การพูด presentation ให้สู้ฝรั่งได้ (ตอนที่ ๒)
การฝึกซ้อมพูด

๑. การฝึกซ้อมพูดนี้ แนะนำให้ซ้อมตั้งแต่เนิ่นๆค่ะ ต้องทำควบคู่ไปกับการเตรียมสไลด์ในหัวข้อข้างบนค่ะ เวลาเตรียมเนื้อหาจบ ๑ สไลด์ ก็ให้ซ้อมพูดสไลด์นั้นค่ะ เพื่อจะได้รู้ว่าเราจะพูดอะไรบ้าง จะเขียนหรือใส่รูปอะไรเพิ่มเพื่อให้เข้าใจง่ายขี้น และจะได้กะเวลาในการพูดคร่าวๆได้ค่ะ

๒. แนะนำให้ซ้อมพูดทุกวัน วันละนิดก็ยังดีค่ะ จะได้ไม่ประหม่าและเครียดเวลาใกล้ๆค่ะ การพูดของเราจะพัฒนาเป็นขั้น ดังนี้ค่ะ

a. ขั้นแรก เราจะพูดเยอะ ใช้เวลานานมาก เพราะเราจะพูดอธิบายวกไปวนมา เพราะเรายังจัดลำดับความคิดไม่ดีค่ะ แต่ขั้นตอนนี้ ทำให้เรารู้ว่าเราจะพูดอธิบายอะไรบ้างค่ะ

b. ขั้นที่สอง เราจะเริ่มรู้ว่าจะพูดอะไรบ้าง ให้เขียนออกมานะคะ แล้วเราจะเริ่มจำได้ค่ะ ขั้นตอนนี้ ขอแนะนำให้หาที่อัดเสียง หรือวีดีโอก็ได้ แล้วอัดเสียงที่เราพูดค่ะ จากนั้น เวลานั่งรถไปเรียน เวลาทานข้าว หรือเวลาไหนที่ว่างๆ ก็เอาเทปมาเปิดฟัง จะได้จำได้แม่นขี้น และไม่ต้องเหนื่อยพูดซ้อมบ่อยๆจนคอเจ็บได้ค่ะ ข้อแนะนำอีกอย่าง คือ เวลาซ้อมพูดสด ให้เรายืนค่ะ อาจจะเดินไปมา ทำไม้ทำมือได้ค่ะ จะทำให้เรามีความมั่นใจ และจำได้ดีขึ้นค่ะ

c. ขั้นที่สาม หลังจากเราจำได้แล้วว่าในแต่ละสไลด์ เราจะพูดอะไรบ้าง คราวนี้ เวลาเราพูด ให้นึกถึงเฉพาะ keywords ค่ะ และอย่าพูดเร็วเกินนะคะ ถ้าเราท่องจำมากเกิน การพูดของเราจะไม่เป็นธรรมชาติค่ะ

๓. แนะนำให้ print สไลด์ออกมาในกระดาษ แต่ละสไลด์ ให้เขียนหมายเลขกำกับลำดับว่าตรงไหนจะพูดก่อนหลังค่ะ อันนี้สำคัญในสไลด์ที่มีรูป กราฟ หรือแผนผังค่ะ

๔. สำหรับการอธิบายกราฟ ให้เริ่มด้วยการอธิบายแกน x แกน y เป็น log scale หรือ linear scale ธรรมดา แล้วอธิบาย legends จากนั้น ค่อยอธิบายผลในกราฟค่ะ ข้อผิดพลาดที่เห็นบ่อยๆ คือ คนพูดอธิบายกราฟเร็วไปค่ะ ให้ใช้เวลาเยอะๆ จำไว้ว่า คนฟังเพิ่งเห็นกราฟนี้เป็นครั้งแรกนะคะ ไม่เหมือนคนพูดที่คุ้นกับการอ่านกราฟนี้มาแล้วค่ะ

๕. การเปลี่ยนจากสไลด์หนึ่งไปอีกไสลด์หนึ่ง ต้องมีการพูดเชื่อม ให้ฝึกซ้อมพูดคำเชื่อมนี้ด้วยค่ะ การพูดของเราจะได้เป็น smooth transition ค่ะ

