Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
23 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
ผู้ส่งออกไทย-ญี่ปุนสวดยับรัฐบาลไทยไร้น้ำยา แก้ปัญหาไม่ตรงจุด น้ำในนิคมลดเมื่อไหร่ยังตอบไม่ได้

ผู้ส่งออกไทย-ญี่ปุนสวดยับรัฐบาลไทยไร้น้ำยา คำตอบง่าย ๆ น้ำลดเมื่อไหร่ในนิคมยังตอบไม่ได้ ขณะที่มาตรการเยียวยาเรื่องสินเชื่อออกกฎเข้มจนผู้ประกอบการเข้าไม่ถึงเม็ดเงิน พร้อมเผยโรงงานญี่ปุ่น-ฝรั่งเตรียมย้ายฐานการผลิตแล้ว





วันนี้( 22 พ.ย.) ทางกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้มีการเชิญทางผู้ประกอบการส่งออกในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสมาคมต่าง ๆที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมาร่วมประชุม เพื่อชี้แจงมาตรการให้ความช่วยเหลือและการบรรเทาอุทกภัย โดยมีนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน





ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์รายงานจากที่ประชุมว่า ที่ประชุมได้มีตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ตัวแทนจากสถาบันการเงินทั้งธนาคารรัฐ และธนาคารพาณิชย์ เข้าร่วมประชุม บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลากว่า 4 ชั่วโมง โดยภาพรวมส่วนใหญ่ภาคเอกชนยังแสดงความไม่พอใจในมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูของภาครัฐ เพราะทุกคนเห็นว่า มาตรการเยียวยาและแก้ปัญหาที่ออกมาไม่ตรงกับสิ่งที่ภาคเอกชนต้องการ การแก้ปัญหาของภาครัฐยังไม่มีมาตรการและการบริหารจัดการเรื่องภัยน้ำท่วมที่ชัดเจน





โดยผู้ส่งออกหลายสมาคมพูดไปในทิศทางดียวกันว่า รัฐบาลจะต้องเร่งความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติ แต่ที่ผ่านมาคำพูดของรัฐบาลขาดความน่าเชื่อถือ เริ่มตั้งแต่บอกว่าน้ำจะไม่ท่วมนิคมอุตสาหกรรม แต่ในที่สุดก็ถูกน้ำท่วม จนถึงปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมแล้ว รัฐบาลไม่สามารถบอกได้ว่า เมื่อไหร่น้ำจะลด เมื่อไหร่จะเตรียมระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมให้กลับมาผลิตสินค้าได้อีก ส่งให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมต่าง ๆ เตรียมแผนที่จะย้ายฐานการลงุทนไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะล่าสุดหอการค้าญีปุ่นได้สอบถามมายังรัฐบาลไทย แต่รัฐบาลไทยยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการของญี่ปุ่นในนิคม 7 แห่ง 60-70% หลายบริษัท ได้ส่งวัตถุดิบกลับไปผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่นแล้ว เพื่อกระจายความเสี่ยง ขณะที่มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินมีเงื่อนไขและข้อจำกัดค่อนข้างมากในการที่ผู้ประกอบการจะขอสินเชื่อดังกล่าว




นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้สัมภาษณ์กับ "มติชนออนไลน์" ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมต้องการสภาพคล่อง ต้องการสินเชื่อ เพื่อมาฟื้นฟูกิจการ ซึ่งภาครัฐมีมาตรการปล่อยสินเชื่อมาช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม(SMEs) แต่ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงเม็ดเงินดังกล่าวได้ ด้วยข้อจำกัดเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อ จึงอยากให้ภาครัฐเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อ





ยกตัวอย่างกรณีที่นำเงินของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เข้ามาช่วยค้ำประกันวงเงินสินเชื่อให้ในการปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอีเป็นโครงการดี แต่วิธีการดังกล่าวยังไม่จูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของรัฐที่เข้าร่วมโครงการสนใจ เพราะการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อของบสย.จะค้ำประกันในแบบของ หลักทรัพย์รวม(Protfolio) ไม่ใช่รายต่อราย ปรากฎว่าความรับชอบของบสย.ต่อธนาคารพาณิชย์ ไม่จูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อ ทำให้เอสเอ็มอีเข้าไม่ถึงแหล่งเงินสินเชื่อ เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สมาคมธนาคารไทย และธนาคารต่าง ๆ ทราบดี เพราะว่าวงเงินนี้ไม่ใช่วงเงินใหม่เป็นเรื่องที่ทำมานานแล้ว จึงอยากให้ธนาคารพาณิชย์และบสย.ปรึกษาหารือกันว่า ทำอย่างไรให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่แท้จริง





