"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
30 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England )








Elizabrth I of England






สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฝรั่งเศส และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์

ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนสวรรคต บางกรณีทรงได้รับการกล่าวถึงในพระนาม “ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์

เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ประสูติที่พระราชวังกรีนิช ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียร เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงแค่ 3 พรรษา

เมื่อพระบิดาอภิเษกสมรสครั้งที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ ใน พ.ศ. 2079 พระองค์และเจ้าฟ้าหญิงแมรี พระพี่นางต่างพระมารดาถูกประกาศว่าเป็นบุตรีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยรัฐสภาเนื่องจากการเอนเอียงมาทางพระราชโอรสของพระนางเจน (ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ)


สมัยยังทรงพระเยาว์

ชีวิตในวัยเด็กของพระองค์ยากลำบากมากและล่อแหลมเต็มไปด้วpอันตราย ต้องทนทุกข์ระทมจากการถูกประหารชีวิตของพระมารดา และการไม่สนิทสนมกับพระราชบิดา แต่พระองค์ก็ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดียิ่ง

และได้รับการเลี้ยงดูท่ามกลางศรัทธาในนิกายโปรแตสแตนท์ ในระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2090-2096) แม้ว่าเอลิซาเบทจะเล็กเกินกว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขาดแม่

แต่ชีวิตของเธอนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากอีกครั้งเมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่แปด ได้ประกาศเพิกถอนการสมรสกับ แอน โบลีน ซึ่งทำให้เอลิซาเบทกลายเป็นลูกนอกสมรสไปในชั่วพริบตา ด้วยอายุเพียงสามขวบ

เอลิซาเบทถึงกับเอ่ยปากถามพระพี่เลี้ยงว่า "เป็นไปได้อย่างไร เมื่อวานนี้ เจ้ายังขานนามข้าว่า เจ้าหญิง แต่วันนี้ ข้าเป็นเพียง เลดี้ เอลิซาเบท" เมื่อเฮนรี่สมรสใหม่กับแม่นางเจน ซีมัวร์ นั้น พระองค์ก็มิได้ใส่ใจกับเอลิซาเบทอีกต่อไป

ถึงขนาดที่พระพี่เลี้ยงต้องส่ง หนังสือถึงเฮนรี่เพื่อขอให้จัดหาเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เอลิซาเบท เพราะเหตุว่า เธอโตเกินกว่าที่จะสวมใส่เสื้อผ้าเก่านั้นได้ต่อไปอีกแล้ว

เมื่อเจน ซีมัวร์เสียชีวิตหลังจากที่ได้ให้กำเนิดแก่เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด พี่น้องต่างมารดาทั้งสามก็ถูกนำมาเลี้ยงดูร่วมกัน แต่เพราะแมรี่นั้น อายุห่างจากน้องทั้งสองมาก อีกทั้งยังต่างศาสนา

เอลิซาเบทจึงใกล้ชิด กับเอ็ดเวิร์ดมากกว่า ทั้งสองได้รับการศึกษาอย่างดีเลิศ เรียนรู้ภาษาลาติน กรีก สเปน และฝรั่งเศส รวมทั้ง ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และคณิตศาสตร์

ชีวิตยามเยาว์วัยของเอลิซาเบทได้สัมผัสกับความสุขบ้าง เมื่อเฮนรี่สมรส กับแคทเธอรีน ฮาวเวิร์ด ซึ่งเป็นญาติกับแอน โบลีน แคทเธอรีนดูแล ให้ความรักแก่เจ้าหญิงองค์น้อยๆ นี้เป็นอย่างดี ยกย่องเธอให้สมกับตำแหน่งเจ้าหญิง

แต่ความสุขความอบอุ่นก็มาเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ และจบลงเมื่อแคทเธอรีนต้องโทษประหารชีวิตอีกคน เอลิซาเบทตกอยู่ ในสภาพที่สับสนทางจิตใจมาก เมื่อเห็นผู้หญิงที่เธอรักสองคนต้องตายตก ไปตามกัน

