ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
เปรียบเทียบ Lease Line, Circuit Switching และ Packet Switching



ก่อนอื่น ผมขอแจ้งก่อนว่า 
- บทความนี้เขียนจากประสบการณ์การทำงานที่บริษัท UIH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ WAN Technology (Lease Line, ATM, Frame Relay, และ MPLS) ซึ่งผมจะไม่ได้กางทฤษฎีมาเขียน แต่เขียนจากภาพ และมุมมองที่ใช้ในการทำงานจริง และเป็นมุมมองที่สามารถนำมาแกไขปัญหาให้กับลูกค้าได้จริง

- Packet Switching มีทั้ง Technology X.25 (เก่ามาก), ATM , และ Frame Relay แต่ในบทความนี้จะใช้ Technology Frame Relay เท่านั้นมาเป็นตัวแทนของ Packet Switching ในการอธิบายนะครับ 

ภาพบางภาพ ผมนำมาจาก Slide ของผมที่ใช้ในการสอน CCNA อุทิศเพื่อเป็นความรู้ และประโยชน์แก่ท่านๆ ทั้งหลายครับ


1. ระบบ TDM (Time Division Multiplex)

ก่อนจะกล่าวถึง Circuit Switching ผมของกล่าวถึงระบบ TDM (Time Division Multiplex) อย่างคร่าวๆ ก่อนนะครับ

- ระบบ TDM จะเป็นระบบที่สร้างวงจรจากต้นทางไปยังปลายทาง ในระดับ Physical Layer โดยจะสร้างเป็นท่อ จากต้นทางไปยังปลายทางแบบ Cross Connect (X-Connect) ที่ละ hop บน TDM Switching ซึ่งเราจะเรียกท่อจากต้นทางไปยังปลายทางว่า "Circuit"
------------------------------------------------------------
Note: TS = Time Slot โดยให้ดูจากรูปที่ 2 ประกอบ
------------------------------------------------------------
- เนื่องจาก TDM switching ได้ทำการ cross connect จาก
TS & Port หนึ่งไปยังอีก TS & Port หนึ่งเอาไว้แล้ว ดังนั้นมันจึงไม่จำเป็นที่จะต้องไปอ่าน Layer 2 header (Frame header) ของข้อมูลที่ผ่านตัวมัน เพียงแค่มันรับ Frame data เข้ามา และ forward ออกไปยัง TS & Port ที่มีการ cross connect ไว้ล่วงหน้า และ TDM switching ตัวถัดๆ ไป ก็กระทำแบบเดียวกันจนข้อมูลสามารถูกส่งถึงปลายทางได้ในที่สุด และด้วยลักษณะการทำงานเช่นนี้แล้ว ระบบ TDM จึงถูกจัดให้เป็น WAN network ในระดับ Layer 1

- ระบบ TDM ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบสองรูปแบบ คือ Lease Line และ Circuit Switching 


รูปที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบ Technology Lease Line, Circuit Switching และ Frame Relay


