bloggang.com mainmenu search


“น้ำลดตอผุด” : ๑๕ ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า

ผศ.นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
ไทยรัฐ

​เริ่มแต่พรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งได้ใช้เวลาเพียงข้ามคืนตัดสินใจก่อกำเนิดระบบการรักษาฟรีทั่วหล้าเมื่อ ๑๕ ปีก่อน เพื่อใช้เป็นสปริงบอร์ดสำหรับคะแนนเสียงแบบถล่มทลาย นับแต่นั้นเป็นต้นมา ระบบสาธารณสุขของประเทศได้ถูกผูกติดไปกับการเมืองแบบแยกไม่ออก ระบบนี้แม้โดยหลักการจะถือว่าดีมากแต่กลับทำให้โรงพยาบาลทั่วประเทศประสบปัญหา “ขาดทุนบักโกรก” จนทำให้คุณภาพการรักษาตกต่ำ คนทำงานประสบปัญหาโดนฟ้องร้อง ร้องเรียน เพราะภาระงานมากมายมหาศาลแบบไม่อั้นตามคำโฆษณาชวนเชื่อจากพ่อค้าคนกลางอย่าง “สปสช” ที่เร่งเร้าให้ประชาชนแห่มาโรงพยาบาลทั้งเช้าค่ำบ่ายดึก หลังจากมดงานแบกรับภาระจนหลังหักและส่งเสียงเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองยอมรับความจริงและเร่งแก้ปัญหาก่อนจะสายเกินแก้

ในที่สุด รัฐบาลพิเศษในชุดปัจจุบัน ก็กล้าที่จะยอมรับความจริงว่าระบบกำลังเข้าสู่ภาวะโคม่า และต้องเร่งผ่าตัดแก้ไขโดยด่วน มิฉะนั้นหากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ภาวะกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่กล้าแตะต้องพ่อค้าคนกลางและทีมงานในอุปการะจะเป็นอุปสรรคและทำให้ระบบล่มจมและที่สุดคนเจ็บป่วยทั่วประเทศจะกลายเป็นคนที่ต้องรับกรรมในที่สุด

อะไรคือตอที่ผุดขึ้นมาภายหลังย้ำลดมีอะไรบ้างและรัฐบาลจะจ่ายยาได้ถูกโรคหรือไม่

(1) “๓๐บาทรักษาทุกโรค” แม้ทุกวันนี้จะยกเลิกการเก็บไปแล้ว แต่สโลแกนนี้ก็ยังยากจะลืมเลือน เฉกเช่นเดียวกับคำว่า “แฟ้บและผงซักฟอก” ความเป็นจริงแล้วระบบนี้ไม่ได้อนุญาตให้รักษาทุกโรค หากแต่รักษาบางโรคที่พ่อค้าคนกลางกำหนดให้รักษาและต้องด้วยวิธีที่กำหนดให้เท่านั้น หากทำนอกเหนือจากที่กำหนด โรงพยาบาลและแม้แต่แพทย์อาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมข่าวไม่พอใจผลการรักษาจึงเพิ่มมากขึ้นนับแต่พ่อค้าคนกลางถือกำเนิดขึ้น

(2) “การรั่วไหลของเงิน” กรรมการของ บริษัท สปสช.ที่เต็มไปด้วยสารพัดองค์กรและมูลนิธิที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างสอดรับไปพร้อม ๆ กับการก่อกำเนิดของสปสช.นี้ในยุครัฐประหารเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว นัยว่าคนชงกฎหมายนี้ กับคนที่ดูแลสารพัดมูลนิธิและองค์กร เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน รู้ดีว่าช่องโหว่ของกฎหมายที่ตนเองเขียนมากับมือมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรจึงจะดูดเงินภาษีออกจากระบบไปเข้าองค์กรและกระเป๋าของตนเองได้มากที่สุดโดยไม่น่าเกลียด ล่าสุดก็มีการเปิดโปงการรับเงิน ๒๐ กว่าล้านปีภายใน ๑ ปีของมูลนิธิไม่แสวงหากำไร (???) ในการจัดให้มีโครงการรับโทรศัพท์บริการให้คำปรึกษาโรค ที่น่าตลกคือตัวละครของมูลนิธิก็คือหนึ่งในคนที่ออกมาคัดค้านไม่ให้แก้ไขกฎหมาย

