วัดต้นปิน เมือง เชียงใหม่ - วัดเล่าเรื่องเมืองล้านนา ทีแรกว่าจะลงสั้น ๆ อ่านไปอ่านมา กลายเป็นการอ่านประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านทางวัดต้นปิน วัดต้นปิน ต้นปินเป็นภาษาเหนือแปลว่า ต้นมะตูม ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนปิน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตั้งอยู่บริเวณ โรงเรียนบ้านดอนปินวิทยาคาร เรียกว่า วัดพระจันทร์ ครูบาเจ้าอุปนันทเถระ พร้อมด้วยศรัทธาญาติโยมสมัยนั้นได้ย้ายมาตั้งวัดใหม่ เมื่อประะมาณ พ.ศ. 2366 ณ ที่ดอนปิน ห่างไปทางทิศตะวันออกวัดพระจันทร์ประมาณ 500 เมตร ![]() วิหารคือที่อยู่ของพระพุทธรูป เป็นเขตพุทธาวาส หันหน้าไปทางตะวันออก มีศาลาบาตรรอบวิหาร ![]() ศาลาครูบาศรีวิชัย ![]() ศาลาครูบาอุปนันทะเถระ ท่านเป็นผู้ย้ายวัดพระจันทร์จากที่เดิม มาตั้งที่วัดต้นปินปัจจุบัน ![]() ประวัติวัดพระจันทร์ ![]() จากประวัติวัดข้างบน ท้าวความก่อนว่า หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐา ที่ปกครองล้านนาเสด็จกลับไปครองหลวงพระบางเพราะพระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคต กษัตริย์ล้านนาว่างลง ถึง 4 ปี 2091-2094 ขุนนางจึงได้อัญเชิญพระเจ้าเมกุฏิ เชื้อสายพญามังราย ที่เมืองนายมาครองล้านนา (ปี พ.ศ. 2094-2012) *** คำว่าเชื่อสายพญามังราย ย้อนไปราว 200 ปีก่อน ท้าวความถึง พญามังรายมีโอรส 3 พระองค์ คือขุนเครือง ขุนคราม ขุนเครือ เมื่อพญามังรายมาตีหริภุญไชย ขุนเครื่องครองเชียงรายคิดกบฎ พญามังรายจึงให้สังหารเสีย ขุนครามหรือพญาไชยสงคราม ได้ครองเชียงราย และเมื่อชนะศึกหริภุญไชยพญามังรายได้ยกเมืองเชียงดาวเป็นรางวัลอีกเมือง ขุนครามจึงมาพักที่เชียงดาวในเดือน 5-8 พอเดือน 9-4 จะไปอยู่เชียงราย และให้ภรรยาองค์หนึ่งดูแลเมืองเชียงดาว ขุนเครือ ซึ่งครองเมืองพร้าว เป็นชู้กับภรรยาขุนคราม พญามังรายจึงส่งขุนเครือไปเมืองพองใต้ ขุนนางที่นั่นจึงสร้าง " เมืองนาย " ขุนเครือให้ประทับ พระเจ้าเมกุฎิจากเมืองนาย จึง มีเชื่อสายพญามังราย *** ความสำคัญของวัดพระจันทร์ จากตำนานวัดร้างนอกกำแพงในกำแพงเมืองเชียงใหม่ ของ อรุณรัตน์ เขียววิเชียร จัดพิมพ์โดยสุริวงค์บุ๊คเซนเตอร์ ข้อมูลเอกสารกล่าวว่า พระเจ้าเมกุฏิได้เสด็จไปครองผ้าขาวที่วัดพระจันทร์ และทรงไปรับศีลแปดที่วัดเชียงมั่น เมื่อครั้งประกอบพิธีราชาภิเษกขั้นเป็นพระมหากษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ เป็นที่น่าสังเกตว่า วัดพระจันทร์ และวัดเชียงมั่น เป็นวัดนอกกำแพงเมืองและวัดในกำแพงเมืองซึ่งห่างกัน 10 กม. จึงมีข้อสันนิษฐานดังนี้ 1. วัดพระจันทร์ เป็นชื่อวัดที่มีความเป็นมงคล หมายถึงความสงบร่มเย็น 2. วัดพระจันทร์คงจะเป็นวัดนิกายรามัญวงศ์ เพราะ ในสมัยพระเจ้าสุทโธธรรมราชา (พระเจ้ากรุงอังวะ พม่าเรียก สะโดะ-ธรรมราชา) ยกกองทัพมาปราบปรามแว่นแคว้นล้านนาไทย ตีได้เมืองน่าน เมืองเชียงราย เชียงแสน และตีได้เมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2174 เชียงใหม่จึงได้ตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกวาระหนึ่ง ท่านได้ส่งพระทั้งวัดสวนดอก (รามัญวงศ์) และป่าแดง (ลังกาวงศ์) ไปเรียนธรรมที่อังวะแล้วกลับมาสอนธรรมที่เชียงใหม่ พระเหล่านั้นกลับมาก็มาสอนธรรมอยู่ที่วัดตำหนักใหม่ และ วัดพระจันทร์ ต่อมาจากสายวัดสวนดอก รามัญวงศ์ เพราะมีสัญญลักษณ์คือเจดีย์ (=กองมู) ของพม่าตั้งอยู่ 3. พระเมกุฎิถูกส่งไปครองเมืองนาย หรืออาณาจักรแสนหวี ซึ่งเป็นอาณาเขตของพม่า เมื่อกลับมาจึงนับถือนิกายรามัญวงศ์ 4. ขบวนแห่ราชาภิเษกเจ้าเมืองเชียงใหม่ ต้องเป็นขบวนใหญ่มีบริวารมากมาย และยังต้องประกาศให้ชาวเชียงใหม่รับทราบการราชาภิเษกเจ้าเมืองเชียงใหม่ การทำพิธีราชาภิเษกนั้นเป้นพิธีพิเศษมาก มีพิธีระเบียบมากมาย และคงจะทำตามพิธีของกษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวไว้ว่า "ขบวนแห่เข้ามาทางประตูชัยหัวเวียง ยี่ทัตถียาณตัวประเสริฐ หื้อหมู่ลัวะจูงหมาปาแชกหาบไก่เข้าก่อน " ดังนี้ - แชกเป็นเครื่องสานทรงสอบสำหรับใส่สิ่งของ ใช้สะพายหลังคล้ายเป้ - (*ให้ลัวะจูงหมาหาบไก่นำพาแขกเข้าเมือง*) เหตุที่ต้องย้ายวัด ท้าวความว่า พม่าเข้ามายึดเมืองเชียงใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งที่ 1 ราชวงศ์ตองอูโดยบุเรงนอง พ.ศ. 2101-2280 พระเจ้าบุเรงนองเมื่อตีเชียงใหม่ได้ในสมัย พระเจ้าเมกุฏิ โปรดให้ พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าเมกุฏิ ครองเชียงใหม่ต่อไป ถึง พ.ศ. 2007 พระเจ้าเมกุฏิถูกจับไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี เพราะคิดแข็งเมือง และแต่งตั้งให้นางพญาวิสุทธิราชเทวี (พระมารดาพระเจ้าเมกุฎิ) ครองเมืองต่อมาได้อีก 14 ปี ถึง พ.ศ. 2121 พระนางทิวงคต พม่าให้เจ้าฟ้าสารวดี หรือมังนรธาฉ่ วงศ์บุเรงนอง มาครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2122-2150 เชียงใหม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ... พระนเรศวรประกาศอิสรภาพ พ.ศ. 2126 และให้เชื้อสายของบุเรงนองที่ครองเมืองเชียงใหม่ ครองต่อไปคือ มองซายเทา พ.ศ. 2150-2151 มองกวยตอ พ.ศ. 2151-2153 อนุชามองกวยตอ พ.ศ. 2153-2157 สิ้นวงศ์บุเรงนอง ครั้งที่ 2 นอตเปตลุนแลตลุนมิน (มหาธรรมราชา สุทธรรมราชา พ.ศ.2158-2191) โดยเชื้อวงศ์เจ้าเมืองน่านคือเจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม หรือเจ้าศรีสองเมือง ที่ครองเชียงใหม่ แต่ พ.