bloggang.com mainmenu search
 

9 คำถาม - ตอบ COVID-19
โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
 





นำข้อมูลที่มีประโยชน์มาแบ่งปันค่ะ

ระยะนี้ทุกคนกลัว กังวล เครียด
ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพกันด้วย

*******

ฟัง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
ตอบคำถาม
มีข้อมูลที่มีประโยชน์มาก



#COVID19 #หน้ากากอนามัย #อาหารต้านCOVID19
อาหารต้าน COVID-19 : ​รู้สู้โรค (5 มี.ค. 63)
 

คุณหมอยง ภู่วรวรรณ
ได้มาให้ความรู้พร้อมตอบคำถาม
เกี่ยวกับ COVID-19 
ที่สำนักงานใหญ่
 


  วันนี้คุณหมอยง ภู่วรวรรณได้มาให้ความรู้พร้อม
ตอบคำถามเกี่ยวกับ COVID-19 ที่สำนักงานใหญ่ 
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการเข้าใจไวรัสตัวนี้ 
และสำคัญมากที่จะนำความรู้ที่คุณหมอแชร์ไปวางแผน
การจัดการสิ่งที่เราและบริษัทต้องเตรียมความพร้อม
 และรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน
ที่กำลังจะมาถึง ประเด็นหลักๆที่คุณหมอแชร์มีดังนี้

1 ไวรัส COVID-19 ตัวนี้มีขนาดที่เล็กมาก ใส่หน้ากาก
อนามัยก็รอดเข้ามาได้ แต่ COVID-19 ไม่สามารถอยู่ได้
ด้วยตัวเอง ต้องจับอยู่ตามสารคัดหลั่ง (droplet) เช่น 
น้ำลาย หรือละอองจาม ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าการกรอง
ของหน้ากาก เพราะฉะนั้นหน้ากากอนามัยช่วยสามารถ
ป้องกันการเล็ดรอดเข้ามาและการแพร่ออกไปได้ในระดับหนึ่ง

2 ถึงประเทศจะวันตกจะบอกว่าไม่ต้องใส่หน้ากาก 
แต่ประเทศไทยต้องใส่ ยิ่งผู้ที่มีอาการป่วยยิ่งต้องใส่
 ผู้ติดเชื้อ COVID-19 บางคนไม่มีอาการหรือมีอาการ
แค่เล็กน้อย อาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าติดไวรัสแล้ว ไปใช้ชีวิต
ในสังคมปกติ แพร่เชื้อออกไปโดยที่ไม่รู้ตัว เราสามารถ
ลดการแพร่กระจายได้ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย และ
คนที่ไม่ได้เป็นอะไรก็สามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
จากการใส่หน้ากาก

3 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในประเทศจีน สามารถ
แบ่งอาการได้ดังนี้ 81% อาการน้อย หรือไม่มีอาการเลย,
 14% มีอาการ รู้ตัว ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล,
 5% อาการหนัก รักษาใน ICU

4 จากตัวเลขของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในจีนมีเพียง 3% 
ที่เสียชีวิต โดยส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตคือผู้สูงอายุ (70 ปี+) 
และ 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตคือผู้ที่มีโรคประจำตัว 
ยกตัวอย่างเช่น ความดัน (ไวรัสตัวนี้โจมตีโปรตีน 
ACE2 ที่พ่วงอยู่กับความดันเพราะฉะนั้นควรกินยา
ให้ความดันอยู่ในค่าปกติเพื่อลดความเสี่ยง) 
เบาหวาน โรคหัวใจ และอื่นๆ

5 ความรุนแรงของอาการและความเสี่ยงเสียชีวิตของ
 COVID-19 สูงไปตามอายุ เรียกได้ว่าไวรัสตัวนี้เกิดมา
เพื่อเล่นงานผู้สูงวัยในเคสของประเทศจีน จากจำนวนเด็ก
อายุต่ำกว่า 10 ปีที่ติด COVID-19 ทั้งหมดไม่มีเคส
อาการรุนแรงและเสียชีวิตเลยแม้แต่เคสเดียว ไม่ว่าจะเป็น
เคสเด็กทารก 3 อาทิตย์ หรือ 8 อาทิตย์ล้วนหายจาก
ไวรัสตัวนี้ทั้งหมดโดยไม่มีอาการมาก เด็กที่อายุระหว่าง
 11-20 ปี มีจำนวนต่ำกว่า 0.2% ที่มีอาการรุนแรง
และเสียชีวิต เพราะฉะนั้นกลุ่มคนที่ควรหลีกเลี่ยง
การติดเชื้อให้ได้มากที่สุดคือกลุ่มผู้สูงวัย

6 ทำไมเราต้องเก็บตัวดูอาการ 14 วัน? จากสถิติเคส
ในประเทศจีน 80%ของผู้ป่วยทั้งหมด เชื้อมีระยะฟักตัว
และออกอาการภายใน 2-7 วัน และมีผู้ป่วยเพิ่มอีก 10%
ในระยะฟักตัว 14 วันซึ่งถือว่าค่อนข้างคลอบคลุมใน
การสังเกตอาการ ถ้าถามว่าระยะฟักตัวหรือออกอาการ
หลังจาก 14 วันมีมั้ย คำตอบคือมี แต่จะเป็นส่วนน้อยมาก 
หากใครมีจิตสาธรณะและการหยุดไม่ได้เดือดร้อนอะไร
 จะเก็บตัวดูอาการไปถึง 21 วันก็ได้

7 สถานการณ์ปัจจุปันในประเทศไทย เรียกว่ากำลังอยู่
ในระยะขาขึ้น จากที่ตัวเลขทรงตัวมาช่วงเวลาหนึ่ง ตอนนี้
ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามที่เราได้เห็น
จากข่าว หลักๆมาจาก Super Spreader สนามมวย ในเคส
ของสนามมวยนี้หากคำนวนตามสมการแพร่กระจายของเชื้อ
 COVID-19 ผู้ติดเชื้อมีอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 100 คน ซึ่ง
กระจายไปตามที่ต่างๆเรียบร้อยแล้ว ทุกฝ่ายกำลังติดตาม
ให้ได้มากที่สุด เคสนี้น่าจะแพร่ไปในวงกว้างยิ่งกว่า
อาจุมม่าแทกูของเกาหลีใต้

8 ทำไมสนามมวยถึงเป็นสถานที่แพร่ได้ดีมาก? สนามมวย
เป็นที่รวมตัวของคนจำนวนมาก แออัด นั่งติดกัน ยืนติดกัน
แบบไหล่ชิดไหล่ การเชียร์มวยอุดมไปด้วยสารคัดหลั่ง
มากมายทั้งน้ำลาย เหงื่อ หรือละอองจาม เพราะฉะนั้น
ควรหลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่มีลักษณะแบบนี้เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ

9 อีกเคสที่ติดกันมากคือเคสปาร์ตี้แชร์แก้วเหล้าและบุหรี่ 
ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดติดผ่านสารคัดหลั่งเช่นตอนนี้ 
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ทั้งหมด

10 COVID-19 จะอยู่กับเรานานไปถึงเมื่อไหร่? จากการ
ศึกษาข้อมูลของการแพร่ระบาดโรคต่างๆในอดีตกับการ
ศึกษาลักษณะของไวรัสตัวนี้ COVID-19 คงคาดเดา
ได้ว่าจะอยู่กับประเทศไทยอย่างน้อย 1 ฤดูกาล ร้อนจัดๆ
แบบประเทศไทยก็คงจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ที่น่า
กังวลคือฤดูฝนที่ตามมา เพราะไวรัสตัวนี้ชอบความชื้น 
จะมีชีวิตอยู่ได้ยาวและแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น ต้องเฝ้า
ระวังการแพร่ระบาดเป็นอย่างมากในช่วงฤดูนี้ 
สถานการณ์ COVID-19 คงจะเป็นแบบนี้ไปอย่าง
น้อยถึงกันยายน 2563 หากยังไม่มีวัคซีน
เข้ามาช่วยชะลอการแพร่ระบาด

11 ตอนนี้การรับรองทางการแพทย์ไหวมั้ย? ยังพอไหว
ถ้าคนไข้ไม่ได้เทเข้ามาในช่วงเดียวกัน แต่หากมีการ
แพร่ระบาดฉับพลันและจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นมาก อุปกรณ์
ทางการแพทย์จะรองรับไม่พอ ยิ่งในโรงพยาบาลในต่าง
จังหวัดจะลำบากและได้ผลกระทบมาก นอกจากนี้
ยารักษาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) มีจำนวนจำกัด
และโดนควบคุม ปัจจุบันซื้อได้ลอทนึงจากประเทศญี่ปุ่น
แต่มีจำนวนไม่มาก ต้องรอประเทศจีนที่กำลังทยอยให้
ความรู้เพิ่มเติมของไวรัสตัวนี้เพื่อพัฒนาหนทางต้านและรักษา 
ตอนนี้ต้องช่วยกันยื้อเวลาที่จะเข้าสู่การแพร่ระบาดไป
ในวงกว้างให้ได้นานที่สุดเพื่อจะได้มีเวลารักษาคนที่เป็นแล้ว
และมียาพร้อมรักษาคนที่จะป่วยเพิ่ม

12 เราในฐานะคนหนึ่งคนทำอะไรได้บ้าง? สิ่งที่ประชาชน
แม้แต่คนเดียวช่วยกันทำได้ คือลดความเสี่ยงของตัวเอง 
หากเราไม่ติดเชื้อ เราก็จะไม่แพร่เชื้อไปต่อ

ควรทำยังไงบ้าง?

13 เราควรเลี่ยงหรือลดความถี่ไปในสถานที่คนเยอะๆ 
หากมีความจำเป็นต้องไปให้ใส่หน้ากากอนามัยและหมั่น
ล้างมือบ่อยๆ คนไหนมีอาการป่วยควรเลี่ยงตัวเองออกจาก
ชุมชนและสังเกตอาการ พร้อมทั้งใส่หน้ากากอนามัยเพื่อ
ป้องกันการแพร่เชื้อต่อ ที่สำคัญอย่าปกปิดข้อมูล ให้แจ้ง
เจ้าหน้าที่ตามความจริงเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

14 การล้างมือควรล้างบ่อยๆ บ่อยแค่ไหน? ทุกครั้งที่เปลี่ยน
กิจกรรม ก่อนรับประทานอาหาร หรือตอนที่รู้ตัวว่ามือ
สกปรกแล้ว จะเซทเวลาทุกๆกี่นาที่เดินไปล้างมือก็ได้ 
ห้ามเด็ดขาดคือการนำมือสกปรกไปจับบริเวนหน้า 
เพราะไวรัส COVID-19 ตัวนี้จะเข้าทางพวกเยื่อบุ
ซึ่งคือทาง ตา จมูก ปาก COVID-19 จะไม่เข้าผ่านผิวหนัง
(ขอบคุณข้อมูลดีๆที่เพื่อนแชร์มาให้นะคะ เห็นว่ามี
ประโยชน์จึงนำมาแชร์ต่อน่ะค่ะ)

สัญญาณ Covid-19 สรุปจาก สธ น่าจะช่วยกันได้บ้าง

อาการวันต่อวัน

วันที่ 1-3
1. คล้ายหวัด
2. ปวดในคอเล็กน้อย
3. ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อย
4. กิน/ดื่มปกติ

วันที่ 4
1. เจ็บคอเล็กน้อย
2. พูดเริ่มเจ็บในคอ
3. ไข้ดูปกติ 36.5°C
4. รบกวนกับการกิน
5. ปวดหัวเล็กน้อย
6. ท้องเสียออ่อนๆ
7. รู้สึกเหมือนเมา

วันที่ 5
1. ปวดในคอ พูด_เจ็บ
2. อ่อนเพลียเล็กน้อย
3. ปรอทไข้ 36.5° -36.7°C
3. อ่อนเพลีย ปวดข้อต่อ

วันที่ 6
1. ปรอทไข้ 37 ° C+
2. ไอแห้ง
3. ปวดคอขณะกิน/พูด
4. อ่อนเพลีย คลื่นไส้
5. หายใจลำบากเป็นครั้งคราว
6. นิ้วรู้สึกเจ็บปวด
7. ท้องร่วง อาเจียน

วันที่ 7
1. มีไข้ 37.4° -37.8°C
2. ไอต่อเนื่อง มีเสมหะ
3. ปวดร่างกาย/ศีรษะ
4. ท้องร่วงมาก
5. อาเจียน

วันที่ 8
1. ไข้ 38°C+++
2. หายใจลำบาก
3. ไอต่อเนื่อง
4. ปวดหัว ข้อต่อ กล้ามเนื้อ
5. ง่อยและปวดก้น

วันที่ 9
1. ไม่ดีขึ้น และแย่ลง
2. ไข้สูงมาก
3. อาการทรุดลงมาก
4. ต้องต่อสู้เพื่อหายใจ

อาการในวันที่ 9 ต้องตรวจเลือด CT Scan ทรวงอก

เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แชร์ต่อนะครับ

ขอขอบคุณครับ
ข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/1849407896/posts/10212390288232834/?d=n

*****ช่วยกันแชร์ เผยแพร่ด้วย .. ขอบคุณครับ
Credit : Facebook Yong Poovorawan

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ
 
Health Blog


 
newyorknurse

 
Create Date :22 มีนาคม 2563 Last Update :22 มีนาคม 2563 6:03:18 น. Counter : 1321 Pageviews. Comments :10