การแก้ไขอนุสิทธิบัตรรถเข็นของข้าพเจ้า
        แต่เดิมเคยยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร ก็ด้วยความไม่ค่อยจะเข้าใจ หรือเพิ่งเคยจดครั้งแรก หรือความด้อยความสามารถในงานด้านแต่งเอกสาร ทำให้บ่อยครั้งเมื่อต้องจับงานด้านเอกสารนี้ ต้องทำออกทะเลทุกที เช่นการเขียนเปเปอร์เป็นต้น ดังนั้นราว 8 เดือนให้หลังก็ได้รับไปรษณีย์จากสำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าให้แก้ไขในส่วนต่างๆตามที่ระบุมาภายใน 90 วัน ซึ่งเราจะฝึกงานเสร็จแล้วค่อยจัดการแก้ไขก็ได้ แต่เราก็ลากลับบ้านไปจัดการแก้ไขแล้ว เพราะคิดว่าถ้าแก้ไขเสร็จเร็ว ก็คงจะได้รับการจดเร็วเท่านั้น เพราะสิ่งนี้เป็นความหวังที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิต หากได้รับการจดเร็ว อะไรๆคงจะมั่นคงขึ้น ทำอะไรๆได้อย่างสบายใจขึ้น
ระบุข้อแก้ไขมาให้อย่างละเอียด เข้าใจชัดแจ้ง สิ่งนี้หละที่เราต้องการ เมื่อไม่สามารถอธิบายโดยแก่น ให้เฉพาะผู้มีความสามารถด้านแต่งเอกสารเข้าใจ ก็ควรอธิบายจำแนกแจกแจงออกมาเป็นข้อๆ ให้ผู้ไม่มีความสามารถด้านแต่งเอกสารเข้าใจ เหมือนพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทในพระปาติโมกข์นับร้อยๆข้อ แก่ภิกษุที่ยังไม่เข้าใจ โดยที่โอวาทปาติโมกข์อันเป็นหัวใจของพุทธศาสนามีเพียง 3 ข้อเท่านั้นคือ ทำดี ละเว้นชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ที่ทรงประทานแก่ภิกษุที่เข้าใจแล้วซึ่งเป็นอรหันต์ทั้ง 1,200 รูป ในคืนมาฆฤกษ์

---------------------------------------------------------------------------------------


สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา
44/100 ถ.นนทบุรี 1 ต.บางกระสอ
อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000


27 เมษายน 2548

เรื่อง ผลการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตร
นายสมภพ ขำสวัสดิ์

อ้างถึง คำขอรับอนุสิทธิบัตร เลขที่ 04-03-001040 วันยื่นคำขอ 24 กันยายน 2547

ตามที่ท่านได้ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรดังกล่าวข้างต้น บัดนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบแล้วปรากฏว่า
มีบางส่วนต้องแก้ไขหรือแสดงหลักฐานเพิ่มเติม ดังระบุไว้ในเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้โดยให้ใช้แบบ สป/สผ/อปส/003-ก พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมการแก้ไข 50บาท/คำขอ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือนี้ มิฉะนั้นจะถือว่าละทิ้งคำขอตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลา ให้ผู้ขอร้องขอผ่อนผันต่อผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนด

ขอแสดงความนับถือ
(นายสกล วิธูรจิตต์)
นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตร


กลุ่มตรวจสอบอนุสิทธิบัตร
โทร. 0-2547-4715-7 โทรสาร 0-2547-4718


---------------------------------------------------------------------------------------


รายการที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร คำขอเลขที่ 0403001040

