bloggang.com mainmenu search


จากสุวรรณภูมิ-สุราบายา
(14 วันในสุราบายา ตอนที่ 1.)




อ่านตอนที่ 2 : คลิ๊กที่นี่




วันที่ 7 พย. 2552 มีเหตุจำเป็นต้องเดินทางเข้าประเทศอินโดนีเซีย เมืองสุราบายา เพื่อไปอบรมที่นั่นเป็นเวลาสองอาทิตย์.... การเดินทางเข้าเมือง Surabaya นี้ไม่มีสายการบิน บินตรงจากสุวรรณภูมิ เราจึงต้องเดินทางกันหลายต่อหน่อย จขบ. เลยเก็บเอาบรรยากาศต่างๆระหว่างทางมาเขียนเล่าให้ได้อ่านกัน...ภาพที่นำมาลงจะเป็นภาพทั้งขาไปและขากลับผสมกัน









Novotel Airport Hotel






เราเดินทาง กันโดยสายการบินไทยจากขอนแก่นสู่สุวรรณภูมิในเย็นวันที่ 7 พย. เที่ยวบินที่ TG 047 และมาค้างคืนที่ Novotel Airport เพื่อรอไฟลท์เช้า SQ 973 ของสายการบินสิงค์โปร์แอรฺไลน์

เมื่อถึงสุวรรณภูมิเรารับกระเป๋าเสร็จก็มารอชัตเติ้ลบัสของโรงแรมที่ Gate #5 เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบชื่อที่เราจองมาแล้ว ก็ขนของขึ้นรถ พาเราไปที่โรงแรมพร้อมกับฝรั่ง 3-4 คน..








พักที่นี่ก่อน









ภายในห้องพัก






เช้าวันที่ 8 พย. 2552 เราตื่นแต่เช้าโดยให้ทางโรงแรมปลุกประมาณ 0700 น. และให้รถทางโรงแรมออกไปส่ง ที่จริงก็อยู่ไม่ไกล (ตัวโรงแรมอยู่ใกล้ๆหอบังคับการบินนั่นเอง)

เจ้านกยักษ์ แอร์บัส 777-200 ของสิงค์โปร์พาเราเหิรฟ้าออกจากสุวรรณภูมิเมื่อเวลา 0900 น โดยจะใช้เวลาบินไปที่ Changi Airport ประมาณ 2 ชั่วโมง กะอีก 20 นาที.... เครื่องสิงค์โปร์นี่ใหม่กิ๊กเลยล่ะ ขึ้นลงนิ่มดี แถมสาวๆหนุ่มๆที่บริการข้างบนนั้นไม่มีอะไรผิดเพี้ยนจากการบริการของการบินไทยในอดีต... ประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ แต่ประสิทธิภาพของพลเมืองสูงๆอย่างนั้น ทำอะไรก็ค่อนข้างดี สิงค์โปร์แอร์จึงอยู่ในระดับแนวหน้าของสายการบินมาตลอด จริงๆแล้วถ้าให้เลือกเดินทางเองได้ทั้งหมด จขบ. จะเลือก สิงค์โปร์แอร์...อิมิเรสแอร์...แล้วก็การบินไทยตามลำดับ







เดินทางต่อกับสาวสิงค์โปร์แอร์


ชุดพนักงานบนเครื่องสิงค์โปร์แอร์น่ารักดีนะ.....









Changi Airpot







เราไปถึง Changi Airport 1250 น ตามเวลาท้องถิ่นที่สิงค์โปร์ ซึ่งเร็วกว่าเรา 1 ชม. เราต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่นั่นเพื่อเข้า Surabaya โดยกำหนดออกจากสนามบินชางงี เลา 1600 น เวลาที่สิงค์โปร์..... เหลือเวลาอีกโขเราเลยมีโอกาสเดินชมสินค้าในแอร์พอร์ท โดยเล็งไว้ก่อนว่าขากลับตอนเปลี่ยนเครื่องที่นี่ค่อยหิ้วไปเมืองไทย....

