เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

"บุญเบิกฟ้า" ทำนายทิศฟ้าร้อง เตรียมสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญใหญ่ ณ มหาสารคาม

บุญเบิกฟ้า ทำนายทิศฟ้าร้อง เตรียมสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญใหญ่ ณ มหาสารคาม
ปะรำพิธี “บวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้า”
       ประเทศไทยของเรานั้น เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมและประเพณีที่มีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตมาตั้งแต่อดีต ที่ได้สืบทอดมาสู่ปัจจุบัน โดยแต่ละประเพณีนั้นก็ต่างมีความงดงามของขนบธรรมเนียม พิธีการปฏิบัติและความหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ประเพณีบุญเบิกฟ้า” งานประเพณีของจังหวัดมหาสารคาม

“ประเพณีบุญเบิกฟ้า” นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีเอกลักษณ์ ที่ได้มีการสืบทอดและมีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของเกษตรกรของจังหวัดมหาสารคามมาอย่างยาวนาน โดยจะจัดขึ้นช่วงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุก ๆ ปี ซึ่งจะตรงกับช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และในปีนี้ทางจังหวัดมหาสารคาม ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้า ที่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหมี่ ตำบลเขวา อำเมือง พร้อมกับมีการจัดงานกาชาด ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ภายใต้ชื่องาน “งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด ฉลอง 150 ปี มหาสารคาม” โดยงานจะจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เเละในวันที่ 22 สิงหาคมของปีนี้ จังหวัดมหาสารคามจะครบรอบ 150 ปี หลังจากได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408

บุญเบิกฟ้า ทำนายทิศฟ้าร้อง เตรียมสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญใหญ่ ณ มหาสารคาม
“แม่โพสพ” เทพธิดาของเหล่าเกษตรกร ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
       ประเพณีบุญเบิกฟ้าเป็นประเพณีที่ชาวมหาสารคามได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งได้ถูกจารึกไว้ในหนังสือใบลานที่วัดบ้านหนองหล่ม อำเภอเมืองมหาสารคาม และวัดบ้านองบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ว่า เมื่อถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุก ๆ ปี จะเป็นวันเทวาเปิดประตูน้ำให้ฝนตกลงสู่โลกมนุษย์ และจะเป็นวันที่มีเสียงฟ้าร้องเป็นครั้งแรกของปี จึงได้มีการจัดพิธีบวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้า เพื่อแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพและทำนายทิศฟ้าร้อง

บุญเบิกฟ้า ทำนายทิศฟ้าร้อง เตรียมสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญใหญ่ ณ มหาสารคาม
บรรยากาศการรำบวงสรวงแม่โพสพ “พิธีบวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้า”
       เมื่อครั้งอดีตนั้น เกษตรกรจะจัดพิธีบวงสรวงกันที่ยุ้งฉางเก็บผลผลิตของตนเอง แต่เนื่องจากโลกได้พัฒนาและวิถีชีวิตของเกษตรกรได้เปลี่ยนไปจากเดิม เกษตรกรไม่ได้เก็บผลผลิตไว้ที่ยุ้งฉางเหมือนอดีต อีกทั้งประเพณีเริ่มเลือนหาย นายไสว พราหมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม จึงได้หาแนวทางนำประเพณีโบราณของท้องถิ่นนำมารวมเข้ากับเรื่องความเชื่อและผนวกเข้ากับงานกาชาด และได้จัดพิธีบวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้าครั้งแรก ภายใต้ชื่องาน “งานบุญเบิกฟ้าและกาชาดจังหวัดมหาสารคาม” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2532 เพื่อให้เกษตรกรทั่วทั้งสารทิศมาร่วมกันทำพิธีบวงสรวงสืบทอดประเพณีอันดีงามที่มีมาตั้งแต่อดีตไม่ให้เลือนหายไป และยังได้จัดเป็นงานประจำปีของจังหวัดมหาสารคามมาจนถึงปัจจุบัน

บุญเบิกฟ้า ทำนายทิศฟ้าร้อง เตรียมสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญใหญ่ ณ มหาสารคาม
ภาพวาดสัตว์ประจำทิศทั้ง 8 ที่ “พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม”
       พิธีบวงสรวงแม่โพสพบุญเบิกฟ้า จะมีการตั้งปรัมพิธีที่ประกอบด้วย กระทงใหญ่เก้าห้องใส่เครื่องบัดพลีหรือเครื่องถวายต่างๆ อาทิ หมากพลู ข้าวตอก ดอกสามปีบ่อเหี่ยวหรือดอกบานไม่รู้โรย ถั่วงา อาหารคาวหวานวางไว้บนกองข้าว เพื่อบวงสรวงและแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ และจะมีการทำนายทิศฟ้าร้อง ว่าฟ้าจะร้องครั้งแรกที่ทิศใดจากทั้งแปดทิศ ซึ่งในตำนานได้กล่าวไว้ว่า แต่ละทิศจะมีสัตว์ประจำทิศนั้นๆ เช่น ทิศบูรพามีครุฑเป็นสัตว์ประจำทิศ , ทิศอาคเนย์ มีแมวเป็นสัตว์ประจำทิศ ,ทิศทักษิณมีราชสีห์เป็นสัตว์ประจำทิศ ,ทิศปัจจิม มีพญานาคเป็นสัตว์ประจำทิศ โดยคำทำนายของแต่ละทิศก็จะแตกต่างกันออกไป

       และในปีนี้คำนายทิศฟ้าร้อง ได้ทำนายว่า "ฟ้าร้องที่ทิศอีสานหรือตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีวัวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูดิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ ฝนจะดีตลอดปี ข้าวกล้าในนาจะงอกงามสมบูรณ์ดี คนจะมีความสุขเกษมตลอดปีอย่างถ้วนหน้า"

บุญเบิกฟ้า ทำนายทิศฟ้าร้อง เตรียมสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญใหญ่ ณ มหาสารคาม
เกษตรกรนำปุ๋ยไปหว่านบำรุงดิน
       อีกทั้งในวันนี้ เกษตรกรจะถือเอาฤกษ์สำคัญนี้ นำปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลโค-กระบือ ที่ใช้ในการไถ ไปหว่านในไร่นาอย่างพร้อมเพรียงกัน เพราะเมื่อครั้งอดีตยังไม่มีเทคโนโลยีทุ่นแรงเหมือนในปัจจุบัน เกษตรจะใช้เคียวเกี่ยวข้าวและเก็บเกี่ยวผลิตผลต่างๆ ก็จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเดือน3 ซึ่งจะตรงกับช่วงบุญเบิกฟ้าพอดี จึงใช้ฤกษ์นี้นำปุ๋ยไปหว่านเพื่อทดแทนทดแทนบุญคุณของแผ่นดินโดยมีสำนึกที่ว่าเมื่อดินเป็น ผู้ให้อาหารหรือผลิตผลอาหารแก่มนุษย์ มนุษย์จึงต้องรู้จักทดแทน เป็นอีกหนึ่งกุศโลบายของผู้เฒ่าผู้แก่ ในการบำรุงดินหลังจากการเพาะปลูก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเพาะปลูกพืชผลครั้งต่อไป

       ประเพณีบุญเบิกฟ้าจึงเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ตราบใดที่ลูกหลานหลานยังไม่ได้ลืมเลือนวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ ประเพณีเก่าแก่นี้ก็จะยังอยู่คู่จังหวัดมหาสารคามและให้ผู้คนรุ่นหลังได้รับรู้และร่วมสืบทอดต่อไปตราบนานเท่านาน

***************************************************************************************************************************************************

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น (รับผิดชอบ จ.ขอนแก่น,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์,มหาสารคาม) โทร.0-4324-4498-9

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *



Create Date : 27 มกราคม 2558
Last Update : 27 มกราคม 2558 21:52:38 น. 1 comments
Counter : 1421 Pageviews.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 28 มกราคม 2558 เวลา:2:54:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]