space
space
space
<<
กันยายน 2565
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
17 กันยายน 2565
space
space
space

‘ภาวะโรคเครียด’ เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกอาชีพ ซึ่งรวมไปถึง ในเด็ก ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นจากโรคนี้ด้

ภาวะโรคเครียด’ เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกอาชีพ ซึ่งรวมไปถึง ในเด็ก  ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นจากโรคนี้ด้วยเช่นกัน เด็กเครียดได้ไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เพียงแต่เด็กยังไม่สามารถแสดงความเครียดนั้นออกมาได้มากเท่าที่เขารู้สึก นั่นจึงทำให้วิธีการแสดงออกของเด็กที่มีภาวะเครียดนั้นแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ เพราะพวกเขายังต้องเรียนรู้วิธีอีกมากมายเพื่อที่จะแสดงความเครียดนั้นออกมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเรามีภาวะเครียดอยู่หรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร แล้วจะเลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เครียด? ก่อนอื่น เราคงต้องไปทำความรู้จักกับสาเหตุของความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็กกันก่อน

สาเหตุที่ทำให้เด็กเครียด

ต้นตอหรือสาเหตุที่ทำให้เด็กเครียดนั้น มาจากปัจจัยหลักอยู่ 3 อย่างด้วยกันคือ

1. ‘กรรมพันธุ์’
อาจเป็นเพราะที่คุณพ่อคุณแม่มีนิสัยเครียดหรือเป็นโรคเครียด มีส่วนที่ทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคเครียดได้ด้วยเช่นกัน

 

2. ‘สภาพแวดล้อม’
ต่อมาคือสภาพแวดล้อมปัจจัยนี้ถือเป็นส่วนสำคัญมากที่ก่อให้เกิดความเครียดในเด็กได้ และส่วนใหญ่มักมาจากปัญหาในครอบครัว ความคาดหวังของคุณพ่อคุณแม่ ไปจนถึงความกดดันที่ลูกสัมผัสได้ผ่านการอบรมเลี้ยงดู

 

3. ‘ฮอร์โมนส์ที่เปลี่ยนแปลงของเด็ก’
โดยเฉพาะในเด็กที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็นสองกลุ่มด้วยกัน คือ เครียดจากปัจจัยภายนอก และเครียดจากปัจจัยภายใน

สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
1-การบ้านเยอะ
2-ลูกเครียดเรื่องเรียน
3-ความขัดแย้ง (ความขัดแย้งของคนในครอบครัวหรือความขัดแย้งกับเพื่อน)
4-การย้ายที่อยู่อาศัย หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

สาเหตุจากปัจจัยภายใน
1-วิตกกังวล
2-คิดมาก
3-คิดว่าตัวเองไม่เก่ง
4-คิดว่าไม่มีใครรัก
5-สารเคมีในสมองไม่เท่ากัน

สังเกตภาวะเด็กเครียดได้อย่างไร?
คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องรู้ก่อนว่า การแสดงออกทางอารมณ์ในด้านต่างๆของเด็ก เช่น ความรู้สึก รวมไปถึงการแสดงออกถึงความเครียดของเขา นั้นยังไม่มีความชัดเจน หรืออาจะยังไม่มีความเข้าในในอารมณ์ต่างๆ ได้เท่าผู้ใหญ่ นั่นจึงทำให้เกิดความเครียดและถูกแสดงออกมาในแบบต่างๆ เช่น มีอาการปวดหัว ร้องไห้ วิตกกังวล หงุดหงิด เบื่อ เด็กไม่อยากกินข้าว เศร้า และขาดสมาธิ ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงเรื่องการเรียนของลูกได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกที่บ่งบอกถึงภาวะเด็กเครียดอยู่เสมอ

วิธีป้องกัน ‘ภาวะโรคเครียด’ ในเด็ก

แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือส่วนของพฤติกรรมผู้ปกครอง และวิธีการสอนลูกในรูปแบบต่างๆ

1. การรับฟังลูก
ถ้าหากถามว่ามีวิธีเลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความสุข ไม่ให้เครียดหรือป้องกันไม่ให้ลูกเครียด คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มจากหมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมของลูกว่าเขาเปลี่ยนไปจากบุคลิกปกติของเขาหรือไม่ ควรรับฟังความคิดเห็นของลูก พูดคุยกับลูก ไม่ว่าเรื่องที่เขาเล่าอาจจะดูเล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่แค่ไหนก็ตาม

