bloggang.com mainmenu search

ำวงที่เรารู้จักในทุกวันนี้มีต้นกำเนิดมาจากการละเล่นรำโทน

การละเล่นรำโทนหมายถึงการร่ายรำประกอบการตีกลองชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “โทน” และร้องเพลงไปด้วย

โทน มีมาอย่างช้าก็ในสมัยอยุธยา เพราะปรากฏข้อความบันทึกถึงเครื่องดนตรีชนิดนี้อยู่ในจดหมายเหตุของลา ลูแบร์ เรื่อง ราชอาณาจักรสยาม ว่า

“พวกราษฎรก็พอใจขับร้องเล่นในตอนเย็นๆ ตามลานบ้านพร้อมด้วยกลองชนิดหนึ่งเรียกว่าโทน (tong) เขาถือโทนไว้ในมือซ้าย แล้วใช้กำปั้นมือขวาทุบหน้ากลองเป็นระยะๆ โทนนั้นทำด้วยดิน (เผา) รูปร่างเหมือนขวดไม่มีก้น แต่หุ้มหนังแทน (ก้น) มีเชือกผูกรัดกระชับไว้กับคอ (ขวดดิน) นั้น” (จดหมายเหตุลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร)

แต่การร่ายรำและการร้องเพลงเป็นความบันเทิงขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในทุกอารยธรรม ถ้าสังเกตหน้าทับ (หรือรูปแบบจังหวะ) ที่ใช้ในเพลงรำโทนแล้ว จะพบว่าเป็นหน้าทับชนิดง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เน้นที่ความมั่นคงของจังหวะตก เพื่อสะดวกต่อการร่ายรำทำเพลง

รูปแบบของการรำโทนไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่สามารถดัดแปลง สร้างเพลงและท่ารำใหม่ๆ ขึ้นได้เรื่อยๆ โดยชาวบ้านร้านถิ่น กระทั่งการเรียกชื่อการละเล่นว่า “รำโทน” ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้โทนตีประกอบเสมอไป ดังพบว่าในบางแห่ง เช่นที่บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ชาวบ้านใช้ถังน้ำมันรถจี๊ปตีให้จังหวะแทนโทนหรือกระทั่งว่าถ้าไม่มีอะไรจริงๆ การปรบมือให้เข้าจังหวะก็เพียงพอแล้ว

รูปแบบที่เรียบง่ายอย่างถึงที่สุดนี้ แสดงให้เห็นว่ารำโทนน่าจะมีที่ทางอยู่ในสังคมอุษาคเนย์มาเป็นเวลายาวนานนับพันๆ ปีแล้ว

รำโทนมาได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปี 2480 ดังมีผู้กล่าวไว้ว่าทุกงานวัดจะต้องมีเวทีรำวง มีการแต่งเพลงรำวงขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยแพร่หลายอยู่ทั้งในและนอกพระนคร ธนิต อยู่โพธิ์กล่าวถึงเรื่องเพลงรำวงในช่วงนั้นว่า


เครดิตภาพ //www.nattasampun.com

คลิกชม และ อ่านต่อที่นี่.....

Create Date :31 พฤษภาคม 2555 Last Update :31 พฤษภาคม 2555 13:16:50 น. Counter : 4758 Pageviews. Comments :0