เพราะผู้ชายคนเดียวกัน ถึงขนาดที่เธอเอ่ยปากกล่าวกับ โรเบิร์ต ดัดเลย์ เพื่อนเล่นเมื่อครั้งยังเยาว์ จนเติบโตมาเป็นเพื่อนใจในยามหนุ่มสาวว่า ในชีวิตนี้ เธอจะไม่แต่งงานกับใครทั้งสิ้น

แม้ว่าราชินีองค์ที่หกแห่งพระเจ้าเฮนรี่ที่แปด - แคทเธอรีน พารร์ จะพยายามสร้างบรรยากาศให้เป็นเสมือนครอบครัวที่อบอุ่นเพียงใด แต่ใน ความสงบนั้น เอลิซาเบทไม่ได้มีความสุขสักเท่าใด

ในขณะที่ แคทเธอรีน พยายามจะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกให้ดีขึ้น เอลิซาเบทก็พยายาม ตัดรอนตอบโต้พ่อถึงขนาดว่า เธอถูกสั่งให้ออกไปพ้นเขตวัง แคทเธอรีน ต้องเป็นผู้ไกล่เกลี่ย เป็นกาวใจให้สองพ่อลูก

และขออนุญาตให้เอลิซาเบท ได้กลับเข้ามาอยู่ในวังตามเดิม ความสัมพันธ์ของเฮนรี่และเอลิซาเบทเป็น ดังราวคนแปลกหน้าสองคน มากกว่าที่จะเป็นพ่อลูก

จวบจนพระเจ้าเฮนรี่ ที่แปดได้สิ้นพระชนม์ในวันที่ 28 มกราคม 1547 ในขณะที่เอลิซาเบทอายุ สิบสาม และเอ็ดเวิร์ดได้กลายเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษเมื่ออายุได้สิบปี

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 16 พรรษา ลอร์ดทอมัส ซีมัวร์ ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพเรือได้วางแผนพยายามขออภิเษกสมรสด้วยเพื่อใช้พระองค์เป็นเครื่องมือหาทางล้มล้างรัฐบาล แต่ทรงหลบเลี่ยงได้อย่างนุ่มนวล

และลอร์ดซีมัวร์ก็ได้ถูกประหารชีวิตในความผิดฐานกบฏ ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2096-2101) การแสดงตนเป็นโปรแตสแตนท์ของพระองค์ทำให้สมเด็จพระราชินีแมรี พระเชษฐภคินีซึ่งเป็นโรมันคาทอลิก รู้สึกหวั่นไหว พระนางเอลิซาเบธจึงทรงถูกจองจำไว้ที่หอคอยแห่งลอนดอน

การเสด็จขึ้นครองราชย์และการเริ่มมีความขัดแย้งทางศาสนา

การขึ้นเสวยราชย์ของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2101 อันเนื่องมาจากการสวรรคตของพระราชินีแมรีที่ 1 ได้รับการแซ่ซ้องและยอมรับเป็นอย่างมากจากผู้คนที่หวังจะได้มีเสรีภาพทางศาสนามากขึ้น

หลังจากที่ได้ถูกกดขี่มาโดยตลอดในรัชกาลก่อนๆ ภายใต้การนำอย่างแข็งขันของเซอร์วิลเลียม เซซิล ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ (ต่อมาเลื่อนเป็นลอร์ดเบอร์กเลย์) กฎหมายสนับสนุนคาทอลิกของพระนางแมรีที่ 1 ได้ถูกยกเลิก

และนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ก็ได้รับการสถาปนาขึ้น (ระหว่าง พ.ศ. 2102-2106) นอกจากนี้ เซอร์เซซิลยังได้ให้การสนับสนุนการปฏิรูปสกอตแลนด์ ซึ่งทำให้พระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์ กลับคืนบัลลังก์ได้อีกในปี พ.ศ. 2104

ยังผลให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นกับพวกลัทธิแคลวิน โดยจอห์น นอกซ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งได้จับพระนางจองจำและบังคับให้สละราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2110 ทำให้พระองค์ต้องหลบหนีไปประทับในอังกฤษแต่ก็ถูกจับกักบริเวณอีก

