พูดอย่างไรไม่ให้ทำร้ายจิตใจเด็ก พ่อแม่และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็กทุกคนนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้คำพูดเพื่อสื่อสาร อบรมสั่งสอน ทำความเข้าใจ และด้วยเหตุผลอีกมากมายหลายประการกับตัวเด็ก คำพูดบางอย่างนั้นทำให้เด็กต่อต้าน ไม่พอใจ ทำร้ายจิตใจหรือทำให้เด็กประชดประชันและสุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้นั้นกลับกลายเป็นตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ในครั้งนี้เจนจะลองเปลี่ยนคำพูดที่เด็กได้ยินบ่อยๆและมักจะไม่พอใจเมื่อได้ฟังมาเป็นคำพูดที่ไม่ทำให้เด็กรู้สึกเช่นนั้นแต่ยังคงความหมายของสิ่งที่ต้องการสื่อไว้ได้เช่นเดิม อาบน้ำช้า เดี๋ยวก็ไปโรงเรียนสายพอดี เร็วๆหน่อยสิลูก เปลี่ยนเป็น หนูจะใช้เวลาอาบน้ำนานกว่านี้ก็ได้นะ แต่หนูคงต้องตื่นเร็วกว่านี้สักครึ่งชั่วโมง แล้วที่สำคัญวันนี้แม่ไม่ได้เผื่อเวลาไว้ด้วย หนูคงต้องรีบกว่าปกติแล้วละคะ ถ้ารู้ว่าซื้อวีดีโอเกมส์ให้แล้วจะเล่นทั้งวันแบบนี้แม่ไม่ซื้อให้หรอก เปลี่ยนเป็น ถ้าแม่มองเห็นอนาคตว่าหนูจะใช้เวลากับวีดีโอเกมส์มากขนาดนี้แม่คงคิดหนักเลยที่จะซื้อให้ ลูกพูดจาก้าวร้าว แทนที่จะว่าลูกว่า กล้าดียังไงมาพูดกับแม่แบบนี้ , ฉันเป็นแม่แกเป็นลูก แกไม่มีสิทธิมาพูดกับฉันแบบนี้นะ เปลี่ยนเป็น หนูรู้ตัวไหมลูกว่าหนูพูดอะไรออกมา , ทำไมหนูถึงพูดกับแม่แบบนี้ละลูก แม่เสียใจรู้ไหม แม่จะออกไปข้างนอกสักพักนึง อย่าแกล้งน้องนะ เปลี่ยนเป็น แม่จะออกไปข้างนอกสักพักนึง หนูช่วยดูแลน้องด้วยนะลูก เมื่อลูกกลับบ้านช้ากว่าปกติมาก บอกความจริงมาเดี๋ยวนี้นะว่าที่กลับบ้านช้านี่ไปทำอะไรมา เปลี่ยนเป็น วันนี้หนูไม่ได้กลับบ้านเวลาอย่างที่เคย มีอะไรที่แม่ควรจะรู้ไหมลูก ลูกเป็นเด็กดีมาตลอดแต่ทำผิดในสิ่งที่คุณคิดว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังและคุณต้องการทราบความจริงอันนั้น เช่น หนีโรงเรียน ฉันอุตส่าห์ดีใจนึกว่าแกจะเป็นคนดี ที่แท้ก็คิดผิด บอกมาเดี๋ยวนี้นะว่าแกโดดเรียนไปทำอะไรมา เปลี่ยนเป็น หนูเป็นเด็กดีมาตลอด ที่หนูไม่ไปโรงเรียนในวันนี้ แม่เชื่อว่าหนูต้องมีเหตุผลจริงๆ หนูมีปัญหาอะไรหรือเปล่าลูก ขอให้แม่ได้มีโอกาสช่วยได้ไหม เมื่อลูกทำผิดเพราะอารมณ์โมโหแล้วพูดจาก้าวร้าวหรือทำร้ายผู้อื่นหรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อื่นใด คุณควรแสดงออกให้ลูกเข้าใจว่า คุณเข้าใจ คุณเห็นใจ (กรณีที่น่าเห็นใจ)แต่คุณยอมรับพฤติกรรมเช่นนั้นของลูกไม่ได้ อย่างเจนเองมีวันนึงเด็กๆที่เจนดูแล รุ่นน้องวิ่งเล่นหยอกล้อกับเพื่อนไม่ได้สนใจเลยว่ามีใครอยู่แถวนั้นบ้าง