ความสุขและความทุกข์ของเราเกิดจากความคิดของตัวเองทั้งสิ้น หยุดคิดก็หยุดทุกข์
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

เราได้ข้อสรุปถึงวิธีปฏิบัติธรรมสำหรับตัวเองแล้วล่ะ

หลังจากอ่าน ฟัง คิด พิจารณา ในที่สุด เราคิดว่า เราได้วิธีปฏิบัติธรรมสำหรับ

ตัวเองแล้วล่ะ


นั่นคือ จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธคือ การพ้นทุกข์อย่างถาวร

ทีนี้ความทุกข์เกิดจากกิเลส หากกำจัดต้นเหตุคือกิเลส ความทุกข์ก็จะหมด

มันเป็นเรื่องของเหตุของผล


เราก็มาดูกันต่อว่า วิธีการจะกำจัดกิเลสนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง


ในมรรคมีองค์ 8 ซึ่งก็คือวิธีการกำจัดกิเลสนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งคือ สัมมา

วายามะ หรือความเพียรชอบ มีวิธีการอยู่ 4 ประการด้วยกันคือ

1 พยายามกำจัดกิเลสเก่าให้หมดไป

2 ป้องกันกิเลสใหม่ไม่ให้เกิด

3 พยายามสร้างคุณธรรมความดีที่ยังไม่มีในใจ

4 พยายามรักษาคุณธรรมที่มีแล้ว


จากวิธีการทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เป็นการพยายามกำจัดกิเลสทั้ง

หลายออกไป แล้วทดแทนด้วยคุณธรรม


แล้วเราจะกำจัดกิเลสเก่าออกไป กับป้องกันไม่ให้กิเลสใหม่เกิดได้อย่างไร

ก็ต้องมาดูว่า กิเลสมันทำงานอย่างไร โผล่ออกมาทางไหน


คนทุกคนมีกิเลสกันทั้งนั้น ก็เพราะมีกิเลสนั่นแหละ เราถึงได้เกิดมา ทีนี้

กิเลสนี้ มันก็จะอยู่ในใจเรา ทุกครั้งที่เราคิด ใจเราจะเอากิเลสนี่แหละมาเป็น

ข้อมูลประกอบความคิด ข้อมูลที่กิเลสให้เราจะมีแค่ ชอบกับไม่ชอบ เท่านั้น

เอง ไม่ได้มีเหตุผลอะไรอื่นเลย เช่น เราทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เพราะอะไร ถ้าเราใช้

ข้อมูลจากกิเลส คำตอบก็คือ เลือกทำเพราะชอบ


ทีนี้ทุกครั้งที่เราคิด แล้วเราใช้กิเลสเป็นข้อมูลประกอบความคิด กิเลสก็จะ

เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การจะป้องกันไม่ให้กิเลสมันเพิ่มกำลัง ก็ต้องไม่ใช้มัน

อีกต่อไป มันก็จะค่อยๆ ฝ่อไปเองได้


แต่คนเราก็ยังต้องคิด เพราะความคิดเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เมื่อเราไม่เอา

กิเลสเป็นข้อมูลประกอบความคิดแล้ว เราจะเอาอะไรมาแทนล่ะ


คำตอบก็คือ เอาข้อธรรมต่างๆ มาใช้แทนไงล่ะ

เราจึงต้องศึกษาด้วยการอ่าน ฟัง เพื่อเอาข้อมูลธรรมทั้งหลายนั้น มาใส่ไว้ใน

ความจำของเรา เมื่อเราต้องคิด เราก็ดึงเอาข้อมูลธรรมที่มีอยู่ในใจนั้น มา

ปรุงเป็นความคิด


ธรรมนั้นเป็นเรื่องของเหตุผล เรื่องของประโยชน์ อันเป็นเรื่องของการใช้

ปัญญา ไม่ใช่ใช้ความชอบไม่ชอบ


ยกตัวอย่างเช่น เราถามตัวเองว่า ทำไมเลือกกินอาหารชนิดนี้

ถ้าเป็นแต่ก่อนที่เรายังใช้กิเลสเป็นตัวปรุงความคิด เราก็จะตอบตัวเองว่า เรา

เลือกกินสิ่งนี้ก็เพราะมันอร่อยดี เราชอบ


แต่ถ้าเป็นการใช้ธรรมเป็นตัวปรุงความคิด เราจะเลือกกินเพราะมันมี

ประโยชน์กับร่างกาย อร่อยหรือไม่ ไม่ใช่เป็นเหตุผลที่เลือก


คราวนี้มาว่ากันต่อถึงวิธีการปฏิบัติธรรมในชีวิตกันล่ะ

เราก็จะใช้หลักการที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 หรือเรียกภาษาธรรมดาว่า การมี

