม่ได้ ^ ^') ในสมัยที่ Interface แบบ Ethernet ยังมี Speed ต่ำๆ คือมี Speed สูงสุดแค่ 100 Mbits/sec เท่านั้น เมื่อนำ Interface แบบ Ethernet ที่มีค่า Bandwidth (Speed) ที่สูงที่สุดนั่นก็คือ 100 Mbits/sec มาใส่ในสตูร เพื่อคำนวณหาค่า OSPF Cost ที่ซึ่งค่า Reference Bandwidth = 100,000,000 แล้ว เราจะได้ค่า OSPF Cost เท่ากับ 1 ซึ่งไม่มี Interface Type ไหนที่จะมาเทียบได้ในยุคนั้น ดังนั้นในยุคนั้นค่าำ Reference Bandwidth ของ Cisco Router จึงเป็นค่าที่ตายตัวคือ 100,000,000 และไม่สามารถแก้ไขได้ครับ เพราะมันมีเฉพาะ Interface Type แบบ 100 Mbits/sec เท่านั้นที่จะสามารถใช้ค่า OSPF Cost ที่เท่ากับ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
หมายเหตุ
- สมัยก่อน Interface แบบ Ethernet มีแค่แบบ 10/100 หรือ 10 Mbits/sec กับ 100 Mbits/sec ไม่เหมือนสมัยนี้ที่เป็นแบบ 10/100/1000 คือ 10 Mbits/sec, 100 Mbits/sec และ 1,000 Mbits/sec
- 1,000 Mbits/sec = 1 Gbits/sec (Gbits/sec คือ Gigabits per second)

แต่ต่อมาในยุคปัจจุบัน Interface แบบ Ethernet เริ่มมีการพัฒนา Speed หรือ Bandwidth ให้สูงขึ้น จนกระทั่งมี Interface แบบ 1 Gbits/sec และ Interface แบบ 10 Gbits/sec และเนื่องด้วยในยุคของ Broadband Internet, 3G และ 4G (LTE) ที่เป็นยุคที่มีการใช้งานปริมาณข้อมูลที่มีขนาดมหาศาล จึงได้เริ่มมีการพัฒนา Interface แบบ Ethernet ให้มี Speed สุงถึง 40 Gbits/sec และ 100 Gbits/Sec (Interface ประเภทนี้จะถูกใช้งานใน IP Core Network ของผู้ให้บริการ Internet เป็นหลักครับ มันแพงมาก ณ ขณะนี้ครับ)

ดังนั้น Cisco Router จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องของสูตรสำหรับการคำนวณหาค่า OSPF Cost ให้เหมาะสม โดยยอมให้ User สามารถเปลี่ยนแปลงค่า Reference Bandwidth เองได้ ซึ่งจะเหมาะกับ ในกรณีที่ Network ของ User ที่ run OSPF มีการใช้งาน Interface แบบ Gigabit Ethernet ขึ้นไป (เช่น Interface แบบ 1 Gb/s และ 10 Gb/s)
ซึ่ง command ที่จะใช้ในการเปลี่ยนค่า Reference Bandwidth คือ

auto-cost reference-bandwidth

ซึ่งจะต้อง configure ภายใต้ router configuration mode (config-router) นะครับ

ตัวอย่างเช่น
------------------------
ก่อนมีการแก้ไขค่า Reference Bandwidth
Router#show run
router ospf 1
network 10.8.0.1 0.0.0.0 area 0

Router#show interface s0/1
Serial0/1 is up, line protocol is up
MTU 1500 bytes, BW 1544 Kbit, DLY 20000 usec,
reliability 255/255, txload 1/255, rxload 1/255

ตอนนี้ใช้ค่า bandwidth บน serial interface เป็นค่า default คือ 1544 Kbit ครับ

Router#show ip ospf interface s0/1
Serial0/1 is up, line protocol is up
Process ID 1, Router ID 10.13.0.1, Network Type POINT_TO_POINT, Cost: 64

OSPF Cost = 100,000,000/1544000 = 64
เมื่อค่า Reference Bandwidth ใช้ค่า default = 100,000,000

-----------------------------------

เมื่อมีการกำหนดค่า Reference Bandwidth เป็นค่าใหม่คือ 1,000,000,000 ซึ่งเราสามารถกำหนดได้โดยใช้ command "auto-cost reference-bandwidth " ดังต่อไปนี้ครับ

Router(config)#router ospf 100
Router(config-router)#auto-cost reference-bandwidth ?
<1-4294967> The reference bandwidth in terms of Mbits per second

จะเห็นได้ว่าค่า Reference Bandwidth เขาให้หน่วยมาแล้วคือ Mbits/sec (หรือ 1,000,000 bits/sec)
ดังนั้น หากเราต้องการกำหนดค่า Reference Bandwidth เป็น 1,000,000,000 เราสามารถทำการ configure ได้ดังนี้ครับ