สุดท้ายก็ไปชนรุ่นพี่กระเด็นก้นกระแทกโต๊ะ พอรุ่นพี่ลุกขึ้นมาได้ก็โมโหกระชากแขนรุ่นน้องแล้วตวาดใส่หน้าว่า พ่อแม่ไม่อบรมสั่งสอนหรือไงวิ่งไม่รู้จักดู ก็เป็นเรื่องเป็นราวมาถึงเจน รุ่นน้องก็บอกว่าเขาไม่ได้ตั้งใจ แล้วก็ฟ้องว่ารุ่นพี่ทำร้ายร่างกายแถมด่าบุพการีเขา แล้วก็ขอให้เจนลงโทษรุ่นพี่ รุ่นพี่ก็บอกว่าเขาเป็นผู้เสียหาย อยู่ดีๆก็เจ็บตัว แล้วเขาก็ไม่ได้ทำอะไรผิด รุ่นน้องต่างหากที่ผิดที่ควรจะถูกลงโทษ เจนก็บอกน้องว่า ครูเชื่อหมดใจว่าหนูไม่ได้ตั้งใจ แต่การกระทำของหนูนั้นขาดความระมัดระวังประมาทเลินเล่อ และเมื่อสิ่งนั้นไปทำให้คนอื่นเจ็บตัวหรือเดือดร้อนแม้จะไม่ได้ตั้งใจแต่ก็ถือเป็นความผิด เมื่ออธิบายให้เข้าใจเด็กก็ยอมรับว่าตัวเองก็ผิด แล้วเจนก็บอกกับพี่ว่า ครูเข้าใจและเห็นใจที่หนูโกรธ หนูไม่ผิดเลยที่จะโกรธเป็นครูๆก็คงจะโกรธเหมือนกัน แต่หนูผิดตรงที่หนูแสดงความโกรธอย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าหนูจะโกรธยังไงหนูก็ไม่มีสิทธิที่จะไปทำร้ายร่างกายหรือด่าว่าถึงบุพการีใคร สุดท้ายเด็กก็ยอมรับว่าตัวเองผิดด้วยเช่นกัน แล้วเจนก็บอกเด็กว่าถ้าจะให้ครูลงโทษก็คงต้องลงโทษทั้งคู่ แต่จะดีกว่าไหมถ้าต่างฝ่ายต่างให้อภัยซึ่งกันและกัน เพราะครูเองก็ลำบากใจมากถ้าจะต้องลงโทษ เพราะเธอทั้งคู่ก็เจ็บตัวเจ็บใจกันไปแล้ว แต่ครูก็ไม่รู้จะทำยังไงถ้าเธอยังยืนยันที่จะเอาผิดอีกฝ่ายให้ได้ สุดท้ายเด็กก็ให้อภัยซึ่งกันและกัน คำว่า กฎ,ระเบียบ,เข้มงวด,ทำโทษ ลงโทษ เด็กและผู้ใหญ่หลายคนฟังแล้วก็ไม่ได้รู้สึกอะไร แต่เด็กและผู้ปกครองบางคนที่มีจิตวิญญาณอิสระ มีความเป็นปัจเจก มีความภาคภูมิใจในตัวเอง หรือให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคลสูงมาก กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมีปฏิกิริยาต่อต้านในทันทีเมื่อได้ยินคำเหล่านั้น ถ้าเราจำเป็นต้องพูดกับบุคคลกลุ่มนี้โดยที่ต้องการรักษาน้ำใจหรือไม่ให้เกิดแรงต่อต้านหรือด้วยเหตุผลอื่นใดให้เลี่ยงไปใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันแต่ฟังดู่นุ่มนวล อ่อนโยนกว่าแทน เช่น กฎ เปลี่ยนเป็น ข้อตกลง ระเบียบ เปลี่ยนเป็น แนวทางปฏิบัติ เข้มงวด เปลี่ยนเป็น เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด , ดูแลอย่างใกล้ชิด ทำโทษ ลงโทษ เปลี่ยนเป็น กระบวนการปรับพฤติกรรม ถ้ากับเด็กของเจนเองเจนใช้คำว่า กระบวนการฟื้นฟูความน่ารัก บางอย่างที่ไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิดหรือเป็นสิ่งที่ยากจะตัดสินว่าเหมาะสมหรือไม่นั้นก็ไม่ควรไปตัดสินให้เลี่ยงไปใช้เหตุผลอื่นที่ไม่ให้มีใครเสียหน้าแทน