bloggang.com mainmenu search
ดอกการเวก #2
ชื่อวิทยาศาสตร์: Artabotrys siamesis Miq
ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
ชื่อสามัญ: Karawak
ชื่อท้องถิ่น: กระดังงางัว
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะวิสัย: ไม้รอเลื้อย
ลักษณะทั่วไป: เป็นพืชบก มีมือเกาะ มีกลีบดอกหนา เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกที่ออกใหม่มีสีเขียวเมื่อดอกแก่จะมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอม กลิ่นจะหอมจัดในตอนเย็น และตอนเช้ามืด เมื่อสายกลิ่นหอมจะหายไป ใบเรียงสลับ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเป็นมัน เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ผลเป็นกลุ่มสีเขียวเข้ม มีปุ่มตามลำต้น
ประโยชน์: เป็นไม้ดอกไม้ประดับให้ร่มเงาให้ดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมใช้ทำเครื่องหอม
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ความสำคัญ: เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
กิ่งก้าน: เป็นมือเกาะที่เป็นลายกนกของไทย แข็งแรง ให้ร่มเงาเป็นที่พักอาศัยของผู้ผ่านไปมา หมายถึงโรงเรียน จัดการศึกษาเพื่อปวงชน
ใบสีเขียว: บุคลากรมีชีวิตชีวา สดชื่น ร่าเริง ลำต้นเจริญเติบโตเร็ว และอดทนต่อดินฟ้าอากาศ หมายถึงบุคลากรที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ พร้อมอุทิศตนในการทำหน้าที่ ด้วยใจรัก และเสียสละ
ดอกสีเหลือง: ความสงบร่มเย็น ให้กลิ่นหอมในเวลากลางคืน บุคลากรทำความดี เมตตาโดยไม่หวังผล
ต้นและดอกการเวก: สื่อความหมายในด้านคุณธรรม ความสุภาพอ่อนโยน และความเป็นกุสตรีไทย
คัดลอกมาจาก วิกิพีเดีย //th.wikipedia.org



ดอกการเวก เคยถ่ายภาพให้ชมลงกันไปครั้งหนึ่ง หรือ สองครั้งแล้ว
เนื่องจากทุกปีที่ได้กลับบ้านที่ศรีราชา จะได้แวะไปบ้านเดิมของคุณแม่ที่อยู่บ้านบึงด้วย



และที่บ้านเิดิมของคุณแม่ยังคงเป็นทุ่งนา มีการปลูกข้าว-ดำนา อยู่จนถึงทุกวันนี้ ตอนเด็กๆ ได้ไปบ่อยอยู่เหมือนกัน และทุกครั้งที่ไป ก็เป็นต้องเก็บดอกการเวก หรือ ใช้ไม้สอยดอกการเวกมาชื่นชมกันทุกครั้งไป

แต่ช่วงหลังๆ ที่ได้บ้านบึง และไปบ้านเดิมของคุณแม่ ก็มักจะไปถ่ายภาพดอกการเวกมาเก็บไว้ชื่นชมแทน



ทุกครั้งเหมือนจะได้แต่ภาพดอกสีเหลืองๆ ที่พร้อมส่งกลิ่นหอม
แต่ไปคราวนี้ได้ภาพดอกที่ยังเขียวๆ อยู่







และก็ยังได้เห็นดอกเล็กๆ จิ๋วๆ ด้วย






และพอนั่งเล่นๆ ช่วงว่างๆ หลังถ่ายภาพเสร็จ
ไปเห็นลูกอะไรหล่นอยู่ที่พื้น


ชี้ให้พี่สาวดู
พี่สาวบอกว่า ลูกของต้นการเวก นั่นล่ะ
แล้วพี่สาวก็เดินชี้ช่องให้ถ่ายภาพ




คราวนี้จากที่เคยเดินมองหาแต่ดอกการเวกสีเหลืองๆ
เลยได้เห็นอะไรๆ มากกว่าเดิมขึ้นเยอะเลย








จบภาพถ่ายที่ได้นำเสนอให้ชมสำหรับดอกการเวกใน blog นี้แล้ว
และขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่แวะมาชมภาพถ่ายใน blog set นี้ด้วยนะครับ
Create Date :01 เมษายน 2553 Last Update :1 เมษายน 2553 16:56:49 น. Counter : Pageviews. Comments :9