๖. เวลาที่เค้ากำหนดให้เราพูดเป็นสิ่งสำคัญมากๆค่ะ อย่าเตรียมการพูดไปให้เกินเวลานะคะ ต้องเช็คกับผู้จัดดีๆว่า เวลาที่กำหนดมานั้น รวมช่วงตอบคำถามหรือยัง ส่วนใหญ่ ถ้าเป็น seminar ๑ ชั่วโมง ควรเตรียมพูด ๔๕ นาที แล้วเผื่อไว้ตอบคำถามอีก ๑๕ นาทีค่ะ บางทีเค้าก็จะบอกเรามาเลย เช่นว่า ให้พูด ๑๕ นาที แล้วมีตอบคำถาม ๕ นาทีค่ะ หากเราพูดเกินเวลา คนฟังจะเริ่มกระสับกะส่าย แล้วเวลาเราเห็นเราจะเสียสมาธิไปด้วยค่ะ นอกจากนี้ เวลาที่เราต้องเร่งพูดให้จบไวๆ ก็จะพูดไม่ดีค่ะ บางที moderator จะบอกให้เราหยุดพูดเลยค่ะ ยิ่งทำให้เราประหม่าไปกันใหญ่ค่ะ

๗. การถามคำถามเป็นช่วงสำคัญของการ presentation ที่อเมริกาค่ะ ถ้าการพูดไหนไม่มีคนถามคำถาม คนพูดจะเริ่มรู้สึกไม่ดีค่ะ ว่าคนฟังไม่ได้ฟังเรา หรือฟังแต่ไม่เข้าใจเราเลย เพราะฉะนั้น อย่าไปกลัวคำถามนะคะ การตอบคำถาม ได้เขียนเพิ่มเติมไว้ในหัวข้อถัดไปค่ะ

๘. ถ้ามีคนให้ซ้อมพูดด้วยได้ จะดีมากค่ะ เราจะได้ฝึกตอบคำถามไปด้วย ส่วนมากอาจารยืที่ปรึกษาจะให้เราซ้อมให้ฟังค่ะ ซึ่งเราด็จะได้ข้อติชมด้านเนื้อหาจากอาจารย์มาด้วยค่ะ

วันพูด

๑. ตื่นเช้ามา ให้เริ่มด้วยการบริหารปากค่ะ ใช่แล้วค่ะ บริหารกล้ามเนื้อริมฝีปาก เพื่อการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ชัดเจนขึ้น อันนี้ทำตามหลักการของครูเคทที่สอนการออกเสียงให้เหมือนฝรั่ง และเป็นหลักการฝึกของนักร้องด้วยค่ะ เสียงที่เราออกสับสนบ่อยๆ คือเสียง r กับ l ค่ะ และเสียงอื่นๆอีก การออกเสียงภาษาอังกฤษ คือ แต่ละคำต้องขยับปากเยอะๆ เสียงจะชัด ดังนั้น ต้องมา warm up กันค่ะ

a. ขั้นแรกให้ฉีกยิ้ม กว้างๆ ซัก ๕ วินาที พร้อมขยับกรามซ้ายขวาไปมา

b. ขั้นที่สองให้ทำปากจู๋ เหมือนหมู อีก ๕ วินาที

c. ต่อไป อ้าปากกว้างๆ แล้วหุบลง ขยับกรามขั้นลงค่ะ

d. จากนั้น ขยับกรามล่างบน เข้าออกไปมาค่ะ

e. ทำซ้ำสักสองรอบค่ะ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อปากจะขยับง่ายขึ้นค่ะ ลองดูนะคะ อ้อ พยายามหาที่ส่วนตัวทำการบริหารนะคะ คนรอบข้างจะได้ไม่ตกใจเราค่ะ