อย่างเด็กที่เจนดูแลมีคนนึงเธอชอบใส่น้ำหอมมาโรงเรียนมาก ครูบางท่านก็ไม่ชอบหรือคิดว่าไม่เหมาะสม คราวนี้ถ้าเราจะไปห้ามเด็กบอกว่าไม่เหมาะสมเด็กก็อาจจะถามกลับมาได้ว่าใช้มาตรฐานอะไร ถ้าจะบอกว่าเด็กทำผิดกฎเราก็ไม่เคยเขียนเรื่องนี้ไว้ในกฎและถ้าเราห้ามแล้วเด็กยังฝืนทำแล้วเราทำโทษเด็ก เราก็จะกลายไปเป็นพวกชอบใช้อำนาจบาตรใหญ่ในสายตาเด็กและผู้ปกครอง เรื่องนี้เจนเลยให้ครูประจำชั้นบอกเด็กบอกว่าครูและครู...และครู...แพ้น้ำหอม ได้กลิ่นแล้วไมเกรนขึ้น หนูไม่ใส่มาจะได้ไหมลูก สุดท้ายเด็กก็ยอมทำตามอย่างง่ายดายโดยที่ไม่มีใครเสียความรู้สึกแต่อย่างใดทั้งสิ้น ส่วนการชมเด็กนั้นส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องความไม่พอใจเมื่อได้ฟังแต่หลายครั้งการชมนั้นทำให้เด็กกดดันว่าจะต้องทำให้ได้เท่ามาตรฐานแบบนี้หรือดีกว่านี้อีกในอนาคต เช่น ลูกสอบได้ที่หนึ่งคุณบอกลูกว่า แม่ดีใจและภูมิใจมากเลยที่หนูสอบได้ที่หนึ่ง ถามว่าเด็กชอบไหม ดีใจไหมไหม มีความสุขไหม บอกได้เลยว่ามี แล้วถ้าถามต่อว่าสอบเที่ยวหน้าเด็กจะกดดันไหม ก็บอกเลยว่ากดดันเช่นเดียวกัน อย่างนั้นเปลี่ยนเป็น แม่ดีใจและภูมิใจมากเลยที่ลูกขยันจนสอบได้ที่หนึ่ง แต่จริงแล้วถ้าลูกขยันขนาดนี้ไม่ว่าจะสอบได้ที่เท่าไหร่แม่ก็ดีใจและภูมิใจเช่นเดียวกัน ชมแบบนี้เด็กจะยังคงดีใจ ภูมิใจ มีความสุขเหมือนเดิมแต่ไม่กดดัน (บทความนี้เขียนขึ้นจากความรู้สึกและประสบการณ์ไม่ใช่งานวิจัยหรือเอกสารทางวิชาการ คุณพ่อคุณแม่จะคิดเห็นเช่นไรนั้นขอได้โปรดใช้วิจารณญาณตัดสินใจด้วยตัวเอง) เจน ทักทายค่ะ ดึกๆ ฝันดีค่ะ
โดย: Junenaka1
![]() โดย: apct5501
![]() โดย: aodblo22
![]() โดย: aodblo22
![]() แวะมาเยี่ยมชมครับ
Samsung Assembly Lens P Illumination Part Bp96 01725B โดย: BoonsermLover
![]() ใครสนใจรายได้เสริมอาทิตละ 5,000-20,000 บาททักมาคับ. ปรึกษาฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
//www.koseth.thefirst-power.com/ โดย: koda IP: 124.120.101.128 วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:21:32:06 น.
คำพูด
แค่เพียงเปลี่ยนถ้อยคำ ความหมายเปลี่ยนไปคนละเรื่องเลยนะครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() ดีจังเลยค่ะ จะได้ปรับพฤติกรรมตัวเองเอามาใช้กับลูก ให้บัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่นกัน แต่กว่าจะได้อ่านเจอบทความดีๆนี้ ก็ทำเอาแย่ๆไปหลายหนกับความรู้สึกของลูก
โดย: นันท์ IP: 171.7.65.43 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา:8:16:34 น.
|
บทความทั้งหมด
|