วัฒนธรรมแผ่นบาง
วัฒนธรรมไทย (ขาวหรือดำ)

คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า หมายถึง ความคิดสวนทางกัน




วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึง ความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน



การท่องเที่ยวในเชิงศิลปวัฒนธรรมได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างประเทศ นั่นอาจเป็นเพราะการได้เดินทางท่องเที่ยวชื่นชมกับความเรียบง่ายในการดำเนินชีวิต ตลอดจนการเรียนรู้ถึงรากเหง้าของตนเองผ่านงานศิลปวัฒนธรรม ได้กลายเป็นส่วนเติมเต็มให้กับชีวิตในยุคดิจิตอล เพราะความล้ำสมัย ความรวดเร็ว ที่มากเกินไปบางครั้งก็ทำให้เรารู้สึกโหยหาอดีต สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิงศิลปวัฒนธรรมที่จัดกันอยู่ในปัจจุบันเท่าที่มีอยู่ มักจะเป็นการเที่ยวชมถนนสายเก่าในย่านเกาะรัตนโกสินทร์ การล่องเรือชมวิถีริมน้ำ หรือการศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ของประเทศสยาม
เกาะรัตนโกสินทร์นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของคนไทยที่ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของประเทศ เพราะเมื่อไหร่ที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือน สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกคงไม่พ้น เกาะรัตนโกสินทร์ แต่มาวันนี้สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์กลับถูกเมินเฉย เพราะเมื่อชีวิตของชาวสยามเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิตอล ก็เริ่มลดความสำคัญรากเหง้าวัฒนธรรมไป



(คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า)

เหตุอาจเกิดจากการแสวงหาความแปลกใหม่ในชีวิต เช่นจากที่เรียนอยู่ในประเทศกลับอยากจะออกไปเรียนต่างประเทศ (ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าประเทศไทยระบบการศึกษาไม่ดีตรงไหน?) หรือ จากที่ท่องเที่ยวในประเทศกลับอยากจะไปเที่ยวต่างประเทศ ก็ไม่ผิดที่จะเปิดโลกกว้างให้ตัวเอง หาความรู้เข้าหาตัวเอง แต่เมื่อกลับจากต่างประเทศนั้น ได้นำความรู้ประสบการณ์มาพัฒนาประเทศตัวเองหรือไม่?

อีกมุมหนึ่งของเกาะรัตนโกสินทร์ มีรูปแบบวัฒนธรรมน่าตกใจ เพราะมี

กระแสเรียกร้องให้มีการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อต้นปีพุทธศักราช 2550 ชาวพุทธ ๗ องค์หลัก กล่าวคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัมนิกาย, คณะสงฆ์จีนนิกาย,และ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มต้นเรียกร้อง ต่อมา กลุ่มชาวพุทธได้ขยายเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศและได้ผนึกกำลังกันเรียกร้องขึ้นมา

โดยก่อนหน้านั้น เมื่อพ.ศ. 2546 สมัยรัฐบาลของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นักวิชาการชาวไทยพุทธได้เขียนตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและกล่าวไว้ว่า ‘พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ’ แต่ถูกนายวินัย สะมะอุน ชาวมุสลิม ท้วงติงว่ากล่าวเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีในรัฐธรรมนูญและอาจขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย
ทำให้กรมวิชาการต้องสั่งให้ตัดประโยคดังกล่าวออกไปจากหนังสือซึ่งเป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทุกเล่ม ซึ่งหมายความว่าถ้าจะบอกว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของไทย ก็จะกล่าวได้แต่เฉพาะในกรณีที่ไม่เป็นทางการเท่านั้น



ในการเรียกร้องครั้งนี้ มีแกนนำพระสงฆ์หลายรูปที่ออกมาสนับสนุน อาทิ พระพรหมมังคลาจารย์ ปัญญานันทภิกขุ, พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระธรรมกิตติเมธี, พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร), พระเทพวิสุทธิกวี (เกษม), พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์), พระมหาโช ทัศนีโย ฯลฯ นักวิชาการและชาวพุทธที่เขียนบทความ หรือให้สัมภาษณ์สนับสนุนได้แก่ ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ซึ่งเขียนบทความหลายชิ้นลงหนังสือพิมพ์ข่าวสดและมติชนเพื่อสนับสนุน, ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ ซึ่งเปิดเวปไซต์ส่วนตัวชี้แจงเหตุผล, นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ กรรมาธิการฯ ประจำรัฐสภา, นาย บรรหาร ศิลปอาชา, พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล, พลตรี ทองขาว พ่วงรอดพันธุ์, เปลว สีเงิน คอลัมนิสต์ชื่อดัง, นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ, นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ เป็นต้น
กลุ่มชนที่ไม่เห็นด้วยได้แก่ เมตตานันโท ภิกขุ, พระไพศาล วิสาโล, ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ภิกษุณี ธัมมนันทา, น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ, นาย ธงทอง จันทรางศุ

เรื่องนี้ได้ยุติลงที่ร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ไม่ได้ระบุว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

(ข้อมูลบางส่วนขอขอบคุณวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

วัฒนธรรม ยังหมายถึง ความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน อยู่หรือเปล่า?



Create Date : 09 สิงหาคม 2550
Last Update : 26 กันยายน 2550 15:10:48 น.
Counter : 726 Pageviews.

7 comments
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 379 "เรื่องที่มักเข้าใจผิด" สมาชิกหมายเลข 7115969
(29 มิ.ย. 2568 21:39:38 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 378 "ฝันที่ไม่เคยเป็นจริง" สมาชิกหมายเลข 7115969
(10 มิ.ย. 2568 22:50:45 น.)
ดีลลับ​คือ​กับดักมรณะ​ (Secret​ deal​ is​ a death trap) ปรศุราม
(21 พ.ค. 2568 17:40:44 น.)
ลำปางวิกฤติ ชามตราไก่สะเทือน เมื่อทุนจีนรุกราน สมาชิกหมายเลข 7115969
(16 พ.ค. 2568 21:31:30 น.)
  
ไม่ใช่หน้าที่ของพระเลยที่มาเดินขบวน ทำตัวไม่น่าเคารพเป็นอย่างยิ่ง พระไม่น่าจะมาอยู่ทางโลกพวกท่านเดินเข้าส่ทางธรรมกันแล้ว ต้องตัดให้ได้สิกิเลส
โดย: aday IP: 58.8.150.109 วันที่: 9 สิงหาคม 2550 เวลา:23:54:01 น.
  
พระเเค่คิดจะมาชุมนุมก็ผิดเเล้ว
มันไม่ใช่กิจของสงฆ์
พระที่ดีมีเยอะ เเต่พระที่ออกมาชุมนุมนั้นเป็นพระที่นอกลู่นอกทาง
บางทีถ้าเมืองไทยมันวุ่นวายเเบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มันก็น่าจะออกไปเมืองนอกอยู่หรอก
โดย: สุภาพบุรุษสุรา (communist ) วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:0:50:10 น.
  

บอกตรงๆนะค่ะ
อ่านแล้วงงๆ
พูดถึงการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม
แล้วมาเชื่อมโยงกับเรื่อง...
บรรจุศาสนาพุทธในรัฐธรรมนูญอย่างไร
งงจริงๆค่ะ
โดย: คุณครูตัวกลม (คุณครูตัวกลม ) วันที่: 12 สิงหาคม 2550 เวลา:22:58:06 น.
  
วัฒนธรรมคือสิ่งที่กำหนดวิถีชีวิตของคนในส้งคม
โดย: อัศวินม้าไม้ (กล่องความทรงจำ ) วันที่: 15 สิงหาคม 2550 เวลา:3:33:48 น.
  
ทำไมหนอศาสนาถึงเปลี่ยนแปลงไป ?
อาจเป็นเพราะอิทธิพลของวัฒนธรรมเข้าแทรกแซง
หรือว่าจิตใจเราต่างหากที่เปลี่ยนไป...

ราตรีสวัสดิ์จ้า
โดย: กระต่ายน้อย (tai_kko ) วันที่: 15 สิงหาคม 2550 เวลา:23:47:33 น.
  
ขอบคุงมากนะ
โดย: อัศวินม้าไม้ (กล่องความทรงจำ ) วันที่: 17 สิงหาคม 2550 เวลา:1:46:41 น.
  
วัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมของสังคมมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่แล้ว
โดย: Teddy bear (Teddy BearZa ) วันที่: 18 สิงหาคม 2550 เวลา:21:06:00 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Nupheungza.BlogGang.com

Ice PureZA
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]