๒๓/๐๑/๕๒
ใกล้ตรุษจีนแล้ว มองดูอะไรๆช่วงนี้ออกแนวจีนๆไปหมด เคยมองดูภาพ หยินหยาง แล้วก็ไม่เข้าใจ ว่าทำไม เขาถึงทำให้สัญลักษณ์หยินหยางต้องออกมาเป็นรูปนี้ มีขาวมีดำ ในดำมีขาว ในขาวมีดำ แค่นั้นหรือ นอกเหนือจากสิ่งที่เห็น

แต่เมื่อหลายอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเราทำให้ตัวเราได้คิดและพิจารณาหลายเรื่องราว บางครั้งมุมมอง ในการคิดแก้ปัญหา มันทำให้เราเข้าใจมากขึ้น มันไม่ใช่โจทย์คณิตศาสตร์ น่าแปลกใจ ที่มาตรฐานการศึกษาบ้านเรา มักจะเอาความถนัดทางคณิตศาสตร์มาเป็นตัววัด ทำข้อสอบได้ขี้ข้อ ผ่านกี่ข้อ ตกกี่ข้อ ทุกอย่างเป็นมาตรฐานกทางคณิตศาสตร์ทั้งนั้น ทั้งที่ปัญหา และการนำไปใช้ในชีวิตจริง มันไม่ใช่ลักษณะของโจทย์คณิตศาสตร์ ที่จะมีตัวแบ่งเป็นข้อๆ ขีดตาราง แล้วจับเข้าสูตร เพื่อหาผลลัพธ์ ออกมาได้เป็นคำตอบ......

ปัญหาที่เกี่ยวกับ มนุษย์ และสังคม ใช้ความฉลาดทางคณิตสาสตร์มาเป็นมาตรฐานการแก้ไขปัญหาไม่ได้ ในคำตอบไม่ได้มีเพียงแค่คำว่า ถูก หรือ ผิด ขาว หรือ ดำ

แต่ด้วยแนวคิดแบบมาตรฐาน เรามักจะมองว่า อ้าว เมื่อมีปัญหาตรงนี้ ก็ลงเข้าไปแก้ไขสิ ตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา ระดมสมอง แล้วแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หาผลลัพธ์ออกมา เป็นเศษกระดาษที่รายงานผลงานการประชุมและมาตรการ....แต่ท้ายสุด ก็คือเหลวเป๋ว ไม่มีชิ้นงานที่สามารถเข้ามาแก้ไข

ปัญหาในปัจจุบัน มันใหญ่ และลึกเกินกว่ารูปแบบการตั้งคณะกรรมการ หรือระบบงาน หรือการตอบโจทย์ จะแก้ไขได้แล้ว มันขึ้นอยู่กับ กระบวนการ และการแปรปรวนของปัญหา ที่จะต้องเข้าไปคิด แก้ไข ทีละจุด ทีละเปราะ ด้วยความระมัดระวัง อย่ามองภาพปัญหา เป็น ปัญหาก้อนแข็งๆที่ตายตัว แต่ต้องตั้งปัญหาในรูปแบบที่เปลี่ยนแปรได้ และสามารถที่จะเข้าตั้งรับได้อีกเมื่อเกิดปัญหาใหม่

คิดถึงเมื่อตอนที่มีคนมาถาม ช่วงที่เกิดวิกฤติปีกลาย ว่าปัญหาที่เกิดจะต้องแก้ไขอย่างไร คำตอบสำหรับตัวเองให้ไป คือค่อยๆดูไปสิ ทุกอย่างจะแก้ไขไปตามทิศทางที่มันจะเกิดขึ้น ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องไปตีโพยตีพายว่ามันยังแก้ปัญหาไม่เสร็จสิ้น

ขงเบ้งยามวางแผนเดินทัพ ไม่เคยวางแผนเกมเดียวแล้วชิงธงชัย แต่เป็นแผนที่ค่อยๆทำ ค่อยๆแก้ ติดตามไม่วางตา นอกเหนือจากรู้เขารู้เรา ต้องรู้จักกระแส และทิศทางเมื่อยามมันปรวนแปร

แตกโจทย์ และรองรับโจทย์ใหม่ แจงสูตรย่อย ทยอยแก้ไข มันไม่ใช่ลักษณะของสูตรคณิตศาสตร์ แต่เป็นการแก้ไขในลักษณะที่ปรับเปลี่ยนไป ถ้ามองภาพก็เหมือน หยินหยาง

นอกเหนือจากขาวที่กว้างที่สุด...มันก็ย่อมไหลไปสู่ ขาวที่เล็กที่สุด และถูกเบียดบังด้วยสีดำ และเมื่อสีดำกว้างที่สุด สีดำก็ย่อมไหลไปสู่ สีดำที่เล็กที่สุด เพื่อนำไปสู่สีขาว .....ใครเข้าใจตรงนี้ ก็เข้าใจการปรวนแปรของเกมการแก้ไข และสังคม มนุษย์ รวมทั้งวัฏจักร ของชีวิตและโลกด้วยเช่นกัน

วรรณวรรธน์
๒๓ มค. ๒๕๕๒



Create Date : 29 มกราคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2552 21:57:55 น.
Counter : 655 Pageviews.

0 comments

โตมิโต กูโชว์ดะ
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ร่างทรงของ "วรรณวรรธน์" โปรดอย่าถามว่าเป็นใครในอดีต รู้แต่ว่าตอนนี้ยังมีลมหายใจอยู่ เท่านั้นก็มากเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งได้รู้จักกันแล้ว
New Comments
มกราคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
30
31
 
29 มกราคม 2552