bloggang.com mainmenu search



คณะองคมนตรีในประเทศไทย คือกลุ่มบุคคลที่ให้คำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ โดยในอดีตเคยใช้ชื่อ ปรีวีเคาน์ซิล (สภาที่ปฤกษาในพระองค์), องคมนตรีสภา, และ สภากรรมการองคมนตรี ตามลำดับ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน

คำ "องคมนตรี" ในภาษาไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of state) จำนวน 12 คน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 (ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2437 ได้ยกเลิกไปและจัดตั้ง รัฐมนตรีสภา ขึ้นแทน) และปรีวีเคาน์ซิล (Privy council) หรือ ที่ปฤกษาในพระองค์ จำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น องคมนตรีสภา)

ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งองคมนตรี จำนวน 40 คน ตั้งเป็น สภากรรมการองคมนตรี ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ขึ้นใหม่ทุกปีในวันที่ 4 เมษายน เนื่องในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เมื่อสิ้นรัชกาลจึงมีองคมนตรีมากถึง 233 คน

ในรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเป็น 3 องค์กร คือ อภิรัฐมนตรีสภา เสนาบดีสภา และสภากรรมการองคมนตรี

โดยอภิรัฐมนตรีสภาก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เทียบเท่าได้กับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จำนวน 5 พระองค์ ซึ่งทรงเคยรับราชการตำแหน่งสำคัญในรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย

จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ


ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในระยะแรกคณะราษฎรได้มีประกาศยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภา และพระราชบัญญัติองคมนตรี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 และว่างเว้นมาเป็นเวลา 15 ปี

จนกระทั่งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 จึงมีบทบัญญัติคล้ายคลึงกันโดยกำหนดให้มี "คณะอภิรัฐมนตรี" ทำหน้าที่นี้ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะองคมนตรี" ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 และใช้มาตราบจนถึงปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ระบุว่าเป็นคณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิเป็น ประธานองคมนตรี คนหนึ่งและ องคมนตรี อื่นอีกไม่เกิน 18 คน ความเห็นที่ถวายต่อพระมหากษัตริย์ ต้องเป็นพระราชกรณียกิจ ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษาเท่านั้น

การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดย ประธานองคมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรี หรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง

และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

คณะองคมนตรี จะทำการประชุมทุกสัปดาห์ ณ ทำเนียบองคมนตรี บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ ใกล้พระบรมมหาราชวัง ด้านถนนสนามไชย


คณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ • อดีตนายกรัฐมนตรี
• ประธานองคมนตรี
• รัฐบุรุษ
• กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

1. นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา
• กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
• ฯลฯ

2. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร •อดีตนายกรัฐมนตรี • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
• ที่ปรึกษาพิเศษขององค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

3. พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช • อดีตประธานกรรมการ บริษัท เครดิตอุตสาหกรรมสยาม จำกัด • ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์
• กรรมการบริหารและเหรัญญิกมูลนิธิอานันทมหิดล
• ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

4. พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ • อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• ประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
• รองประธานมูลนิธิโครงการหลวง
• ฯลฯ

5. พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

6. พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ • อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• ที่ปรึกษาพิเศษขององค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

7. นายอำพล เสนาณรงค์ • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา
• ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
• ฯลฯ

8. นายจำรัส เขมะจารุ • อดีตประธานศาลฎีกา • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการกฤษฎีกา

9. หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

10. นายเกษม วัฒนชัย • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
• ฯลฯ

11. นายพลากร สุวรรณรัฐ • อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา

12. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร • อดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุด • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
• รองประธานกรรมการบริหารในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

13. นายสันติ ทักราล • อดีตประธานศาลฎีกา

14. พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ • อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ

15. นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ • อดีตประธานศาลฎีกา

16. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ • อดีตนายกรัฐมนตรี
• อดีตผู้บัญชาการทหารบก

17. นายศุภชัย ภู่งาม •อดีตประธานศาลฎีกา

18. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ • อดีตประธานศาลฎีกา
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

รายนาม และรายพระนามอภิรัฐมนตรี ในรัชกาลปัจจุบัน (พ.ศ. 2490-2492)

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ประธานอภิรัฐมนตรี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์
พระยามานวราชเสวี
พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส

รายนามและรายพระนามผู้ดำรงตำแหน่งและเคยดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในรัชกาลปัจจุบัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2492)

ลำดับ รายนามและรายพระนาม ดำรงตำแหน่ง

1. พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (หม่อมเจ้าอลงกฎ ศุขสวัสดิ) 18 มิถุนายน 2492 - 19 ธันวาคม 2495 สิ้นพระชนม์ ในตำแหน่ง

2. พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) 18 มิถุนายน 2492 - 7 ตุลาคม 2517

3. พลเอกอดุล อดุลเดชจรัส 18 มิถุนายน 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494

4. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย 8 เมษายน 2495 - 22 สิงหาคม 2503 สิ้นพระชนม์ ในตำแหน่ง

5. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) 8 เมษายน 2495 - 11 กุมภาพันธ์ 2496 สิ้นพระชนม์ ในตำแหน่ง

6. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) 8 เมษายน 2495 - 25 กันยายน 2519 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

7. พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) 8 เมษายน 2495 - 27 สิงหาคม 2505 ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

8. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ 24 เมษายน 2496 - 7 ตุลาคม 2517 ไปดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี

9. พลเอก หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์) 14-19 กรกฎาคม 2498 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

10. พระยาบริรักษ์เวชชการ (บริรักษ์ ติตติรานนท์) 2 พฤษภาคม 2500 - 26 มีนาคม 2511 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