คำขอของท่านไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 17 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2542) ข้อ 3,4,6, และ 7 ดังนั้น ให้ท่านแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
รายละเอียดการประดิษฐ์
ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ ให้ระบุชื่อที่สามารถทำให้เข้าใจถึงลักษณะของการประดิษฐ์นั้นได้ชัดเจนและสามารถเข้าใจโดยทั่วไปเช่น “รถเข็นที่ล้อสามารถปรับระดับตามพื้นที่เอียงได้”
ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ให้ระบุถึงการประดิษฐ์ชนิดเดียวกันที่มีมาก่อนพร้อมทั้งปัญหาทางเทคนิคหรือข้อบกพร่อง โดยให้อธิบายถึง ลักษณะ ของการประดิษฐ์ที่มีมาก่อนนั้นว่า มีลักษณะอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะที่ก่อให้เกิดปัญหาหรือข้อเสียนั้น
สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ หากไม่แน่ชัดว่าอยู่ในสาขาการประดิษฐ์ใดให้ระบุว่า “วิศวกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (ชื่อของการประดิษฐ์)”
ลักษณะและความมุ่งหมายการประดิษฐ์โดยย่อ ให้อธิบายถึง วัตถุประสงค์ ในการประดิษฐ์และลักษณะเฉพาะของการประดิษฐ์ที่ได้คิดค้นขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องหรือของการประดิษฐ์ที่มีมาก่อน
คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ ให้อธิบายว่ารูปเขียนแต่ละรูปแสดงให้เห็นถึงส่วนใดของการประดิษฐ์
การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ ให้ระบุในลักษณะที่จะทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญในสาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้ให้อธิบายถึงลักษณะ โครงสร้าง หรือส่วนประกอบต่างๆ และความสัมพันธ์เชิงหน้าที่ของชิ้นส่วนต่างๆ โดยละเอียดและชัดเจน
วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ในกรณีที่การประดิษฐ์นั้นมีรูปแบบเดียว หรือมีเพียงวิธีเดียว ให้ระบุว่า “เหมือนกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์”
ข้อถือสิทธิ ให้ระบุลักษณะทางเทคนิคที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครองโดย ชัดแจ้ง รัดกุม และสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์ ทั้งนี้ให้ระบุให้ชัดเจนว่า เป็นการประดิษฐ์อะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีลักษณะและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และสิ่งใดที่ขอความคุ้มครองจะต้องมีการเปิดเผยไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ด้วย เมื่ออ่านจากข้อถือสิทธิแล้วจะทำให้สามารถมองเห็นภาพหรือเข้าใจถึงลักษณะของการประดิษฐ์นั้นได้ ทั้งนี้ ส่วนที่จะได้รับความคุ้มครองให้ระบุต่อจากข้อความ “มีลักษณะเฉพาะคือ” (ส่วนที่ได้มีการต่อยอด หรือพัฒนาขึ้นไปจากเดิม)
บทสรุปการประดิษฐ์ ให้สรุปสาระสำคัญทางเทคนิคของการประดิษฐ์สั้นๆ เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะของการประดิษฐ์นี้ได้โดยสังเขป
รูปเขียน ให้แสดงรูปเขียนที่ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะของการประดิษฐ์นี้ได้ดียิ่งขึ้น รูปเขียนนี้ต้องเป็นรูปที่เขียนขึ้นตามหลักวิชาการเขียนแบบ คือ ใช้เครื่องมือในการวาดเขียน เช่น การลากเส้นตรงต้องใช้ไม้บรรทัด การวาดรูปวงกลมต้องใช้วงเวียนหรือเครื่องเขียนแบบอื่นๆ (รูปถ่ายไม่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาได้) และให้มีหมายเลขชี้แสดงชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการอธิบายในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ โดยหมายเลขเหล่านี้ต้องไม่อยู่ภายในวงกลม วงเล็บ หรือเครื่องหมายใดๆ และหมายเลขเดียวกันให้ชี้แสดงชิ้นส่วนเดียวกัน

รายการอื่นๆ
แบบพิมพ์คำขอ หน้า 2 ข้อ 13 กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหน้าเอกสาร ให้แก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้นและให้ใช้วิธีการพิมพ์ในการกรอกข้อความต่างๆ

หมายเหตุ
- การยื่นแก้ไขฯ ให้ใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ที่แนบมาพร้อมนี้ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท/คำขอ ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือโดยทางไปรษณีย์ธนาณัติถึงผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตร
- ได้แนบแบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร แบบพิมพ์คำขอแก้ไขเพิ่มเติม มาเพื่อใช้ในการแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 1 ชุด
- ได้แนบร่างตัวอย่างคำขอรับสิทธิบัตรของท่านมาเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน 1 ชุด ทั้งนี้ท่านมีสิทธิที่จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางตาม ตัวอย่างนี้ตามขอบเขตของการประดิษฐ์ของท่านที่ประสงค์จะขอความคุ้มครอง

