ความรู้พื้นฐานสำหรับการลงทุนในตลาดอนุพันธ์ (ตอนที่1)

ผมเขียนบทความนี้ให้เพื่อน ๆ ที่เริ่มต้นศึกษาการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เลย เนื้อหาจะเป็นเรื่องพื้นฐานมาก ๆ เพราะคิดว่า ถ้าเนื่อหาลึกกว่าที่เขียน ก็จะมีอยู่ตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อยู่แล้ว ลองดูนะครับ ถ้ามี comment จะขอบคุณครับ




การลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์ ตอนที่ 1 :  แนวคิดพื้นฐานของอนุพันธ์


การลงทุนในสินทรัพย์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ


1.       หุ้น  ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล ซึ่งขึ้นกับผลประกอบการขององค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ และหากบริษัทนั้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนอาจได้ผลตอบแทนจากราคาที่เปลี่ยนแปลงไปได้ เนื่องจากผลตอบแทนในแต่ละรอบบัญชีอาจไม่เท่ากัน ไม่สามารถคาดเดาได้ การลงทุนในหุ้นจึงมีความเสี่ยง ทำให้ความคาดหวังต่อผลตอบแทนจะสูง


2.       ตราสารหนี้ ในการลงทุนกลุ่มนี้จะรวมถึงการฝากเงินสถาบันการเงิน การให้กู้ยืม ผู้ลงทุนจะทราบตั้งแต่เริ่มลงทุนว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไร โดยความเสี่ยงเดียวที่ผู้ลงทุนจะต้องเผชิญคือ หากผู้ออกตราสารล้มละลายก็จะไม่มีเงินมาจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย แต่หากไม่เกิดภาวะดังกล่าว ผู้ลงทุนก็จะได้เงินตามที่ตกลงไว้ตั้งแต่ต้น การลงทุนในกลุ่มนี้ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่ากลุ่มแรก จึงมีความคาดหวังต่อผลตอบแทนที่ต่ำกว่า


3.       สินทรัพย์อื่น ๆ เช่น การลงทุนในทองคำ อัญมณี ที่ดิน งานศิลป เป็นต้น ผู้ลงทุนมีความคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนจากราคาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเดียว จะไม่มีเรื่องของเงินปันผลมาเกี่ยวข้องเหมือนในกลุ่มที่ 1



 



นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการลงทุน เรียกว่า ตราสารอนุพันธ์ (derivative)


ตราสารอนุพันธ์ หมายถึงข้อตกลงระหว่าง บุคคล 2 บุคคล ที่มีมุมมองต่างกัน ทำข้อตกลงกัน โดยข้อตกลงนั้นมีสาระสำคัญ 2 ส่วนคือ


                มีการอ้างอิงกับราคาของสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง และ มีวันที่หมดอายุของข้อตกลง


ตัวอย่างเช่น นาย ก.และนาย ข.ได้ทำข้อตกลง ที่มีการอ้างอิงของราคาทองคำ ที่บาทละ 20,000 บาท โดยมีอายุ 3 เดือน โดยนาย ก. เป็นผู้ซื้อ และนาย ข.เป็นผู้ขาย


ในวันที่มีการทำข้อตกลง นายก. ได้ชำระเงินให้นาย ข. ในฐานะผู้ซื้อ เป็นเงิน  20,000 บาท และนาย ข.เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในฐานะผู้ขาย เมื่อเวลาผ่านไปจนครบตามข้อตกลง หากราคาทองคำอยู่ที่บาทละ 21,000 บาท นายก. จะได้รับเงินเพิ่มจากนายข.อีกเป็นเงิน 1,000 บาท (หรือได้รับเงินคืนทั้งสิ้น 21,000 บาทจากนายข.) แต่หากวันที่ครบกำหนดตามข้อตกลง ราคาทองคำอยู่ที่บาทละ 18,000 บาท นายก.จะต้องจ่ายเงินให้นายข.เป็นเงิน 2,000 บาท (หรือได้รับเงินคืนจากนายข. 18,000 บาท)


จะเห็นได้ว่า การชำระเงินจะมี 2 ขา คือขาแรก ในการเริ่มต้นข้อตกลง และขาที่ 2 คือเมื่อครบตามเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง คนที่ซื้อก็จะได้เงินคืนจากผู้ขายตามราคาของสินทรัพย์ในวันนั้น


มีประเด็นที่สำคัญ 2 ประเด็นในตราสารอนุพันธ์คือ ประเด็นแรก จะเห็นว่า แม้ว่าจะมีการอ้างอิงกับสินทรัพย์ใด ๆ แต่การทำธุรกรรมดังกล่าว ไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดังกล่าวเลย เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างคน 2 คนเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดวันที่ครบกำหนดของข้อตกลง เพื่อให้เกิดการล้างสถานะ หรือยุติข้อตกลง เพราะหากไม่กำหนดวันสิ้นสุด ฝ่ายที่ขาดทุนก็จะไม่ยอมยุติข้อตกลง ฝ่ายที่กำไรก็จะไม่ได้ผลตอบแทน


 และประเด็นที่ 2 คือการทำธุรกรรมซื้อขายอนุพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะมีการวางมัดจำ แทนที่จะชำระเงินเต็มจำนวน เช่นในตัวอย่าง อาจมีการเพิ่มในข้อตกลงว่า ชำระเงินเพียง 10%ของราคาเต็ม หรือ นายก.จ่ายเงินเพียง 2,000 บาทให้นายข.เท่านั้น ผลของการวางเงินเพียงบางส่วน ทำให้การลงทุนในอนุพันธ์จะได้กำไรหรือขาดทุนมากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์โดยตรง เช่นในตัวอย่าง กรณีที่ราคาทองเป็น 21,000 บาทในวันที่ปิดสัญญา จะได้ว่า นายก.ลงทุน 1,000 บาท แต่ได้กำไร 1,000 บาทในเวลา 3 เดือน หรือ 100% แต่หากไปซื้อทองคำจริง จะได้กำไรเพียง 5% เท่านั้น และแน่นอนว่าฝั่งที่ขาดทุนก็จะขาดทุนมากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์จริง


ปัญหาความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลง จะถูกขจัดไป โดยหากการทำข้อตกลง (หรือการซื้อขายอนุพันธ์)นั้น ทำในตลาดที่ถูกออกแบบขึ้นมา (เช่นตลาด TFEX) เพราะธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะไม่ระบุผู้ซื้อผู้ขาย (เวลาที่เราลงทุนหรือซื้อขายอนุพันธ์ เราจะไม่ทราบว่าใครเป็นคู่สัญญากับเรา) ผู้ซื้อขายทุกรายจะถูกควบคุมโดยบริษัทหลักทรัพย์(โบรกเกอร์) ในการวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อชาย และหากหลักประกันไม่เพียงพอก็จะมีการเรียกหลักประกันเพิ่มขึ้น ทำให้ความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงหมดไป


ตราสารอนุพันธ์ที่มีการซื้อขายในตลาดมาตรฐาน มีการอ้างอิงกับสินทรัพย์หลายประเภทเช่น ดัชนีหุ้น หุ้นรายตัว ทองคำ อัตราดอกเบี้ย ราคาข้าว ราคายาง เป็นต้น


ตราสารอนุพันธ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มที่สำคัญคือ


1.       สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures) จะมีลักษณะเหมือนตัวอย่างข้างต้น เรื่องข้อตกลงราคาทอง คือเมื่อได้ทำสัญญาแล้ว หากราคาที่วันหมดอายุเป็นเช่นไรก็ต้องชำระราคาส่วนต่างตามตัวอย่าง


2.       สัญญาสิทธิ (options) ลักษณะที่แตกต่างจากประเภทแรกคือ ผู้ซื้อจะมีสิทธิในการเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ใช้สิทธิแต่ผู้ขายจะไม่มีสิทธิเลือก ต้องแล้วแต่ผู้ซื้อ


(มีตราสารอนุพันธ์อีก 2 ชนิดแต่ขอไม่กล่าวถึงเพื่อให้เนื้อหากระชับ)



 


ตัวอย่าง options ในชีวิตจริง เช่น นายก. ไปจองคอนโดราคา 3 ล้านบาท โดยซื้อใบจองที่ราคา 3 หมื่นบาท  และจะชำระส่วนที่เหลือ 2.97 ล้านบาทในอีก 1 เดือนข้างหน้า หากราคาคอนโดใน  1 เดือนข้างหน้าเพิ่มเป็น 3.1 ล้านบาท นั่นหมายถึงนายก. จะได้กำไร 1 แสนบาท จากการลงทุน 3 หมื่นบาท เพราะได้คอนโดในราคาเก่า  (กรณีนี้คือผู้ซื้อใช้สิทธิ ผู้ขายหรือบริษัทขายคอนโดก็ต้องทำตามข้อตกลง) แต่หาก อีก 1 เดือนข้างหน้า ราคาคอนโดตกลงไปที่ 2.9 ล้านบาท นายก.คงไม่ยอมจ่ายเงินอีก 2.97 ล้านบาทตามข้อตกลง เพราะฉีกใบจองทิ้งเอาเงิน 2.9 ล้านไปซื้อเลยก็ยังถูกกว่า นั่นหมายถึงนายก.เลือกที่จะไม่ใช้สิทธิการจองนั้นได้


        หากนายก.ทำสัญญาแบบ futures นั่นหมายความว่าหากราคาคอนโดตก นายก.ก็ยังตัองจ่ายเงินเต็มตามสัญญา เพื่อซื้อคอนโดนั้น ทำให้นายก.เกิดการขาดทุน (เพราะซื้อแพงกว่าราคาตลาด)


        เมื่ออยู่ในตลาดมาตรฐาน เราสามารถขายหรือซื้อ สัญญาดังกล่าวกับผู้ลงทุนรายอื่นก่อนที่จะครบกำหนดได้ (เพื่อปิดสถานะการลงทุน) โดยราคาที่ซื้อหรือขายจะขึ้นกับความพึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย เช่นกรณีใบจองคอนโด หากเรารู้ว่าราคาคอนโดขึ้นไป 1 แสนในสัปดาห์แรก เราอาจขายใบจองดังกล่าวในราคา 1.3 แสนให้ผู้ลงทุนรายอื่นได้หากเขายอมซื้อ เมื่อขายไปแล้ว เราก็หมดสิทธิในข้อตกลงดังกล่าว ผู้ที่ซื้อจากเราไปก็ได้สิทธิตรงนั้นไป หรือหากมีการคาดการณ์ว่าคอนโดจะมีราคาขึ้นอย่างมากในวันที่หมดอายุใบจอง อาจมีคนขอซื้อใบจองที่ 1.5แสนก็ได้


จบตอนที่ 1


 


 






Free TextEditor



Create Date : 31 ธันวาคม 2553
Last Update : 24 มกราคม 2554 9:50:06 น.
Counter : 3150 Pageviews.

15 comments
  
ขอบคุณคับ สำหรับมือใหม่อย่างผม
โดย: kitti IP: 58.10.167.85 วันที่: 31 ธันวาคม 2553 เวลา:17:53:31 น.
  
จ้าา มีความสุขมากค่ะ

Photobucket

ชอบๆๆ
โดย: Junenaka1 วันที่: 31 ธันวาคม 2553 เวลา:18:20:30 น.
  



สวัสดีปีใหม่ 2554 ขอให้สุข

หมดสิ้นทุกข์ กายจิต มิผิดผัน

อายุมั่น ขวัญยืน สี่หมื่นวัน

แสนสุขสันต์ สุขภาพดี มีเงินทอง

โดย: หน่อยอิง วันที่: 31 ธันวาคม 2553 เวลา:18:32:39 น.
  

ส่ง...ขอให้สุขใจได้สมมารถ
ความ..หวังปรารถสิ่งใดที่ขอนั้น
สุข...สิ่งขอจงพบเร็วคืนวัน
พรอนันต์ฉันขอจงเกิดมี....

มอบให้ จขกท...และทุกๆคนที่เข้ามาอ่าน....ค่ะ

โดย: dawreung51 วันที่: 31 ธันวาคม 2553 เวลา:18:43:45 น.
  
ขอบคุณสำหรับคำอวยพรจากทุกท่านนะครับ
ขอพรจงกลับคืนไปยังผู้ให้ ขอให้ปีหน้าเป็นปีที่ดีสำหรับเราทุกคนนะครับ
โดย: krit587 วันที่: 31 ธันวาคม 2553 เวลา:19:25:24 น.
  
สวัสดีปีใหม่ครับ

เข้าใจ ชัดเจนกว่าที่เคยรู้มาครับ

ขอบคุณครับ
โดย: totobest IP: 180.210.216.131 วันที่: 5 มกราคม 2554 เวลา:18:11:08 น.
  
ขอบคุณครับกำลังหาเรื่อง Opions อยู่พอดี จะตามอ่านให้หมดเลยครับ ^^
โดย: NaNoMat^^ วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:18:57:29 น.
  
น่าจะพิมพ์ผิด
นายก.ลงทุน 1,000 บาท แต่ได้กำไร 1,000 บาทในเวลา 3 เดือน หรือ 100%

น่าจะเป็นว่า นายก.ลงทุน 2,000 บาท แต่ได้กำไร 1,000 บาทในเวลา 3 เดือน หรือ 50%
ใช่มั้ยครับ
โดย: U1000 IP: 58.8.153.69 วันที่: 18 มกราคม 2554 เวลา:17:43:27 น.
  
ใช่ครับ ผิดจริง ๆ ต้องแก้อย่างที่คุณ u1000 ครับ
ขอบคุณครับ
โดย: krit587 วันที่: 18 มกราคม 2554 เวลา:21:32:36 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ ติดตามค่ะ
โดย: 3am IP: 183.89.205.126 วันที่: 23 มกราคม 2554 เวลา:17:41:58 น.
  
บทความน่าสนใจมากค่ะ อยากหาอะไรแบบนี้อ่านอยู่พอดีเลย ขอบคุณค่ะ
โดย: Paula IP: 58.11.98.218 วันที่: 24 มกราคม 2554 เวลา:13:03:50 น.
  
Thank you very much!!!
โดย: aui_auto IP: 202.28.27.2 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:15:32:42 น.
  
ลงชื่อเข้าห้องเรียนค่ะ เปงนักเรียใหม่ จะตามไประดับ intermediate level ให้ได้เร็วๆๆ นี้จ๊ะ
โดย: genie (จีนี) IP: 10.0.2.208, 125.25.252.5 วันที่: 22 มิถุนายน 2554 เวลา:4:42:37 น.
  
อธิบายเข้าใจง่ายดีครับ
โดย: kenkoong IP: 58.9.6.137 วันที่: 15 มกราคม 2556 เวลา:14:41:23 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Krit587.BlogGang.com

krit587
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]

บทความทั้งหมด