bloggang.com mainmenu search


ชัดเจนไม่ต้องคิดมาก โรงพยาบาลรัฐเจ๊งแน่

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย
ไทยรัฐ 15 ม.ค. 2560 05:01

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154957063796518

//www.thairath.co.th/content/835599


อย่ากังวลเดี๋ยวจะปวดหัว โรงพยาบาลทั้งประเทศที่ไม่ใช่เอกชน คงต้องขอให้น้องตูน พี่น้อง ดารา นักร้อง ช่วยหาเงินเพื่อไม่ต้องปิดโรงพยาบาลเป็นทิวแถว ประกาศทราบทั่วกัน

การจัดสรรเงินในระบบสาธารณสุขที่ไม่เป็นตามจริง น่าจะอธิบายปัญหาต่างๆ ทั้งๆที่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยดีมาก แต่ สปสช. ทำให้ล้ม ดังที่เกิดปัญหาเป็นลูกโซ่ตั้งแต่...ฝ่ายรักษา โรงพยาบาลทุกระดับ เงินไม่พอในการช่วยบำบัดการป่วย ช่วยชีวิต...ฝ่ายป้องกัน งบไม่พอป้องไม่ไหว คัดกรองไม่ทัน...ฝ่ายรักษา หมางเมินกับฝ่ายป้องกัน จะแย่งงบประมาณ...การจัดคัดเลือกยาเป็นไปตามถูกสุดๆ...

...การเท ภาษีบาปเข้า สำนักโฆษณา ป้าย และทีวี แต่ผลสำเร็จอาจประเมินมิได้ เนื่องจากไม่มีใครกล้าประเมิน...ประชาชนไม่ได้รับการรักษาที่ควรต้องเป็นอย่างเหมาะสม เพราะบุคลากรสาธารณสุข ไม่พอ เกิดความโกรธ เกลียด...ชมรมเสรี ก่นประณาม เกิดฟ้องร้อง

จากนั้นผลตามมาที่เป็นคือบุคลากรถอดใจ ลาออก คนน้อยลง งานเท่าเดิมหรือมากขึ้น....คนป่วยตายมากขึ้น....จะฝึกหมอใหม่เอาปริมาณ เจอะหมอครอบครัวซึ่งเป็นความคิดที่ดี หารู้ไม่ว่าปัญหาโรคในพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญยังหนาว.....หมอถูกฟ้องร้อง หามีคนช่วยไม่ ให้รับชะตากรรมกันเอง
สิ่งเหล่านี้วนไปมาเป็น 10 ปี เห็นจุดจบอยู่รำไร

ในส่วนซองยาเป็นหน้าที่ของสมาคมผู้เชี่ยวชาญ ราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆต้องยืดอกดาหน้าปกป้องคนไทยและทรัพย์สินของประเทศคือ เรื่องของยา ยาที่นำเข้าหรือยาเลียนแบบใช้ในประเทศต้องมีประสิทธิภาพจริง ต้องปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง และคำว่าประสิทธิภาพ ในที่นี้คือในแง่ของเพียงแค่บรรเทาอาการหรือมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคให้หายขาดหรือชะลอโรคได้จากตายใน 5 ปีเป็น 10-15 ปี ตัวอย่างชัดคือมียาจริงๆที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับเข้าในประเทศเป็นพันๆตำรับ ยาเหล่านี้มีเป็นโขลงต้องตกม้าตายตั้งแต่ให้พิสูจน์ประสิทธิภาพแล้ว หรือถ้ามีประสิทธิภาพหรือเก่งใกล้เคียงกันต้องยึดยาที่ราคาถูกกว่า เข้าถึงง่ายกว่าและผลข้างเคียงไม่ต่างกัน

ในส่วนของยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด ต้องชัดเจน กินมาก กระเพาะ ไตพัง เส้นเลือดหัวใจ สมองตัน หัวใจวาย อัมพฤกษ์ ยาบรรเทาพาร์กินสัน บรรเทาสมองเสื่อม ไม่ชะลอโรค เพียงเพื่อให้กระฉับกระเฉง มีผลข้างเคียงมากขึ้นเรื่อยๆเป็นเงาตามตัวในเวลาที่ผ่านไปและในขนาดปริมาณที่มากขึ้น ดังนั้น ต้องให้คนไข้รู้ความจริงเหล่านี้ ยาอื่นๆที่ในระยะหลังพิสูจน์ว่าไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีผลข้างเคียงร้ายแรง ต้องถอดออกจากตำรับให้หมด

กลับมาเรื่องงบ สปสช. ทำเรื่องง่ายเป็นยาก เอางบจัดเข้ากับจำนวนประชากรอย่างเดียว แทนที่จะจัดงบเป็นคนป่วย รักษาจริงจ่ายจริง (เฟซบุ๊ก apiwat mutirangura amorn kaewsai และ churdchoo ariyasriwatana)

ที่น่าขันคือ ปัจจุบันถ้าจะเบิกเงินต้องเขียนให้ตรง สปสช. ถึงจะได้เงิน เบิกยาได้ คนใน สปสช. ต้องมาดูสถานการณ์จริง คนไข้หนักมาก เยอะและซับซ้อนแค่ไหน รพ.ต่างๆติดลบ สปสช.ต้องปรับกระบวน หรือจะปล่อยให้ระบบสาธารณสุขพังพินาศ รัฐต้องพูดความจริงให้ประจักษ์ โรงพยาบาลต่างๆ แบกรับไม่ไหว รักษาไปอกสั่นขวัญแขวน ยาไม่มี เครื่องมือไม่พอ ความชำนาญจะต้องรวมโปรเฟสเซอร์ ระดับโลกซัก 10 คนในตัวหมอไทยหนึ่งคน ถึงจะให้คนไข้หนักๆหาย และมีอย่างนี้เต็มวอร์ดทุกวัน อ้อ ลืมไป ระดับโลกก็ไม่ช่วย ยา เครื่อง อุปกรณ์มิมี