(3) “เสียงที่ถูกเมินเฉยหรือไปไม่ถึงพ่อค้าคนกลาง” ผลของการที่ บริษัทปล่อยให้มีกรรมการที่เป็นคนนอกซึ่งไม่ทำงานด้านการรักษาพยาบาลโดยตรง มาคอยชี้นำและถกเถียงเพียงเพื่อเอาชนะคะคาน แต่กลับไม่มีเก้าอี้สำหรับมดงาน(lay person)ที่ต้องอยู่หน้างานจริง ๆ ทำให้ปัญหาที่แท้จริงไม่สามารถสื่อไปถึงเบื้องบน ผลคือระบบสาธารณสุขอยู่ในอาการโคม่าเช่นทุกวันนี้

(4) “ความถูกต้องวัดกันด้วยจำนวนมือ ไม่ได้ด้วยข้อเท็จจริง” เช่นเดียวกับข้างต้น คนนอกที่เสียงดังแต่ไม่ได้เป็นคนทำงานด้านการรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยจริง ๆ สามารถใช้ connection เพื่อทำให้เกิดภาวะ block vote ในลักษณะ “พวกมากลากไป” อาทิเช่น การตัดสินว่า “การทำหมันแล้วท้องคือความเสียหายที่แพทย์ก่อ” “การกำหนดควบคุมวิธีการรักษาแบบคิดเองเออเองทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาโรค” เป็นต้น จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมมดงานตัวจริงถึงได้รังเกียจระบบพ่อค้าคนกลาง ทำให้ประเด็นนี้คือหนึ่งในประเด็นหลักที่ต้องรีบแก้ไข และในขณะเดียวกันก็เป็นประเด็นที่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากคนที่ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมทางตรงและผลประโยชน์ทางอ้อมตลอด ๑๕ ปีที่ผ่านมา

(5) “สังคมผู้สูงอายุ” ทุกวันนี้ประเทศไทยถือว่าได้เข้าสู่Aging societyเรียบร้อยแล้ว ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยง่ายแต่รักษายาก แถมต้นทุนในการรักษาก็สูงกว่าคนหนุ่มสาวมาก แต่งบประมาณมีจำกัด จึงเป็นหน้าที่ของวิญญูชนคนไทยทุกคนที่ต้องตัดสินใจว่าจะเอาเงินจากไหนมาถมให้เต็มโดยยังคงทำให้ระบบการรักษามีทั้ง “คุณภาพและยั่งยืน”ไปพร้อม ๆ กัน หรือจะปล่อยให้หนองระเบิดและระบบล่มไป จนทำให้ลูกหลานเราต้องเดือดร้อน

(6) “คนไทยหนีภาษีแยอะและเสียภาษีทางตรงน้อยมาก” ฐานข้อมูลระบุว่าทั้งประเทศมีคนยื่นภาษีเพียง ๑๐ ล้านคนจากประชากรเกือบ ๗๐ ล้านคน และมีเพียง ๔% ที่เสียภาษีทางตรง (คนเสียภาษีน้อยมาก) ในขณะที่ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีเทียบต่อ GDP ของไทยต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมากมายนัก (คนหนีภาษีแยอะมาก) ทำให้รายรับที่จะนำมาถมกับโครงการนี้มีจำกัดจำเขี่ย แต่ฝ่ายการเมืองผ่านกลไกการเลือกตั้งกลับไม่เอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหา

(7) “เครือบริษัท ส.มหาชน” นอกเหนือจาก สปสช.แล้วยังมีสารพัดองค์กรที่คอยดูดเงินภาษีที่ควรเข้าสู่ระบบการรักษาโดยตรงออกไปสู่กระเป๋าของกลุ่มผูกขาดความดี ประมาณการณ์ว่า เฉพาะ “สสส.” ที่เกิดมาพร้อมกับ พ่อค้าคนกลาง รับเงินไปแล้วรวมไม่ต่ำกว่า “๕๐,๐๐๐ล้านบาท” หากนับทั้งเครือข่าย คาดว่ามีเงินรั่วไหลออกไปแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๕๐,๐๐๐ล้านบาท!!!! เงินจำนวนนี้หากกลับเข้าสู่ระบบการรักษาโดยตรง โดยตัดพ่อค้าคนกลางและเครือบริษัท ส. ออกไป คงทำให้พี่ตูนถนอมสุขภาพขาไปได้อักโข และหมายถึงคนไข้ตาดำ ๆ อีกหลายชีวิตได้มีโอกาสรับการรักษาที่มีคุณภาพอย่างมาก

