กรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยสนใจบุกชม"ซิมส์ โรงงาน"
ข่าวผมเองจาก นสพ. ผู้จัดการ //www.manager.co.th/Game/ViewNews.aspx?NewsID=9500000125667
“เดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน” ฝีมือ“ธันยวัต สมใจทวีพร”ได้รับความสนใจจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเดินไปชมกันถึงอังกฤษ คาดนำเกมนี้ไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยในอนาคต ด้านผู้พัฒนามั่นใจระบบนี้ช่วยลดต้นทุนมหาศาลและยังช่วยกระตุ้นความสนใจ เพิ่มด้วย หลังจากข่าว “เดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน” ที่พัฒนาขึ้นโดย “นายธันยวัต สมใจทวีพร” ว่าที่ด็อกเตอร์ชาวไทยจากมหาวิทยาลัย “แอสตัน ยูนิเวอร์ซิตี” (Aston University)ประเทศอังกฤษ ได้ถูกนำเสนอไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในสังกัดกระทรวงแรงงานนำโดย “นายแพทย์ สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์” อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและคณะจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่สามารถนำมาประยุกต์จริงๆได้ จึงเดินทางไปแลกเปลี่ยนข้อมูลกันถึงประเทศอังกฤษเลยทีเดียว ปัจจุบันทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้วางโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อ เพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญในงานด้านการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาค การอุตสาหกรรมและการขนส่งแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้น จึงเดินทางไปแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการพัฒนาบุคลากร และเพื่อทำการสำรวจการปฏิบัติการในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในบริษัทต่าง ๆ โดยเน้นงานด้านการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นหลัก ประยุกต์การเรียนแนวใหม่ ในโอกาสนี้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย "แอสตัน ยูนิเวอร์ซิตี"และ"นายธันยวัต สมใจทวีพร" จึงได้นำเสนอแนวคิดและการทำงานของเกมแนว “เดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน”เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญให้ทาง คณะของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ฟังว่า ในการที่จะประสบความสำเร็จทางด้านการจัดการภายใต้สภาวะโลกไร้พรมแดน ผู้ดำเนินธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีทักษะและความสามารถในการจัดการหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถในการพัฒนาการเรียนรู้ภายในองค์กร ,ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา ,ความสามารถเชิงเทคนิคต่างๆ ,ความสามารถในการทำงานแบบกลุ่ม และความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม ซึ่งสถาบันการศึกษาจำเป็นที่จะต้องออกแบบกระบวนการและขั้นตอนการเรียนการ สอนเพื่อสร้างนักเรียนผู้ที่จะเป็นนักธุรกิจในอนาคตให้มีความสามารถดัง กล่าวนี้ นายธันยวัต กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายวิชาความรู้นั้น ไม่สามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควร จะเป็น เนื่องจากการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าวนั้น เน้นที่จะให้นักเรียนจำตัวนิยามหรือศัพท์ทางด้านเทคนิค หากนักเรียนไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อนก็จะไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้ในที่ทำงาน นอกจากนี้แล้วการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะสร้างภาพว่าการจัดการนั้นเป็นอะไร ที่ง่ายไม่ซับซ้อน แต่ในการทำงานจริงๆแล้ว การจัดการมันจะมีความซับซ้อนสูงมาก การแก้ปัญหาจะไม่ตรงไปตรงมาเหมือนที่เรียนในห้องเรียน ผู้สอนควรผันตัวเองเป็นโค้ช ผู้พัฒนาเดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน ชี้ให้เห็นว่า วิธีทำให้การศึกษาทางด้านนี้สัมฤทธิ์ผลนั้น การเรียนการสอนในสาขาวิชาดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างออก ไปจากรูปแบบเดิม คือจะต้องเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ และมีโอกาสนำเอาสิ่งที่รู้นั้นไปใช้จริง ได้ทดลองตัดสินใจและดูผล รวมทั้งการเรียนรู้นั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบของการเรียนเป็นกลุ่ม เนื่องจากโลกธุรกิจในปัจจุบันนั้นจะทำงานกันเป็นทีม “เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งกว่าเดิม