โรงพยาบาลขาดทุนมีมากแค่ไหน (30-50%) ขาดทุนเท่าไหร่ (ทั่วประเทศจะมากขึ้นเรื่อยๆเป็นหมื่นล้านต่อปี) อนาคตอันใกล้ โรงพยาบาลนั้นๆ มีหนี้สะสมจะไม่สามารถซื้อยามารักษาผู้ป่วยได้ เพราะ สปสช.ไม่ยอมจ่ายเงินให้โรงพยาบาล รพ.อินทร์บุรี/จ.สิงห์บุรี เตรียมลดขนาด เตรียมปิด รพ.บางแห่งกันแล้ว ข่าวว่า รพ.อินทร์บุรี เป็น รพ. 218 เตียง จะยุบเป็นระดับรอง หมอขอย้ายหมด คน 600 หายไป 150

งบบัตรทองเพิ่ม 1% กว่าๆ เงินเดือน จนท.อยู่ในงบนี้เพิ่ม 6% ค่ายา วัสดุเพิ่มมากกว่า 3% เจ๊งอยู่แล้วชัด

ขอบคุณคุณตูน บอดี้สแลม ที่ช่วยออกมาทำให้ประชาชนไทยรู้ว่า โรงพยาบาลทั่วประเทศไทยขาดแคลนทุกโรงพยาบาล ขาดทั้งงบประมาณที่จะซื้อยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาผู้ป่วย ขาดเตียง/อาคารสถานที่ เทคโนโลยี ขาดงบประมาณในการพัฒนา และขาดแคลนบุคลากรที่เหมาะสมในการรักษาผู้ป่วย เพราะงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรมาให้โรงพยาบาลนั้นมันไม่ได้ส่งตรงมาถึงโรงพยาบาลโดยตรง แต่มันต้องไปผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีละเกือบสองแสนล้านบาท แต่งบประมาณมันหายไประหว่างทางก่อนที่จะมาถึงโรงพยาบาล จึงทำให้เกิดปัญหาความขาดแคลนของโรงพยาบาลมาอย่างยาวนาน

ขอบคุณจริงๆที่ช่วยทำให้คนไทยรู้ความจริง และหวังว่ารัฐบาลก็จะได้รู้ความจริงว่า งบประมาณของโรงพยาบาลมันหายไปไหน จะได้มาช่วยหาสาเหตุของปัญหาและลงมือแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที เพราะถ้ารัฐบาลขืนปล่อยไปแบบทองไม่รู้ร้อนเช่นนี้ อีกไม่เกิน 5 ปี โรงพยาบาลรัฐล้มละลายทั่วประเทศแน่นอน

ข้อมูลประมาณทุกๆ 3 เดือน ใน พ.ศ.2557 ถึง พ.ศ.2559 ข้อมูลของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปพบว่า เงินบำรุง (รายได้ทั้งหมดจากสิทธิข้าราชการ ประกันสังคม และบัตรทอง) เมื่อหักหนี้ (ค่าใช้จ่ายไม่นับหนี้คงค้าง) จะพบมีประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโรงพยาบาลทั้งหมด ขาดทุน โดยดูค่าเฉลี่ยแต่ละปีจะขาดทุนประมาณ 8 พันล้านบาท กำไรของโรงพยาบาลที่เหลือจะไม่สามารถช่วยการขาดทุนได้ เพราะโรงพยาบาลที่ขาดทุนก็มักจะขาดทุนต่อเนื่อง

วิเคราะห์การที่โรงพยาบาลได้รับเงินบำรุงจาก สปสช. น้อยกว่าค่าใช้จ่าย (สิทธิอื่นมักเบิกได้เต็มจำนวน) จะส่งผลทำให้โรงพยาบาลนั้นๆมีหนี้สะสมจะไม่สามารถซื้อยามารักษาผู้ป่วยได้
ที่โกรธกัน ทะเลาะกัน ระหว่างอาชีพเดียวกัน ประชาชนและผู้ให้การบริบาลดีกันได้มั้ย แต่ไม่ดีกับคนที่ทำให้ฉิบหาย รื้อระบบ ที่ไม่เหมาะ ให้คนทั้งประเทศรับรู้สภาพพังพาบ ตายก็ตายด้วยกันดีกว่ามั้ย.

หมอดื้อ

...................

แถม

โรงพยาบาลขาดทุนมีมากแค่ไหน ขาดทุนเท่าไหร่  ถึง ต้องค้างจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ?    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-12-2016&group=7&gblog=210

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักการดีแต่ต้องรีบ“ปฏิรูปวิธีดำเนินการ” ... พญ. เชิดชู    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-04-2009&group=7&gblog=23

โรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทยขาดทุนเพราะ ใคร?:บทวิเคราะห์หาสาเหตุ
โดย อ.ดร.อานนท์ศักดิ์วรวิชญ์/ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร 21 เมษายน 2558 15:44 น.
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000045566
Create Date :15 มกราคม 2560 Last Update :13 กันยายน 2560 13:14:20 น. Counter : 1247 Pageviews. Comments :1