แนวคิดในการตั้ง stop condition ในฟิวเจอร์

ลูกค้าที่คีย์คำสั่งซื้อขายฟิวเจอร์ผ่านระบบ internet trading อาจจะประสบปัญหา stop loss ไม่ทัน หรือ ไม่ทราบว่าจะตั้ง condition อย่างไร ก่อนจะยกตัวอย่างงการตั้ง stop condition เราจะเริ่มจาก ทัศนคติที่มีต่อ risk-return กันก่อนนะคับ แล้ว arrticle ถัดไป จะเป็นตัวอย่างการตั้ง condition ในทางปฏิบัติ 


ทัศนคติที่มีต่อ risk-return

คนส่วนใหญ่ เล่นฟิวเจอร์ หวัง maximize profit .... พอหวังกำไรคำใหญ่ เลยคิดไม่ทันเรื่อง stop loss เพราะที่ผ่านมา คิดแต่เรื่อง profit

ถ้าจุดที่เปิดสถานะ เป็นไปตาม technical ตามระบบที่กำหนดไว้ดีแล้ว หากถูก มันจะได้กำไรหลายจุดเอง (ตามระบบ) แต่หากผิด ก็จุดนั้นแหละที่ต้องออกแล้ว ..... ดังนั้น หากจุดเข้าเป็นจุดที่ดีเพียงพอแล้ว เราคิดแค่เรื่องเดียวก็พอคับ เรื่อง minimize loss เพราะถ้าเราเข้าถูกจังหวะแล้ว potential gain พอหวังได้อยู่แล้ว

เมื่อผิดทาง เราจะแก้ปัญหายังไง ..... ไม่มีวิธีการสำเร็จรูปคับ เพราะเงินที่วางเป็น back กับ ความกล้าความกลัวของแต่ละคนแตกต่างกัน

คนที่เอาเงินมาวางเป็น back จำนวน 5 หมื่นกว่าบาท เทรด 1 สัญญา ต้อง limit loss เร็วมาก ใช้กราฟระยะสั้นมากในการควบคุมความเสี่ยง ไม่งั้น ไม่มีโอกาสแก้ไขเมื่อมองถูกทางในเวลาต่อมา เพราะเงินไม่พอเปิดสถานะแล้ว ข้อดี คือ เสียหายน้อยมาก หากในที่สุด ตลาดเฉลยออกมาว่าเราผิดทางอย่างจัง ข้อเสียคือ ไม่ว่าจะ long หรือ จะ short อาจต้อง limit loss อยู่เรืื่อยในช่วงที่ตลาดแกว่งแรง เพราะเดี๋ยวก็กระชากราคา เดี๋ยวก็ทุบลงมา

คนที่เอาเงินมาวางเป็น back จำนวน 2 แสนบาท เทรด 1 สัญญา และ aggressive ทนทานต่อความเสี่ยงได้สูง เขาอาจจะรองรับความเสียหายได้ถึง 10 จุด ดังนั้น เขาอาจจะใช้กราฟที่แสดงภาพกว้างขึ้น ระบบไม่ให้ limit ก็จะยังไม่อออก  ข้อดี คือ ทนความเหวี่ยงของราคาได้ดีกว่า ข้อเสียคือ จะเสียหายมากกว่าผู้ที่เล่นแบบ conservative หากในที่สุด ตลาดเฉลยออกมาว่าเราผิดทางอย่างจัง

คนที่เน้น day trading จะพยายามใช้กราฟใหญ่เพื่อมองภาพใหญ่ แล้วใช้กราฟสั้นเพื่อหา gap ให้จับกินในวัน ขณะเดียวกัน กราฟสั้นจะเป็นตัวควบคุมความเสี่ยง ไม่ให้สูงเกินกว่า gap ที่ควรจะได้ ...... กลุ่มนี้ เน้นปั้มเงินในแต่ละ session โดยคุมความเสี่ยงให้ต่ำกว่า expected gain เช่น หากใช้กราฟ 30-min แล้วเราคาดหวัง 8 จุดจากจุดที่เปิดสถานะ ก็จะต้องคุม loss ไม่ให้เกิน 3-4 จุด ไม่งั้น ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการจับกินในวัน หลักของการเทรดที่ต้องเคร่งครัด คือ เวลาได้ ต้องได้ให้มาก เวลาเสีย ต้องเสียให้น้อยกว่ากำไรที่หามาได้ หากเป็นเช่นนี้แล้ว ถูกวันนึงผิดวันนึง ก็ยังกำไรมากในแต่ละเดือน ข้อดีของ Day Trading คือ ยิ่งตลาดแกว่งสวิง ยิ่งจับกินได้หลายรอบในแต่ละวัน เพราะกลุ่มนี้ไม่เดาว่ามันจะขึ้นหรือลง หวังเพียงให้มี gap ในแต่ละช่วงเวลา ข้อเสียคือ มีโอกาสขายหมูมากกว่าผู้ที่ถือสถานะ overnight เนื่องจากต้องทำให้สมดุลตลอดเวลาระหว่าง risk กับ return จึงไม่ bet เกินควร นอกจากนี้ กลุ่มนี้ไม่ได้แอ้มกำไรก้อนโตจากการเปิดกระโดดขึ้นหรือกระโดดลงด้วย แต่ก็ไม่เคยเสียคำโตจาก opening gap เช่นกัน

แต่สิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะมีทัศนคติต่อ risk-return อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำในใจไว้เสมอนะคับว่า ใจเราและเงินเรา รับความเสียหายได้เต็มที่เท่าไหร่ แล้วอย่าให้เกินนั้น แล้วอย่าให้บานปลายไปมากกว่านั้น หากเสียหายเล็กน้อย แม้จะ cut loss แล้วพลาด (cut แล้ว ปรากฏว่าโดนต้ม) เราก็ต้องทำ เพราะนั่นคือ พอเยียวยาได้ พอแก้ไขได้ ..... หากไม่รักษาวินัย ปล่อยให้เสียหายมากๆ เช่น 15 จุด หรือมากกว่า แก้ไขยากแล้วนะ ไม่เชื่อก็ลองให้ผิด 10 จุด up ดูซิคับ แก้ยากมาก กว่าจะได้คืนมา

ในทางตรงข้าม หาก limit loss แล้วพลาดท่าเสียค่าโง่ เช่น long แล้ว cut loss แล้วในที่สุด มันขึ้น เราก็ยัง follow long ขึ้นไปได้ ซึ่งในที่สุด ก็จะมีกำไรจากการเข้าครั้งใหม่ มาชดเชยขาดทุนที่ limit loss (เพราะ loss ไม่มาก เลยแก้ไขได้)

สรุปอีกที อย่าปล่อยให้ loss เรื้อรังเกินเยียวยา ยิ่ง loss มาก แสดงว่า เรากำลังพนันว่าเดี๋ยวมันก็กลับมา อย่าเล่นพนันนะคับ


www.ThaiDayTrade.com





Free TextEditor



Create Date : 10 ธันวาคม 2551
Last Update : 10 ธันวาคม 2551 8:19:28 น.
Counter : 1149 Pageviews.

0 comments

Thanapononline.BlogGang.com

thanapononline
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]