( นายสกล วิธูรจิตต์ )
นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตร 5
ผู้ตรวจสอบ


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า

ตัวอย่าง

รายละเอียดการประดิษฐ์

ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ รถเข็นที่ล้อสามารถปรับระดับตามพื้นที่เอียงได้
ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
……(ให้บรรยายตามเนื้อหาเดิม แต่ให้อธิบายโดยชัดเจนว่ารถเข็นที่มีให้เห็นโดยทั่วไป มีข้อเสียข้อบกพร่องอย่างไร)…..
ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์
……(ให้บรรยายเพิ่มเติมว่าตามการประดิษฐ์นี้ได้จัดให้มีชิ้นส่วนหรือโครงสร้างใดเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ “ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง” โดยอธิบายพอสังเขป)…..
สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์
วิศวกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถเข็นที่ล้อสามารถปรับระดับตามพื้นที่เอียงได้
คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ
รูปที่ 1 แสดง……….(ให้บรรยายว่ารูปเขียนรูปที่ 1 ที่ได้แนบมานั้นแสดงถึงอะไร)…..
รูปที่ 2 แสดง……….(ให้บรรยายว่ารูปเขียนรูปที่ 2 ที่ได้แนบมานั้นแสดงถึงอะไร)…..
****ในหัวข้อนี้ ให้ระบุว่ารูปเขียนที่ได้แนบมานั้น แต่ละรูปต้องการจะแสดงถึงอะไร ทั้งนี้ ให้ดูตัวอย่างที่ได้แนบมาพร้อมกันนี้****
การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์
จากรูปที่ 1 แสดงถึง……..(ในหัวข้อนี้ให้บรรยายถึงชิ้นส่วนและโครงสร้างต่างๆตามการประดิษฐ์นี้ว่า โครงสร้างและชิ้นส่วนต่างๆมีรูปร่างรูปทรง และการเชื่อมต่อกันอย่างไรพร้อมการใช้งาน โดยบรรยายให้ละเอียดและชัดเจน ทั้งนี้ให้ใช้รูปเขียนที่ให้เพิ่มเติมเป็นตัวช่วยในการบรรยายในหัวข้อนี้ให้ชัดเจน)…….
วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด
เหมือนกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า

ข้อถือสิทธิ
1. รถเข็นที่ล้อสามารถปรับระดับตามพื้นที่เอียงได้ ประกอบด้วย โครง(หมายเลข) ซึ่งเชื่อมต่อกับ……(ในส่วนนี้ให้บรรยายว่าโครงสร้างและชิ้นส่วนต่างมีลักษณะรูปร่างรูปทรงอย่างไรและมีการเชื่อมต่อกันในลักษณะใด)……ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ…..(ในส่วนนี้ให้บรรยายถึงชิ้นส่วนหรือโครงสร้าง ที่ได้มีการ ประดิษฐ์คิดค้น แก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมขึ้นมาตามการประดิษฐ์นี้)……


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า

บทสรุปการประดิษฐ์
…..(ในหัวข้อนี้ให้บรรยายว่าการประดิษฐ์นี้ได้จัดให้มีชิ้นส่วนหรือโครงสร้างใดขึ้นมาโดยการบรรยายให้บรรยายมาไม่เกิน 200 ถ้อยคำโดยการบรรยายต้องไม่ระบุข้อดีของการประดิษฐ์นี้)……


---------------------------------------------------------------------------------------


ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนี้เป็นไปตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 กล่าวคือ ไม่เป็นการเพิ่มเติมสาระสำคัญของการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์


---------------------------------------------------------------------------------------


เคยจดตามในแบบนี้ //topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/X3011483/X3011483.html ซึ่งมันไม่ถูกต้องดังว่า เลยทำการแก้ไขดังส่วนถัดไปนี้


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1 ของจำนวน 2 หน้า

รายละเอียดของการประดิษฐ์

ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
รถเข็นที่ล้อเลื่อนขึ้นลงได้ตามพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ

ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะประการแรกของรถเข็นทั่วไปจะมีล้อติดอยู่กับตัวถังรถ เมื่อถึงเส้นทางที่ไม่สม่ำเสมอหรือขรุขระ ล้อทั้งสองข้างจะมีการยกตัวขึ้นลงตามพื้นที่ไม่ได้ระดับนั้นเป็นธรรมดา แต่ล้อทั้งสองข้างจะยกตัวไม่พร้อมกันตามพื้นแต่ละข้างที่เหยียบ โดยการที่ล้อติดอยู่กับตัวถังรถ เป็นเหตุให้รถต้องเอียงซ้าย-ขวาหรือโยกเยกไปมา ข้อเสียคือทำให้ข้าวของที่บรรทุกบนรถเข็นกระฉอกออกมาจากภาชนะได้ หากแก้ปัญหาโดยการใช้โช๊คอัพหรือวัสดุยืดหยุ่นใดๆแทนโช๊ค ก็เป็นการกันสะเทือนในแนวดิ่งเท่านั้น ซึ่งเหมาะแก่ยานพาหนะที่บรรทุกสิ่งมีชีวิตมากกว่า แต่ยานพาหนะที่บรรทุกสิ่งของเช่นอาหารเหลว การสะเทือนในแนวดิ่งเพียงอย่างเดียวไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้อาหารกระฉอกออกมาได้ เพราะโช๊คอัพไม่สามารถแก้ปัญหาการเอียงซ้าย-ขวาหรือโยกเยกไปมาของรถเข็นได้
ลักษณะอีกประการของรถเข็นทั่วไปคือจะมีสามล้อ มีล้อเล็กอยู่ข้างหน้าและล้อใหญ่ทั้งสองอยู่ด้านข้าง โดยล้อใหญ่ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวรถนี้ ไม่ได้อยู่ที่กึ่งกลางของด้านข้างรถ แต่จะค่อนมาข้างหลังเล็กน้อยเพื่อให้ล้อหน้าได้รับน้ำหนักรถบ้าง และล้อหน้านี้ยังใช้ประโยชน์ในการช่วยจอด ข้อเสียคือผู้เข็นทั่วไปมักเข็นแบบกระดกให้ล้อหน้าลอยขึ้นเล็กน้อย ทำให้ต้องหนักในการกดท้ายลง และเมื่อเวลาจะเข็นขึ้นเนินล้อหน้าจะเป็นตัวปัญหาค้ำเนินขึ้นทำให้รถต้องเอียงหลัง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาหารต้องหกออกมาได้

สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์
วิศวกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถเข็นที่ล้อเลื่อนขึ้นลงได้ตามพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ

ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์โดยย่อ
วัตถุประสงค์หลักของการประดิษฐ์นี้ เพื่อให้ตัวถังรถเข็นสามารถตั้งตรงอยู่ได้ยามต้องเดินทางผ่านพื้นที่ไม่ได้ระดับหลายรูปแบบ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือล้อรถเข็นสามารถเลื่อนขึ้นลงได้อย่างอิสระตามพื้นที่ไม่ได้ระดับนั้น โดยมีสายโยงลอดใต้ท้องรถเชื่อมหากันทั้งสองล้อ ซึ่งสายโยงนี้จะทำหน้าที่ยกตัวถังรถเอาไว้ โดยสายโยงนี้สามารถไหลไปมาได้ตามการเลื่อนขึ้นลงของล้อ จึงทำให้ตัวถังรถตั้งตรงอยู่เสมอไม่ว่าล้อจะเลื่อนขึ้นลงอย่างไร แต่ทั้งนี้ผู้เข็นต้องประคองตัวถังรถให้ตั้งตรงเอาไว้ด้วย
วัตถุประสงค์รองคือ เพื่อให้ผู้เข็นไม่ต้องเข็นแบบกดท้ายให้ล้อหน้ากระดกขึ้น เป็นสาเหตุให้ลำบากโดยใช่เหตุ จึงมีลักษณะเฉพาะคือล้อทั้งสองอยู่กึ่งกลางอย่างสมดุลด้านข้างตัวถังรถ ไม่มีล้อหน้า และมีขาตั้งด้านหน้าและด้านหลังรถแบบเชื่อมถึงกัน จึงพับขึ้นลงได้พร้อมกัน


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 2 ของจำนวน 2 หน้า

คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ
รูปที่ 1 แสดงสายโยงเชื่อมต่อระหว่างโครงล้อทั้งสองข้าง ซึ่งลอดลงไปใต้ท้องรถเข็นไป
รูปที่ 2 แสดงภาพตำแหน่งของล้อฉาก ซึ่งจับโครงล้อให้ตั้งตรงอยู่ได้
รูปที่ 3 แสดงลักษณะเฉพาะของขาตั้งรถเข็น

การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์
จากรูปที่ 1 แสดงถึงสายโยง 4 ซึ่งทำจากโซ่จักรยาน ปลายทั้งสองของสายโซ่นี้จะไปเชื่อมต่อกับโครงล้อ 2 ทั้งสองข้าง ซึ่งลอดใต้ท้องรถไปหากัน โดยมีลูกล้อ 3 ทั้งสองฝั่งเป็นตัวค้ำระหว่างสายโซ่กับตัวถังรถ 1 เอาไว้เพื่อให้สายโซ่สามารถเลื่อนไปมาได้ตามการเลื่อนขึ้นลงที่ไม่เท่ากันของล้อทั้งสองข้าง โดยลูกล้อ 3 ควรทำจากเฟืองโซ่ของจักรยาน เพื่อไม่ให้โซ่ตกจากลูกล้อ 3 นั่นเอง เนื่องจากระบบลักษณะนี้ ผู้เข็นต้องมีภาระประคองให้รถตั้งตรงอยู่เสมอ ดังนั้นจึงมีตัวล็อค 5 ซึ่งเป็นแท่งเหล็กแหย่ลงไปในรูของโซ่ เมื่อล็อคแล้วโซ่จะไม่สามารถเลื่อนไปมาได้ ล้อจึงไม่สามารถเลื่อนขึ้นลงได้อีก จะมีสภาพไม่ต่างจากรถเข็นทั่วไปที่ระบุในภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง การล็อคจึงกระทำก็ต่อเมื่อถึงทางเรียบเพื่อให้ผู้เข็นไม่ต้องมีภาระการประคอง โดยการประคองจะกระทำเมื่อถึงทางไม่ได้ระดับเท่านั้น แต่ต้องปลดล็อคออก ซึ่งการล็อคหรือปลดล็อคนี้สามารถควบคุมได้ที่แฮนเข็น
จากรูปที่ 2 แสดงถึงโครงล้อที่ทำเพิ่มเติมเข้าไป โดยมีเหล็กฉาก 6 อยู่ในแนวตั้งสองแท่งซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน ต่างฝ่ายต่างหันด้านสันของฉากออกจากกัน เพื่อให้เข้าในร่องของล้อฉาก 7 ได้พอดี ซึ่งล้อฉากนี้เป็นตลับลูกปืนในตัวเองอยู่แล้วจึงหมุนได้ แกนของล้อฉากจะติดอยู่กับตัวถังรถ หน้าที่หลักของล้อฉากคือจะจับโครงล้อเอาไว้ให้ตั้งขนานกับตัวถังรถอยู่เสมอ โดยโครงล้อส่วนที่เป็นเหล็กฉาก สามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้สุดแค่ตำแหน่งล้อฉากล้อใดล้อหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ล้อฉากบน-ล่างถ้าใกล้กันเข้ามาอีก จะเพิ่มระยะการเลื่อนขึ้น-ลงของโครงล้อให้มากขึ้น แต่ความแข็งแรงจะลดลง ระยะห่างล้อฉากจึงต้องพอดีคล้ายๆกับรูป
จากรูปที่ 3 แสดงถึงขาตั้งรถเข็น 8 ซึ่งมีเหมือนกันทั้งข้างหน้าและข้างหลัง โดยมีแกน 9 เป็นตัวเชื่อมต่อถึงกัน แกน 9 จะถูกตรึงอยู่กับที่กับตัวถังรถ ซึ่งยึดไว้แบบที่หมุนได้ ขาตั้งจึงสามารถพับหมุนขึ้นด้านข้างได้แบบพร้อมกันทั้งหน้าและหลัง ซึ่งอาจใช้เท้าของผู้เข็น ซึ่งส่วนนี้จะใช้วิธีใดในการพับเก็บขาตั้งหรือให้ตั้งคงอยู่ไว้ก็ได้ ไม่ว่าจะใช้แม่เหล็กหรือใช้เชือกดึงหรือใช้สปริงค์ดึงคล้ายขาตั้งรถมอเตอร์ไซน์หรือใช้ความฝืด เป็นต้น

วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด
ควรใช้ล้อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมาก เพราะล้อยิ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากเท่าไร ก็ยิ่งข้ามอุปสรรค์บนพื้นได้ดีมากขึ้นเท่านั้น เส้นผ่านศูนย์กลางล้อจึงไม่ควรสูงเกินความสูงของตัวรถ


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า

ข้อถือสิทธิ
1. รถเข็นที่ล้อเลื่อนขึ้นลงได้ตามพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ประกอบด้วยล้อรถซึ่งยกตัวถังรถ 1 ผ่านระบบซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือมีสายโยง 4 ซึ่งทำจากโซ่จักรยานยกตัวถังรถผ่านลูกล้อหมุน 3 ทั้งสองลูก สายโยงจึงเลื่อนไปมาได้โดยตัวถังรถไม่เลื่อนตามไป ปลายทั้งสองของสายโยงนี้ถูกต่อเข้ากับโครงล้อ 2 ทั้งสองข้างเพื่อดึงให้ยกตัวถังรถ 1 ผ่านลูกล้อ 3 เอาไว้ได้ มีตัวล็อค 5 ล็อคไว้สำหรับเดินทางเรียบ ซึ่งควบคุมตัวล็อคนี้ได้ที่แฮนจับ โดยโครงล้อถูกจับไว้ให้ตั้งด้วยล้อฉากทั้งหลาย ซึ่งจับเฉพาะโครงส่วนที่ทำจากเหล็กฉาก 6 ซึ่งเข้าในร่องของล้อฉากได้พอดี
2. รถเข็นที่ล้อเลื่อนขึ้นลงได้ตามพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ประกอบด้วยล้อซึ่งอยู่ที่กึ่งกลางของด้านข้างตัวถังรถ ทำให้รถสมดุลหน้าหลังจึงไม่จำเป็นต้องมีล้อหน้า โดยมีลักษณะเฉพาะคือมีขาตั้งทั้งหน้าและหลังซึ่งมีแกนเชื่อมต่อถึงกัน จึงสามารถพับขึ้น-ลงมาค้ำพื้นได้พร้อมกัน เพื่อไม่ให้รถจอดแล้วกระดกไปข้างใดข้างหนึ่ง


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1 ของจำนวน 1 หน้า

บทสรุปการประดิษฐ์
รถเข็นที่ล้อเลื่อนขึ้นลงได้ตามพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ มีสองส่วนสำคัญที่ถือสิทธิ คือส่วนที่ล้อสามารถเลื่อนขึ้นลงได้ โดยยกตัวถังรถผ่านสายโซ่ โดยสายโซ่ยกตัวถังรถผ่านลูกล้ออีกที และส่วนของขาตั้งที่ลงมาได้พร้อมกันทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เป็นเหตุเนื่องมาจากรถคันนี้ไม่มีล้อหน้า เพราะการมีล้อหน้าเป็นเหตุให้รับความไม่สม่ำเสมอของพื้นในแนวหน้าหลังได้ จึงตัดออกไป ความคิดนี้จึงสามารถใช้ทำรถเข็นปูนได้


---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 1 ของจำนวน 2 หน้า


รูปที่ 1



รูปที่ 2



---------------------------------------------------------------------------------------


หน้า 2 ของจำนวน 2 หน้า


รูปที่ 3



Create Date : 03 กรกฎาคม 2548
Last Update : 6 กันยายน 2548 3:30:10 น.
Counter : 2189 Pageviews.

12 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ประสบการณ์ ทำพาสปอร์ตที่สายใต้ใหม่ newyorknurse
(2 ม.ค. 2567 17:45:17 น.)
  
- ข้อถือสิทธิ ไม่ได้พูดถึง ล้อฉาก 7 ครับ

ถ้าพูดว่าล้อฉากเท่านั้น จะไม่ชัดเจนครับ . .

- ขาตั้งหน้า-หลัง 8 และแกนเชื่อม 9 ควรระบุตัวเลขให้ครับถ้วน

-ควรมีภาพ 3 มิติอีกหนึ่งรูป แสดงรายละเอียดตอนใช้งานจริง เอาไว้ก่อนรูปที่ 1
โดย: eq0 IP: 202.44.14.194 วันที่: 10 กรกฎาคม 2548 เวลา:17:43:57 น.
  
รายละเอียดข้ออื่น ๆ น่าจะใช้ได้แล้ว ชัดเจนแล้ว
โดย: eq0 IP: 202.44.14.194 วันที่: 10 กรกฎาคม 2548 เวลา:17:51:40 น.
  
สมภพน่าจะใช้ลวดสลิง สัก 2 เส้น แทนโซ่ มิฉะนั้น มันอาจรับน้ำหนักของตัวถังรถไม่ได้นะ . .
โดย: eq0 IP: 202.44.14.194 วันที่: 11 กรกฎาคม 2548 เวลา:14:31:43 น.
  
แหะๆๆ บอกระเอียดจัง แหะๆๆ สาเหตุที่ใช้โซ่ เพราะมันมีรูให้ล็อคเท่านั้นครับ

ภาพ 3 มิติ แบบเขาไม่ให้ใช้ภาพถ่ายงะครับ
โดย: สมภพ IP: 203.151.140.111 วันที่: 12 กรกฎาคม 2548 เวลา:20:01:32 น.
  
ใช้ทั้งสองนั่นแหล่ะ . .เสริมกันได้
เขาเรียกว่าแบบผสมผสาน ..
โดย: eq0 IP: 202.44.14.194 วันที่: 12 กรกฎาคม 2548 เวลา:21:24:55 น.
  
ภาพ 3 มิติ เขียนเอาก็ได้ เป็นเส้นต่อกัน แบบข้างบนไง . .

isometric เขียนให้ครบทุกส่วน . .
โดย: eq0 (อีคิวศูนย์ ) วันที่: 14 กรกฎาคม 2548 เวลา:10:42:54 น.
  
มหัศจรรย์จริงๆ ที่จริงเขาก็ส่งตัวอย่างของคนอื่นจดมาให้ ก็มีลายเส้นแบบสามมิติด้วย แต่ไม่รู้เขาใช้วิธีใดวาด ไม่ใช่ Paint แน่นอนใช่ปะ
โดย: สมภพ เจ้าเก่า วันที่: 15 กรกฎาคม 2548 เวลา:10:55:10 น.
  
เขามี visio , photoshop, cad/cam ผมก็ใช้ไม่เป็นหรอกนะ คงต้องหาวานคนอื่นที่เขาทำเป็น . .

ถามคุณเกลือ คุณหนุ่มสุพรรณ ดูสิ . .
โดย: eq0 (อีคิวศูนย์ ) วันที่: 21 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:59:22 น.
  
isometric คืออะไรเหรอครับ
โดย: kram IP: 58.10.133.241 วันที่: 26 มกราคม 2549 เวลา:17:07:57 น.
  
โดย: รรรรรรรรรรรรรรรรรรรร IP: 203.172.177.208 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:31:32 น.
  
ดีมากมีข้อความดีๆก็หน้าจะบอกกัน
โดย: กิ่งทอง IP: 61.7.142.189 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:19:58 น.
  
อยากทราบว่า สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เป็นกรรมวิธีทำซุปก้อนผักและเห็ด คือสาขาใด ขอให้ท่านผู้รู้ตอบให้ด้วยครับ
โดย: nooew IP: 192.168.10.109, 203.158.205.32 วันที่: 2 กันยายน 2552 เวลา:15:51:34 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sompop.BlogGang.com

สมภพ เจ้าเก่า
Location :
นครราชสีมา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]