ความสุขและความทุกข์ของเราเกิดจากความคิดของตัวเองทั้งสิ้น หยุดคิดก็หยุดทุกข์
Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
16 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
มงคลที่ 3

สวัสดีค่ะ ไม่พูดพร่ำทำเพลง เรามาว่ากันต่อถึงมงคลชีวิตข้อที่ 3 กันเลยนะ

คะ


มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา

ต้นไม้เมื่อยังเล็กเป็นต้นกล้าอยู่ จำเป็นต้องมีหลักค้ำประคองไว้ป้องกันไม่ให้

ล้ม รากขาดตายเสียก่อน ฉันใด

ผู้ที่หวังความเจริญก้าวหน้า ก็จำเป็นต้องบูชาบุคคลที่ควรบูชาไว้เป็นตัวอย่าง

การดำเนินชีวิตที่ถูก เป็นหลักใจ ป้องกันความเห็นผิดและอกุศลกรรมต่างๆ มิ

ให้ย้อนกลับกำเริบขึ้นมาอีก ฉันนั้น


การบูชาคืออะไร

การบูชา คือ การยกย่อง เชิดชู เลื่อมใสด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ ไม่แกล้ง

ทำ ด้วยการปฏิบัติตนต่อผู้ที่เลื่อมใสด้วยกิริยาอาการสุภาพทั้งต่อหน้าและ

ลับหลัง


การบูชาเป็นอุบายอย่างหนึ่งสำหรับฝึกใจที่ยังหยาบกระด้าง เพราะไม่อาจ

ยอมรับคุณความดีของผู้อื่น ให้ละเอียดลง ผู้ที่ยังด้อยปัญญา ยังไม่เข้าใจใน

คุณธรรมความดีของผู้ที่ควรบูชานัก แต่หากได้เคยชินกับการบูชาแล้ว ในที่

สุดย่อมสามารถเล็งเห็นคุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวของผู้ที่เราบูชาได้อย่าง

แจ่มชัด จนเกิดความเลื่อมใส กลายเป็นการบูชาอย่างแท้จริง และอยากทำ

ความดีตามอย่างท่านบ้าง


บุคคลที่ควรบูชา

คือ บุคคลทีมีคุณความดีควรค่าแก่การระลึกนึกถึงและยึดถือเป็นแบบอย่าง

ในการปฏิบัติตาม ได้แก่ ผู้มีศีล สมาธิ ปัญญาสูงกว่าเรานั่นเอง ซึ่งสรุปได้ดัง

นี้


1 พระพุทธเจ้า ทรงเป็นบัณฑิตที่ประเสริฐสุดในโลก ทรงไว้ด้วยพระปัญญา

ธิคุณ พระกรุณาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ จัดเป็นบุคคลที่ควรบูชาของพุทธ

ศาสนิกชนทั้งหลาย

2 พระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบก่อน แล้วจึงสอนให้ผู้อื่นประพฤติดี

ตามอย่าง

3 พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นธรรมราชา จัดเป็นบุคคลที่

ควรแก่การบูชาของประชาชน

4 บิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ที่มีความประพฤติดี เป็นบัณฑิตอยู่ในฐานะสูง

เกินกว่าจะคบ จัดเป็นบุคคลที่ควรแก่การบูชา

5 ครูอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ มีความประพฤติดี เป็นบัณฑิตอยู่ใน

ฐานะสูงเกินกว่าจะคบ จัดเป็นบุคคลที่ควรแก่การบูชา

6 ผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม จัดเป็นผู้ที่ควรบูชาของผู้

อยู่ใต้บังคับบัญชา


วัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับบุคคลที่ควรบูชา ก็จัดว่าเป็นวัตถุที่ควรบูชาเช่นกัน เช่น

รูปพระ รูปบิดา มารดา เป็นต้น


การแสดงออกถึงความบูชา ก็ทำได้ทางกาย วาจา และใจ


การบูชาในทางปฏิบัติ มี 2 ประเภท คือ

1 อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ

2 ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาด้วยการตั้งใจประพฤติตามคำสอน ตามแบบอย่าง

ที่ดีของท่าน


อย่าบูชาสิ่งที่ไม่ควรบูชา เพราะจะนำไปสู่ความงมงาย หลงผิด จิตขุ่นมัวเป็น

พาลไป นั่นคือ


ไม่บูชาคนพาลและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคนพาล

ไม่บูชาสิ่งที่บูชาแล้ว ไม่ทำให้เกิดสิริมงคล เช่น ดารา นักร้อง ที่ไม่มี

คุณธรรม

ไม่บูชาสิ่งที่บูชาแล้วโง่ เช่น ต้นไม้ใหญ่ คนทรง ลูกกรอก


อานิสงส์การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

1 ยังความเห็นถูกที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

2 ยังความเห็นถูกที่เกิดแล้ว ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น

3 ทำให้มีกิริยามารยาท สุภาพอ่อนโยน น่ารัก น่านับถือ

4 ทำให้จิตใจผ่องใส เพราะตรึกอยู่ในกุศลธรรมเสมอ

5 ทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ขึ้น เพราะมีความสำรวมระวังเป็นการป้องกัน

ความประมาท

6 ป้องกันความลืมตัวความหลงผิดได้ เพราะตระหนักอยู่เสมอว่า ผู้ที่มี

คุณธรรมสูงกว่าตน ยังมีอยู่

7 ทำให้เกิดกำลังใจและอานุภาพอย่างมหาศาล สามารถคุ้มครองป้องก้นตน

ให้พ้นจากอุปสรรคและภัยพาลต่างๆ ได้

8 เป็นการกำจัดคนพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อม เพราะมีแต่คนบูชาบัณฑิต

ผู้มีคุณธรรม

9 เป็นการเชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่น ทำให้ท่านสามารถบำเพ็ญกรณียกิจได้

สะดวก กว้างขวางยิ่งขึ้น


จาก หนังสือ มงคลชีวิต ฉบับ ธรรมทายาท เรียบเรียงโดย พระสมชาย ฐานวุฑฺโฒ


Create Date : 16 มกราคม 2552
Last Update : 28 มกราคม 2554 13:34:35 น. 3 comments
Counter : 766 Pageviews.

 
อ่านแล้วต้องขอ ขอบพระคุณ จขบ มากมากที่นำมาลงให้อ่านอ่ะครับ


โดย: everything on วันที่: 18 มกราคม 2552 เวลา:9:19:43 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


...สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ...


โดย: doctorbird วันที่: 18 มกราคม 2552 เวลา:12:54:50 น.  

 
zwani.com myspace graphic comments


...นอนหลับฝันดีนะครับ...


โดย: doctorbird วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:22:58:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

good thinking
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add good thinking's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.