ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
ครั้งหนึ่งกับชีวิตที่เคยเรียน Law
ม.149 นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันกระทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ์
ม.150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
ม.151 การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการนั้นไม่เป็นโมฆะ
ม.152 การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ
ม.153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ
ม.154 การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงของผู้แสดงจะมิได้มีเจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น
ม.155 การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลงนั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ
ม.156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น
ม.157 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่งต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
ม.158 ความสำคัญผิดตามมาตรา 156 หรือมาตรา 157 ซึ่งได้กระทำลงไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้
ม.159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่งจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะคงจะมิได้กระทำขึ้น
ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลจากบุคคลภายนอก การแสดงเจตนาจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น
ม.160 การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลตามมาตรา 159 ห้ามยกขึ้นเป็นข้อต่อสู่บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
ม.184 ในระหว่างที่เงื่อนไขยังมิได้สำเร็จ คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแห่งนิติกรรมอันอยู่ในบังคับเงื่อนไข จะต้องงดเว้นไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งพึงจะได้จากความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้น
ม.185 ในระหว่างที่เงื่อนไขยังมิได้สำเร็จนั้น สิทธิและหน้าที่ต่างๆ ของคู่กรณีมีอย่างไร จะจำหน่าย จะรับมรดก จะจัดการป้องกัน หรือจะทำประกันไว้ประการใดตามกฎหมายก็ย่อมทำได้
ม.186 ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดเสียเปรียบและคู่กรณีฝ่ายนั้นกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นไม่สำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดได้เปรียบ และคู่กรณีฝ่ายนั้นกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นสำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นมิได้สำเร็จเลย
ม.187 ถ้าเงื่อนไขได้สำเร็จแล้วในเวลาทำนิติกรรม หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
ถ้าเป็นอันแน่นอนในเวลาทำนิติกรรมว่าเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข
ตราบใดที่คู่กรณียังไม่รู้ว่าเงื่อนไขได้สำเร็จแล้วตามวรรคหนึ่งหรือไม่อาจสำเร็จได้ตามวรรคสอง ตราบนั้นคู่กรณียังมีสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 184 และมาตรา 185
ม.188 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
ม.189 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลัง และเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข
ม.190 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
ม.191 นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลากำหนดไว้ ห้ามมิให้ทวงถามให้ปฏิบัติการตามนิติกรรมก่อนถึงเวลาที่กำหนด
นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดกำหนดไว้ นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
ม.192 เงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุด ให้พึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่า กำหนดไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะปรากฎโดยเนื้อความแห่งตราสาร หรือโดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเจ้าหนี้หรือแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายด้วยกัน
ถ้าเงื่อนเวลาเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นจะสละประโยชน์นั้นเสียก็ได้ หากไม่กระทบกระเทือนถึงประโยชน์อันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะพึงได้รับจากเงื่อนเวลานั้น
ม.193 ในกรณีดังต่อไปนี้ลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดมิได้
(1) ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
(2) ลูกหนี้ไม่ได้ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้
(3) ลูกหนี้ไดทำลายหรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้
(4) ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ยินยอมด้วย
ม.193/1 การนับระยะเวลาทั้งปวงให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบ ข้อบังคับ หรือนิติกรรมกำหนดเป็นอย่างอื่น
ม.193/2 การนับคำนวณระยะเวลาให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้ากำหนดหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ก็ให้คำนวณตามหน่วยเวลาที่กำหนด
ม.193/3 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นหน่วยที่สั้นกว่าวัน ให้เริ่มต้นนับในขณะที่เริ่มการนั้น
ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปีมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี
ม.193/4 ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี
ม.193/5 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หริอปี ให้คำนวณตามปีปฏิทิน
ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือน หรือปี ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือน หรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มต้นระยะเวลานั้น ถ้าในระยะเวลานับเป็นเดือนหรือปีไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
ม.193/6 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนหรือวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน ให้นับจำนวนเดือนเต็มก่อน แล้วจึงนับจำนวนวันหรือส่วนของเดือนเป็นวัน
ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นส่วนของปี ให้คำนวณส่วนของปีเป็นเดือนก่อน หากมีส่วนของเดือนให้นับส่วนของเดือนเป็นวัน
การคำนวณส่วนของเดือนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่าเดือนหนึ่งมีสามสิบวัน
ม.193/7 ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไป โดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป ให้นับที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น
ม.193/8 ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา




Create Date : 11 ตุลาคม 2552
Last Update : 2 เมษายน 2554 23:10:27 น.
Counter : 500 Pageviews.

4 comments
  
ตั้งใจอ่านเยอะ ๆ นะครับ

โดย: nuchock วันที่: 11 ตุลาคม 2552 เวลา:16:23:15 น.
  
โชคดีค่ะ.....พี่ก็จะสอบเหมือนกัน เฮ้อ
โดย: NuHring วันที่: 11 ตุลาคม 2552 เวลา:16:56:15 น.
  
เป็นกำลังใจคะ

เรียนนิติอยู่เหมือนกัน ปีสองเอง

ขนาดสอบกลางภาคยังเครียด

ไงก็สู้ไนะคะ
โดย: ปรางค์ IP: 202.12.73.12 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2552 เวลา:22:30:48 น.
  
แวะมาเห็น เลยแวะมาให้กำลังใจ
สู้ๆนะน้องหนู ที่น้องกำลังทำอยู่ยังเป็นแค่เบื้องต้น หนทางยังอีกยาวไกล ท้อไม่ได้ถอยไม่ไ่ด้น้า พี่ให้กำลังใจใ้ห้รุ่นน้องนะ

จาก พี่พู่
นบท59 llm uk สองใบแร้ว จ่อคิวสอบศาลรอบหน้า
โดย: poo bon jovi (poo bon jovi ) วันที่: 12 มิถุนายน 2553 เวลา:19:32:49 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แมลงสาปติดเกาะกับจิ้งจกดำน้ำ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



WHAT CAN I DO TO MAKE YOU LOVE ME

Color Codes ป้ามด