"ผมห่วงมาก หากเลยจากนี้ไปในที่สุดเอสเอ็มอีทนไม่ได้ รอไม่ได้ ก็อาจจะล้มหายตามจากไปบางส่วน เพราะติดขัดเรื่องข้อระเบียบระหว่างบสย.กับสถบันการเงินซึ่งข้อจำกัดมี 2 ข้อใหญ่ 1.อยากให้ค้ำประกัน 30% ก็ให้ค้ำประกันเป็นรายผู้ประกอบการ หากธนาคารพาณิชย์ประเมินแล้วว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายนี้สามารถปล่อยสินเชื่อได้ บสย.ค่อยอนุมัติตาม อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อในปัจจุบัน เพราะมีวงเงินจำกัดใน Protfolio ความรับผิดชอบอยู่แค่นี้ สมมติปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีไป 100 ล้านบาท ปรากฎว่า รายที่ 1-5 เต็มวงเงินที่ให้อยู่ กลายเป็นหนี้เสีย ส่วนที่เหลือสถาบันการเงินต้องรับผิดชอบเอง ก็ไม่จูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี จุดนี้ทำให้ไม่เกิดการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่แท้จริง"




2.เรื่องการฟ้องร้องเรื่องหนี้เสีย บางธนาคารบอกว่า บสย.จะชดใช้เงินกรณีหนี้เสียต่อเมื่อคดีดำเนินการถึงที่สุด ซึ่งเรื่องนี้บสย.ได้ชี้แจ้งกับทางสภาอุตสาหกรรมใหม่ว่า จะจ่ายเมื่อถูกฟ้องร้องทันที ซึ่งไม่รู้สถาบันการเงินจะว่าอย่างไร แต่ได้รับการยืนยันจากบสย. ข้อนี้อาจจะทำให้สถาบันการเงินผ่อนคลายข้อจำกัดไป




นอกจากนี้ สิ่งที่ สอท.ต้องการให้เข้ามาช่วย อาทิ เรื่องนโยบายในภาคประชาชนเรื่องที่อยู่อาศัย การฟื้นฟูอุตสาหกรรม วงเงินสินเชื่อ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ต้องลดลง ขอให้เป็นรูปธรรม และขอให้ช่วยต่อเนื่อง เรื่องการเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ และต้องมีโครงการแผนงานระยะยาวที่จะให้ความเชื่อมั่นว่า จะไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก จะมีวิธีการป้องกันอย่างไร มีมาตรการแก้ไขอย่างไร การบริหารจัดการเรื่องน้ำ ตอนนี้ยังตอบอะไรไม่ได้ กยอ.และกยน.เราเองต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งไม่มีใครขยายฐานการลงทุนแล้ว




นายเชียรช่วง กัลยาณมิตร กรรมการบริหาร บริษัท แม็กซอน ซิสเทม และตัวแทนจากสมาคมกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้สัมภาษณ์ว่า ทางกำลังหารือที่จะย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังภูมิภาคอื่น โดยคาดว่าประเทศที่จะไปตั้งโรงงานผลิตคือประเทศอินเดียเพราะมีค่าการลงทุนที่ต่ำและมีจำนวนประชากรจำนวนมาก พร้อมกันนี้ยังบอกอีกว่า กลุ่มนักลงทุนบางราย เช่น บริษัทแม็กซอน บริษัท มินิแบร์กำลังตั้งโรงงานการผลิตที่จังหวัดศรีโสภณ ประเทศกัมพูชาเพราะมีค่าแรงต่อคนประมาณ 80 บาทต่อวันเท่านั้น เหตุผลที่นักลงทุนเริ่มย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังภูมิภาคอื่นเพราะรัฐบาลไทยมักจะแก้ไขปัญหาทางการเมืองมากกว่าปัญหาเศรษฐกิจ





ตัวแทนสมาคมกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ กล่าวต่อไปว่า กว่านิคมอุตสาหกรรมสหรัตนครและนิคมโรจนะซึ่งเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนกระแสไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเริ่มกระบวนการผลิตได้ก็ต้องรอไปถึงวันที่ 15 เมษายน ปีหน้าเป็นอย่างน้อยเนื่องจากระบบกระแสไฟฟ้าที่จะใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างนั้น ๆ จะเริ่มใช้ได้ในวันดังกล่าวเป็นต้นไป ที่รัฐบาลประกาศว่ากระแสไฟฟ้าจะเข้ามาในนิคมอุตสาหกรรมทั้งสองนั้นในวันที่ 15 ธันวาคมนั้นเป็นเพียงกระแสไฟฟ้าแสงสว่างริมถนนเท่านั้น





"ยังให้รัฐบาลรีบประกาศอย่างชัดเจนว่ากระแสไฟฟ้าจะเข้ามาในโรงงานได้เมื่อไร หรือกระทรวงพาณิชย์ควรเป็นแม่งานในการให้ความช่วยเหลือนิคมอุตสหากรรม รีบสูบบน้ำออกจากนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกต้องเป็นแม่งานในการไปเจรจากับลูกค้าการต่างประเทศ ให้รักษาฐานการตลาดให้คงที่" นายเชียรช่วงกล่าว




นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานการประชุมได้กล่าวในตอนท้ายว่า ขอรับปัญหาและข้อร้องเรียนของภาคเอกชนทั้งหมดไปรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเรียนทางนายกรัฐมนตรีให้ทราบต่อไป แต่หากเรื่องใดเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่จะช่วยเหลือแก้ไขได้จะเร่งดำเนินการให้


Create Date : 23 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2554 14:09:13 น. 0 comments
Counter : 523 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Wanlay_kukkuk
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add Wanlay_kukkuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.