11. นายศรีเสนา สมบัติศิริ 21 มีนาคม 2501 - 6 กรกฎาคม 2525

12. พลเอก หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์) 5 กุมภาพันธ์ 2503 - 7 ตุลาคม 2517

13. พลเอก หลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร) 7 กรกฎาคม 2507 - 18 มกราคม 2529

14. พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) 24 พฤศจิกายน 2509 - 27 ตุลาคม 2513

15. นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 18 มิถุนายน 2511 - 14 ตุลาคม 2516
26 มีนาคม 2518 - 5 ธันวาคม 2518 กราบบังคมทูลลาไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, ไปดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี

16. หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล 1 พฤศจิกายน 2514 - 10 กุมภาพันธ์ 2529
4 กันยายน 2541 - 6 มกราคม 2545 ถึงชีพิตักษัย ในตำแหน่ง

17. นายประกอบ หุตะสิงห์ 26 มีนาคม 2518 - 28 กรกฎาคม 2537

18. พลตำรวจเอกอรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร 26 มีนาคม 2518 - 16 กันยายน 2541

19. นายจินตา บุณยอาคม 26 มีนาคม 2518 - 8 พฤศจิกายน 2530 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

20. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 26 มีนาคม 2518 - 13 ตุลาคม 2536 สิ้นพระชนม์ ในตำแหน่ง

21. นายกิตติ สีหนนทน์ พ.ศ. 26 มีนาคม 2518 - 24 ตุลาคม 2536 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

22. นายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 26 มีนาคม 2518 - 12 สิงหาคม 2534 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

22. หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ 26 มีนาคม 2518 - 7 พฤศจิกายน 2546 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

23. พลเอกสำราญ แพทยกุล 19 ธันวาคม 2518 - 24 กรกฎาคม 2529 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

24. 1. นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ 19 ธันวาคม 2518 - ปัจจุบัน

25. 2. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 15 ธันวาคม 2520 - ปัจจุบัน

26. นายกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา 18 เมษายน 2522 - 12 สิงหาคม 2539 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

27. นายจิตติ ติงศภัทิย์ 3 มีนาคม 2527 - 3 มีนาคม 2538 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

28. 3. พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช 3 มีนาคม 2527 - ปัจจุบัน

29. 4. พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ 28 พฤศจิกายน 2530 - ปัจจุบัน

30. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 23 สิงหาคม 2531 - 4 กันยายน 2541 ไปดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี

31. 5. พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา 24 ธันวาคม 2534 - ปัจจุบัน

32. นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 24 ธันวาคม 2534 - 29 กันยายน 2549 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

33. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร 9 เมษายน 2535 - 5 พฤษภาคม 2547 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

34. 6. พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ 13 กรกฎาคม 2536 - ปัจจุบัน

35. 7. นายอำพล เสนาณรงค์ 9 กันยายน 2537 - ปัจจุบัน

36. 8. นายจำรัส เขมะจารุ 15 พฤศจิกายน 2537 - ปัจจุบัน

37. หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ 3 ตุลาคม 2538 - 7 เมษายน 2549 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

38. 9. หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล 7 สิงหาคม 2540 - ปัจจุบัน

39. นายศักดา โมกขมรรคกุล 6 มกราคม 2542 - 20 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

40. 10. นายเกษม วัฒนชัย 18 กรกฎาคม 2544 - ปัจจุบัน

41. 11. นายพลากร สุวรรณรัฐ 18 กรกฎาคม 2544 - ปัจจุบัน

42. 12. นายสวัสดิ์ วัฒนายากร 18 กรกฎาคม 2545 - ปัจจุบัน

43. 13. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 14 พฤศจิกายน 2546 - 1 ตุลาคม 2549
8 เมษายน 2551 - ปัจจุบัน กราบบังคมทูลลาออกไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้รับโปรดเกล้าฯ อีกครั้ง

44. 14. นายสันติ ทักราล 15 มีนาคม 2548 - ปัจจุบัน

45. 15. พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ 15 มีนาคม 2548 - ปัจจุบัน

46. 16. นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ 16 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน

47. 17. นายศุภชัย ภู่งาม 8 เมษายน 2551 - ปัจจุบัน

48. 18. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ 8 เมษายน 2551 - ปัจจุบัน

รายนามประธานองคมนตรี/ประธานอภิรัฐมนตรี ในรัชกาลปัจจุบัน
ระยะเวลา รายนาม

9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492 พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (ประธานอภิรัฐมนตรี)

18 มิถุนายน 2492 - 25 มีนาคม 2493 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

25 มีนาคม 2493 - 7 มีนาคม 2494 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ ในตำแหน่ง

13 มีนาคม 2494 - 29 พฤศจิกายน 2494 พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

8 เมษายน 2495 - 20 ตุลาคม 2501 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

24 กุมภาพันธ์ 2502 - 27 พฤษภาคม 2506 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

27 พฤษภาคม 2506 - 8 มิถุนายน 2506 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ

8 มิถุนายน 2506 - 9 กรกฎาคม 2506 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

9 กรกฎาคม 2506 - 14 กรกฎาคม 2506 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ

14 กรกฎาคม 2506 - 20 มิถุนายน 2511 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

30 กรกฎาคม 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

15 ธันวาคม 2515 - 8 กันยายน 2517 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร สิ้นพระชนม์ ในตำแหน่ง

24 มีนาคม 2518 - 8 กันยายน 2518 หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง

5 ธันวาคม 2518 - 4 กันยายน 2541 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง

4 กันยายน 2541 - ปัจจุบัน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริสวัสดิ์ มานมนัสรมณีย์ค่ะ
Create Date :07 ธันวาคม 2552 Last Update :27 กันยายน 2553 14:57:09 น. Counter : Pageviews. Comments :0