2. เปรียบเทียบ ความเหมือนของ Lease Line และ Circuit Switching

2.1.   เป็น Layer 1 WAN Network และเมื่อนำมาเชื่อมต่อเข้ากับ Router ต้นทางและ Router ปลายทางแล้ว ตัวมันเองจะทำตัวเป็นเสมือน สายที่ใช้ในการเชื่อมต่อระยะไกล (คือไม่อ่าน/ไม่เข้าใจ protocol ใดๆ ที่วิ่งผ่านตัวมัน มันจะทำตัวเป็นแค่ repeater หรือตัวทวนสัญญาณ bit 0 / 1 เท่านั้น ดังนั้นหากต้องการใช้งาน WAN Technology ประเภทนี้แล้ว, Layer 2 protocol บน WAN interface (หรือที่เรียกว่า Serial interface) ของ Router จะต้อง encapsulation ด้วย Layer 2 Point-to-Point protocol ซึ่งก็มีอยู่สอง protocol คือ HDLC และ PPP 
และเพราะว่าทั้ง Lease Line และ Circuit Switching เป็น Layer 1 WAN (เสมือนสายเชื่อมต่อระยะไกล ดังรูปที่ 2) ดังนั้น Layer 2 Protocol จึงเป็นหน้าที่ ที่ Router ทั้งสองฝั่งจะต้อง encapsulation ให้เหมือนกัน มิฉนั้นแล้ว เวลาใช้ command show interface หรือ show ip interface brief แล้ว จะพบว่า Serial is Up , Line protocol is Down
ซึ่งสถานะที่ใช้งานได้ ต้องออกเสียงแบบกบร้องคือ Up/Up (Serial is Up, Line protocol is Up)
Note: จุดเด่นที่คนจะใช้ PPP มากกว่า HDLC ก็คือ PPP รองรับการทำ Authentication ในการเจรจา (negotiation) กัน แต่ในขณะที่ HDLC ไม่สามารถทำได้ 

2.2.   เป็น Technology ที่ Reserve Bandwidth หรือจอง Bandwidth ใน network ตลอดช่วงแบบ End-to-End ทำให้ network ประเภทนี้มีความเสถียรหรือมี reliability สูงในการรับส่ง traffic โดยเฉพาะ traffic ประเภท Real Time Traffic อย่างเช่น Voice และ Video Conferencing

2.3.   เป็น Technology TDM หรือ Time Division Multiplexer (ถ้าเป็นระดับ 2 Mbit/sec ลงมาจะแบ่งเป็น Time Slot [TS]) ดังรูปที่ 2

3. เปรียบเทียบ ความแตกต่างของ Lease Line และ Circuit Switching

3.1.   Lease Line จะเป็นวงจรเช่า คือลูกค้าจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้กับ Service Provider ดังนั้น Service Provider จะทำการสร้างวงจร End-to-End แบบถาวรหรือที่เราเรียกกันว่า Permanent Circuit
3.2.   Circuit Switching (หรือระบบ PSTN [Public Switched Telephone Network] หรือที่เราเคยรู้จักกันคือ ระบบ network โทรศัพท์ เบอร์ 02-xxx-xxxx ที่เราใช้กันในยุคที่ยังไม่มีมือถือ) เป็นวงจรที่จะถูกสร้างขึ้นมาก็ต่อเมื่อต้องการใช้งาน หรือเมื่อต้องการรับส่งข้อมูล (เสียง ผ่านหัว phone หรือ data ผ่าน modem) ซึ่งวงจรจะถูกสร้างขึ้นมาผ่านsignaling หรือการส่งสัญญาณการขอเชื่อมต่อนั่นก็คือ การเชื่อมต่อจะเกิดเมื่อเรามีการกดเบอร์โทรศัพท์ไปยังปลายทางซึ่งถ้าเป็นพื้นที่เดียวกัน จะเสียค่าใช้จ่ายเป็นแบบต่อครั้งแต่ถ้าวงจรข้ามพื้นที่ หรือโทรข้ามจังหวัดจะเสียค่าใช้จ่ายแบบต่อนาที


รูปที่ 2 แสดงภาพการเชื่อมต่อแบบ End-to-End บนระบบ TDM (Lease Line หรือ Circuit Switching)


4. Packet Switching
Packet Switching (X.25, Frame Relay และ ATM): Packet Switching จะเป็นการรับส่งข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ share หรือเป็นการใช้ media หรือ link ระหว่างทางร่วมกันของลูกค้าหลายๆ รายไม่เหมือนอย่างระบบ Circuit Switching 

Note:
ระบบ Circuit Switching จะทำการสร้าง circuit ของลูกค้าแต่ละรายจากต้นทางไปยังปลายทาง ในระดับ physical (cross connect) โดยจะทำการจอง bandwidth บน media หรือ link ระหว่างทางเอาไว้ 