(8) “DRG” สำหรับคนทั่วไปคงไม่รู้จักคำ ๆ นี้ แต่สำหรับคนทำงานในโรงพยาบาล ถือว่าเป็นคำที่คุ้นเคย เพราะเป็นเครื่องมือที่พ่อค้าคนกลางใช้ชักดาบโรงพยาบาล โดยการบังคับให้โรงพยาบาลรักษาไปก่อนแล้วค่อยจ่ายเงินคืน ปัญหาที่โรงพยาบาลพบคือ เงินคืนที่พ่อค้าจ่ายให้โรงพยาบาลไม่เท่ากับทุนที่ต้องใช้ไปในการรักษาผู้ป่วย ผลคือคลังสำรอง (เงินบำรุง)ที่สะสมมาตั้งแต่เปิดโรงพยาบาลเกลี้ยงท้องพระคลัง ตามที่เป็นข่าวว่ารพ.มีฐานะใกล้ล้มละลาย (แต่ที่ตลกร้าย คือ พ่อค้าคนกลางกลับได้รับรางวัลดีเด่นจากหลากหลายหน่วยงานที่สามารถกดราคาค่ารักษา โดยการเอาชีวิตผู้ป่วยตาดำ ๆ มาเป็นเดิมพัน)

(9) “งานนอกสั่ง” จุดประสงค์ของการตั้งพ่อค้าคนกลางเพื่อให้เป็นที่พักเงินที่รัฐโอนมาให้แล้วให้ไปจัดหาสถานพยาบาลสำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีฐานะยากไร้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่พ่อค้าหัวใสใช้วาทกรรม “ความเท่าเทียม” ขยายขอบเขตปล่อยให้เศรษฐีขับรถsupercarเข้ามาแบ่งเค้ก ผสมโรงกับวาทกรรม “มนุษยธรรม” “อนาถา” ปล่อยให้คนต่างชาติที่ไม่ได้เสียภาษีให้ประเทศแห่เข้ามารักษาฟรีแล้วชักดาบ นอกจากนี้ยังตีความเข้าข้างตัวเองว่ามีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการรักษารวมทั้งจัดหายาและเครื่องมือแพทย์ ที่คนทำงานไม่ได้ต้องการและไม่เห็นด้วย ผลคือประชาชนตาดำ ๆ ต้องพบกับการรักษาที่ด้อยคุณภาพลงทุก ๆ วัน จนมดงานต้องโดนฟ้องร้อง ในขณะที่พ่อค้ารับแต่ความชอบไป

(10) “ระบบอุปถัมภ์ระหว่างเครือข่ายบริษัทและองค์กร” นับเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข ปัญหาธรรมาภิบาลในเครือบริษัท ส.นี้มีมานานแล้ว หากใครภักดีต่อท่านประมุข ก็จะได้รับการตอบแทนด้วยการนั่งในเก้าอี้บอร์ดสารพัด แม้จะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรเลย เช่น โยกจาก สปสช. ไป สสส. ไป สถานีทีวี ไป สวรส. ไป สช. ครบวาระในบริษัทลูกแห่งนี้ ก็ย้ายไปอีกบริษัท แล้วโยกกลับมาใหม่ บางคนเป็นเภสัชมานั่งในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องยา พรุ่งนี้กลายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องผู้สูงอายุ (ประมาณว่าแก่ข้ามชั่วคืน!!!) การผ่องถ่ายเงินระหว่างองค์กรด้วยให้การให้งบไปศึกษาวิจัยผ่านการพิจารณาจากคนกันเอง แต่ไม่เคยถูกประเมินว่างานที่ทำออกมาคุ้มค่าเงินหรือไม่ ใครหน่วยก้านดีว่านอนสอนง่ายก็ส่งไปดูงานศึกษาต่อต่างประเทศ ที่ตลกร้ายคือคนเหล่านี้กลับอ้างว่ารัฐบาลไร้ธรรมาภิบาลไปซะได้ ทั้ง ๆ ที่พวกพ้องทำกันเป็นเรื่องปกติ ในต่างประเทศคนเหล่านี้ล้วนต้องแจ้งบัญชีทรัพทย์สินและที่มาที่ไปของรายได้และการเสียภาษีทั้งสิ้น

​มาถึงขนาดนี้แล้ว ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะกล้าผ่าตัดมะเร็งร้ายแค่ไหน ได้แต่ภาวนาอย่าให้เป็น มวยล้มต้มคนดู ก็แล้วกัน

ที่มา เฟสบุ๊ค Thiravat Hemachudha

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10155605314786518


................................

