bloggang.com mainmenu search

ทะเบียนบ้านของคนต่างชาติ

1.คนต่างชาติสามารถมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้
ตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับกาผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในกรณีที่คนต่างชาติเป็นสามีหรือภรรยาคุณถ้าหากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้านให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ทร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้านเอกสารที่เตรียมไป คือ สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หนังสือเดินทางของคนต่างชาติ ทะเบียนสมรสใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานหรือหลักฐานอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวรหรือชั่วคราว

2 คนต่างชาติมีบัตรประชาชนพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนพ.ศ.2526 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 มาตรา 5 ใจความสำคัญว่า ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นคนต่างชาติจะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนไม่ได้ ยกเว้นว่ามีสัญชาติไทยแล้ว

3. ถ้าคนต่างชาติชื้ออพาร์เมนต์หรือคอนโดเป็นของเจ้าของ ท่านผู้นั้นสามารถยื่นขอมีทะเบียนบ้านของตนบุคคลต่างด้าวนั้นเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือเป็นคนต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิซื้อห้องชุดได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้นและมีสิทธิขอทะเบียนบ้านได้ ประเภท (ทร.13) โดยนำหลักฐานตามข้อ1 ไปติดต่อสำนักงานเขตที่อาคารนั้นตั้งอยู่

4. ถ้าการชื้อ คอนโดมีชื่อทั้งคนต่างชาติ และคนไทยร่วมด้วย เวลาไปทำทะเบียนบ้านใครจะได้เป็นเจ้าบ้านการเป็น เจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น เจ้าบ้านหมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่าหรือในฐานะอื่นใดก็ตาม
หน้าที่ของเจ้าบ้านเจ้าบ้านเป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่างๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 เช่นการแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งบ้านที่อยู่ หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน
ดังนั้นเมื่อคนต่างด้าวและคนไทยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ควรให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านเพื่อดำเนินการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะสื่อสารภาษาไทยได้ดีกว่าคนต่างชาติ

อาจจะไม่จำเป็นในการมีชื่อในทะเบียนบ้านเเต่สามารถเเจ้งเข้าได้เพื่ออนาคตสามารถขอการมีถิ่นที่อยู่ในไทยเพื่อการประกอบธุรกรรมในไทยเช่นเปิดบัญชีธนาคาร หรือ การทำใบขับขี่ เพราะถ้าจดทะเบียนกับคนไทยสามารถขอนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านได้หลักเกณฑ์ดังนี้การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่

1. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปีพ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
2. กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
3. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทยทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทย และไม่มีหลักฐาน
4. กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
5. กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคลหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
6. กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า"ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
7. กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
8. กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
9. กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
10. กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองรวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย

ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้านหรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะเลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา
สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบันเว้นแต่
1. กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิมให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
2. กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
3. กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิมให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
4. กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้วให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านก่อนถูกจำหน่ายรายการ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น 2 กรณี
1. กรณีมีหลักฐานมาแสดง
1.1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
1.2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
1.3. รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
1.4. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ.2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
1.5. ใบสูติบัตร(แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
1.6. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่(แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
2. กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
2.1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
2.2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.3. รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
2.4. บัตรประจำตัวบิดา มารดา(ถ้ามี)
2.5. บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
2.6. เอกสารประกอบ เช่นหลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)
ขั้นตอนในการติดต่อ

1. การยื่นเอกสารและหลักฐาน
- กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น
- กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
3. ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
4. สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
5. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าว ลงลายมือชื่อ
หรือพิมพ์ลายนิ้วมือตามแบบ ท.ร.25
6. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
7. คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง

หากคุณมีข้อสงสัยประการใดให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดจากสายด่วน1548 ของศูนย์บริการงานทะเบียนและบัตรฯสำนักบริหารการทะเบียน

ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติจะเป็นเล่มสีเหลือง

Create Date :18 กันยายน 2555 Last Update :18 กันยายน 2555 20:44:32 น. Counter : 22870 Pageviews. Comments :9