2. อย่ากดดันลูกจนเกินไป
การกดดันเด็กๆ มากเกินไป โดยเฉพาะในเรื่องการเรียน เพราะเมื่อลูกเครียดเรื่องเรียนอยู่แล้ว แล้วต้องมาเจอความกดดันจากพ่อแม่ที่โยนความคาดหวังและความกดดันมหาศาลมาให้ลูกอีกก้อน จิตใจของลูกจะยิ่งไม่สู้ดี จนอาจทำให้เขาเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นจนเกิดเป็นความกดดันอีกทอดหนึ่งตามมาได้ แน่นอนว่าทั้งความหวังดีและความคาดหวังที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการมอบให้ลูกนั้นคือสิ่งที่จะช่วยให้เขาเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพ แต่อย่าลืมนึกถึงจิตใจของเขาเป็นอันดับแรก เพราะการที่เด็กเครียดนั้นอาจเกิดจากความคาดหวังและกดดันที่มากเกินไป พลอยแต่จะส่งผลเสียให้กับผู้ที่จะต้องแบกรับความกดดันนั้น ซึ่งในบริบทนี้คือลูกของเราเอง คุณพ่อคุณแม่ควรชั่งน้ำหนักและบริหารความหวังดีของตัวเองให้เหมาะสม ก่อนที่จะมอบให้ลูกอย่างเข้าอกเข้าใจ เพื่อไม่ให้ลูกเกิดความเครียด

3. อย่าดุด่าหรือตีลูก
การดุด่านั้นมีความอ่อนไหว ต่อควารู้สึกของเด็กๆ มาก  สิ่งนี้อาจทำให้เกิดปมในใจของเด็กได้ ว่าพ่อแม่ไม่รักเขา หรืออาจถึงขั้นต่อต้านคุณพ่อคุณแม่ได้ ทางที่ดีที่สุดคือ ‘ตั้งสติ’ และใช้เหตุผลกับลูกให้มากที่สุด ควรให้ความสนใจต่อพฤติกรรมและการแสดงออกของลูกอย่างสมเหตุสมผล เพราะบางครั้งสิ่งที่ลูกต้องการอาจไม่ใช่แค่ความสนใจจากพ่อแม่ แต่เข้าอาจต้องการความเข้าอกเข้าใจด้วยเช่นกัน

4. ใช้เวลากับลูกให้บ่อย เข้าอกเข้าใจลูกให้มาก
คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาทำกิจกรรมต่างร้วใกับลูก หรือทำกิจกรรมร่วมกันเป็นครอบครัว เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวให้แน่นแฟ้น เมื่อลูกรู้สึกปลอดภัยก็จะพูดคุยหรือระบายความในใจ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับฟัง
โดยคุณพ่อคุณแม่ควรรับฟังเรื่องเหล่านั้น ไม่ว่าลูกเครียดเรื่องอะรไร เช่น การเรียน ปัญหาที่โรงเรียน หรือปัญหาอื่นๆ ก็ตาม ตอนนั้นจะเป็นจังหวะที่เราจะได้ให้คำปรึกษาแก่ลูก และเข้าใจสภาพจิตใจและภาวะของลูกนั่นเอง

5. สอนให้ลูกรู้จักการตระหนักรู้ในตัวเอง
การตระหนักรู้ในตัวเอง คือความสามารถในการเข้าใจ ความรู้สึกของตนเองที่ผ่านเข้ามา ซึ่งมีความสำคัญมาก หากคุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ลูกค่อยๆ หัดทำความเข้าใจต่อความต้องการของตัวเอง รับรู้และสามารถแยกแยะความรู้สึกของตัวเองได้ ความตระหนักรู้จะช่วยให้เด็กเติบโตอย่างมีเหตุผล รักตัวเอง มองเห็นข้อดีในตัวเอง มองเห็นจุดที่ยังสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ และเข้าใจผลกระทบของการแสดงออกนั้นๆ ได้ว่าส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไรบ้าง