๒. การแต่งตัว เหมือนจะไม่สำคัญ แต่ถ้าแต่งไม่ดี ก็ทำให้การพูดปั่นป่วนได้ค่ะ เช่น รองเท้า สำหรับคุณผู้หญิงที่ไม่ถนัดรองเท้าส้นสูง ก็ไม่ควรใส่ไปนะคะ ถึงแม้จะทำให้เราดูดีแค่ไหนก็ตาม การที่ต้องยืนพูด ๑ ชั่งโมง โดยเจ็บเท้านี่ ทรมานค่ะ ส่วนเสื้อผ้าให้เลือกที่ใส่สบาย ถ้าเป็นคนเหงื่อออกง่าย (โดยเฉพาะเวลาตื่นเต้น) ก็เลือกเสี้อสีเข้มนะคะ จะได้ไม่เห็นรอยเหงื่อใต้วงแขนค่ะ ส่วนคุณผู้หญิงก็อย่าใส่เสื้อที่สั้นๆนะคะ เดี๋ยวเวลายกมือยกไม้ พุงจะโชว์ค่ะ

๓. การพูดที่ดี ต้องกวาดสายตามองคนดูให้ทั่วๆ ในห้อง seminar บางแห่ง บางทีอาจารย์ professors จะนั่งรวมอยู่ใกล้ๆกันมุมหนึ่ง ก็อย่าหันไปมองเฉพาะมุมนั้น ลองให้เพื่อนที่เรารู้จัก ไปนั่งสักกลางๆห้องสิคะ แล้วเวลาพูด ให้มองเพื่อนคนนั้นบ่อยๆ การเอาสายตาไปไว้กลางห้อง จะทำให้เหมือนเรามองไปทั่วๆทั้งห้องค่ะ

๔. ถ้าใช้ laser pointer ในการชี้ตำแหน่งบนจอ projector ให้ใช้เฉพาะเวลาต้องการชี้ อย่าใช้ตลอดแล้วแกว่งวนๆไปมา คนดูจะเวียนหัวค่ะ ยิ่งถ้าเราประหม่า มือจะสั่น คนอื่นจะยิ่งเห็นมือเราสั่นจาก laser pointer นี่ล่ะค่ะ

๕. ขณะพูด หากมีช่วงไหนที่เรานึกไม่ออกว่าจะพูดอะไรต่อ การหยุดคิดนิดนึงก็ถือว่าไม่เป็นไรนะคะ ข้อสำคัญคืออย่าตกใจค่ะ เดี๋ยวจะยิ่งลืมไปใหญ่ คนฟังบางทีก็ไม่ได้รู้สึกว่าเราหยุดไปนานอะไรค่ะ

๖. ช่วงตอบคำถาม ให้ทวนคำถามของแต่ละคนที่ถามเรามา ก่อนที่เราจะตอบ เพื่อให้คนอื่นได้ยินให้ทั่ว กับเป็นการทวนให้แน่ใจว่าเราเข้าใจคำถามถูกต้อง ถ้าคำถามไหนเราไม่รู้คำตอบ บอกไปได้เลยค่ะ ว่าเราไม่รู้ จากนั้นก็อาจจะใส่ความคิดเรา หรือความเห็นลงไปเพิ่มเติม ว่าถ้าเป็นกรณีอื่น อาจจะเป็นอย่างนี้ๆ หรือว่าเราจะพิจารณา เป็น future work ต่อไปค่ะ

๗. เกร็ดข้อนี้ได้มาจากอาจารย์ของเพื่อนค่ะ ว่างานวิจัยส่วนใหญ่เป็นผลงานที่กำลังทำอยู่ ข่อม฿ลอาจจะเป็นความลับเพราะยังไม้ได้ตีพิมพ์ เวลาไปพูด presentation ในที่ๆเค้ามี laptop ไว้ให้ ก็ให้เปิด powerpoint file ของเราจาก jump drive ของเราค่ะ อย่าไป copy ลงเครื่อง laptop เค้า เพราะจะทำให้มีงานของเราไปอยู่ในที่อื่น ที่คนอื่นอาจcopy เอาไปได้ค่ะ

หลังพูดจบ

๑. งานพูดของเราจะยังไม่จบ แม้ว่าตัว presentation จะจบไปแล้ว จนกว่าเราจะ กลับมาจดรวบรวมคำถามที่ได้มาค่ะ ตลอดจนข้อคิดเห็น คำแนะนำที่ถามจากเพื่อนที่ไปฟังเรา และโดยเฉพาะจากอาจารย์ที่ปรึกษาเราค่ะ