ศ. 2157-2174 ได้แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อพม่า พระเจ้าสุทโธธรรมราชายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และจับตัวเจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงครามไปขังไว้ที่กรุงหงสาวดี โปรดให้พระยาหลวงทิพยเนตรเจ้าเมืองฝางมาครองเมืองเชียงใหม่ได้ 19 ปี พระยาหลวงทิพยเนตรถึงแก่กรรม พระแสนเมืองหรือพระยาแสนหลวงบุตรได้ครองเมืองในพ.ศ. 2193 ครองได้ 13 ปี เสียเมืองแก่เจ้าพระยาโกษาธิบดี(เหล็ก) พ.ศ. 2205 ครั้งที่ 3 พระเจ้ามังระแห่งราชวงศ์คองบอง พ.ศ. 2306-2319 ครั้งที่สามนี้พม่าส่งคนมาปกครองแทนเมียงหวุ่น ... เมืยงหวุ่นแปลว่าเจ้าเมือง คือโป่มะยุง่วนหรือโป่มะยีหวุ่น แต่ชอบโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ชาวเมืองจึงเรียกว่าโป่หัวขาว โป่หัวขาว ข่มเหงขูดรีดชาวเมืองอย่างมาก ทั้งยังขัดแย้งกับขุนนางท้องถิ่น นำไปสู่การปะทะกันประปราย พ.ศ.2312 เขคคายน้อยพรหม ขุนนางท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากพม่า สู้รบกับโป่หัวขาว เขคคายน้อยพรหมเสียชีวิต ... ยังค้นไม่เจอว่า เขคคายน้อยพรหมคือท่านใด พระยาจ่าบ้านสู้รบกับโป่หัวขาวอีก พระยาจ่าบ้านแพ้ หนีไปพึ่งเมืองใต้ ใช้เวลาขับไล่พม่าออกจากล้านนาถึง 30 ปี อิทธิพลพม่าจึงสูญสิ้นออกไป ![]() จากประวัติการย้ายวัดข้างบน นำมาต่อยอดดังนี้ 1. พ่อน้อยสุข เลขา อดีตมัคทายกวัดต้นปิน (เสียชีวิตแล้ว) เล่าว่า เคยมีพระธุดงค์จากสยามเมืองใต้ถือใบถา (ลายแทง) มาสืบเสาะหาวัดพระจันทร์ เพื่อจะขุดหาสมบัติอันมีค่าของวัด ครูบาอุปนันทเถระเจ้าอาวาสขณะนั้นเกรงว่าจะเป้นอันตราย จึงได้ย้ายมาสร้างวัดใหม่ ณ ดอนปิน และสั่งชาวบ้านไม่ให้พูดถึงวัดพระจันทร์อีก วัดพระจันทร์เลยหายไปกับกาลเวลา 2 จาก ตำนานธรรมพื้นเมืองเล่าว่า ม่านทั้งหลายอันมาอยู่กับบ้านกับเมือง กวนควี (รบกวน) อุปปริโทษบาปไหม ไพร่บ้านไหนเมืองอยู่ไหน กิ๋นไหนบ่ได้ ทั้งจาวเจ้าสรมณ์ก็อยู่บ่เป็นสุข โปม่านคนหนึ่งเป๋นโม้ยหงวนเจียงแสนบ่อกึดราชก๋าน สังเต่าปาลูกน้องแอ่ขุดหาของอยู่ตั้งอั้น คนตังหลายลวดฮ้องว่า"โป่ผีวิน" ตะอั๊นแล ภัยจากโป่ต่าง ๆ ที่มาอยู่เชียงใหม่ที่มุ่งขดหาสมบัติของเก่า อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ครูบาอุปนันทเถระย้ายวัดหนีไปสร้างวัดใหม่ พร้อมกับพระพุทธรูปยืนสององค์ เรียกว่าพระจันทร์ ... ข้อสันนิษฐานที่ 2 เราคิดว่าไม่น่าใช่เพราะเวลาย้ายวัดเป็น พ.ศ.2366 หมดอำนาจโป่ แล้ว หรือว่าลูกน้องโป่ที่เคยขุด ก็ยังขุดอยู่ ... ด้านหน้าพระวิหาร ประดับกระจกสี หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์มีร่างกายสีเขียวประทับในซุ้มนาค เคียงข้างด้วยเทพพนม และลวดลายพรรณพฤกษา ลง พ.ศ. 2520 ![]() บันไดมกรคายนาค ![]() ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปธรรมจักร (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และกวางหมอบ (หมายถึงป่ามฤค...สัตว์ที่คล้ายกวางมีเขา... ทายวัน) แสดงถึงการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นครั้งแรก ... ปฐมเทศนา บานประตูเป็นเทพพนมที่ยืนบนช้างสามเศียร ... น่าจะหมายถึงพระอินทร์บนช้างเอราวัณ ![]() พระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย บนฐานชุกชี ประดับลวงลายติดกระจกสีรูป กลีบบัวและดอกไม้ และบัวแปดกลีบ ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน ซึ่งเป็นพระคู่วัดมาตั้งแต่เป็นวัดพระจันทร์ ![]() ![]() ![]() ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ ![]() และทศชาติชาดก ![]() สัตตภัณฑ์ คือ เชิงเทียนที่ใช้จุดดวงประทีปทั้งเจ็ดเล่ม สัญลักษณ์แห่ง สัตตบริภัณฑ์ บริวารล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ลวดลายดอกไม้ในซุ้มนาค ![]() ธรรมมาส และ ขันแก้วทั้งสาม - พานสามเหลี่ยมที่ใช้ใส่ดอกไม่ธูปเทียนบูชาสักการะพระรัตนตรัย ![]() บานหน้าต่าง ![]() พระอุโบสถ หน้าบันประดับลายปูนปั้นพรรณพฤกษา ตกแต่งด้วยกระจกสี ด้านหน้ามีสิงห์เฝ้าอยู่สองตัว ![]() พระเจดีย์ ทรงปราสาทยอดเจดีย์ ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์สี่เหลี่ยมย่อเก็จยืดสูงขึ้นเป็นเรือนธาตุปราสาท ทุกด้านมีซุ้มแก้วประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประดับในซุ้มด้วยกระจกสี ถัดขึ้นไปเป็นชั้นมาลัยเถาแปดเหลี่ยมซ้อนกันเจ็ดชั้น รับกับองค์ระฆังทรงกลมสีทอง บัลลังก์ ก้านฉัตร ปลี ปกฉัตรสีทอง 9 ชั้น ![]() หอไตร ![]() หอระฆัง ![]() ประตูหลังวัด ![]() ชิ้นนี้ชอบมาก ![]() เชียงใหม่ไปบ่อย
ไว้มีโอกาสจะไปเที่ยวเยี่ยมชมและกราบพระวัดต้นปิน ค่ะ ![]() ![]() ![]() โดย: คนผ่านทางมาเจอ
![]() ![]() สวัสดีครับ แวะมาเที่ยวด้วยครับ
ชอบบานประตูครับ ดูฝีมือช่างประณีตมากครับ ขอบคุณที่นำเพลงหลากหลายมาให้ฟังครับ ![]() โดย: Sleepless Sea
![]() มาเที่ยว ไหว้พระด้วยครับ พี่ตุ๊ก
สถาปัตยกรรมล้านนาชมกี่ครั้ง เห็นแล้วก็อยากไปบ้าง ![]() ![]() โดย: สองแผ่นดิน
![]() ![]() tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
นี่คือภาพไปเที่ยวก่อนวิกฤตการณ์ใช่มั๊ยคะพี่ตุ๊ก ![]() ![]() ![]() ![]() โดย: หอมกร
![]() ![]() นั่งอ่านหลายรอบ ยังงง..อยู่ครับ เพราะมี
