"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
19 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
ศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์ .. ศาสตราจารย์สาขาเคมีวิเคราะห์คนแรกของไทย






ศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์




ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2496 ที่จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อ นายศักดิ์ กรุดพันธ์ มารดาชื่อ นางอุบล กรุดพันธ์ สมรสกับ นางธนกร กรุดพันธ์ (สกุลเดิมเกษมกิจวัฒนา) มีธิดา 1 คน คือ นางสาวศุภรา กรุดพันธ์

เกตุ กรุดพันธ์ ศาสตราจารย์ สาขาเคมีวิเคราะห์คนแรกของประเทศไทย ปัจจุบันทำงานที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เป็นผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ในการพัฒนาเพื่อการลดขนาดในการวิเคราะห์โดยการไหล (กลุ่มวิจัย Flow-based Analysis Research Group)

ศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์ สนใจในวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีและเครื่องมือ ในการการวิเคราะห์ทางเคมี โดยเฉพาะเทคนิคที่อาศัยหลักการไหล ซึ่งจะมุ่งเป้าที่จะเป็นแบบราคาถูก งานวิจัยจะสัมพันธ์กับปัญหาของท้องถิ่นแต่มีผลกระทบในระดับนานาชาติอีกด้วย

ไม่นานมานี้ได้ริเริ่มและผลักดันในการพัฒนาการวิเคราะห์ ที่อาศัยหลักการไหลเพื่อการคัดกรองในการตรวจวินิจฉัยโรคบางชนิด (เช่น มะเร็ง, โรคตับ, โรคข้อ และกระดูก และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น)

การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกล ในพื้นที่ทุรกันดานในประเทศไทย และได้ริเริ่มผลักดันเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาด โดยการใช้รีเอเจนต์ที่ได้จากธรรมชาติ

การพัฒนาการวิจัยจะมีผลเชื่อมโยง กับการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ ได้บุกเบิกงานทาง flow injection analysis ที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตรภาพรังสี

การเตรียมตัวอย่างแบบในท่อที่ใช้ระบบการไหลผนวกเข้ากับเทคนิคทาง โครมาโทกราฟี การลดขนาดของการวิเคราะห์ทางเคมี เช่น “การดำเนินการวิเคราะห์บนชิพ (lab-on-Chip)” และ “การดำเนินการทดลองที่วาล์ว (Lab-at-Valve)” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการวิเคราะห์ทั้งระบบในระดับไมโคร (micro total analysis system)


การศึกษา

พ.ศ. 2511 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 - โรงเรียนบางกรวย จ.นนทบุรี
พ.ศ. 2513 - มัธยมศึกษาปีที่ 5 - โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี
พ.ศ. 2517 - วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2524 - Doctor of Philoscophy Ph.D.(Chemistry) - Liverpool John Moores University (Liverpool Polytechnic),UK (ด้วยทุน Research Assistantship ของ Liverpool Education Authority)


ประสบการณ์การฝึกอบรมและดูงาน

นอกเหนือจากการดูงานต่างๆ แล้ว มีประสบการณ์หลังปริญญาเอก (Post doctoral experiences) ได้แก่

DAAD Research Fellow, ที่ University of Karlsruhe และ Karlsruhe Nuclear Center Germany (2526-2527, 2530, 2532, 2537)
IAEA Research Fellow, University Of Ghent, Belgium (2529)
Water Studies Center, Monash University, Australia (2529)
Alexander von Humboldt Research Fellow ที่ Karlsruhe Nuclear Research Center, Germany (2534-2535)
The Royal Society Visiting Fellow ที่ Liverpool John Moores University, UK (2541)


ประสบการณ์ทำงาน

มีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นพิเศษหลายด้าน อาทิ เช่น

1.1 ประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมามากกว่า 30 ปี และผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ โดย ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ดังนี้คือ

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมี-เภสัช” ปี 2542 จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ปี 2542 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2544 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ปี 2544-2546 และ 2547-2550
Science & Technology Research Grant” ปี 2544 จาก Thailand Toray Science Foundation
JAFIA Scientific Award” (พ.ศ. 2545) จาก The Japanese Association for Flow Injection Analysis (JAFIA) ประเทศญี่ปุ่น (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)
บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ด้านเคมีวิเคราะห์) ” ปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

นักวิจัยดีเด่น รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช้างทองคำ” ปี พ.ศ. 2550 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
JAFIA Honor Award for Science (พ.ศ. 2551) จาก Japanese Association for Flow Injection Analysis (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)

1.2 มีผลงานวิชาการที่โดดเด่น คือ

ได้ริเริ่มการวิจัยเคมีวิเคราะห์แนวใหม่เกี่ยวกับ flow-based analysis ได้รับเกียรติเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น แห่งชาติทางเคมีคนแรกของประเทศ และเป็นคนแรกที่อยู่ในสถาบันต่างจังหวัด (ปัจจุบันมี 2 คนจากผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ 35 คน)

นอกจากนี้ยังเป็นศาสตราจารย์คนแรกทางเคมีวิเคราะห์ ในประเทศไทย มีส่วนในการผลักดันบรรยากาศการวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ ของประเทศไทยจนเข้าสู่ระดับนานาชาติ มีส่วนทำให้เกิดหลักสูตรปริญญาเอกเคมีวิเคราะห์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (หน้า 80 ใน “อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย – ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ สมเดช กนกเมธากุล – บรรณาธิการ – จัดพิมพ์โดย มูลนิธิบัณฑิตยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2549)

ผลงานวิจัยเกี่ยวกับ Flow injection Analysis มีจำนวนปรากฏสูงเป็นอันดับที่ 22 ของงานวิจัยสาขานี้ของโลก (โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี 2000: S.Chalk, Bibliometrics In ; S.D. Kolev and I.D. McKelvie (Eds) Advances in flow injection analysis and related techniques , Elsevier,Amsterdam , in press)

