"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

ศ.นพ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร .. นักวิจัยดีเด่นทางด้านการศึกษาการอณูพันธุศาสตร์โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก






ศ.นพ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร




ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร (Apiwat Mutirangura) อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2549 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย ประจำปี 2551 และเมธีวิจัยอาวุโส สกว.


ประวัติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 3 คน ของ พันตำรวจเอกนายแพทย์ กรณ์กิจ และ นางรัชนี มุทิรางกูร

ศาสตราจารย์อภิวัฒน์ มุทิรางกูร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านอณูพันธุศาสตร์ มีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการศึกษาการอณูพันธุศาสตร์โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก และสภาวะเหนือพันธุกรรม (Epigenetic) ที่เป็นกลไกสำคัญในการเกิดโรคในมนุษย์

ได้แก่ มะเร็ง โรค autoimmune และโรคชรา ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2549 และ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 สมรสกับ แพทย์หญิง ลินดา (ชวโรจน์) มุทิรางกูร มีบุตรชาย 3 คน คือ นาย กรณ์ นาย วัฒนกิจ และ ด.ช. ธรรม มุทิรางกูร


การศึกษา

พ.ศ. 2520-2523 ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
พ.ศ. 2524-2530 ระดับปริญญาตรี จบ แพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2533-2536 ระดับปริญญาเอก (Ph.D.) จบการศึกษาจาก Baylor College of Medicine, Houston, Texas, U.S.A.


ผลงาน

งานวิจัยหลักของศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวัฒน์ เป็นการศึกษาอณูพันธุศาสตร์ของมะเร็งโพรงหลังจมูก การทำงานของเอนไซม์ทีโลเมอร์เรสในเนื้อเยื่อก่อนเกิดมะเร็ง (telomerase) และการตกแต่งสายดีเอ็นเอด้วยหมู่เมททิล เพื่อควบคุมการทำงานของยีน และปกป้องจีโนมของเซลล์

งานวิจัยเหล่านี้ นอกจากจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่แล้ว ยังมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และทำให้เกิดมุมมองใหม่ในทางชีววิทยาของเซลล์อีกด้วย

มะเร็งโพรงหลังจมูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในประชากรที่มีเชื้อสายจีน และพบได้พอสมควรในคนไทย แต่จะพบน้อยในชนชาติอื่น เช่น ชาวยุโรป

มะเร็งโพรงหลังจมูกมีสาเหตุที่แตกต่าง จากมะเร็งของศีรษะและคอโดยทั่วไป คือ มะเร็งโพรงหลังจมูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV).

ศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร และคณะวิจัยได้ทำการศึกษาอณูพันธุศาสตร์ ของมะเร็งโพรงหลังจมูกในทุกแง่มุม คณะวิจัยนี้เป็นคณะวิจัยแรก ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาจีโนมของมะเร็งชนิดนี้

โดยคณะวิจัยได้ทำการศึกษาแผนที่จีโนม ค้นหาบริเวณที่มีการสูญเสียส่วนของโครโมโซมออกไป บริเวณดังกล่าวนี้เป็นบริเวณที่สำคัญเพราะเป็นบริเวณที่บ่งบอกถึงตำแหน่งที่อยู่ของยีนต้านมะเร็ง

ซึ่งอาจจะมีบทบาทในการทำการรักษาด้วยยีนในอนาคต

นอกจากการกลายพันธุ์และการแสดงออกของยีนทั้งจีโนมแล้ว คณะผู้วิจัยได้ค้นหายีนที่ส่งเสริมการเกิดมะเร็งโพรงหลังจมูก การพิสูจน์ว่ายีน polymeric immunoglobulin receptor (PIGR)

มีความสำคัญต่อการเกิดโรค ทำให้เชื่อได้ว่าสารภูมิคุ้มกันแอนติบอดีแบบเอ (IgA) ซึ่งจับกับโปรตีน PIGR ที่ผิวเซลล์มีบทบาทต่อการติดเชื้อ EBV ในเซลล์เยื่อบุผิวของโพรงหลังจมูก

การค้นพบที่ทำเกิดประโยชน์ต่อการแพทย์ และสาธารณสุขโดยตรง ได้แก่ การค้นพบดีเอ็นเอของ EBV ในน้ำเหลืองในกระแสเลือดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก

การค้นพบนี้ได้นำไปสู่การตรวจวัดปริมาณดีเอ็นเอของไวรัส เพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน

การศึกษาการตกแต่งสายดีเอ็นเอของเซลล์ด้วยหมู่เมททิล ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อกระบวนการเกิดมะเร็ง และพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็ง

ศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูรและคณะวิจัย ค้นพบหมู่เมททิล ของยีน SHP-1 ในเซลล์เยื่อบุผิวและการมีหมู่เมททิลลดลงในโรคสะเก็ดเงิน การค้นพบนี้เป็นการศึกษาแรกที่ยืนยันว่า สภาวะเหนือพันธุกรรม โดยการเติมหมู่เมททิลมีความสำคัญกับการเกิดโรคทั่วๆ ไป นอกเหนือจากการเกิดมะเร็งด้วย

ศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวัฒน์ และคณะวิจัย ได้รายงานการค้นพบยีนหลายยีนที่มีหมู่เมททิลในเซลล์มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งปากมดลูก และยีน TTC12 ในมะเร็งเม็ดเลือด

การค้นพบนี้บ่งบอกโอกาสที่ยีนเหล่านี้อาจเป็นยีนต้านมะเร็ง และอาจนำไปใช้เป็นยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าได้ในอนาคต

สภาวะเหนือพันธุกรรมของจีโนมที่เกิดขึ้น โดยการเติมหมู่เมททิลในเซลล์ของมนุษย์ส่วนใหญ่ พบว่าเป็นการเติมหมู่เมททิลที่ดีเอ็นเอบริเวณที่เป็นทรานโปซอน (ซึ่งเป็นดีเอ็นเอที่พบได้เป็นหมื่นเป็นแสนชุดในแต่ละเซลล์ในขณะที่ยีนทั่วไปพบได้สองชุดโดยแต่ละชุดมาจากพ่อและแม่)

เชื่อกันว่าเซลล์จะเติมหมู่เมททิลที่ทรานโปซอนนี้ เพื่อปกป้องจีโนม ในเซลล์มะเร็งปริมาณหมู่เมททิลนี้จะลดลง และส่งผลให้เซลล์มะเร็งกลายพันธุ์เร็วขึ้นโดยไม่ทราบกลไกที่แน่นอน

ศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร และคณะวิจัย รายงานปริมาณและลักษณะการกระจายตัว ของหมู่เมททิลที่ทรานโปซอนชนิดหนึ่งชื่อไลน์ 1 และมีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าหมู่เมททิลของไลน์ 1 มีลักษณะแปลกจากที่เคยมีการสรุปไว้

ทำให้สามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่า หมู่เมททิลของไลน์ 1 น่าจะมีบทบาทในการควบคุมการทำงานของยีนที่มีไลน์ 1 อยู่ภายใน นอกจากนี้ศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร และคณะวิจัยได้รายงานการคงค้างของดีเอ็นเอ ที่ฉีกขาดที่เกิดขึ้นเองในเซลล์ เพราะมีหมู่เมททิลเกาะอยู่

รายงานการศึกษาหมู่เมททิลของดีเอ็นเอ ที่ฉีกขาดที่เกิดขึ้นเองนี้ ได้นำเสนอแนวทางที่สำคัญในการค้นหากลไก ที่ทำให้เกิดความไม่เสถียรของจีโนมมะเร็ง เพราะมีหมู่เมททิลน้อย

การศึกษานี้จึงเป็นแนวทางที่สำคัญ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจต่อกลไกที่ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดกลายพันธุ์ในอัตราที่เร็ว ซึ่งความรู้ดังกล่าวอาจนำไปสู่วิธีการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต


ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน อาจารย์ประจำหน่วยมนุษยพันธุศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สหสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ตำแหน่งทางวิชาการ
พ.ศ. 2530-2539 อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2540-2541 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2541-2547 รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2535 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2537 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
พ.ศ. 2540 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
พ.ศ. 2544 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2547 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2550 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)


เกียรติคุณ
พ.ศ. 2539 รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2542 รางวัลผลงานเกียรติยศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำหรับผลงานวิจัยของ สกว. ที่มี impact factor สูงสุด
พ.ศ. 2542 รางวัลผลงานเกียรติยศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำหรับผลงานวิจัยของ สกว. ที่ได้รับการอ้างอิง สูงสุด
พ.ศ. 2543 Eminent Scientist & IRPC International Award Winner
พ.ศ. 2543 The Takeo Wada Outstanding Cancer Researcher
พ.ศ. 2548 รางวัลผลงานวิจัยระดับดีเยี่ยม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง “อณูพันธุศาสตร์ของมะเร็งโพรงหลังจมูก”
พ.ศ. 2548 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
พ.ศ. 2549 ผลงานวิจัยได้รับการอ้างอิงสูงสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2549 นักวิจัยดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2549 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ. 2551 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

หน้าที่และกิจกรรมในองค์กรต่าง ๆ
พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน สมาชิกและกรรมการสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน กรรมการในอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานสวัสดิ์วัฒนานะคะ




 

Create Date : 14 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 23 มกราคม 2554 21:16:55 น.
Counter : 3329 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.