bloggang.com mainmenu search


ปลาดุกทะเลลาย หรือ ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (อังกฤษ: Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos หมายถึง "ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง "ลายแถบ') อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)

มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทน



โดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้ ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน

โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และนิยมนำมาบริโภคกันโดยปรุงสุด แต่เนื้อมีกลิ่นคาวจึงมักจะนำไปปรุงประเภทรสจัดเช่น ผัดฉ่า


ปลาดุกทะเลยักษ์
ปลาดุกทะเลยักษ์ หรือ ปลาดุกทะเลดำ หรือ ปลาดุกทะเลเทา (อังกฤษ: Black eeltail catfish, Gray eeltail catfish, Canine catfish eel) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus canius อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)

ลักษณะ
มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาดุกทะเลลาย (P. lineatus) แต่ว่าปลาดุกทะเลยักษ์จะมีลำตัวสีดำหรือสีเทาไปตลอดทั้งชีวิต โดยที่เงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังมีพิษร้ายแรงเช่นเดียวกัน แต่สามารถทำให้หายไปได้เมื่อถูกความร้อน 55 องศาเซลเซียส และหนวดที่รูจมูกจะมีความยาวเลยตาและไม่ขยายไปตามขนาดที่ใหญ่ขึ้น ครีบหลังมีก้านครีบอ่อน 103-120 แถว ครีบก้นมีครีบอ่อน 105-120 แถว

ที่อยู่อาศัย
พบได้ทั่วไปตามชายฝั่งหรือป่าชายเลนริมทะเล โดยขุดรูอยู่ ซึ่งอาจพบอยู่รวมกันได้ถึง 10-20 ตัว เป็นปลาที่วางไข่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ไข่มีขนาดใหญ่ และมีปริมาณที่น้อย พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่บังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ไทย เรื่อยไปจนถึงฟิลิปปิน, ปาปัวนิวกินี และออสเตรเลีย

มีขนาดทั่วไปใหญ่ได้มากกว่าปลาดุกทะเลลาย คือ ยาวได้ถึง 90-150 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากได้ถึงเกือบ 10 กิโลกรัม จึงนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและบริโภคกันโดยปรุงเป็นอาหารรสจัดชนิดต่าง ๆ เช่น ผัดฉ่า หรือ แกงส้ม

ปัจจุบัน ปลาดุกทะเลยักษ์ได้รับการวิจัยศึกษาให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในบ่อดินอีกด้วย
Smiley
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:    Animalia
ไฟลัม:    Chordata
ชั้น:    Actinopterygii
อันดับ:    Siluriformes
วงศ์:    Plotosidae
สกุล:    Plotosus
สปีชีส์:    P. canius
ชื่อทวินาม
Plotosus canius
Hamilton, 1822



วงศ์ปลาดุกทะเล (Eeltail catfish, Coral catfish, Eel catfish, Stinging catfish) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Plotosidae (/โพล-โต-ซิ-ดี/)

มีลักษณะสำคัญคือ มีหนวด 4 คู่ คือ หนวดที่บริเวณมุมปากทั้งปากบนและปากล่าง และที่คาง ครีบหลังมีเงี่ยงเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นยาวติดต่อกัน โดยที่ส่วนคอดหางเป็นต้นไปเรียวเล็กลงทำให้แลดูคล้ายปลาไหล อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ

เป็นปลาทะเล ที่มักอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง ตามแนวปะการังหรือกอสาหร่าย โดยมีพบเข้าไปอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดด้วย เช่น ปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน ในวัยเล็กมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินในเวลากลางคืน

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลแถบมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ตั้งแต่ทะเลญี่ปุ่น จนถึงฟิจิ, ปาปัวนิวกินีและโอเชียเนีย มีทั้งหมด 35 ชนิด ใน 10 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทยพบเป็นชนิดที่สำคัญ 2 ชนิด คือ ปลาดุกทะเลลาย (Plotosus lineatus) และปลาดุกทะเลยักษ์ (P. canius) ซึ่งนิยมตกเป็นเกมกีฬา, เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และบริโภคกันเป็นอาหาร ซึ่งในปลาดุกทะเลยักษ์นั้น ถือเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยยาวได้ถึง 1.5 เมตร มีน้ำหนักหนักได้ถึงเกือบ 10 กิโลกรัม[3] และในชนิดปลาดุกทะเลลายมีรายงานว่าที่เงี่ยงแข็งนั้นมีพิษร้ายแรงถึงขนาดแทงมนุษย์เสียชีวิตได้

ปลาในวงศ์นี้ นอกจากใช้ชื่อว่า "ปลาดุกทะเล" หรือ "ปลาปิ่นแก้ว" แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "สามแก้ว" หรือ "เป็ดแก้ว" เป็นต้น
Smileyจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Smileyขอคุยด้วยนินนึงครับ ที่แรกว่าจะอัพบล็อกน้อยลงฮ่า เพราะหลายวันติดต่อกันมา อัพไปเยอะมากหลายเรื่อง พอดีว่าด้วยความบังเอิญหรือความฉลาดน้อยมากกว่า ไปเจอเรื่องประหลาดๆของปลาดุก
ที่แรกที่เจอ เขาบอกว่า ปลาดุก จัดอยู่ในกลุ่มปลามีพิษ (อันนี้ตัวท่านขุนเองเคยเจอสมัยเด็กๆ ปลาดุกปักรักเข้าให้ที่นิ้วมือ แป๊บเดียวปวดถึงไหล่เล่นเอาเป็นไข้ตัวร้อนฮ่า)
ที่นี้เรื่องที่ว่าปลาดุก มันมีพิษ นะ โอเค /ขอสารภาพเรื่องที่ว่าฉลาดน้อย(หรือที่เขาเรียกกันว่าโง่)ฮ่าก็ว่าไม่เคยทราบมาก่อน มีปลาดุกทะเลด้วยครับ เพิ่งทราบก็วันนี้เอง เชื่อมานานเลยว่า ปลาดุมีก็แต่ในน้ำจืดเท่านั้นหุหุ เรื่องที่จะบอกหรือคุยด้วยก็คงมีแต่เพียงแค่นี้ครับหรือย่อๆที่เขาเรียกว่าว่าโง่มานานนั้นเอง(ไม่รุจะซ้ำเติมไปถึงไหนฮ่า)จบครับ/
Smiley
Create Date :09 มกราคม 2559 Last Update :12 มกราคม 2559 0:25:24 น. Counter : 7567 Pageviews. Comments :12