วิถีชีวิต "คนชนบท" ชนบท หมายถึง ถิ่นที่อยู่อาศัยของประชาคม หรือชุมชน ที่อยู่ห่างออกไปจากตัวเมือง ต่างจาก คำว่า "เมือง" ก็ตรงที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุน้อยกว่า หลายครั้งหลายคราที่ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับวิถึชีวิตของคนชนบท ตัว จขบ.เองก็ถือได้ว่าเป็นคนชนบทคนหนึ่งเหมือนกัน เพราะเกิดมาในครอบครัวชาวนาจนๆคนหนึ่ง ในอ.ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย บ้านเป็นกระต๊อบที่หลังคามุงด้วยจาก ตัวบ้านตีกั้นด้วยไม้ไผ่ พอคุ้มแดด คุ้มฝน ตั้งอยู่หน้าเชิงเขา ชีวิตเติบโตมาด้วยบรรยากาศของการทำนา ทำสวนผัก เลี้ยงปลา วิ่งเล่นขึ้นๆลงๆ อยู่เชิงเข้ากับพวกพี่ชายและน้องชาย แต่โชคชะตาดีกว่าพี่ๆและน้อง ก็ตรงที่ว่ามีคนรับอุปถัมภ์ส่งเสียเลี้ยงดูจนจบป.ตรี เข้ามาอยู่ใน กทม.ตั้งแต่ 8 ขวบ สัมผัสและคลุกคลีอยู่กับสังคมเมือง มลภาวะ แสงสี และชีวิตของผู้คนที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ต่างคนต่างอยู่ ต่างดำเนินชีวิตไป ไม่ข้องเกี่ยวกัน ผิดกับสังคมชนบทที่มีวิถึชีวิตแบบพี่น้อง ถ้อยทีถ้อยอาศัย เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และสิ่งสำคัญที่หาได้ยากและนับวันจะหมดไป นั่นคือ "รอยยิ้ม" เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสพาลูกชายไปเยี่ยมปู่กับย่า ที่อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งไม่ได้มา 5-6 ปีแล้ว ช่วงที่พักอยู่ก็ได้สัมผัสบรรยากาศที่ไม่ได้พบซักเท่าไหร่ใน กทม. วิถึชีวิตที่อยู่อย่างพอเพียง ไม่โลภ ไม่หลง ช่วงนี้ชาวนาไม่ได้ทำนา เพราะเก็บเกี่ยวข้าวไปหมดแล้ว เมื่อมองไปยังทุ่งนา จึงเหลือแต่กองฟางแห้ง วัวควายอยู่กลางทุ่งนา ดูแห้งแล้ง อากาศตอนกลางวันก็ร้อนจัด ส่วนกลางคืนก็หนาวจัด (เหมือนทะเลทรายเลย) แต่กลางทุ่งนา ได้มีการขุดบ่อปลาเอาไว้ 2-3 บ่อ ปู่ก็พาหลานๆไปวิดน้ำ ลงบ่อจับปลา ญาติๆที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงก็ไปช่วยกันอย่างสนุกสนาน จับปลามาได้ก็เผากินกันริมบ่อ ได้ปลามาเท่าไหร่ก็แบ่งกันไปคนละนิด คนละหน่อย เมื่อมาถึงบ้าน จขบ.ก็เป็นแม่ครัวลงมือทำอาหารให้กินกัน ผักและเครื่องปรุงต่างๆ ก็หาเอาจากรอบๆบ้านที่ปู่กับย่าปลูกเอาไว้ เช่น ข่า ตะไคร้ มะกรูด พริก ฯลฯ ไม่ต้องเสียเงินซื้อเลย ทำต้มยำปลาช่อนได้หม้อเบ้อเร่อ แบ่งกันไปได้ 3-4 บ้านแน่ะ สิ่งที่ชอบที่สุด ก็คือ รอยยิ้มและมิตรไมตรีของชาวบ้าน ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน มาต้อนรับ เป็นกันเอง คนเฒ่าคนแก่แวะมานั่งพูดคุยไป กินหมากไป เด็กๆก็วิ่งเล่นกันจนฝุ่นตลบไปหมด ![]() วันมาฆบูชา ไปทำบุญใส่บาตรที่วัด ชาวบ้านก็ทำง่ายๆ ไม่พิธีรีตรองเหมือนในเมือง ชาวบ้านจะนำกับข้าว ข้าว ของหวาน ใส่ตะกร้า ใส่ถาด พอไปถึงวัด จะมีพระนั่งอยู่ 1 องค์ ก็ถวายพระก่อน พอสวดจบ ก็ยกไปใส่ถาดตรงจุดที่วางไว้ให้ แล้วก็กลับ (พอดีจะพาย่าไปหาหมอที่อนามัย) สังเกตดูบ้านเรือนที่นั่งรถผ่านไป ก็เปลี่ยนไปมาก แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งวิถีชนบท บ้านจะมีการก่อปูนแล้ว บางบ้านก็เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น แต่ทุกหลังคาเรือนจะมียุ้งฉาง คอกวัว คอกควายทุกบ้านเหมือนๆกัน ถนนบางช่วงก็เป็นลูกลัง บางช่วงก็เทปูน บางช่วงก็โรยหิน บางช่วงก็ราดยางมะตอย แต่ที่อดแปลกใจไม่ได้ คือ ถนนทำเป็นช่วงๆ ช่วงสั้นๆ ไม่ได้มีการรทำยาวไปจนสุด ถนนที่ราดยางมะตอย ก็เริ่มเป็นหลุมเป็นบ่อ เพราะหน้าถนนทำบางมาก แล้วช่วงที่โรยหิน ก็เกิดสงสัยอีกว่าทำไมไม่เทปูน หรือราดยางไปเลย สอบถามได้ความว่า หินที่นำมาลงนั้น เป็นของนักการเมืองคนหนึ่ง ก็เลยถึงบ้างอ้อทันที... มิน่าล่ะ....งบประมาณถึงไม่ถึงประชาชนซักกะที.... ทำพอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่ได้มาตรฐานเท่าที่มันควรจะเป็น ทำได้แค่เป็นช่วงๆๆ เพราะงบประมาณบางส่วนต้องแบ่งใส่มือให้เท่าๆกัน หากลงไปพัฒนาชนบทหมด ก็อาจจะไม่เพียงพอ ![]() อ่านแล้วก็นึกภาพออกเลยนะคะ คงจะเป็นชีวิตที่เรียบง่าย ผู้คนจริงใจต่อกันนะคะ
![]() โดย: คุณนายทหารเรือ
![]() หวัดดีค่ะ..มาทักทายค่ะ
ครอบครัวเรา อยู่ชนบทเหมือนกันค่ะ ย้ายจากเมืองมา 4 ปีแล้ว..ชนบท..สงบ ไม่วุ่นวาย สบายใจดีค่ะ ว่างๆแวะไปเที่ยวบ้างนะคะ โดย: ข้าวกับดิน
![]() |