เทียวอีสานใต้ ขอบคุณของแต่งบล็อกโดย... ไลน์สวยๆโดย...ญามี่ / ภาพกรอบ กรอบ goffymew / โค๊ตบล็อกสำหรัมือใหม่ กุ๊กไก่ / เฮดบล็อก เรือนเรไร /ไอคอน ชมพร / สีแต่งบล็อก Zairill /ภาพไอคอนRainfall in August / แบนด์Banner..การ์ตูน ... oranuch_sri สุรินทร์ มีที่น่าเที่ยวและประวัติศาสตร์ สุรินทร์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา อาทิ เขมร กูย และลาว (ไทยอีสาน) มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24 ![]() อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) ![]() งานแสดง....ช้าง ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โบราณสถาน กลุ่มปราสาทตาเมือน อยู่ที่ ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทภูมิโปน ชื่อที่แท้จริงตามจารึกที่ค้นพบ คือ "กฤตฺชญนคร" เป็นชุมชนขอมโบราณดั้งเดิม ตั้งอยู่ที่ บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย อยู่ที่ บ้านจาน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหมื่นชัย อยู่ที่ บ้านถนน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทเต่าทอง อยู่ที่ บ้านตาโมม ตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทยายเหงา อยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทบ้านพลวง อยู่ที่ บ้านพลวง ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทบ้านไพล หรือวัดโคกปราสาท อยู่ที่ บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาททนง อยู่ที่ บ้านปราสาททนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทอังกัญโพธิ์ อยู่ที่ บ้านอังกัญโพธิ์ ตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทโอรงา อยู่ที่ บ้านโคกสะอาด ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทเขาพนมสวาย อยู่ที่ในวัดพนมศิลาราม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตราประจำจังหวัด : พระอินทร์ทรงประทับช้างเอราวัณอยู่หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ (เดิมเรียกว่าปราสาทหินบ้านระแงง) พระอินทร์ หมายถึง เทพเจ้าผู้ทรงเก่งกาจสามารถ ช้าง หมายถึง เมืองที่มีช้างอยู่มากมาย ปราสาทหิน คือ ปราสาทศีขรภูมิ ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกันเกรา ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกันเกรา พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : มะค่าแต้ สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลานวลจันทร์น้ำจืด ธงประจำจังหวัด : ธงสีเขียว-เหลือง-แสด ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดติดอยู่ เทศกาลท่องเที่ยว ประเพณีเทศกาลงานช้างและงานกาชาดจังหวัด (มีการแสดงแสงสี การแสดงของช้าง ทั้งในงานและนอกงานที่ปราสาทศีขรภูมิ และงานจัดเลี้ยงโต๊ะอาหารช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) รวมสถิติโลกโดย กินเนส เวิรลด์ เรคคอร์ด) เทศกาลกันตรึมดนตรีพื้นเมืองสุรินทร์ การท่องเที่ยวเพื่อตามรอยอารยธรรมขอมโบราณ ณ แหล่งโบราณสถานของอำเภอต่าง ๆ ประเพณีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ ประเพณีขึ้นเขาพนมสวาย บูชาเทพเจ้า สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 9 ประเพณีบวชนาคบนหลังช้าง ณ ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม เทศกาลงานข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ประเพณีแข่งเรือ ณ แม่น้ำมูล อำเภอท่าตูม ประเพณีนมัสการขึ้นกลุ่มปราสาทตาเมือน เทศกาลสนมเมืองดอกจาน ประสานใจไหว้ปู่ตา (มีการประกวดธิดาเมืองดอกจาน ผ้าใหมลายดอกจาน พร้อมแสงสีเสียง และยังมีขบวนแห่ที่ยาวมาที่สุดในภูมิภาคสุรินทร์เหนือ งานจัดแสดงสินค้าของดีเมืองดอกจาน) ณ อำเภอสนม ประเพณีสืบสานตำนานปราสาทภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ (มีการแสดงแสงสีเสียง ตำนานเนียงด็อฮฺธม ช่วงวันที่ 8 - 12 เมษายน ทุกปี) ประเพณีบุญบั้งไฟประจำปี ณ.อำเภอรัตนบุรี มีการประกวดขบวนแห่ ขบวนรำ และจุดบั้งไฟขึ้นสูงใหญ่ที่สุดใน จังหวัดสุรินทร์ ช่วง เดือน พฤษภาคมของทุก ๆ ปี อ.รัตนบุรี ประเพณีกวนข้าวทิพย์ลอยฟ้า วัดกลางสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จัดขึ้นก่อนวันออกพรรษาของทุกปี งานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและสิ่งศักสิทธิ์คู่เมืองสุรินทร์ (มีการแสดงบนเวทีมากมาย การเชิดสิงห์โต การแสดงงิ้ว มหกรรมอาหารดีหลากหลายของเมืองสุรินทร์) ประเพณีเทศกาลไหว้เจ้าพ่อตาดาน ปลายเดือน พ.ย ของทุกปี อ.สังขะ เทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาด อำเภอชุมพลบุรี จัดขึ้นช่วงสุดสัปดาห์ที่สามในเดือนธันวาคมของทุกปี งานสืบสานตำนานปราสาทยายเหงา ช่วงปลายเดือน เม.ย ของทุกปี ต.บ้านชบ อ.สังขะ ประเพณีปอ๊อกเปรี๊ยะแค (พิธีไหว้พระจันทร์) วัดดาราธิวาส บ้านขนาดมอญ ตำบลตาตุม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี งานไหว้พระธาตุ และงานแสดงแสง สี เสียง ประวัติศาสตร์ นครธีตา-บ้านธาตุ-เมืองรัตนบุรี โดยกำหนดงานบุญ 3-5 วันในช่วงงานบุญเดือนสาม วันมาฆบูชา (ราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี) ส่วนงานเฉลิมฉลองการสร้างเมืองรัตนบุรี หรืองาน ไหว้เจ้าพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรีคนแรก นั้นกำหนดช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี หลังจากงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ![]() cr;วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี |
บทความทั้งหมด
|