๒. นอกจากนี้ ควรที่จะมีอาจารย์ท่านอื่น ให้คำแนะนำ feedback จากการพูดของเราด้วย อันนี้เราควรไปติดต่ออาจารย์ท่านนั้นๆล่วงหน้า แล้วบอกว่า เราเป็นนักเรียนต่างชาติ เราอยากพัฒนาทักษะการพูด เราขอให้อาจารย์มาเป็น mentor ให้ comments กับเราหลังการพูดได้มั้ยค่ะ

๓. เก็บข้อคิดเห็น และคำถามต่างๆ ไว้สำหรับการเตรียมตัวพูดครั้งต่อๆไปค่ะ คำถามที่ได้มา ทำให้เรารู้ว่าครั้งต่อไป ควรใส่เนื้อหาอะไรเพิ่มเติม หรืออธิบายตรงไหนให้ชัดเจนขึ้นค่ะ ถ้าคำถามที่เราได้มา เราตอบไม่ได้ ก็ควรนำไปถามอาจารย์หรือเพื่อนในแลบค่ะ

ผู้เขียนหวังว่าสิ่งที่ได้รวบรวมมาให้ในบทความนี้ และบทความที่แล้ว จะช่วยให้เพื่อนๆน้องๆ เอาไปลองใช้ได้จริงนะคะ ใครมีประสบการณ์ดีๆ เทคนิคที่น่าสนใจ ช่วยเอามาบอกกันบ้างนะคะ



Create Date : 03 ธันวาคม 2550
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 13:30:11 น.
Counter : 1951 Pageviews.

5 comments
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
เรื่อง ที่เตือนมาจากทนายความ ควรหลีกหนี 20 เรื่องเหล่านี้เพราะ..... newyorknurse
(28 มี.ค. 2567 02:09:48 น.)
  
กำลังจะต้องสอบpresentพอดีเลยค่ะ มีประโยชน์มากๆค่ะ
โดย: jiw IP: 158.108.153.192 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:42:50 น.
  
ขอบคุณค่ะ
โดย: Flowery IP: 202.133.135.178 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:08:39 น.
  
สุดยอดไปเลยค่ะ ช่วยคลายกังวลไปได้เยอะเลยค่ะ

แต่เสียดายที่ได้มาเจอคำแนะนำดีๆ แบบนี้ช้าไปซักหน่อย

เพราะจะต้องขึ้นพรีเซน สัมมนา วันเสาร์ที่ 16 สิงหา 51 นี้แล้วอ่ะคะ

หนูยังไม่ค่อยเข้าใจในผลการทดลองจากเปเปอร์ที่หามาเลยค่ะ

ฮือๆ
โดย: MSU IP: 117.47.130.197 วันที่: 13 สิงหาคม 2551 เวลา:2:07:10 น.
  
นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ผมแสวงหามานาน
ที่ผ่านมาผมพรีเซนต์ห่วยตลอด จนอยู่มหาลัยใกล้จะจบอยู่แล้วก็ยังห่วย
ในรายละเอียดพวกนี้คือความหวังของผม
ขอบคุณมากนะครับ พี่สาวDr
โดย: gear IP: 118.173.151.91 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา:7:32:39 น.
  
อยากบอกผู้เขียนว่า ตอนนี้บุ๊คมาร์ค บล๊อกนี้เอาไว้แล้วค่ะ
ตอนนี้เรียนอยู่ปีสี่ ที่เมืองไทยนี่แหละค่ะ
แต่ก็กำลังพยามพัฒนาตัวเองอยู่มากๆ จะแวะมาีอีกนะคะ
เป็นกำลังให้เขียนบทความดีๆต่อไป
โดย: Srinart IP: 125.27.43.19 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:22:15:11 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Drjoykwanrawee.BlogGang.com

DrJoyKwanrawee
Location :
Davis, California  United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]

บทความทั้งหมด