สติตามดูกายและจิตอยู่ทุกขณะ


นั่นคือ ถ้าเมื่อไรที่เราขยับร่างกายไม่ว่าส่วนไหนก็ตาม เราก็จะกำหนดตาม

การขยับนั้นๆ เมื่อร่างกายนิ่ง เราก็ดูที่จิต หากมีความรู้สึกใดๆ เกิดขึ้น ก็

กำหนดตามนั้น รับรู้อะไรจากสิ่งภายนอกผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็

กำหนดตามให้ทัน


ส่วนที่ยากที่สุดก็คือ เรื่องความคิด เพราะมันจะคิดแวบไป

แวบมาอย่างรวดเร็ว เราไม่ต้องห้ามไม่ให้ความคิดเกิด เพราะมันเป็นเรื่อง

ธรรมชาติ แต่เวลาเกิดความคิด เราดูในความคิดนั้น


ถ้าเป็นความคิดที่ยังใช้กิเลสเป็นตัวปรุงอยู่ เช่น คิดแง่ร้ายต่อผู้อื่น เราก็หยุด

ความคิดนั้นเสีย หรืบางทีก็เป็นความคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อย เช่น คิดถึงเรื่องใน

อดีตบ้าง อย่างนี้ก็ต้องหยุด


สิ่งที่เราอนุญาตให้คิดได้ ก็คือความคิดที่ประกอบด้วยคุณธรรมเป็นตัวปรุง

เช่น เวลาเราทำงานเหนื่อย เบื่อ เราก็คิดว่าเราต้องอดทนเพราะความอดทน

คือ คุณธรรมชื่อว่า ขันติ เป็นบารมีอย่างหนึ่งที่เราควรจะฝึกไว้


กับความคิดเรื่องของการงานต่างๆ ก็คิดได้และต้องคิดด้วย เช่น คนทำงาน

เกี่ยวกับตัวเลข ก็ต้องคิดคำนวณอะไรต่างๆ ตามงานนั้นๆ


สรุปดีกว่านะ เอาเป็นว่า การปฏิบัติธรรมในชีวิตนั้นมีวิธีการดังนี้คือ

ดูตามการขยับของร่างกายและตามความรู้สึกในใจ เมื่อมีความคิดเกิดขึ้นก็

ให้ดูความคิดนั้น ถ้าคิดประกอบด้วยกิเลส ก็ให้หยุดคิด ส่วนเวลาที่เราต้อง

การจะคิด ก็ให้คิดประกอบด้วยเหตุผล ดูที่ประโยชน์เป็นหลัก


หวังว่า ท่านที่เข้ามาอ่าน คงจะได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ


ขอบคุณค่ะ




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2552
4 comments
Last Update : 28 มกราคม 2554 13:45:35 น.
Counter : 630 Pageviews.

 

การตามดูกายและดูจิตเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ใช่เลยค่ะ

แต่ว่าถ้าใจคิด ให้รู้ว่าคิดค่ะ ไม่จำเป็นต้องบอกให้มันหยุดคิด การไปบังคับให้มันหยุด มักจะไม่ค่อยสำเร็จค่ะ เพราะใจเราก็กำลังคิดอยาก ไม่ได้เป็นผู้รู้ผู้ดูอีกต่อไป

ถ้าเรารู้ว่ามันคิดไม่ดี เราก็รับรู้ว่ามันคิดไม่ดี ถ้าเราอยากให้มันหยุด ก็ให้รู้ว่าเราอยากให้ใจหยุดคิด แล้วมันจะหยุดเอง

พระท่านว่านะคะ ตัวเองก็ไม่เก่งถึงขั้นสอนใครค่ะ แค่อยากแชร์

 

โดย: อ้อ (sandseasun ) 10 ตุลาคม 2552 21:16:50 น.  

 

ใช่คะ เห็นด้วยกับคุณอ้อ บังคับให้หยุดคิดมันยาก ปล่อยให้มันคิดไปเหอะ เพียงแต่เราต้องรู้ทันมันไม่ให้มามีอำนาจครอบคลุมจิตใจเราได้(หมายถึงความคิดที่ไม่ดีหรือที่ทำให้เกิดทุกข์นะคะ)

 

โดย: เอ (เตชภาส ) 12 ตุลาคม 2552 21:28:11 น.  

 

มีดอกไม้สวยๆ มาฝากค่ะ ขอให้มีความสุขมากๆ นะคะ

 

โดย: Elbereth 20 ตุลาคม 2552 15:58:28 น.  

 

สาธุๆ เอากุศลธรรมมาเป็นตัวปรุงแต่งความคิดนี่เป็นวิธีที่เข้าใจง่ายดีจริงๆเลยครับ สรุปรวมทุกๆการกระทำเลย

ไม่ได้ทักทายกันนานเลย ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ

 

โดย: ใจพรานธรรม 23 กันยายน 2553 11:13:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


good thinking
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add good thinking's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.