เจ้าหลายองค์ ที่น่าสนใจคือ พระเจ้าเมกุฏ เป็นลูกของ "ขุน" องค์ไหน..มี 3 องค์..กาว่าเป็น "ขุน" แล้ว พระเจ้าเมกุฎ เปลี่ยนจื่อกาว่าพระนาม เป๋นอะหยัง.. แหะ ๆ ผมแยกบ่าออก.. บ่าใจ่ตี่นี่อย่างเดียว ผมไปอ่านตี่ พม่าเหมือนกัน.. เจ้านี่นักแต้ๆ ไผ แข็งเมืองก็ฆ่า... โดย: ไวน์กับสายน้ำ
![]() ![]() ดูแล้ว รู้แต่ว่า ถ้าจะมาชม สถาปัตยกรรมล้านนา ก็ต้องมาวัดนี้เลยนะครับ ทั้งโบสถ์และเจดีย์
ยังสมบูรณ์อยู่มาก ส่วนเรื่องประวัตินี่ ถ้าคุณตุ๊กออกสอบ อ.เต๊ะ ต้องตกแน่ๆ เพราะจำได้แต่เรื่อง มีชู้เรื่องเดียว แฮ่ๆ555 ปล.เรื่องเรียนออนไลน์นี่ ดีกับเด็กที่ขยันเท่านั้น เด็กขี้เกียจ จะยิ่งหนักกว่าเก่าอีกนะครับ ดูแล้ว น่าจะตกแยะกว่าเดิมแน่ครับ555 ![]() โดย: multiple
![]() ![]() สวัสดีมีสุขค่ะ
ตามมาเที่ยววัดด้วยค่ะ ลูกปิน ก็คือลูกมะตูมนี่เอง อ่านไปอ่านไป เริ่มตาปรือค่ะ ได้เวลาเอนหลัง...ไปก่อนนะคะ โดย: ตะลีกีปัส
![]() ![]() สวัสดีครับพี่ตุ๊ก บันทึกประวัติวัดในบล็อคแบบนี้มีประโยชน์มากครับพี่ตุ๊ก หากมีใครต้องการค้นข้อมูลวัดหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องใน google ก็เจอ อาจจะยาวหน่อยนึง แต่ก็ไม่ได้มากจนเป็นหนังสือประวัติศาสตร์นะครับ วัดในประเทศไทยนี่สวยงามจริงๆ ไม่ว่าภาคไหน ดีนะที่ช่วงก่อนหน้านี้พี่ตุ๊กไปเที่ยวมาเยอะ ช่วงนี้คงไปไหนไม่ได้ไกลแบบนั้นนะครับพี่ ![]() โดย: สีเมจิก (สมาชิกหมายเลข 5106714
![]() ตามมาไหว้พระด้วยค่ะ
เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานเกือบสองร้อยปีเลยนะคะ โดย: เนินน้ำ
![]() ![]() ประวัติยาวนานพอๆ กับกรุงรัตนโกสินทร์เลย วัดนี้สวย (ไม่เคยไป)
ตรงราวจับคงทำเพื่อให้ผู้สูงอายุสะดวกในการขึ้นลง แต่ทำให้ดูสวยน้อยลงเยอะเลย เนื้อหาอัดแน่นเต็มที่เลยนะครับ โดย: คุณต่อ (toor36
![]() ![]() กราบพระค่ะพี่ตุ๊ก
ลวดลายประดับและลายแกะสลักมีความหมายและงดงามมาก ยังไม่เคยไปวัดนี้ค่ะ ขอบคุณพี่ตุ๊กที่พาชมนะคะ โดย: Sweet_pills
![]() ![]() สรุปตามนี้...ก็จะเห็นว่า พม่า ครอบครองเมืองเชียใหม่ มาถึง 3 ครั้ง
รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 225 ปี ไม่น้อยเลยนะครับ เชียงใหม่ จึงมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองเพราะเชียงใหม่ คือประเทศหนึ่งในอดึต นี่แหละเสน่ห์ของเชียงใหม่..... โดย: พายุสุริยะ
![]() ตามมาเที่ยววัดบ้านปินอีกครับ ชอบมั่งมองพระพุทธรูปครับ เย็นกาย เย็นใจดีครับ
โดย: ทนายอ้วน
![]() ![]() ดีนะพี่ตุ๊กเฉลย
ในบรรทัดที่สองว่าวัดต้นปิน ต้นปินคือมะตูม ![]() โดย: อุ้มสี
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|
สวัสดียามเช้าครับพี่ตุ๊ก
วัดนี้ก่ยังบ่าเกยไปเลยครับ
พี่ตุ๊กลงประวัติวัดไว้โดยละเอียดเลย
ดีจังครับ