ภายในเทอมินัล 2 ที่เราไปพักรอเครื่อง พื้นปูพรมหมด คือปูตั้งแต่อุโมงเดินลงมาจากเครื่องเลย....ที่ทำนี่น่าจะแข่งพี่ไทยนะผมว่า ภายในมีที่พักผ่อนหลายแห่ง ไม่ว่ามุมนั่งสงบๆ ฟรีอินเตอร์เนท น้ำดื่มฟรี ตลอดจนศูนย์ข้อมูลต่างๆ.... ถ้าเราจะไปที่เทอมินัล 1 ก็จะมีรถไฟ Skytrain ไปส่ง.









ลงเปลี่ยนเครื่องที่ Changi Airport
.









ภายในเทอรมินัล 2










แต่งไว้สวยงาม





บางมุมทำเป็นที่ copy ภาพประทับใจในสนามบินโดยมีกระดาษฟรี ดินสอเทียนฟรีไว้ให้ผู้มาเยือน ...... บางมุมทำที่ประทับตราบนบัตรเพื่อเป็นที่ระลึก

















Copy ภาพไว้เป็นที่ระลึก









หรือจะประทับตราในบัตรก็ได้












นั่งพักดูกีฬาจากทีวีบนจอยักษ์หลังจากเดินจนเกือบหมดแรง










มุมนี้เตรียมสำหรับคริสมาส














ซื้อสินค้าเกิน S$ 80 เอามาแลกของเล่นที่นี่ ขากลับเลยต้องซื้อให้ครบเพื่อมาแลกของ ซึ่งเป็นลูกบอลคริสมาส ด้านในมีซานตร้า....ตอนแรกซื้อไปร้อยกว่าเหรียญ แต่เอามาแรก น้องคนสวยบอกว่าต้องซื้อครั้งเดียว (หรือร้านเดียว บิลเดียว) ถึงจะได้....แป่ว ต้องกลับไปซื้อน้ำหอมไปฝากคุณแฟนอีก เพื่อเอาลูกบอลนั่นไปฝากลูก...








เด็กๆเข้าไปเล่นในนั้นได้











บอลกลมๆเอาไว้ให้แลก










แต่งไว้เพื่อฉลองคริสมาส










เดินเหนื่อยก็แว๊บมาพักที่นี่










มุมนี้อินเตอร์เนทฟรี









ต้องบินต่อกับเครื่องนี้ (SilkAir)







ตามกำหนดเวลา เราจะต้องต่อสายการบิน SilkAir เพื่อเดินทางเข้า Surabaya ตอน 1600 น โดยเครื่องแบบแอร์บัส A 320 แถวละ 6 ที่นั่งไม่กว้างนัก SilkAir นี่น่าจะเป็นบริษัทลูกของ Singpore Airline (ไม่แน่ใจ)

จาก Changi Airport ต้องใช้เวลาบินไปทางตะวันออกอีกราว 2 ชั่วโมงเศษๆ แปลกแต่จริงคือ อินโดนีเชียใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย ส่วนสิงค์โปร์ใช้เวลาเดียวกับมาเลย์....








เจ้าหน้าที่ไปแล้ว









สาว SilkAir บนเครื่องแอร์บัส






ข้างบนเครื่องมีอาหารเสริฟปกติ รวมทั้งเบียร์.... สาวชุดเขียวเริ่มเสริฟเมื่อเครื่องบินไปได้ซักครึ่งชั่วโมง เราสังเกตุทั้งขาไปและกลับ ผู้โดยสารแน่นเหมือนกัน.... SilkAir บินเข้าสุราบายา วันละสองเที่ยว เครื่องนี้บินไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีเฉพาะไปประเทศไทย (ดูจากหนังสือแนะนำบนเครื่อง)







สนามบินนานาชาติสุราบายา






ประมาณ 1735 น. เวลาท้องถิ่นในอินโดนีเซีย ซึ่งตรงกันกับเวลาในประเทศไทย เราก็ถึงสนามบินนาๆชาติ Surabaya สนามบินแห่งนี้ว่ากันว่าเคยเป็นแอร์ฟอซเบสของอเมริกันมาก่อน... สนามบินไม่ค่อยใหญ่นัก แต่มีเครื่องลงค่อนข้างเยอะเหมือนกัน