ข้อมูลประกอบการติดตามข่าวเรื่องการแก้ไขพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ณ ปี 2560 ทำไม สทับซ้อนกระทรวงสาธารณสุข

14 ปี สวรส. ให้ทุนวิจัยไปกว่า 3 พันล้าน ผันจากสสส.-สปสช.-อื่นๆ กว่า 2 พันล้าน สะพัดสุดช่วงปี48 –50 ปีละกว่า500 – 600 ล้าน พร้อมเปิดรายชื่อผู้รับทุนทั้งหมด

//thaipublica.org/2015/11/thaihealth-16/

สตง.เปิดรายชื่อโครงการที่รับเงินจาก สสส.-สปสช.-สวรส. ปี 2546 – 2557 กว่า 2 พันล้าน

//thaipublica.org/2015/11/thaihealth-15/

อดีตประธานสปสช.ระบุบอร์ดสปสช. มีอำนาจล้น – เลขาสปสช. อนุมัติเงินได้ครั้งละ 1พันล้าน มากกว่านายกรัฐมนตรีและรมต.

//thaipublica.org/2011/10/national-health-board/

เปิดรายงานดีเอสไอระบุสปสช. ไม่มีหน้าที่ซื้อยา-เวชภัณฑ์ แถมเอาเงินส่วนลดจากองค์การเภสัชไปใช้เองเที่ยวต่างประเทศ ซื้อรถตู้ ให้เงินทำวิจัย – 4 ปี ได้เงินไปกว่า 240ล้านบาท

//thaipublica.org/2015/03/public-health-services-57/

สตง.ตรวจสอบการดำเนินงานสปสช.ระบุไม่โปร่งใสใช้งบสุขภาพถ้วนหน้า เหมาจ่ายรายหัวผิดประเภทเกือบ 100 ล้าน

//thaipublica.org/2011/12/oag-national-health-transparency/

บอร์ดสปสช.ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวของประชาชนผิดประเภทผลประโยชน์ทับซ้อน สวมหมวกหลายใบ รับเงินจากสปสช.เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.กองทุนหลักประกัน- กฏหมายป.ป.ช.มาตรา100

//thaipublica.org/2015/01/public-health-services-53/

เจาะงบสปสช. ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวประชาชนผิดประเภท แจกทำวิจัยและไม่ใช่หน่วยบริการตามกม.มีชื่อ”นพ.สมศักดิ์”รมช.สาธาธารณสุข – คตร. สั่งปลัดสาธารณสุขเร่งรัด สปสช.หาคนผิดลงโทษ

//thaipublica.org/2015/01/public-health-services-52/

ประเทศไทยกับความโปร่งใสทางการคลัง(2) : 114 กองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ ไม่ครบถ้วนไม่ทันสมัย

//thaipublica.org/2017/06/thailand-trasparency-reseach-group-31-5-2560-2/

รมว.สธ.-ผอ.งบฯเข้าพบ'ประยุทธ์'คาดถกปม5รพ.รัฐถังแตก

//www.bangkokbiznews.com/news/detail/749193

***วันที่ 21 มิถุนายน 2560****
แจงคง30บ.รักษาทุกโรคแก้กม.ปิดช่องเงินเหลือให้NGO

//www.bangkokbiznews.com/news/detail/760552


ที่มา เฟสบุ๊ค Thiravat Hemachudha

 

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10155605285466518

..................................

“น้ำลดตอผุด: 15 ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า” เป็นมุมมองสำคัญของ ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท ในช่วงเวลาที่ “รัฐบาลบิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จัน

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/985310
“น้ำลดตอผุด: 15 ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า” เป็นมุมมองสำคัญของ ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท ในช่วงเวลาที่ “รัฐบาลบิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จัน

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/985310
“น้ำลดตอผุด: 15 ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า” เป็นมุมมองสำคัญของ ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท ในช่วงเวลาที่ “รัฐบาลบิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จัน

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/985310
Create Date :16 กรกฎาคม 2560 Last Update :13 กันยายน 2560 12:59:17 น. Counter : 1167 Pageviews. Comments :2