bloggang.com mainmenu search
ไตรภูมิเป็นที่มาแห่งความบันดาลใจในงานสร้างสรรค์งานศิลปกรรมไทยทุกประเภท ...กระจายออกจากศูนย์กลางของสังคมออกไปเป็นลำดับชั้นดุจสัตตบริภัณฑ์โอบล้อมเขาพระสุเมรุ ศิลปกรรมทุกสิ่งทุกส่วนของสังคมมีรากฐานที่มาจากคติความเชื่อ




ไตรภูมิกับศิลปกรรมไทย

สมัยรัชกาลที่ 9


พระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของช่างเขียนภาพโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 ในการนี้ ทรงมีส่วนร่วมในการเขียนภาพพระพักตร์พระอินทร์ ประทับบนเวชยันตปราสารทบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และต้นปาริกชาติ

21 พฤษภาคม 2555 อาคารจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม

“ภาพไตรภูมินี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือไตรภูมิกถา หรือที่รู้จักในนามไตรภูมิพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์สมัยสุโขทัย เขียนขึ้นปี พ.ศ.1888 เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกด้านพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย ยังคงรักษาอยู่มาถึงปัจจุบัน ซึ่งการเขียนภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 นอกจากแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ยังสื่อถึงสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ปรัชญาความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณอีกด้วย” ม.ร.ว. จักรรถ จิตรพงศ์ ผู้ดำเนินการโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 กล่าว

ขณะที่จิตรกรชื่อดัง ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เอ่ยถึงแนวเขียนภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 นี้ว่า “โดยนำรูปแบบการเขียนภาพที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ทรงงานไว้ และแนวศิลปะของภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแบบอย่าง โดยในส่วนท้ายภาพจะใช้ศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9 เขียนภาพบุคคลในเหตุการณ์จริง คาดว่าภาพไตรภูมิจะใช้เวลาอีก 3 เดือนแล้วเสร็จสมบูรณ์”




คลิกอ่านต่อที่นี่....
Create Date :07 มิถุนายน 2555 Last Update :7 มิถุนายน 2555 7:10:51 น. Counter : 2501 Pageviews. Comments :0