ผลงานวิจัยเผยแพร่โดยการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติประมาณ 118 เรื่อง
ผลงานวิจัยเผยแพร่โดยนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติประมาณ 155 เรื่อง
ผลงานวิจัยเผยแพร่โดยนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับประเทศประมาณ 310 เรื่อง
หนังสือ-ตำรา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานาชาติมากกว่า 8 รายการ
หนังสือ-ตำรา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ในประเทศมากกว่า 11 รายการ

ได้รับเกียรติเพื่อทำงานในองค์กรต่างๆ

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการโดยสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสภามหาวิทยาลัยนเรศวร (2549-ปัจจุบัน)
Editorial Advisory board ของวารสาร Talanta (Elsevier Publish) (2543-2549)
Associate Editor ของวารสาร Water Research (Elsevier Publish) (2546-ปัจจุบัน)
Editorial board ของวารสาร Laboratory Robotics and Automation (LRA) (Wiley) (2540-2543)
Editorial board ของวารสาร Science Asia (2544 – 2547)
Referee พิจารณา manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสาร เช่น Analytica Chimica Acta, Talanta, Journal of Pharmaceutical and Biomedical Analysis และ Analytical Chemistry ซึ่งเป็นวารสารนานาชาติ สาขาเคมีวิเคราะห์

1.3 เป้าหมายในการทำงานวิจัย ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ “มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย” เพื่อให้เป็น “World Class University” โดยมีพัฒนางานวิจัยให้ก้าวหน้าในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

มีส่วนผลักดันจากงานวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ ทำให้ชื่อของมหาวิทยาลัยปรากฏในระดับสากล รวมถึงการผลักดันงานวิจัยทางด้านนี้ จนทำให้ชื่อของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรากฏในระดับนานาชาติ และในระดับประเทศ (จากในข้อ 1.2 ข้างต้น)

โดยผ่านการทำงานและผลักดันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การดำเนิน การโครงการวิจัยจนเกิดความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศ (มากกว่า 5 แห่ง) และ ต่างประเทศ (9 แห่งจาก 6 ประเทศ)

ผู้ประสานงาน ห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการโครงการพัฒนาการลดขนาดเพื่อการวิเคราะห์ระดับไมโครและนาโน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2548-ปัจจุบัน)
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช (2545-ปัจจุบัน)
คณะอนุกรรมการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทุนการศึกษาชั้นสูงเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างเครือข่ายวิจัยระดับแนวหน้า (2547-ปัจจุบัน)

ที่ปรึกษาเครือข่าย สวทช. ภาคเหนือ (2545-ปัจจุบัน)
มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้จัดการฝึกอบรม ระดับชาติและนานาชาติ เช่นองค์การ IAEA (เป็นผู้เชี่ยวชาญ , course directory เป็นต้น) วิทยากรรับเชิญในการประชุมวิชาการ เป็นต้น

ได้พยายามผลักดันให้การวิจัยของคณาจารย์ มีความสัมพันธ์กับบัณฑิตและมีโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมในระดับสากล

ริเริ่มการให้นักศึกษาได้ทำวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ที่ต่างประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2536 (ก่อนมีโครงการ คปก. ของสกว.) โดยการสนับสนุนจาก DAAD ให้นักศึกษาได้ไปทำวิจัยที่เยอรมนี 6 เดือน

1.4 มีประสบการณ์ด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้คือ

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2533–2537)
กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
กรรมการวิจัยประจำภาควิชา และ กรรมการวิจัยประจำคณะวิทยาศาสตร์ (หลายสมัย)
กรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
กรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (PERCH)

ผู้ประสานงานโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิตร่วมกับสถาบันต่างประเทศ แขนงเคมีวิเคราะห์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
ผู้ประสานงานโครงการเพิ่มสมรรถนะความแข่งขันกับต่างประเทศของ สกอ. ในโครงการ “การพัฒนาเครื่องมือและวิธีสำหรับวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ในระดับไมโครและนาโนเพื่อใช้ในทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” (2549 – 2552)

รองประธานโปรแกรม Environmental Risk Assessment Program ซึ่งมีความร่วมมือกับ Saarland University เยอรมนี โดยการสนับสนุนของ GTZ
เป็นประธานจัด/ผู้รับผิดชอบ การจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ
-->13th International conference on Flow Injection Analysis (2001) (ดูในรายงานTalanta vol 58,2002p.1013,และ Trends in Analytical Chemistry, vol 21, 2002 p.x)

-->US-Thai Scienctist Workshop เป็นคร้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ NSF – สกว.และสกอ. (ดูในรายงาน Analytical Chemistry vol 79,2007,p794)

การพัฒนากลุ่มวิจัยในโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ตั้งแต่ปี 2544 - ปัจจุบัน
โครงการพัฒนากลุ่มวิจัยของสกอ. “กลุ่มวิจัยเพื่อนวัตกรรมทางเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิจัย ภาคเคมี
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิจัยคณะวิทยาศาสตร์

ที่ปรึกษาคณะทำงานการพัฒนานักวิจัยในสาขาวิทนายศาสตร์เคมี-เภสัชในสาขาภาคเหนือ (โดยการสนับการสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติโดยมอบหมายงานให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแกนนำ)
กรรมการพิจารณาทุนเรียนต่อของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิตติมศักดิ์
กรรมการพิจารณาปริญญามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ประสานงาน “ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือและระบบ” ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ประสานงาน “ห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์” ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานปรีดิ์เกษมนะคะ



Create Date : 19 มกราคม 2554
Last Update : 19 มกราคม 2554 8:44:16 น. 0 comments
Counter : 2145 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.