ข้อคิดจากกำไลมือ


 
พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง เสด็จเข้าที่บรรทมในกลางวันในคิมหสมัยและในพระราชสำนักของพระองค์นาง วรรณทาสีกำลังบดจันทร์เหลืองอยู่ในแขนข้างหนึ่งของนางมีกำไลทองหนึ่งวงในแขน อีกข้างหนึ่งมีกำไลทองสองวงกระทบกันกำไลทองหนึ่งวงนอกนี้ไม่กระทบพระ ราชาทรงเห็นเหตุนั้นแล้วจึงทรงแลดูนางทาสีบ่อย ๆ พลางทรงพระราช ดำริว่า ในการอยู่เป็นหมู่ย่อมมีการกระทบกันในการอยู่คนเดียวย่อมไม่มีการกระทบ เหมือนอย่างนั้นแล โดยสมัยนั้นพระเทวีผู้ทรงประดับประดาด้วยเครื่อง อลังการพร้อมสรรพ์ ประทับยืนถวายงานพัดอยู่ พระนางทรงดำริว่าพระราชาชะรอยจะมีพระหทัยปฏิพัทธ์ในนางวรรณทาสี ทรงให้นางทาสีนั้นลุกออกไป ทรงปรารภเพื่อจะทรงบดด้วยพระองค์เองในพระพาหาทั้งสองข้างของพระนางมีกำไลทองหลายวงกระทบกันเกิดเสียงดังมาก พระราชาทรงเอือมระอายิ่งขึ้น ทั้งที่บรรทมด้วยปรัศว์เบื้องขวา ทรงปรารภวิปัสสนาได้ทำให้แจ้งซึ่งพระปัจเจกโพธิญาณพระเทวีทรงถือจันทน์ เสด็จเข้าเฝ้าพระราชาพระองค์นั้นซึ่งบรรทมเป็นสุข ด้วยความสุขอันยอดเยี่ยม ทูลว่ามหาราชหม่อมฉันจะไล้ทา พระราชตรัสว่า ออกไป อย่าไล้ทา พระนางทูลว่าอะไร มหาราช ! พระราชาตรัสว่า เราไม่ใช่ราชา อำมาตย์ทั้งหลายฟังการสนทนานั้นของพระราชาและพระเทวีนั้น อย่างนั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้า พระราชาผู้อันอำมาตย์เหล่านั้นทูลเรียกด้วยวาทะว่า มหาราช จึงตรัสว่า นายเราไม่ใช่ราชาบทที่เหลือเป็นเช่นกับ คำที่กล่าวแล้ว ในคาถาต้นนั้นแล ส่วนคาถาวัณณนามี ดังนี้ว่า บุคคล แลดู กำไลทองสองอันงามผุดผ่องที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้นดังนี้ ในบทเหล่านั้นบทว่า ทิสฺวาได้แก่แลดูแล้ว บทว่า สุวณฺณสฺส ได้แก่ ทองคำบาลีที่เหลือว่า วลฺยานิ เป็นคำที่นำมาเพิ่มเข้า เพราะอรรถของคำ ที่เหลือมีเนื้อความอย่างนี้เหมือนกันบทว่า ปภสฺสรานิ ได้แก่ อันแพรวพราวเป็นปกติอธิบายว่า มีแสงรุ่งเรืองบทที่เหลือเป็นบทมีอรรถตื้น ทั้งนั้นส่วนโยชนาดังนี้ ว่า เราแลดูกำไรทองกระทบกันอยู่ในข้อมือ จึงคิดว่าเมื่อมีการอยู่เป็นหมู่ ย่อมมีการกระทบกันเมื่อมีการอยู่คนเดียว หากระทบกันไม่จึงปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุแล้วบทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 19
ชื่อว่า วินัย มี ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้
อย่าง หนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๕ อย่าง ใน ๕ อย่างนั้น วินัยนี้ ท่านเรียกว่า วิเนติ ก็ด้วย
วิธี ๘ อย่างด้วยว่า วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ
สังวร วินัย ๑
อสังวรวินัย ๑
ก็ในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัยหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๕ อย่าง ก็แม้สังวรวินัยนี้ก็มี ๕ อย่าง คือ

๑.ศีลสังวร
๒.สติสังวร
๓.ญาณสังวร
๔.ขันติ สังวร
๕.วิริยสังวร
แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ
๑.ตทังคปหาน
๒.วิกขัมภนปหาน
๓.สมุจเฉทปหาน
๔.ปฏิปัสสัทธิปหาน
๕.นิสสรณปหาน.
ในสังวรวินัยทั้ง ๕ อย่างนั้นความสำรวมซึ่งมาแล้วในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ภิกษุ
เป็นผู้เข้าถึง เป็นผู้เข้าถึงพร้อมแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ชื่อว่า ศีลสังวร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 20
ความสำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า สติสังวรความ สำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อน อชิตะ กระแส (กิเลส) เหล่าใดมีอยู่ในโลกสติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่า นั้น เราเรียกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลายว่า สังวร กระแสเหล่านั้น อันบุคคลย่อมกั้นเสียได้ด้วยปัญญาดังนี้
ชื่อ ว่าญาณสังวรความสำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่าภิกษุย่อมอดทนต่อความหนาวต่อความร้อนดังนี้ชื่อว่า ขันติสังวรความสำรวมซึ่งมา
แล้วในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมยับยั้ง คือว่าย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่บังเกิดขึ้นแล้วดังนี้ พึงทราบว่า วิริยสังวรก็ความสำรวมนี้แม้ทั้ง
หมดท่านเรียกว่าสังวรก็เพราะสำรวมระวัง กายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้นที่จะพึงสำรวมระวัง เรียกว่า วินัยเพราะกำจัดกายทุจริต และวจีทุจริต
เป็นต้นที่จะพึงกำจัดตามความเป็น จริง.สังวรวินัย พึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ อย่าง อย่างนี้ก่อนอีกอย่างหนึ่ง การสืบต่อสันดานที่ไม่มีประโยชน์อันใด
เป็นไปอยู่ในองค์แห่งวิปัสสนา ทั้งหลาย มีนามรูปปริเฉท (การกำหนดรู้นามรูป) เป็นต้นด้วยอำนาจที่ยังละตนไม่ได้อยู่เพียงใด การละสันดานที่ไม่มีประโยชน์ นั้น ๆ ด้วยญาณนั้น ๆ ก็ย่อมมีอยู่เพียงนั้น






Create Date : 20 พฤษภาคม 2553
Last Update : 27 เมษายน 2564 21:34:58 น.
Counter : 1314 Pageviews.

2 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ณ : กะว่าก๋า
(28 มิ.ย. 2568 06:00:59 น.)
มีกำลัง ไม่ผิดกฎของธรรมชาติ ปัญญา Dh
(26 มิ.ย. 2568 00:56:58 น.)
กินคาวไม่กินหวานสันดาน...ไพร่ สมาชิกหมายเลข 6015765
(24 มิ.ย. 2568 03:42:47 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ความรักเท่าที่รู้ : กะว่าก๋า
(23 มิ.ย. 2568 04:26:06 น.)
  
สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายค่ะ

ขอบคุณคำสอนดีๆ ค่ะ
โดย: nootikky วันที่: 20 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:54:03 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

7star.BlogGang.com

suchu
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด