กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
30
31
 
 
22 กรกฏาคม 2555
กราฟ ครั้งที่ 1 21/07/12


ผมจะอธิบายความหมายแต่ละ indicator อย่างง่ายๆจากบนลงล่างนะครับ

1. กรอบบนซ้ายมือเพื่อนๆจะมี BB 3 ตัว

BB = bollinger bands = กรอบการเคลื่อนไหวของหุ้น

bb top / bb avg / bb btm

bb top จะเป็นกรอบบนซึ่งราคาหุ้นมักจะขึ้นมาทดสอบจุดนี้แล้วโดนมนต์สะกดให้อ่อนแรงลงจุดนี้จึงเหมือนกับแนวต้านสำคัญ

bb avg เป็นค่าเฉลี่ย และเป็นแนวรับที่ดีสำหรับการ trade ระดับกลาง

bb btm หรือ bb bottom เป็นกรอบล่างของการเคลื่อนไหวราคาหุ้นซึ่ง ส่วนมากหากราคาลงมาที่ระดับนี้แล้วมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณว่าโดนแล้วเด้งน่ะครับ

การวิเคราะห์ BB ในการ trade

จากรูปประกอบกราฟ set เราสามารถมอง BB เป็น trend line ได้อย่างนึงดูจากลักษณะกรอบการเคลื่อนไหว ว่าวิ่งขึ้นหรือวิ่งลง

ปกติ หุ้นขาขึ้น BB TOP จะทำจุดสูงขึ้นเรื่อยๆ และหากหุ้นขาลง BBBOTTOM ก็จะทำจุดต่ำลงเรื่อยๆ กรณีที่กรอบ BB ออกแนวเส้นขนานหุ้นจะออกแนว side way ทำกำไรยากครับ

การเก็งกำไร
หากหุ้นมีกรอบBB ที่กว้างโอกาสการทำกำไรก็สูง หากราคาอยู่ระดับต่ำกว่า BB AVG หรือ ราคาอยู่ที่ BB BTM ก็มีช่องการทำกำไรได้ดีกว่า หุ้นที่ถูกตีกรอบแคบๆครับ

หุ้นนอกกรอบ
ใน กรณีหุ้นราคาร้อนแรงจนราคาทะลุ BB TOP ขึ้นไปได้หาราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไร้กรอบมาจำกัดถ้าเจอหุ้นแบบนี้เกาะให้ดีคุณจะได้ยาว เช่น UMI ที่ผ่านมา
แต่มีข้อระวังด้วยหากทะลุมาแล้วราคาย่อลง อาจจะถูกกดให้กลับไปอยู่ในกรอบได้ แบบนี้จะออกแนวลากให้สูงแล้วขายทำกำไรครับ

BB กรอบถ่าง ดูดีๆ

กรณีนี้หากBB TOP ถ่างออกจากแนวระนาบชี้ไปข้างบน หากราคาไต่ BBTOP อยู่ควรจะlet profit run เพราะ กรอบบน ยกขึ้นโอกาสราคาสูงไปเรื่อยๆมีสูงมาก

กรณีที่BB BTM ถ่างออกจากแนวระนาบและชี้ไปข้างล่าง หากราคา ไต่ BB BTM อยู่ควรจะ cutloss อย่างไว เพราะราคามีโอกาสต่ำลงไปอีกตามกรอบครับ





Create Date : 22 กรกฎาคม 2555
Last Update : 23 กรกฎาคม 2555 17:26:54 น.
Counter : 5033 Pageviews.

24 comments
  
ต่อไป เป็น EMA นะครับ

EMA เป็นค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง ตาม time frame หรือระยะเวลาที่กำหนด ตอนนี้เราใช้ระยะวันเป็นเกณฑ์นะครับ ตัวเลขหลัง EMA จะเป็นตัวบอกเราว่าดูค้าเฉลี่ยย้อนหลังกี่วันครับ
การประยุกต์ EMA ในการใช้งาน

EMA เป็นตัวเลขที่สำคัญนะครับ ในการใช้ดูแนวรับ แนวต้านของราคาหุ้น มีรายละเอียดเยอะมาก แต่จะคัดมาให้ที่จำเป็นและสำคัญเบื่องต้นครับ

การ เลือกใช้ EMA ขึ้นอยู่กับ สไตร์การเล่นของแต่ละคน แต่ในที่นี้ผมเลือก ระยะ day จะเหมาะกับ EMA5 ซะส่วนใหญ่ แต่ก็มีส่วนน้อยนะครับที่อาจจะต้องดูลงไปถึง EMA10 ซึ่งจะเป็นหุ้นที่พื้นฐานดีค่อยๆขึ้น ค่อยๆลง
ระยะ day ที่เราเล่นรอบขึ้นลงกันอยู่นี้ ดู EMA5 นะครับ มีประโยชน์มากมายครับเจ้าตัวนี้

ใน กราฟตัวอย่าง จะเป็นเส้นสีเหลืองค่อนข้างเด่น ลองมองตามเส้นเหลืองสิครับ คุณจะเห็นการเคลื่อนที่ เป็นแนวขึ้น หรือ ลงได้ชัดเจนเลยครับ

ประโยชน์ ข้อแรกของ EMA5 ช่วยให้คุณมอง trend ว่าขึ้นหรือลงได้ในระดับหนึ่งครับ
ทีนี้ถ้าหุ้นตัวไหนเส้น EMA5 หัวทิ่มก็คงไม่ต้องบอกนะครับว่าคุณจะเข้าไปซื้อ เช่น advanc / cpf / intuch เดี๋ยวจะมีภาพประกอบในเรื่องการสอนดูแนวรับแนวต้านอีกทีครับ

อีกอย่างที่เป็นประโยชน์
การที่ราคาหุ้นยืนเหนือ EMA5 ได้ ถือเป็นหุ้นขาขึ้น
การที่ราคาหุ้นยืนต่ำกว่า EMA5 นั้น ถือเป็นหุ้นขาลง
อันนี้ต้องดู indicator ตัวอืนประกอบด้วยครับ
EMA5 ยังใช้เป็นแนวรับแนวต้านที่สำคัญระดับ day อีกด้วยครับ
ถ้าหุ้นขาขึ้น EMA5 จะเป็นแนวรับที่ดีและไม่ค่อยหลุดจึงนิยมใช้เป็นแนวรับ

ถ้าหุ้นขาลง EMA5 จะเป็นแนวต้านที่ดีเช่นกันครับ ไม่รู้เป็นไร ต่อให้เด้งขึ้นพอชน EMA5 ก็จะลงไปต่อครับ

ส่วน EMA10 ขึ้นไปใช้สำหรับเล่นรอบใหญ่กว่า day trade ครับ จะเหมาะกับผู้ที่ถือหุ้นยาวเป็นเดือนๆซะส่วนใหญ่ ไว้สำหรับตั้งเป็นแนวรับหรือดูประกอบการวิเคราะห์ trend อีกที
อย่างเช่นกรณี การทำ golden cross
จะ เกิดจากการ ปรับค่าเฉลี่ย เรียงจากมากไปน้อยได้ ในการเรียง EMA จากน้อยไปมาก เกิดขึ้นในวันแรก และจะส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนเป็น trend ขาขึ้นอย่างสมบูรณ์ครับ
จบ EMA สอบถามมาก่อนครับ
ถ้าไม่มีจะขึ้น ADX
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:23:11 น.
  
ต่อไป ADX จะแสดงถึงแรงซื้อ แรงขาย
ซึ่งจะช่วยกรองข้อมูลอีกครั้งว่าหุ้นที่ขึ้นอยู่นี่ ขึ้นจริงหรือหลอกขายของ
ในทางกลับกัน พอจะบอกได้ว่าหุ้นที่ลงอยู่หลอกเก็บของหรือขายทิ้งหมดรอบแล้วครับADX
ประกอบด้วย DI+ แสดงถึงแรงซื้อ ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้น แสดงว่ามีแรงซื้อเข้ามามาก ราคาน่าจะปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง

DI- แสดงถึงแรงขาย ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้น แสดงว่าแรงขายมาก ราคาน่าจะปรับตัวลดลงได้ครับ
ปกติแล้ว การตัดกันของเส้น adx เมือ di+ ตัดลง di- จะเป็นสัญญาณขาย และถ้า di+ ตัดขึ้น di- จะเป็นสัญญาณซื้อ แต่หลักปฏิบัติอาจจะช้าเกินไป เท่าที่ดูนะ EMA5 จะไวกว่า
ดังนั้นเราจึงต้องมองประกอบกันถึงจะได้ผล

เห็นมั๊ย นี่แค่ 2 ตัวเองนะ การ trade จริงๆ คุณต้องมองทุกตัวประกอบกันครับถึงจะพลาดน้อยที่สุด
ADX
ยังมีประโยชน์อีกอย่างในการหาจะสูงสุดของราคา
ในกรณีที่ เส้น adx ตัดขึ้นไปยืนเหนือ di+ แล้วย่อลงมา มักจะเป็นจุดสูงสุดของราคาในรอบนั้นๆครับ ถ้ารูปแบบเป็นอย่างนี้แสดงว่าเริ่มขาลง