Router(config-router)#auto-cost reference-bandwidth 1000
หมายเหตุ
- ไม่ต้องใส่ "0" อีกหกตัวที่เหลือตามหลัง 1000 นะครับ เพราะหน่วย M จาก Mbits/sec จะเป็นตัวแทนของ "0" อีกหกตัวที่เหลือครับ
- 1 Mbits/sec = 1,000,000 bits/sec (M = Mega = 1,000,000)
- 1,000 Mbits/sec = 1,000 x 1,000,000 bits/sec = 1,000,000,000 bits/sec

Router#show interface s0/1
Serial0/1 is up, line protocol is up
MTU 1500 bytes, BW 1544 Kbit, DLY 20000 usec,
reliability 255/255, txload 1/255, rxload 1/255

ตอนนี้ใช้ค่า bandwidth บน serial interface เป็นค่า default คือ 1544 Kbit ครับ

Router#sh ip ospf interface s0/1
Serial0/1 is up, line protocol is up
Process ID 1, Router ID 10.13.0.1, Network Type POINT_TO_POINT, Cost: 647

OSPF Cost = 1,000,000,000/1544000 = 647
เมื่อค่า Reference Bandwidth ถูกกำหนดเป็น 1,000,000,000

คำเตือน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่า Reference Bandwidth เป็นค่าใดๆ ที่ไม่เท่ากับ 100,000,000 (ค่า default) แล้ว เราจำเป็นที่จะต้องไล่เปลี่ยนค่าค่านี้บน Router ทุกตัวที่ run routing protocol OSPF เพื่อให้การคำนวณค่า Best Path เป็นไปอย่างเหมาะสมครับ


ในกรณีที่เรารู้สึกว่าการ configure bandwidth บน Interface เพื่อให้ได้มาซึ่งค่า OSPF Cost นั้น เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแล้ว
ผมขอเสนออีกวิธีหนึ่งในการกำหนดค่า OSPF Cost บน Interface ของ Cisco Router ครับ นั่นก็คือวิธีการกำหนดค่า OSPF Cost เข้าไปตรงๆ ให้กับ Interface ของ Cisco Router เลยครับ ซึ่ง command ที่จะใช้ก็คือ

ip ospf cost

ซึ่งต้อง configure ภายใต้ Interface command (config-if)

และที่สำคัญก็คือ command นี้จะ set ค่า OSPF Cost ทับค่า Cost ที่ได้มาจากการคำนวณผ่าน Interface Bandwidth (ดังรูปที่ 3) นะครับ

ตัวอย่างเช่น
-----------------------------
ก่อนการกำหนดค่า OSPF Cost ด้วย command "ip ospf cost"

Router#show ip ospf interface s0/1
Serial0/1 is up, line protocol is up
Internet Address 10.100.0.6/30, Area 0
Process ID 1, Router ID 10.13.0.1, Network Type POINT_TO_POINT, Cost: 64

จะเห็นว่ามีค่า Cost = 64 ซึ่งเป็นค่า OSPF Cost ที่ได้มาจากการคำนวณ Interface Bandwidth ตามสูตรดังรูปที่ 3

------------------------------
หลังจากมีการกำหนดค่า OSPF Cost ให้เป็น 100 ด้วย command "ip ospf cost"

Router(config)#interface s0/1
Router(config-if)#ip ospf cost ?
<1-65535> Cost

(สามารถกำหนดค่า OSPF Cost ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 65535)

Router(config-if)#ip ospf cost 100

Router#show ip ospf interface s0/1
Serial0/1 is up, line protocol is up
Internet Address 10.100.0.6/30, Area 0
Process ID 1, Router ID 10.13.0.1, Network Type POINT_TO_POINT, Cost: 100

จะเห็นว่าค่า OSPF Cost เดิมคือ 64 (ซึ่งได้จากการคำนวณผ่านสูตรดังรูปที่ 3) แต่หลังจากเราใช้ command "ip ospf cost" แล้ว Cisco Router จะเลือกใช้ค่า OSPF Cost จาก Command นี้เป็นหลักครับ

====================================

เอาล่ะครับ ผมจะสรุปเรื่อง Metric แบบง่ายๆ กันอีกทีดังนี้นะครับ

โดยปกติแล้ว เมื่อ Router พบว่ามีเส้นทางที่จะไปยัง network ปลายทางมากกว่าหนึ่งเส้นทางแล้ว Routing Protocol ที่ run อยู่บน Router ตัวนั้น ไม่ว่าจะเป็น RIP, OSPF หรือ EIGRP ก็ตาม พวกมันจะทำการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดที่จะไปยัง network ปลายทางนั้นโดยการพิจารณาจากค่า Metric ของแต่ละเส้นทางว่าเส้นทางไหนมีค่า Metric ที่น้อยสุด มันจะถือว่าเส้นทางนั้นเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด หรือ The Best Path นั่นเอง ซึ่งทั้ง RIP, OSPF, และ EIGRP จะใช้หลักการนี้ทั้งหมดในการหา Best Path ครับ เพียงแต่ Metric ของ RIP, OSPF, และ EIGRP จะใช้ Parameter ที่แตกต่างกันไป มาคำนวณเป็นค่า Metric ครับ ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปแล้วคือ

