หมอลาออกปีละเกือบพันคน.....เกิดอะไรขี้นกับหมอ???
หมอลาออกปีละเกือบพันคน.....เกิดอะไรขี้นกับหมอ???

คำนำ เมื่อเข้ามาในบล็อกนี้แล้วจะเห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหน้าแรกไปทุกวันอาทิตย์ โดยจะเลือกเรื่องที่เก็บไว้ในคลังความรู้นี้นำมาขึ้นเป็นหน้าแรก
ถ้าสนใจข่าวเดิมที่เคยขึ้นเป็นหน้าแรก หรือ จะอ่านข่าวเรื่องอื่นๆ เพิ่มสามารถเข้ามาคันหาเองได้ ขอเชิญคลิกเข้ามาดูบล็อกทางด้านซ้ายมือและลิงค์ทางด้านขวามือของท่านด้วย จะมีเนื้อหาอีกมากมาย ขอเชิญเข้ามาเลือกดูได้

หมายเหตุได้เก็บสะสมข่าวไว้มากหลายเรื่อง เพื่อนำมาใช้อ้างอิงได้ถ้าวันนี้ยังไม่ใช้วันหน้าเกิดนึกถึงจะนำมาอ้างอิงจะได้เข้ามาค้นหา


ข่าวจาก น.ส.พ.คมชัดลึก วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2549

ปลัด สธ.เผยหมอถอดใจลาออกปีละ 800-1,000 คน เหตุงานหนักแถมกดดันถูกคนไข้ร้องเรียน

จัด 4 โครงการตั้งเป้าภายในปี 2553-2562
ผลิตหมอจบใหม่กว่า 22,000 คน

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ที่โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทระหว่าง สธ.และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์และกระจายแพทย์สู่ชนบทให้เหมาะสม ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จะเปิดรับนักศึกษาแพทย์ รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 48 คน
เป็นนักศึกษาแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท 32 คน และ
โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน 16 คน

น.พ.ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีแพทย์ตามโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค 18,900 คน
เฉลี่ยแพทย์ต่อประชากร 1 ต่อ 3,305 คน
หากเปรียบเทียบรายภาค
แพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับภาระมากที่สุด แพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากร 7,466 คน
ขณะที่มีแพทย์ทำงานอยู่ในสถานพยาบาลสังกัด สธ.เพิ่ม 9,300 คน แนวโน้มทำงานหนักมากขึ้น เมื่อเทียบกับปริมาณงานและความรับผิดชอบที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆ

"การเรียนที่หนักและนานถึง 5-6 ปี ทำให้ปัจจุบันเยาวชนรุ่นใหม่สนใจเข้าเรียนแพทย์น้อยลงไปมาก และแพทย์หลายคนยังถูกกระแสสังคมกดดัน มีปัญหาถูกร้องเรียนจากการรักษาเกิดขึ้นเกือบทุกวัน ทำให้แพทย์แทบจะหมดขวัญกำลังใจในการทำงาน ลาออกปีละ 800-1,000 คน บางจังหวัดขาดแคลนแพทย์ถึงร้อยละ 50 แม้รัฐบาลได้ให้การดูแลสวัสดิการ โดยเพิ่มค่าเสี่ยงภัยในจังหวัดชายแดน ค่าวิชาชีพแล้ว ขณะที่มีแพทย์จบใหม่ปีละประมาณ 1,200 คน" ปลัด สธ. กล่าว


น.พ.ปราชญ์ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ นอกจากจะผลิตในระบบปกติปีละ 1,000 คนแล้ว
ในปี 2547-2556 ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นอีกปีละไม่น้อยกว่า 1,200 คน มีแผนรับนักศึกษาแพทย์รวม 4 โครงการ โดยผลิตในสถาบันสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงกลาโหม และ
กรุงเทพมหานคร 2 โครงการ
ได้แก่ แผนรับนักศึกษาแพทย์ปกติของสถาบันผลิตแพทย์ปีละ 1,032 คน

แผนเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มของสถาบันผลิตแพทย์ ปีละ 521-734 คน

ส่วนอีก 2 โครงการเป็นการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทของ สธ.ได้แก่
โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทตั้งแต่ 2538-2549 จำนวน 3,000 คน และ
โครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ตั้งแต่ปี 2547-2556 จะผลิตได้ 3,807 คน หากรวม 4 โครงการจะมีแพทย์จบใหม่ในระหว่างปี 2553-2562 ได้ถึง 22,242 คน ซึ่งเป็นการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ประมาณ 27,000 คน

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ตั้งแต่ พ.ศ.2548-2556 รวม 9 ปี จำนวน 3,232 ทุน และเงื่อนไขทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุน 12 ปี หรือชดใช้เงิน 2 ล้านบาท ในกรณีที่ผิดสัญญา

.........................................................................