6. สอนให้ลูกรู้จักการควบคุมตัวเอง
มากกว่าความเข้าใจ และรับรู้ความรู้สึกของตัวเอง การมองเห็นผลกระทบจากการแสดงออกของเราต่อผู้อื่น  ด้วยการควบคุมและจัดการอารมณ์ของตัวเอง และสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กเป็นบุคคลที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี เช่น เมื่อเด็กเครียด เขาจะเริ่มทำความเข้าใจต่อความรู้สึกเครียดที่เกิดขึ้นในตัวเขา ก่อนที่จะหาวิธีจัดการและแสดงออกมาได้อย่างเหมาะสม เขาอาจเลือกที่จะพูดคุย ปรึกษา หรือระบายกับคุณพ่อคุณแม่ แทนการตะโกนหรือแสดงอารมณ์โมโหร้าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเด็กได้

7. สร้างแรงจูงใจให้ลูก
ฝึกให้ลูกมีแรงจูงใจจากภายใน (Intrinsic motivation) ที่เต็มไปด้วยพลังขับเคลื่อนจากภายใน มากกว่าแรงจูงใจจากภายนอก เช่น ชื่อเสียง เงินทอง การได้รับการยอมรับจากสังคม เป็นต้น
ซึ่งการมีแรงจูงใจนั้นช่วยในการตั้งเป้าหมายและลงมือทำจนสำเร็จ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ความยากลำบาก พลักดันตัวเองอย่างมีขั้นตอน ไปจนประสบความสำเร็จและมีความสุขได้ในที่สุด
ตัวอย่าง ภาวะเด็กเครียดในเด็ก เช่น ‘ลูกเครียดเรื่องเรียน’ และไม่ต้องการอ่านหนังสือเพื่อสอบ เพราะไม่เข้าใจถึงเหตุผล ที่ต้องทำข้อสอบได้หรือได้เกรดที่ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจฝึกให้เขามองเรื่องการเรียนเป็นมากกว่าเรื่องของการทำเกรดให้ดี และเปลี่ยนให้ลูกมีแรงจูงใจที่อยากจะสนุกกับการเรียน หรือการลงมือทำอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยภายนอก และที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนเขาอย่างสุดความสามารถ และเติมกำลังกายใจ ให้เขารู้สึกว่าไม่ได้โดดเดี่ยวหรือต้องผ่านอุปสรรคนี้ไปโดยลำพัง

8. สอนให้ลูกรู้จักการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
ในการเข้าอกเข้าใจบุคคลอื่นนั้น คือความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและอารมณ์ของผู้อื่น รวมถึงการแสดงความใส่ใจเป็นพิเศษหากคนๆ นั้นรู้สึกไม่ดี กังวล หรือเศร้า เป็นต้น ความสำคัญในข้อนี้คือการหัดให้ลูกใส่ใจในการฟัง ฟังมากกว่าแค่คำพูด ฟังอย่างตั้งใจและหัดสังเกต ทั้งน้ำเสียงและภาษากาย ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น และใส่ใจคนรอบข้างมากขึ้น

9. สอนให้ลูกมีทักษะในการอยู่ร่วมกับคนอื่น
การอยู่ร่วมกับคนอื่น เป็นความสามารถในการแสดงออกถึงมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง เพราะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับอนาคตของเด็กๆที่ต้องเติบโต และเข้าสู๋สังคมคนหมู่มากในอนาคต ถือเป็นสิ่งสำคัญมากหากลูกเติบโตไปอยู่ในสังคมที่ต้องพบปะผู้คนมากมายในอนาคต คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เช่น การเป็นผู้ฟังที่ดี การสื่อสารด้วยวัจนะภาษา อวัจนะภาษา และการให้เกียรติผู้อื่น เป็นต้น

“ความเครียดในเด็ก” เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญ และเอาใจใส่ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยปละละเลยเป็นอันขาด หมั่นทำความเข้าใจ เปิดใจและรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของลูกอย่างแท้จริง โดยช่วงเวลาทานอาหารเช้าหรือตอนไปส่งลูกที่โรงเรียนเพื่อพูดคุยกับลูก ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกไม่กดดันมากจนเกินไป และเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียดของเขาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีต่อตัวเขาเอง ทั้งเรื่องอารมณ์ความรู้สึก การเรียน ไปจนถึงการดำเนินชีวิตวัยเด็กอย่างมีความสุขได้

อ่านบทความดีๆ จากทาง โรงเรียน ได้ที่ นานาสาระ




 

Create Date : 17 กันยายน 2565
0 comments
Last Update : 17 กันยายน 2565 17:22:46 น.
Counter : 282 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 7167747
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7167747's blog to your web]
space
space
space
space
space