และเพราะว่า media หรือ link ระหว่างทางถูกใช้งานแชร์ร่วมกัน (ไม่ได้สร้างเป็นแบบท่อของใครของมันเหมือนอย่าง Circuit Switching) ดังนั้น Frame Data ที่ถูกรับส่งกันบนระบบ Packet Switching ในระหว่างทางจึงต้องมีการอ้างอิง address เพื่อให้ Packet Switching ระหว่างทางของการ forwarding Frame Data สามารถรู้ถึงปลายทางว่าจะส่งไปที่ใด

อย่างเช่น 
PacketSwitching ที่เป็นแบบ Frame Relay Switching ก็จะมีข้อกำหนดให้ Frame Header หรือ Layer 2 Header ถูกencapsulate แบบFrame Relay protocol และจะต้องมีการอ้างอิง Layer 2 address (DLCI address) เอาไว้ใน Frame Relay header เพื่อที่ว่า Frame Relay Switching จะได้สามารถอ่าน และ forward Data ไปบน media หรือ link ที่แชร์ร่วมกันได้  


ในระบบ Packet Switching จะมีการสร้าง Circuit สำหรับเชื่อมโยงลูกค้าจากต้นทางไปยังปลายทางเช่นกัน เพียงแต่ Circuit นี้จะไม่ใช่ Circuit จริงๆในระดับ Physical เหมือนอย่างระบบ TDM หรือ Circuit Switching

Note: Circuit ในระดับ Physical ในระบบ TDM จะเป็นการจอง bandwidth เอาแบบของใครของมัน โดยไม่มีการแชร์ media หรือ linkเหมือนอย่าง Packet Switching

ดังนั้น Circuit ที่ถูกสร้างขึ้นมาบน Packet Switching จะถูกเรียกว่า "วงจรเสมือน (Virtual Circuit หรือ VC)" 


5. เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่าง Technology TDM (Lease Line และ Circuit Switch) กับ Frame Relay

- Technology แบบ TDM เป็น technology แบบ reserve หรือจอง   bandwidth บน link ใน network ของ Service

Provider นั่นก็คือ การจองเป็น Time Slot (TSนั่นเอง


- Technology แบบ Frame Relay จะเป็นแบบ shared bandwidth หรือการทำ Over Subscription บน link ใน 

network ของ Service Provider ดังรูปที่ 3
และเนื่องจาก WAN ที่ใช้ Technology Frame Relay จะเป็น Layer 2 WAN Network ที่ซึ่ง Frame Relay Switch จะสามารถอ่าน Layer 2 Frame ได้ และจะอ่านได้แค่ Layer 2 protocol ที่เป็น Frame Relay เท่านั้น ดังนั้น บน WAN Interface (Serial Interface) ของ Router ก็มีความจำเป็นที่จะต้อง encapsulation ให้เป็น Frame Relay protocol ด้วยเช่นกันนะครับ


รูปที่ 3 แสดงภาพการเปรียบเทียบ Circuit บนระบบ TDM และ Virtual Circuit (VC) บน Frame Relay




Note:

1. Circuit บนระบบ TDM เป็น Circuit จริงๆ ที่สร้างขึ้นมาจากต้นทางไปยังปลายทางโดยการ Cross Connect แบบ Hop-by-Hop และมีการจอง Bandwidth ไปตลอดทั้งเส้นทาง จากต้นทางไปยังปลายทาง แต่สำหรับ Virtual Circuit บนระบบ Frame Relay จะเป็นการสร้าง Circuit เสมือน หรือที่เรียกกันว่า Virtual Circuit (VC) โดย VC จะมีหน้าที่แค่บอกว่า จะนำพา Layer 2 Frame วิ่งจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างไร ผ่าน Frame Relay Switching ตัวไหนบ้าง และที่สำคัญคือไม่จอง Bandwidth แต่จะใช้การ setup ค่า CIR (Committed Information Rate) แทน เพื่อบอกว่า VC นี้จะใช้ Bandwidth ได้สูงสุดเท่าไหร่ และอาจจะ Burst เกิน CIR ได้บางช่วง โดยใช้หลักการที่เราเรียกว่า QoS (Quality of Service)