ข่าว เพิ่มเติม จาก น.ส.พ.มติชนรายวัน
วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10511

สายใยเอื้ออาทร"หมอ-คนไข้"

คอลัมน์ เดินหน้าชน

โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม

การแก้ปัญหาหมอขาดแคลนนั้นต้องใช้เวลาพอสมควรในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอ แต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการดูแลผู้ป่วยที่ล้นโรงพยาบาล จะทำกันอย่างไร?

บังเอิญไปอ่านเจอในวารสาร theKey ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ฉบับเมื่อเดือนกันยายน-ตุลาคม 2549 ที่มีรายงานถึงแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว นั่นคือการจัดตั้งและพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือพีซียู (Primary Care Unit)

ในวารสารดังกล่าวได้สัมภาษณ์คุณหมอและพยาบาลที่โรงพบาลพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีสภาพไม่ต่างกับที่อื่นๆ

คุณหมอวีระพล ธีระพันธ์เจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา บอกว่า ตั้งแต่มีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนไข้ในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นมาก โดย

ในปี 2548 มีผู้ป่วยนอกวันละกว่า 1,200 คน แต่กว่า 50%
เป็นผู้ป่วยปฐมภูมิที่ไม่จำเป็นต้องถึงมือแพทย์เฉพาะทาง

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาจึงพัฒนาหน่วยแพทย์ปฐมภูมิเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งศูนย์แพทย์ชุมชน ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว และสถานีอนามัยต่างๆ มีการพูดคุยกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับพีซียู โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วยว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี

ที่สำคัญได้รับความสะดวกรวดเร็วกว่าเพราะอยู่ใกล้บ้าน

ในแผนพัฒนาพีซียูของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาจะมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลกับพีซียูมีเกณฑ์การรักษาโรคหลักที่พบบ่อยในแต่ละพื้นที่ เพื่อที่จะให้หมอเวชปฏิบัติหรือพยาบาลที่ดูแลพีซียูดูแลรักษาผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องไปที่โรงพยาบาล

นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงสถานีอนามัยและศูนย์เวชปฏิบัติให้ทันสมัยน่าเข้าไปใช้บริการ มีเครื่องหมายรับรองเป็นโลโก้เพื่อให้ชาวบ้านมั่นใจ

ที่สำคัญพีซียู จะไม่ใช่ตั้งรับรอรักษาผู้ป่วยเท่านั้น แต่จะลงไปคลุกคลีกับชาวบ้านแนะนำการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันให้ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ อีกด้วย ดังนั้น จึงอยากให้ส่วนกลางสนับสนุนพีซียูอย่างจริงจัง ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดภาระของหมอได้เท่านั้น แต่จะทำให้ชาวบ้านเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างแท้จริง

หากทำได้สำเร็จสายใยแห่งความเอื้ออาทรระหว่างหมอกับคนไข้จะกลับมาเป็นสิ่งที่ดีงามของสังคมไทยต่อไป

........................................................................



samrotri(นามแฝง:กบนอกกะลา)เจ้าของบล็อก

ขอยกความคิดเห็นของผู้เข้าชมเวบขึ้นมาใช้ประกอบด้งนี้
.........................................................................
เป็นปัญหาลูกโซ่กันไป
หมอทำงานหนักเลยมีรักษาผิดพลาดกันบ้าง
มีคนร้องเรียน หมอกดดัน ลาออก
หมอน้อย ทำงานหนัก ที่เหลืออยู่เครียด
โอ๊ยยย
จะบ้าตาย

โดย: DiamondTom 15 ธันวาคม 2549 12:56:53 น.
.......................................................................