อาจารย์ผู้สอนนั้นจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยายกลายเป็นโค้ช หรือผู้ดูแล เพื่อช่วยดูแลตรวจสอบกระบวนการคิดและตัดสินใจและช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น สุดท้ายเนื้อหาข้อมูลจะต้องถูกถ่ายทอดผ่านทางภาพเพื่อให้ง่ายต่อการสร้าง ความเข้าใจ”นายธันยวัตแนะ "เวอร์ชัวล์ รีอัลริตี้"ช่วยลดต้นทุน นายธันยวัตระบุว่า วิธีดังกล่าวนี้ไม่สามารถเป็นไปได้ หรือถ้าเป็นไปได้ก็จะแพงมหาศาลมาก แต่หากเรานำเอาเทคโนโลยีซิมูเลชันมาใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ให้ นักศึกษาได้ทดลองตัดสินใจหรือวางนโยบายต่างๆ และดูผลของการตัดสินใจนั้นก็จะช่วยให้เห็นผลง่ายขึ้น ส่วนการเรียนเป็นกลุ่มก็สามารถทำได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สมาชิกของกลุ่มอาจอยู่กระจายตามประเทศต่างๆได้ ขณะที่โค้ชนั้นก็สามารถถูกสร้างได้บนเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Intelligent Agent” (IA)ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์รูปแบบหนึ่งที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์และตอบสนอง ต่อคำสั่งได้ และสุดท้ายเนื้อหาข้อมูลก็สามารถ่ายออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ผ่านทางเทคโนโลยี “เวอร์ชัวล์ รีอัลริตี้” (Virtual Reality)ได้ หลังจากนั้น นายธันยวัตได้โชว์ตัวเกม “เวอร์ชัวล์ เวิลด์” (Virtual World) หรือเดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงานให้ทางคณะจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ชมกัน โดยเขาสาธิตให้เห็นตั้งแต่ขึ้นตอนการ “ล็อก อิน” เข้าไปที่หน้าแรกของ “เวอร์ชัวล์ เวิลด์” ผู้เล่นสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะเข้าไปยังโรงงานที่มีอยู่ 4 แห่ง ประกอบด้วยเบอร์มิงแฮม 2 แห่ง ตามด้วยโรงงานที่กรุงเทพ และเซี่ยงไฮ้ ผู้เล่นสามารถเข้าไปยังระบบได้โดยการพิมพ์ชื่อเข้าไป จากนั้นตัวระบบก็จะสร้างตัวละคร 3 มิติ ขึ้นมาแทนตัวผู้เล่น รูปแบบเกมดึงดูดใจกว่า ทั้งนี้ ผู้เล่นสามารถที่จะเดินไปยังตำแหน่งต่างๆ ในโรงงาน ซึ่งการใช้ตัวละคร 3 มิตินี้เป็นกลไกทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นเกิดความรู้สึกว่าตัวเองนั้นอยู่ในโรงงานแห่งนี้จริงๆ และทำให้การเรียนรู้นั้นดีขึ้นได้ พร้อมกันนี้ตัวโรงงานจำลองที่ถูกสร้างบนเทคโนโลยีเวอร์ชัวล์ รีอัลริตี้ จะทำให้ผู้เล่นสามารถกำหนดมุมมองได้อย่างที่ต้องการ เมื่อนักเรียนหรือผู้ที่เข้ารับการอบรมคนอื่นๆ เข้าไปในตัวโรงงานจำลอง เราก็จะทราบว่าใครบ้างที่อยู่ในโรงงานแห่งนี้ อาจเป็นคนในทีมเดียวกันหรือทีมอื่น และแม้กระทั่งจากประเทศอื่น สำหรับผู้ที่เข้าแวะเข้ามาเยี่ยมชมจะสามารถเรียนรู้ความแตกต่างของการ บริหารงานและวัฒนธรรมขององค์กรในแต่ละแห่ง อย่างที่ประเทศจีนอาจจะใช้คนมาก เมื่อเราเข้าไปในโรงงานแล้วก็จะเห็นคนจำนวนมากทำงานอยู่ หรือในประเทศอังกฤษที่มีค่าแรงแพง เราก็อาจจะเห็นคนน้อยกว่า ข้อดีระบบแชต ภายในซิมส์ เวอร์ชันโรงงานนี้ผู้เล่นยังสามารถสื่อสารกันได้ผ่านตัวอักษรหรือการแชต โดยการสื่อสารวิธีนี้มีข้อดีอยู่หลายข้อ อาทิ มันสามารถบันทึกเก็บไว้ได้ ,สามารถย้อนกลับไปตรวจสอบได้โดยง่าย และไม่ค่อยเครียดอีกด้วยเมื่อเราต้องการสื่อสารกับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะกับชาวต่างชาติ โลกของ“เวอร์ชัวล์ เวิลด์” นี้ ธันยวัตระบุ ได้สร้าง IA ไว้ 7 ตัวด้วยกัน แต่ละตัวนี้ก็จะมีบทบาทแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะมีผู้จัดการโรงงาน,ผู้จัดการการเงิน,ผู้จัดการฝ่ายการตลาด,ผู้ จัดการฝ่ายบัญชี และอื่นๆ สำหรับการสื่อสารกับผู้จัดการสามารถทำได้ง่ายๆเหมือนกับการสื่อสารระหว่าง มนุษย์ด้วยกัน โดยพิมพ์คำถามหรือคำสั่งเข้าไป หากเราต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรถยก เราสามารถขอความร่วมมือผู้จัดการโรงงานที่ชื่อ “Barry”ให้ช่วยบอกข้อมูลเพิ่มเติมส่วนในส่วนนี้เพิ่มให้หน่อย จากนั้นนาย Barry จะตอบกลับมาอยู่สองข้อ ข้อแรกเกี่ยวกับการขนส่งภายในโรงงาน ส่วนอีกข้อหนึ่งจะเป็นเป็นเรื่องอุปกรณ์การขนย้ายวัตถุดิบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้เล่นที่จะเลือกเข้าไปดูรายละเอียดที่เห็นว่าเกี่ยว ข้อง นายธันยวัตเปิดเผยหลังได้พูดคุยกับคณะจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่า ทางคณะค่อนข้างประทับใจในระบบดังกล่าวมาก และคาดว่าจะนำไปใช้ในการอบรมหรือการฝึกสอนต่อไปในอนาคต
Create Date : 26 ตุลาคม 2550 |
|
0 comments |
Last Update : 25 ธันวาคม 2550 0:56:54 น. |
Counter : 1099 Pageviews. |
|
|
|