2. Service Provider จะต้องคอย monitor ดูแลสอดส่อง ปริมาณการใช้ traffic โดยรวมภายในท่อ 2 Mbps ของลูกค้าทุกๆ รายในท่อนั้นๆ ว่า มีการใช้งานรวมกันเกิน Threshold ของท่อ 2 Mbps แล้วหรือยัง เช่น ตั้งไว้ที่ 80% ของท่อ 2 Mbps (1.6 Mbps) 


ต่อไปนี้จะกล่าวถึงกรณีศึกษาของ Frame Relay โดยอ้างอิงจากรูปที่ 3


เป็นการ monitor traffic โดยรวมภายในท่อ 2 Mbps ท่อหนึ่ง ณ. วันหนึ่ง โดยเน้นที่จุด Peak สูงสุดของ traffic รวมในท่อ 2 Mbps ในวันนั้น ซึ่งอาจจะใช้ Program Traffic Monitoring อย่างเช่น Cacti (เป็น program freeware) มาทำเป็น Graph เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์


กรณีศึกษาที่ 1: กรณีที่ ไม่เกิน Threshold 80% (1.6 Mbps) ณ. ขณะเวลาใด เวลาหนึ่งที่กำลังทำการตรวจสอบ

- ลูกค้า A ใช้งานจริง 300 kbps จาก CIR 512 kbps

- ลูกค้า B ใช้งานจริง 400 kbps จาก CIR 512 kbps

- ลูกค้า C ใช้งานจริง 500 kbps จาก CIR 1 Mbps

- ลูกค้า D ใช้งานจริง 100 kbps จาก CIR 512 kbps


ดังนั้นปริมาณการใช้งานรวม = 1.3 Mbps ซึ่งถือว่ายังไม่เกิน Threshold ที่ตั้งไว้ ทำให้ Service Provider ยังอาจจะเพิ่มลูกค้ารายใหม่เข้าไปในท่อ 2 Mbps นี้ได้อีก


กรณีศึกษาที่ 2: กรณีที่ เกิน Threshold 80% (1.6 Mbps) แต่ยังไม่เกินท่อ 2 Mbps ณ. ขณะเวลาใด เวลาหนึ่งที่กำลังทำการตรวจสอบ

- ลูกค้า A ใช้งานจริง 100 kbps จาก CIR 512 kbps

- ลูกค้า B ใช้งานจริง 400 kbps จาก CIR 512 kbps

- ลูกค้า C ใช้งานจริง 1 Mbps จาก CIR 1 Mbps

- ลูกค้า D ใช้งานจริง 200 kbps จาก CIR 512 kbps


ดังนั้นปริมาณการใช้งานรวม = 1.7 Mbps ซึ่งถือว่าเกิน Threshold ที่ตั้งไว้ ทำให้ Service Provider ไม่เพิ่มลูกค้ารายใหม่เข้าไปในท่อ 2 Mbps แล้ว ซึ่งหากมีลูกค้ารายใหม่แล้ว Service Provider จะทำการเพิ่มท่อ 2 Mbps ใหม่ก่อน


