เพลงประกอบ Chanukah Song By Adam Sandler

Group Blog
 
<<
มีนาคม 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
16 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 

Israel's war of Independance สงครามอิสรภาพแห่งอิสราเอล


รุ่งขึ้นเช้าวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 กองทัพซีเรีย ทรานส์จอร์แดน อิรัก เลบานอน และอียิปต์ ก็ข้ามพรมแดนปาเลสไตน์เข้าตะลุมบอนกับกองทัพอิสราเอล ซึ่งมีอายุได้เพียงวันเดียว








ตามทางการแล้วสงครามกระทำกันในเวลา 8 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 1948 จนถึงวันที่ 7 มกราคม 1949

การหย่าศึกครั้งที่หนึ่ง วันที่ 11 มิถุนายน 1948 เมื่อสหประชาชาติ (เคานต์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ตัวแทน) ให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 1 เดือน






Count Folke Bernadotte




ในระหว่างการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายถูกห้ามมิให้นำอาวุธเข้ามา และฝ่ายไกล่เกลี่ยสหประชาชาตินำทหารเข้าไปเพื่อควบคุมฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน ความจริงทั้งฝ่ายอาหรับและยิวใช้เวลาหยุดยิง 4 สัปดาห์ เตรียมจัดหน่วยและเสริมกำลังทั้งด้านกำลังพล ยุทธสัมภาระและวางกำลังใหม่

พอครบหนึ่งเดือน เริ่มขึ้นตอนเที่ยงคืนของวันที่ 11 กรกฎาคม กินเวลาเพียงสิบวันเท่านั้น การหยุดยิงครั้งที่สองเริ่มวันที่ 19 กรกฎาคม 1948

การหยุดยิงครั้งที่สองมิได้กำหนดเวลาไว้ คาดว่าจะนำไปสู่การหยุดยิงตลอดไป โดยคาดว่ากรณีพิพาทจะตกลงกันได้โดยวิถีทางการฑูต จากความช่วยเหลือของผู้ไกล่เลี่ยสหประชาชาติ คือ เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์

อย่างไรก็ตาม ความเป็นศัตรูกันเริ่มขึ้นอีกในวันที่ 10 ตุลาคม 1948 นับว่าเป็นขั้นสุดท้ายของสงครามนำด้วยเหตุการณ์ที่น่าเศร้า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1948 เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ถูกผู้ก่อการร้ายฆ่าตาย


การสู้รบสิ้นสุดลงในวันที่ 7 มกราคม1949 และในเดือนกุมภาพันธ์ อียิปต์ลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับอิสราเอล, เดือนมีนาคม รัฐบาลอาหรับอื่น ๆ ทำตามอียิปต์ นอกจากรัฐบาลอิรัก และเลบานอน, เดือนเมษายน จอร์แดน และเดือนกรกฎาคม ซีเรีย อิรักเพียงแต่ถอนทหารออกจากปาเลสไตน์โดยไม่ลงนามในสัญญาหยุดยิง

อนึ่ง เดือนกุมภาพันธ์ 1949 การเลือกตั้งทั่วประเทศได้มีขึ้น และสภาร่างรัฐธรรมนูญของยิวก็ได้เกิดขึ้น ดร. เคม ไวซ์แมนน์ ได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล และเดวิด เบ็น กูเรียน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี






Chaim Weizmann ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอิสราเอล






David Ben Gurion นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอิสราเอล



เมื่อสิ้นสุดสงครามครั้งแรกระหว่างอาหรับ อิสราเอล อิสราเอลได้ครอบครองดินแดนกาลิลีทั้งหมด ส่วนหนึ่งของภาคกลางปาเลสไตน์ที่เชื่อมดินแดนชายฝั่งกับเยรูซาเล็มเป็นนครที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เนื้อที่ที่อิสราเอลได้เข้ายึดครองทั้งหมด มากกว่าพื้นที่ที่กำหนดไว้ให้ยิวตามมติการแบ่งของสหประชาชาติในปี 1947 และยังได้รับการรับรองจากชาติต่าง ๆ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก ได้มีที่นั่งในสหประชาชาติ และมีอธิปไตยเหนือพื้นที่ 21,000 ตารางกิโลเมตรในดินแดนปาเลสไตน์ ที่เคยอยู่ในอาณัติของอังกฤษทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน



จึงดูเหมือนว่าการโจมตีของอาหรับ ทำประโยชน์ให้อิสราเอลมากกว่า การพิพาทครั้งนี้ทำให้อาหรับนับล้านต้องพลัดที่อยู่ หลบหนีไปยังซีเรีย จอร์แดน และฉนวนกาซา ในความครอบครองของอียิปต์ ในฐานะผู้ลี้ภัย

จากพวกนี้เองเป็นการก่อกำเนิดพลพรรคเฟดายีน(Fedayeen) และนักรบกู้อิสรภาพปาเลสไตน์ซึ่งอ้างว่าอิสราเอลได้ขับไล่พวกตนออกจากบ้านเกิดเมืองนอน ดังนั้นการทำสงครามปลดปล่อยจึงเป็นความเจ็บปวดที่ยืดเยื้อและเกิดผลตามมาจนยากจะแก้ไขตลอดตะวันออกกลาง

ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีกราว 3,200 ตร.กม. ก็ถูกแบ่งปันกัน ระหว่างทรานส์จอร์แดนกับอียิปต์ ทรานส์จอร์แดนยังคงครอบครองพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน รวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออก (East Jerusalem) แม้ทรานส์จอร์แดนได้ผนวกดินแดนเหล่านั้นในปี 1950 แต่ก็ไม่ได้รับการรับรองความชอบธรรมจากนานาประเทศ