เมือง Surabay เป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของอินโดฯ รองลงมาจาก จากาต้า และเป็นเมืองเอกของจังหวัดชวา(Java) ตะวันออก..... ในเวลาปกติจะมีผู้คนอยู่อาศัยประมาณ 3 ล้านคน แต่เวลากลางวันมีผู้คนเข้าไปทำมาหากินมากมาย จนทำให้เมืองนี้มีผู้คนมากมายถึง 5-7 ล้านคน รถราจึงแน่นถนนไปหมด







ชุดนี้สวยดี






Surabaya ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะชวา (Java Island) ถ้าดูตามแผนที่จะอยู่ใต้เกาะบอร์เนียว หรือถัดจากเกาะสุมาตราไปทางตะวันออก ถ้าเลยไปอีก 400 กม. จากเมือง สุราบายาก็จะถึงเกาะบาหลีที่คนชอบไปเที่ยว

เกาะชวา หรือ จาวา นี้มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นมาก คือ 1 ใน 3 ของพลเมืองอินโดฯเลย (พลเมืองทั้งประเทศประมาณ 222 ล้านคน) เมืองสำคัญบนเกาะนี้ คือ จากาต้า (อยู่ด้านตะวันตกของเกาะ ติดทะเลชวา) ยอร์คจากาต้า และสุราบายา..... สถานที่น่าสนใจคือ ภูเขาไฟโบรโม (Bromo Vocanoe Park) ซึ่งเป็น National Park ด้วย นักท่องเที่ยวชอบมาดูพระอาทิตย์ขึ้นกันที่นี่...และอีกที่คือ Balang มีอากาศดี น้ำตกสวย มีการปลูกแอปเปิ้ลที่นั่นด้วย.








ภายในอาคารขาออก







ตรวจตราพาสปอร์ตเสร็จ ก็มีรถมารอรับเพื่อไปส่งที่ JW Marriott Hotel ย่านถนน TungJungan ซึ่งเป็นย่านธุรกิจของเมืองนี้.... เราได้ห้องพักชั้น 17 อยู่สูงทีเดียว ฉะนั้นคำถามแรกที่เราถามเจ้าหน้าที่โรงแรมคือ "ที่นี่เคยมีแผ่นดินไหวไหม?" ก็ได้รับคำตอบว่า "ไม่".... ค่อยยังชั่วหน่อย

ส่วน Marriott Hotel เคยโดนระเบิดที่จากาต้า ฉะนั้นทางโรงแรมจึงตรวจตราเป็นพิเศษสำหรับรถที่เข้าไปในบริเวณ และคนก่อนเข้าในอาคารก็ต้องผ่านเครื่องตรวอีกครั้ง (เหมือนในสนามบิน)....ทุกครั้งที่คุณออกไป เข้ามาก็ต้องตรวจ.











ถึง JW Marriott Hotel...อาหารจานแรกที่นี่ จานที่มีไข่ดาวของเรา อีกจานของเพื่อน









ห้องพัก









มุมอ่านหนังสือ










หัวเตียง










ห้องน้ำ











มองออกไปเห็นตึก Empire Palace อยู่คนละฟากถนน และสุราบายายามค่ำคืนไกลออกไป









Night Lights at Surabaya




วันแรกที่มาถึงที่นี่ก็เย็นมากแล้ว เมื่อยได้แช่น้ำอุ่น แล้วเปิดทีวีอินโดดู เผลอแพล๊บเดียวหลับไม่เป็นท่า.....










ลากันด้วยภาพพนักงานต้อนรับสาวของ JW Marriott.

Good night.... Selamat Malam






_________ END ________




Create Date :27 พฤศจิกายน 2552 Last Update :28 กรกฎาคม 2556 14:49:48 น. Counter : Pageviews. Comments :14