กรณีศึกษาที่ 3 กรณีที่ เกินท่อ 2 Mbps ณ. ขณะเวลาใด เวลาหนึ่งที่กำลังทำการตรวจสอบ

- ลูกค้า A ใช้งานจริง 500 kbps จาก CIR 512 kbps

- ลูกค้า B ใช้งานจริง 400 kbps จาก CIR 512 kbps

- ลูกค้า C ใช้งานจริง 1 Mbps จาก CIR 1 Mbps

- ลูกค้า D ใช้งานจริง 200 kbps จาก CIR 512 kbps


ดังนั้นปริมาณการใช้งานรวม = 2.1 Mbps ซึ่ง เกินกว่าที่ท่อ 2 Mbps จะรับไว้ได้ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ อาจจะเกิดจากการที่ลูกค้าตั้งใจใช้งานภายใต้ CIR ของตัวเอง แบบพร้อมๆ กัน โดยมิได้นัดหมาย จะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "traffic แออัด" หรือที่ ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า "congestion" ซึ่งจะส่งผลให้เกิด traffic drop หรือที่ Frame Relay เรียกว่า "discards" ซึ่งลูกค้าจะโดนเฉลี่ยกัน drop ดังนั้นถ้าเป็นพวก data ที่ใช้งานบน TCP protocol แล้ว TCP protocol จะทำการ re-transmit traffic ในส่วนที่โดน drop ให้ใหม่ แต่ถ้าเป็นพวก real time traffic อย่างเช่น Voice และ Video Conferencing แล้ว มันจะ run อยู่บน UDP และจะไม่ re-transmit ให้ใหม่ ส่งผลให้เสียงขาดๆ หายๆ หรือภาพกระตุกได้



เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่าง Frame Relay PVC และ SVC

- PVC (Permanent Virtual Circuit): จะเป็น VC ที่ถูกสร้างทิ้งเอาไว้จาก End-to-End ดังนั้นลูกค้าที่ใช้ Frame Relay

แบบ PVC จะต้องเหมาจ่ายเป็นรายเดือน

- SVC (Switched Virtual Circuit) จะเป็น VC ที่ถูกสร้างเมื่อต้องการใช้งานหรือเมื่อต้องการส่ง traffic ซึ่งถูกสร้างโดย

การส่ง signaling ซึ่งลูกค้าจะจ่ายเป็นครั้งๆ ตามการใช้งานจริง

Note: ในเมืองไทยไม่นิยมให้บริการ Frame Relay แบบ SVC เพราะมีความยุ่งยากในเรื่องของ billing หรือการเรียกเก็บค่าบริการ


หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ network โดยรวม ซึ่งรวมถึง traffic flow หรือ data flow ท่านสามารถเข้าไปดู Video ที่ผมได้จัดทำไว้ตาม link นี้ครับ


https://www.youtube.com/watch?v=WMr_WJJEJE4



หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ


ขอบคุณครับ

โก้-ชัยวัฒน์

www.likecisco.bloggang.com




Create Date : 06 มกราคม 2558
Last Update : 10 มิถุนายน 2560 23:41:16 น. 8 comments
Counter : 18457 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุุณในความรู้ที่เอื้อเฟื้อ
 
 

โดย: ์Noobiw IP: 122.155.34.11 วันที่: 6 มกราคม 2558 เวลา:21:13:50 น.  

 
 
 
@Noobiw ยินดีครับพี่
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 6 มกราคม 2558 เวลา:22:14:17 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ อ่านแล้วเห็นภาพรวมและเข้าใจได้ง่ายมากเลยครับ
 
 

โดย: ัyurega IP: 223.27.196.242 วันที่: 13 มกราคม 2558 เวลา:13:32:15 น.  

 
 
 
ตุดยอดเลยครับ อาจารย์ กัฒน์
 
 

โดย: เสือ IP: 49.49.250.31 วันที่: 25 กรกฎาคม 2558 เวลา:15:44:29 น.  

 
 
 
@คุณเสือ
ขอบคุณครับรู้สึกจะเอาชื่อผม ผสมกันระหว่าง โก้ กับข วัฒน์ กลายเป็น กัฒน์ ใช่ไหมครับ ^^
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 25 กรกฎาคม 2558 เวลา:16:03:43 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากๆ เลยจ้า
 
 

โดย: yongyut IP: 118.174.145.147 วันที่: 22 สิงหาคม 2559 เวลา:14:26:58 น.  

 
 
 
ขอบคุณ อาจารย์โก้มากเลยครับ
 
 

โดย: anurut IP: 110.170.117.54 วันที่: 11 มิถุนายน 2560 เวลา:10:03:07 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากเลยครับ กระจ่างเลย
 
 

โดย: Vito Andolini Corleone วันที่: 11 มิถุนายน 2562 เวลา:20:58:33 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com