ในปี 1949 ชื่อของประเทศที่ขยายเพิ่มเติมแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็น ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ติดปากว่า จอร์แดน นั่นเอง

ส่วนอียิปต์ยังคงควบคุม (แต่ไม่ได้ผนวก) พื้นที่เล็ก ๆ ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่เรียกกันว่าฉนวนกาซา (Gaza Strip) ขณะที่ชาวอาหรับปาเลสไตน์ไม่ได้มีฐานะทางการเมืองใด ๆ


พวกคหบดีผู้มั่งคั่งและบรรดาคนมีหน้ามีตาในวงสังคม จากเมือง ยัฟฟา เทลอาวีฟ ไฮฟา และเยรูซาเลม รวมทั้งชาวคริสเตียนส่วนหนึ่ง ได้หนีภัยสงครามไปยังเลบานอน อียิปต์ และจอร์แดน ขณะที่เหล่าชนชั้นกลาง ย้ายไปอยู่ตามเมืองที่เป็นถิ่นของชาวอาหรับ เช่น นาบลุส และนาซาเรธ ส่วนพวกชาวไร่ชาวนาก็ไปอาศัยตามค่ายผู้ลี้ภัย

หมู่บ้านชาวอาหรับกว่า 350 แห่ง ละลายหายวับ ชาวอาหรับตามเมืองชายฝั่งโดยเฉพาะยัฟฟาและไฮฟาก็รวมกันไม่ติด ชาวปาเลสไตน์ย้ายไปอยู่กระจุกรวมกันตามเมืองของชาวอาหรับทางเนินเขาด้านตะวันออก ซึ่งมีชื่อในเวลาต่อมาว่า เขตเวสต์แบงก์ (West Bank)
เพื่อให้เห็นภาพว่าชาวอาหรับได้กระจัดพลัดพรากกันไปอย่างไร ต้องลองดูตัวเลขประชากร แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะยังคงสับสนว่ามีเท่าไรกันแน่

ก่อนสงคราม ประมาณว่ามีชาวอาหรับ 1.3 ล้านคนอาศัยอยู่ในปาเลสไตน์ ระหว่างเดือนธันวาคม 1947 ถึงมกราคม 1949 ประมาณว่า ชาวอาหรับต้องพลัดถิ่นฐานบ้านเรือนไปราว 520,000-1,000,000,000 คน

ประมาณ 276,000 คนย้ายไปอยู่เขตเวสต์แบงก์ ราว 160,000- 190,000 คนหนีไปอยู่ฉนวนกาซา กว่า 20% ของชาวอาหรับปาเลสไตน์ ละทิ้งดินแดนปาเลสไตน์ไปเลย โดยประมาณ 100,000 คนในจำนวนนี้ไปอยู่เลบานอน, 100,000 คนไปอยู่จอร์แดน และราว 75,000-90,000 คนไปอยู่ ซีเรีย, 7,000-10,000 คนไปอยู่อียิปต์ และ 4,000 คน ไปอยู่อิรัก

นับแต่นี้ต่อไป เราจะใช้คำว่าชาวปาเลสไตน์ เมื่อพูดถึงชาว อาหรับในดินแดนปาเลสไตน์ที่เคยอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ โดยไม่รวมถึงเขตประเทศอิสราเอล แม้ชาวอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์จะได้สร้างสรรค์ และพัฒนาเอกลักษณ์ความเป็นชาวปาเลสไตน์มาร่วม 200 ปี แต่ถึงตอนนี้ ก็ถือกันว่าชาวปาเลสไตน์เป็นคนพวกหนึ่งต่างหากโดยเฉพาะ

ชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์ไม่เคยมีประเทศของตัวเอง ก่อนหน้าการก่อตั้งประเทศอิสราเอลนั้น คำว่าชาวปาเลสไตน์เป็นคำที่ชาวยิวกับชาวต่างชาติ ใช้เรียกขานเมื่อหมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์ แต่ชาวอาหรับเองไม่ค่อยใช้คำนี้ เพราะถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ชาวอาหรับหรือชาวมุสลิมมากกว่า

แต่ภายหลังรัฐอิสราเอลเกิดขึ้นในปี 1948 และโดยเฉพาะภายหลังสงครามอาหรับ-อิสราเอลปี 1967 ชาวปาเลสไตน์ต่างถือว่าคำคำนี้ ไม่เพียงบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของตัวเองเท่านั้น ทว่ายังให้ความรู้สึกถึงการมีอดีต และอนาคตร่วมกันด้วย

ชาวอาหรับในปาเลสไตน์ ซึ่งต่อมาก็คือคนที่อยู่ในเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา เริ่มเรียกตัวเองว่าชาวปาเลสไตน์ เพื่อสะท้อนถึงความรู้สึก ชาตินิยม และความปรารถนาที่จะมีประเทศปาเลสไตน์






1949 Israel wins its war of Independence and the Palestinians miss their first chance on getting a State of their own. The borders of 1948 are shown below with Israel outlined in green, while the West Bank (under Jordan control) and Gaza (under Egyptian control) are shown in brown:








 

Create Date : 16 มีนาคม 2550
1 comments
Last Update : 4 กรกฎาคม 2550 20:05:37 น.
Counter : 7739 Pageviews.

 

น่าสนใจจังค่ะ ท่าทางจะเป็นความรู้ใหม่ๆ ไว้จะมาอ่านนะคะ

 

โดย: ladystrawberry 30 มีนาคม 2550 23:18:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


vad
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add vad's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.