ตามที่คุณ DiamondTom ว่า เป็นลูกโซ่ หมอทำงานหนักเครียด ก็ผิดพลาด มีคนร้องเรียนก็ลาออก หมอน้อยงานหนักก็เครียด ยิ่งผิดพลาดมาก ยิ่งโดนร้องก็ลาออก ...เป็นวงจรอุบาท การผลิตแพทย์เพิ่ม หวังลดงานให้น้อยลง แต่กว่าจะได้อีก6ปีจึงจะจบแพทย์ ถ้าเราหาทางอุดรูรั่ว ช่วยเหลือหมอ ที่ยังอยู่ ให้สบายขึ้นไม่ดี กว่าหรือ จะแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จะทำอย่างไรให้หมอมีงานน้อยลง

ผมขอเสนอให้ประชาชนดูแลสุขภาพให้แข็งแรงตามแนวทาง 8 อ.เพื่อสุขภาพดีของคนเมืองชล จะได้ไม่ป่วยไข้ คนป่วยน้อยลง แพทย์จะได้สบายขึ้น แนวทางนั้น คือ

อ.1อาหาร ควรได้รับอาหารให้ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย และ ครบ 5 หมู่ มีตรารับรองคุณภาพจากกรมอนามัย เช่น ป้ายอาหารสะอาดรสชาติอร่อย ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8-10 แก้วในผู้ใหญ่ เป็นต้น

อ.2ออกกำลังกาย ครั้งละประมาณ30นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ3วัน การไม่ออกกำลังกายจะทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมอ่อนแอ และ มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยง่าย

อ.3อารมณ์ การสร้างครอบครัวให้อบอุ่น จะทำให้อารมณ์แจ่มใส จิตใจมีความสุข ไม่ป่วยไข้ง่าย

อ.4อนามัยสิ่งแวดล้อม การสร้างสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการมีสุขภาพดี มีระบบสุขาภิบาล ที่ดี ฯลฯ ทำให้สุขภาพดี ตัวอย่าง การจัดโรงเรียนตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีแนวทางกำหนด จากงานอนามัยโรงเรียน กรมอนามัย ให้ตรวจสอบและพัฒนาด้วยตนเองภายในโรงเรียนกันเอง และ มีการตรวจสอบจากภายนอกเพื่อให้การรับรอง ว่าปฏิบัติตามมาตรฐานการเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

อ.5อโรคยา การตรวจสุขภาพประจำปี การป้องกันไม่ให้ป่วย เช่น การสวมหมวกกันน็อกเวลาขี่รถจักรยานยนต์ การรัดเข็มขัดนิรภัยเวลาขับรถยนต์ การทำวัคซีน ฯลฯ

อ.6อบายมุขควรละเลิก เช่น ลด ละ เลิก ยาเสพติด บุหรี่ สุรา การพนัน การสำส่อนทางเพศ การคบคนชั่วเป็นมิตร การเที่ยวเตร่กลางคืน การเกียจคร้านในการทำงาน ฯลฯ

อ.7อาชีพ การมีอาชีพที่สุจริตมีรายได้เพียงพอตามฐานะ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ฯลฯ

อ.8องค์ความรู้ การแสวงหาความรู้ประเทืองปัญญา เพิ่มจากการดูเพื่อประเทืองอารมณ์จากหนังจากละครเพื่อนำความรู้มาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ดังนั้น ถ้าปราถนาสุขภาพดี ควรประพฤติตามสุขบัญญัติ8อ.ข้างต้น ดูว่าทำยาก แต่ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับการฝึกปฏิบัติมิใช่หรือ

จากเรื่องในบล็อกแก็งค์นี้ที่

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=9&blog=18

นอกจากนี้ถ้าออก

กฏกระทรวงสาธารณสุข บังคับ ให้ประชาชนที่ไม่ดูแลสุขภาพเจ็บป่วยบ่อยเกินกว่า คนปกติ ควรจะต้องจ่ายเงินเอง

เช่น กำหนดว่าไข้หวัดควรป่วยด้วยค่ามาตรฐานของคนปกติ ที่ดูแลสุขภาพดี ไม่ควรเกินปีละ 3 ครั้ง (ควรมีการวิจัยหาค่าจริงออกมาก่อนกำหนด)ถ้าใครป่วยเกินค่ามาตรฐาน เกิน 3 ครั้ง ครั้งที่ 4 ให้เสียเงินเอง หรือ ถ้าไม่มีจ่ายให้มาขอแพทย์ จึงฟรีได้ จะทำให้คนต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตัวเพื่อไม่ป่วยไข้ได้

การกำหนดให้สถานพยาบาลใกล้บ้าน ได้แก่ สถานีอนามัย พัฒนาให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ตามเกณฑ์ ที่กำหนดให้มีแพทย์ออกตรวจอย่างน้อย สัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง จะทำให้แพทย์ต้องออกตรวจสถานีอนามัยที่แบ่งให้ดูแลเป็นแพทย์ประจำครอบครัว ในพื้นที่นั้นต้องออกตรวจคนไข้นอกที่ใกล้บ้านประชาชน จะทำให้คนป่วยเล็กน้อยเข้ามารับการรักษาเร็วขึ้น ส่วนตอนบ่ายแพทย์ก็กลับร.พ.มาดูแลผู้ป่วยในในพื้นที่ ที่แพทย์รับผิดชอบ ส่วนเจ้าหน้าที่อนามัย ตอนบ่ายก็ออกเยี่ยมบ้าน ตามเงื่อนไขของการเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ที่จะต้องออกเยี่ยมทุกหลังคาเรือนอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี จะทำให้คนป่วยลดลง
....................................................................

เคยมีคนใกล้ตัวเป็นหมอ
ที่ลาออก หลักๆก็เพราะระบบราชการ
เงินไม่เท่าเอกชน แถมงานก็เครียด
เราไม่รู้หมอคนอื่นคิดยังไง
แต่อดีตคนใกล้ตัวเราเค้าว่างั้นนะ...

โดย: Osaka girL 15 ธันวาคม 2549 15:59:01 น.

......................................................................

เรื่องค่าตอบแทนน้อย ผมว่าถ้าจ่ายตามผลงาน ปัจจุบัน ร.พ.เริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบันทึกการตรวจรักษา เครื่องคอมพ์สามารถรวบรวมว่าวันนี้ หรือ เดือนนี้ แพทย์ท่านใดตรวจคนไข้กี่คน ถ้ามีการจ่ายตามผลงานด้วย นอกจากจ่ายตามตำแหน่ง เท่านั้น
จะทำให้แพทย์มีกำลังใจ งานมากรายได้มาก รายได้เพิ่มขึ้น ก็จะอยู่ในร.พ.ของรัฐบาลต่อไป
จะมีการดูแลคนไข้ให้คนไข้พอใจในคุณภาพของบริการ

คนไข้ก็จะเลือกมาวันที่แพทย์ที่ตนพอใจออกตรวจแพทย์ท่านใด บริการไม่ดีประชาชน ก็จะไม่มาวันนั้น รายได้ตามผลงานแพทย์ท่านนั้นก็จะน้อยเอง ถ้าอยากได้รายได้เพิ่มก็ต้องแข่งกันรักษาพยาบาลให้คนไข้พึงพอใจ
...................................................................

เรายังมะทันฟ้องเลยอ่ะ หมอรีบถอดใจซะแล้ว

เราคิดตรงนี้เหมือนกัน หมอทำงานหนัก เพื่อรักษาดูแลชีวิตคนไข้ บางท่านตั้งใจที่จะทำให้ดีที่สุดเพื่อช่วยชีวิตคนไข้ แต่เกิดความผิดพลาดขึ้น ซึ่งบางสิ่งบางอย่างหมอเองก็ไม่อาจคาดคิด และไม่ได้อยากให้เกิดความผิดพลาด

แต่หมอมีน้อยกว่าจำนวนคนไข้ ทำให้การดูแลคนไข้ไม่ทั่วถึง ความผิดพลาดหลายๆอย่างจึงเกิดขึ้น เพียงแต่ว่าสิ่งที่หมอต้องรับผิดชอบคือชีวิตคนไข้ทั้งชีวิต

การผิดพลาด จึงหมายถึงทั้งชีวิตคนไข้ต้องสูญเสียไป คนไข้บางคนที่โชคดีหน่อยก้อจะกลายเป็นอัมพาตตลอดชีวิต ส่วนที่โชคร้ายอาจจะต้องตาย

อย่างเราสมองขาดอ๊อกซิเจนเกลือบครึ่ง ต้องนอนเป็นเจ้าหญิงนิทราอยู่หลายเดือน มีแต่คนถามเราว่าทำไมเราไม่ฟ้องร้อง แต่อยากให้หลายๆคนคิดดูว่า หมอหลายท่านรักษาคนไข้ด้วยจิตวิญญาญ หมอต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีที่สุด แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่คาดการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่เราขอลงความเห็นตรงนี้ว่า มีหมอบางท่าน (ส่วนน้อย) ที่รักษาคนไข้เหมือนการทำธุรกิจ และมีหมออีกมากมายที่รักษาคนไข้ด้วยจิตวิญาณ ...