ซึ่งต่อมาเหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นจุดสนใจและเป็นศูนย์รวมชาวคาทอลิกที่รวมตัวกันต่อต้านนิกายโปรแตสแตนท์ ในปี พ.ศ. 2113 ได้มีการประกาศให้พวกคาทอลิกเลิกนับถือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธเป็นราชินี ซึ่งรัฐบาลเริ่มแก้เผ็ดชาวคาทอลิกอังกฤษด้วยการจำกัดสิทธิ์บางอย่างและค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นขึ้นถึงขั้นปราบปรามในช่วงปี พ.ศ. 2123-2133

แผนการล้มล้างสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ถูกเปิดเผยบ่อยครั้งขึ้น และอีกครั้งหนึ่งโดยการสนับสนุนลับๆ ของพระนางแมรีใน พ.ศ. 2129 ทำให้พระนางถูกประหารชีวิตในปีต่อมา

นโยบายต่อต้านและเข้มงวดกับพวกนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกเพิ่มความรุนแรงขึ้น มีผลให้อังกฤษสนับสนุนฝ่ายกบฏชาวฮอลันดาที่ต่อต้านสเปน มีการ “แต่งตั้งโจรสลัด” อย่างเป็นงานเป็นการ ดังเช่นจอห์น ฮอว์ลีน และ ฟรานซิส เดรก

เพื่อคอยดักปล้นทรัพย์สินของพวกสเปนในโลกใหม่ ปรากฏการณ์เหล่านี้ยั่วยุให้สเปนก่อสงครามรุกรานอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2101 กองเรืออาร์มาดาอันยิ่งใหญ่ของสเปนได้บุกเข้ามาปิดช่องแคบอังกฤษ แต่ก็ถูกทำลายจากทั้งพายุและการตีโต้กลับจากฝ่ายอังกฤษจนสูญเสียเรือเป็นจำนวนมากพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจนต้องถอยกลับสเปน

ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระองค์ได้เพิ่มพันธมิตรและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่นิกายโปรแตสแตนท์มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็แบ่งแยกศัตรูฝ่ายคาทอลิกรุนแรงมากขึ้นด้วย

พระนางแสร้งยอมให้เชื้อพระวงศ์ต่างประเทศหลายรายเจรจาขออภิเษกสมรสกับพระองค์ แต่พระองค์ก็มิได้จริงจังและมิได้ทรงกำหนดให้มีการสืบรัชทายาทไว้แต่อย่างใด และด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์

ทำให้พระนางได้ทรงทราบด้วยความพอพระทัยว่าองค์รัชทายาท คือพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นโปรแตสแตนท์ พระองค์ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับขุนนางสำคัญคือ โรเบิร์ต ดัดเลย์ เอิร์ลแห่งลีเซสเตอร์ และต่อมากับโรเบิร์ต เดอเวรัวซ์ เอิร์ลแห่งเอสเซกซ์ จนกระทั่งท่านเอิร์ลถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏในปี พ.ศ. 2144

ยุคสมัยของพระนางอลิซาเบธ ได้รับการเรียกว่ายุคอลิซาเบธัน หรือยุคทอง เนื่องจากเป็นยุคที่อังกฤษขยายแสนยานุภาพไปทั่วโลก ในยุคสมัยนี้ ได้มีชาวอังกฤษผู้โด่งดังในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย

เช่น กวีชื่อก้องโลก วิลเลียม เชกสเปียร์ คริสโตเฟอร์ มาโลว์ และ จอห์น เบ็นสัน ก็ได้มีเริ่มมีชื่อเสียงในยุคนี้ ฟรานซิส เดรก ได้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เป็นนักเดินเรือสำรวจรอบโลก

ฟรานซิส เบคอน ได้เสนอความคิดทางปรัญชาและทางการเมือง เซอร์ วอลเตอร์ ราเลย์ และ เซอร์ ฮัมเฟรย์ กิลเบิร์ต ได้สร้างอาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ


การแผ่อำนาจในระดับนานาชาติ

นโยบายด้านการงบประมาณของพระองค์สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างแก่ประชาชน มีการขึ้นอัตราภาษีเพื่อระดมเงินให้เพียงพอกับการทำสงครามในต่างประเทศ การเกิดความอดอยากข้าวยากหมากแพงในช่วงประมาณ พ.ศ. 2135-40 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำและเกิดความไม่สงบในสังคม

รัฐบาลจึงพยายามแก้ด้วยการออก “กฎหมายคนจน” (Poor Law) เมื่อ พ.ศ. 2140 โดยเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากท้องถิ่นไปอุดหนุนคนยากไร้ การอวดอำนาจทางทะเลของอังกฤษก่อให้เกิดการเดินทางท่องทะเลเพื่อค้นหาอาณานิคมใหม่

เซอร์ฟรานซิส เดรก เดินทางโดยเรือรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก เซอร์วอลเตอร์ ราเลย์ เดินทางสำรวจพบชายฝั่งอเมริกาเหนือและเดินทางไปมาอีกหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2125-32 แต่อาณานิคมที่แท้จริงเพียงแห่งเดียวของอังกฤษในสมัยของพระองค์คือ “ไอร์แลนด์”

ซึ่งเป็นที่ซึ่งชาวอังกฤษเข้าไปหาผลประโยชน์ด้วยการเอารัดเอาเปรียบคนพื้นถิ่นชาวไอร์แลนด์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเหตุให้การก่อกบฏที่รุนแรงภายใต้การนำของฮิวจ์ โอนีล เอิร์ลแห่งไทโรนเมื่อ พ.ศ. 2140

ราชินีเอลิซาเบธทรงมีพระอารมณ์ร้อน และบางครั้งทรงเป็นผู้นำที่ไม่เด็ดขาด บ่อยครั้งที่ เหล่าที่ปรึกษาส่วนพระองค์ต้องช่วยพระองค์จากศัตรูทางการเมืองและเหล่าข้าศึก

พระองค์ทรงมีความสุนทรีย์ทางบทกวีเป็นอย่างมาก ดังเช่น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระบิดาของพระองค์ พระองค์ทรงเขียนวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง และพระองค์ยังทรงตั้ง Royal Charters คือ หน่วยงานหลวงมาดูแลกิจการของอังกฤษหลายแห่ง วิทยาลัยทรินิตี้ ณ กรุงดับบลิน (Trinity College, Dublin) ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) และ บริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (British East India Company) ในปี พ.ศ. 2143(ค.ศ. 1600)

เวอร์จิเนีย หนึ่งในอาณานิคมอเมริกาเหนือของอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ถูกตั้งชื่อขึ้นตามสมญานามของราชินีเอลิซาเบทที่ 1 ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์


สวรรคต

จากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2146 ราชวงศ์ทิวดอร์ก็สิ้นสุดลงไปด้วย การสืบต่อราชบัลลังก์โดย พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจวร์ตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การครองราชย์ที่ยาวนานของพระองค์ตรงกับช่วงที่อังกฤษเริ่มมีแสนยานุภาพทางทะเลของโลก

และช่วงที่เรียกว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปะของอังกฤษ" (English Renaissance) การเป็นตำนาน "พระราชินีพรหมจรรย์" ของพระองค์ที่พระองค์เองก็มีส่วนสนับสนุนให้เรียกพร้อมกับกวี และนักแต่งบทละครในราชสำนักเพื่อให้คนทั่วไปที่รู้จักไปในทางนั้น

กลายเป็นสิ่งบดบังบทบาทของพระองค์ในฐานะเป็นผู้สร้างสำนึกแห่งความเป็นชาติของอังกฤษไปสิ้น


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร กมลมานปรีดิ์เขษม ที่มาอ่านค่ะ


Create Date : 30 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 1 กันยายน 2553 19:26:52 น. 0 comments
Counter : 3801 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.