- Metric ของ RIP = Hop Count หรือจำนวนของ Router ที่จะต้องผ่านไปจนถึง network ปลายทาง
- Metric ของ OSPF = ผลรวมของค่า Cost ตลอดเส้นทางไปจนถึง network ปลายทาง ซึ่งค่าของ OSPF Cost จะเกิดจากการคำนวณตามสูตร หรือสมการดังรูปที่ 3 ข้างบน ซึ่ง OSPF Cost จะมีค่าแปรผกผันกับค่าของ Bandwidth
- Metric ของ EIGRP = Bandwidth, Delay, Reliability, Loading, MTU ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น Parameter ที่อยู่บน Interface ของ Router ครับ โดย EIGRP จะนำ Parameter เหล่านี้มาเข้าสูตรเพื่อคำนวณหาค่า Metric ตลอดเ้ส้นทางอีกทีหนึ่งครับ

หมายเหตุ Metric ของ EIGRP มีรายละเอียดเรื่องสูตร หรือสมการอีกมากมายเกินกว่าจะอธิบายในบทนี้ได้ครับ หากมีโอกาส จะกล่าวถึง Metric ของ EIGRP เป็นกรณีพิเศษอีกทีครับ

สุดๆ ครับสำหรับงานเขียนนี้

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์ (kochaiwat)



Create Date : 30 กันยายน 2554
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:35:55 น. 18 comments
Counter : 36718 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: ARMy IP: 202.91.23.3 วันที่: 16 พฤษภาคม 2556 เวลา:11:18:00 น.  

 
 
 
ขอบคุนมากครับ
 
 

โดย: โอโย่ IP: 180.183.204.211 วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:20:23:37 น.  

 
 
 
@ทุกท่าน
ด้วยความยินดีครับ ^_^
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:21:15:39 น.  

 
 
 
ชอบเรื่องการเน้นสี อ่านง่าย เข้าใจง่าย

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
 
 

โดย: win IP: 171.100.165.217 วันที่: 14 พฤษภาคม 2557 เวลา:10:25:43 น.  

 
 
 
@คุณ Win
ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 14 พฤษภาคม 2557 เวลา:19:42:05 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: ok IP: 27.130.216.58 วันที่: 9 มิถุนายน 2557 เวลา:19:03:29 น.  

 
 
 
ยอดเยี่ยมครับ
 
 

โดย: TWL IP: 171.4.250.162 วันที่: 24 มิถุนายน 2557 เวลา:20:40:19 น.  

 
 
 
อธิบายได้เห็นภาพ มากครับ
 
 

โดย: chaidong IP: 119.160.223.242 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:11:28:43 น.  

 
 
 
รอติดตาม การปรับจูน EIGRP Bandwidth ไม่เท่ากัน
 
 

โดย: Pu IP: 58.8.178.251 วันที่: 11 มกราคม 2560 เวลา:21:18:56 น.  

 
 
 
มีสอนเรื่อง BGP ไหมครับ อยากรู้มากเลยครับพี่ พี่สอนได้เข้าใจดี
 
 

โดย: suraphon IP: 118.174.30.29 วันที่: 29 กรกฎาคม 2560 เวลา:17:45:41 น.  

 
 
 
@Suraphon,

ตอนนี้เน้น Basic เป็นหลักๆ ครับ เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน ลงเสาเข็ม เทคอนกรีตให้พี่ๆ น้องๆ ในวงการ IT จะได้มีพื้นฐานที่มั่นคง สามารถต่อยอดได้อย่างสบายๆ ครับ

แต่ก็มีสอน advance บ้างเล็กน้อย แต่พวก advance จะไม่ละเอียดมากครับ เพื่อต้งการเน้น concept ครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 4 สิงหาคม 2560 เวลา:14:54:23 น.  

 
 
 
พี่สอนได้เข้าใจดี

Thank you.
 
 

โดย: DDT IP: 188.165.201.164 วันที่: 16 ตุลาคม 2560 เวลา:16:33:47 น.  

 
 
 
You are the best, Thank you.
 
 

โดย: GIFT Aukka IP: 184.22.217.115 วันที่: 26 เมษายน 2561 เวลา:12:38:29 น.  

 
 
 
ขอบคุณบทความดีๆครับอาจารย์
 
 

โดย: Apiwat IP: 159.192.221.94 วันที่: 10 กรกฎาคม 2562 เวลา:9:31:39 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: natthatwat thepwibon IP: 203.170.216.2 วันที่: 11 ธันวาคม 2564 เวลา:10:13:01 น.  

 
 
 
อ่านยังไม่จบครับ แต่จะเข้ามาอ่านบ่อยๆ เสริมความรู้ครับ ขอบคุณมากครับ เคยไปอบรมกับ อาจารย์ ที่ ม.เกษตร เมื่อสมัยหนุ่มๆ ตอน config switch cisco 555
 
 

โดย: mrter2011@gmail.com IP: 203.158.1.34 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:2:49:08 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: ภูรินทร์ IP: 184.22.217.192 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:12:28:38 น.  

 
 
 
ขอบคุณทุกท่าน ที่เข้ามาอ่านครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 8 เมษายน 2565 เวลา:18:19:25 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com