ไม่มีใครสามารถตัดสินใครว่าผิดหรือถูกได้ กรรม และการกระทำเท่านั้นที่จะบอกว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด ทุกชีวิตดำเนินไปตามกรรม กรรมคือผู้กำหนด...

โดย: กรวี (กรวี ) 15 ธันวาคม 2549 16:40:33 น.
.......................................................................

ตามที่คุณกรวีว่า
ถ้าเราสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมให้หมอดีอยู่ได้และบังคับหมอไม่ดีที่มีส่วนน้อยให้อยู่ในระเบียบได้ ถ้าเขาปรับตัวได้ก็อยู่ต่อ ถ้าอยู่ไม่ได้ก็จะลาออกไปเอง ทำให้มีหมอดี อยู่ดูและประชาชนต่อไปได้

ตอนนี้ทุกร.พ.จะต้องเข้าสู่ระบบคุณภาพจะมีการเขียนระเบียบปฏิบัติ ให้แต่ละคน ต้องทำตาม ระเบียบที่เขียนขึ้นจะมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการคุณภาพ ภายใน และ ภายนอกตรวจสอบ ว่าเหมาะสม ในการให้บริการหรือยัง

ถ้าผ่านการรับรอง ผู้ที่เขียนจะต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะได้รับการตรวจประเมินให้แก้ไข ถ้าแก้ไม่ได้ ก็จะถูกประเมินโดยคณะกรรมการคุณภาพว่าจะเสนอผู้อำนวยการให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป

.....................................................................

หมอทำงานหนักเนื่องจากคนไข้มากขึ้นทุกวัน บางครั้งแทบไม่มีเวลาพักทานข้าว คนไข้ที่รพ.แม่สอดเยอะมากค่ะ ทั้งพม่า กะเหรี่ยง หมอที่นี่ทำงานหนักมาก แต่น่ารักเกือบทุกคนค่ะ ^__^

หนูเป็นพยาบาลอยู่ ER รพ.แม่สอดค่ะ :)))

ยินดีที่ได้รู้จักคุณหมอนะคะ

โดย: random-4 15 ธันวาคม 2549 17:25:35 น.

...................................................................

ตอบคุณrandom-4

มีแพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี 2549

หมอเฉิดพันธุ์"เงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต"

หมอธวัติ "อยู่ที่ไหนก็สุขได้"

อ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=14&group=7&blog=9

วงการแพทย์เรายังมีหมอดีเด่นอยู่ ดังข่าวข้างต้น

.......................................................................

บล็อคคุณหมอ สีหวานมั่กมาก

โดย: iiou104 (1104 ) วันที่: 15 ธันวาคม 2549 เวลา:19:26:44 น.
................................................................
ขอบคุณครับ คุณ iiou104 (1104 )



Create Date : 17 ธันวาคม 2549
Last Update : 1 เมษายน 2550 14:14:58 น.
Counter : 1728 Pageviews.

2 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
No. 1259 สาระเกือบมี (ตอนทำงานที่ใหม่ ถูกลองดี) ไวน์กับสายน้ำ
(1 ม.ค. 2567 05:58:05 น.)
  









เข้ามาทักทายค่ะ มีความสุขมาก ๆน่ะค่ะ

โดย: icebridy วันที่: 17 ธันวาคม 2549 เวลา:22:08:10 น.
  
ในเวบพันธ์ทิพย์มีการตั้งกระทู้

"ขอเสนอทางแก้ไขปัญหา แพทย์ กับ คนไข้"

ก็อปปี๊ข้างล่างไปวางที่แอดเดรส เข้าไปชมว่าชาวพันธ์

ทิพย์ ออกความเห็นอะไรกันบ้าง

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L4969102/L4969102.html

โดย: ผู้หวังดีต่อสุขภาพประชาชน (samrotri ) วันที่: 19 ธันวาคม 2549 เวลา:23:02:49 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samrotri.BlogGang.com

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด