bloggang.com mainmenu search
ข่วงสิงห์
ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่




9909. ข่วงสิงห์ (Khuong Singh)




9910. ข่วงสิงห์

ข้อความในแผ่นจารึก อ่านได้ความดังนี้

ข่วงสิงห์

บริเวณนี้เดิมเป็นลานโล่งกว้าง เรียกว่า "ข่วง" อยู่นอกเมืองเชียงใหม่ด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูช้างเผือก ซึ่งเป็นประตูเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 2 กิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ.2344 พระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่พระองค์แรก (พ.ศ. 2325 - 2356) ในสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดให้ก่อสิงห์ปูนปั้นสีขาว ยืน 2 ตัว แต่ละตัวอยู่ภายในซุ้ม ตั้งไว้ที่นี่ ตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ อีกตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แล้วทำพิธีอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสถิตย์เป็นเดชานุภาพของบ้านเมือง



ในอดีต กองทัพเชียงใหม่ ได้มากระทำพิธีบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลทุกปีจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ข่วงสิงห์ชัยมงคล" ต่อมาเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ลำดับที่ 7 (พ.ศ.2416 -2439) โปรดให้สร้างวัดขึ้นไว้บริเวณใกล้กันหนึ่งวัด คือ วัดข่วงสิงห์ชัยมงคล

เมื่อครั้งฉลองเมืองเชียงใหม่ 700 ปี พ.ศ. 2539 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันบูรณะซ่อมแซมข่วงสิงห์ พร้อมกับปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ด้วยการขุดคูน้ำล้อมแล้วยกพื้นก่ออิฐถือปูนเป็นลานกว้าง มีบันไดทางขึ้นอยู่ด้านหน้าทิศตะวันออก สิงห์แต่ละตัวสูงประมาณ 2 เมตร ทาสีขาวภายในซุ้ม

ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนเชียงใหม่-แม่ริม ใกล้สี่แยกข่วงสิงห์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478




9908. สะพานข้ามน้ำล้อมไปยัง ข่วงสิงห์





9907. ข่วงสิงห์




9906. ข่วงสิงห์





9911. สะพานข้ามน้ำล้อมเพื่อไปยัง "ข่วงสิงห์"




9912. น้ำล้อม




9913. น้ำล้อม





9914. ข่วงสิงห์





9915. จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. 2344...




9916. สิงห์ แห่ง ข่วงสิงห์ ด้านทิศตะวันออก




9917. ซุ้มสิงห์ ด้านทิศตะวันออก




9918. สิงห์ แห่ง ข่วงสิงห์ ด้านทิศเหนือ


Create Date :24 มกราคม 2553 Last Update :1 กุมภาพันธ์ 2553 13:12:07 น. Counter : Pageviews. Comments :6