ส่วค่าของ adx ท่องไว้ หากสูงกว่า 25 จะบอกทิศทาง trend ประกอบได้
หากต่ำกว่า 25 จะออกเป็น sideway

มีคำถามสงสัยอีกแล้วครับ
1.DI+ แสดงถึงแรงซื้อ ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้น แสดงว่ามีแรงซื้อเข้ามามาก / คำถามคือแรง ซื้อมากกว่าอะไร ?
2.DI- แสดงถึงแรงขาย ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้น แสดงว่าแรงขายมาก / คำถามคือแรงขายมากกว่าอะไร ?

มีอะไรที่เป็นเกณฑ์บ่งบอกมั้ยครับ
โดย: koongh

มากว่าวันก่อนครับ
เช่น di+ เมื่อวาน 25 ส่วนวันนี้ di+ 27 แสดงว่าแรงซื้อวันนี้มากกว่าเมื่อวานครับ ซื้อมากขึ้นราคาน่าจะเพิ่มนะ
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:23:24 น.
  
ตัวถัดไป williams %R
INDICATOR ตัวนี้เพิ่งศึกษาได้ไม่นาน ขอยก credit ให้
คุณหมอสัจจะครับ ที่อธิบายไว้ใน blog ตาม link นี้นะครับ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=doctor-sajja&month=06-2012&date=09&group=11&gblog=63
โดยสรุปสำหรับ williams จะใช้ดูประกอบสัญญาณการซื้อขายได้ดีครับ
หาก ค่าwilliamsเกิน 80 % จะเป็นสัญญาณขาย หาก ต่ำกว่า 20% เป็นสัญญาณซื้อครับ ตัวเลขดังกล่าวคือทฤษฎี หลักปฎิยัติ อาจจะต้องใช้สัญญาณตัวอื่นประกอบด้วยครับ
พอดีผมไปเจอ blog ของคุณ ลีเปรม
อ่านเข้าใจง่าย เลยขอ นำมาฝากเพื่อนๆ
ไว้อ่านทำความเข้าใจแล้วผมจะสอดแทรก
เกร็ดความรู้เพิ่มเติมให้นะครับ จะได้ครบถ้วนอย่างรวดเร็วทันใจ
ไม่รู้เจ้าของ blog อนุญาตหรือเปล่า แต่ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้นะครับ

เราจะได้เข้าเรื่องการวิเคราะห์หุ้นรายตัวกันอีกทีนะครับ อย่าลืมอ่านกันให้ดีเพราะจะต้องนำ รายละเอียดทั้งหมด
มาวิเคราะห์ทำการซื้อขายประมาณ 80% อีก 20% เป็นการพลิกแพลงจากประสบการณ์ และความชำนาญส่วนตัวครับ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cirkit&month=07-2008&date=31&group=3&gblog=71

เข้าไปอ่านดู สงสัยอะไรสอบถามมาเลย
ระหว่างนี้ผมจะคอยเสริมให้ใน indicator แต่ละตัวนะครับ
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:23:48 น.
  
RSI

เครื่องมือดัชนีกำลังสัมพัทธ์
RSI : RELATIVE STRENGTH INDEX

RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (RSI) คือ การคำนวณหาพละกำลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ของตลาดหรือของหุ้นใดหุ้นหนึ่ง (INTERNAL STRENGTH) โดยดูจากอัตราส่วนที่ “แกว่ง” ไปมาอยู่ระหว่างการขึ้นลงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และภายใน “เวลา” ที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลา 14 วัน เราจึงเรียกว่า 14 RSI

สูตรการคำนวณ 14 RSI

RSI = 100 - 100
1+RS

RS = ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน
ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน

หรือใช้สูตร

RSI = 100 XU
U+D

U = AVERAGE OF 14 DAY’S UP CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน)
D = AVERAGE OF 14 DAY’S DOWN CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน)



ระดับซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไป (OVERBOUGHT & OVERSOLD)

ระดับ “การซื้อมากเกินไป” ของ 14 RSI อยู่ที่บริเวณระดับสูงเกิน 70% ส่วนระดับที่มีการขายมากเกินไปอยู่ต่ำกว่าบริเวณ 30% และมีกฎว่าถ้าเส้น 14 RSI ลดต่ำลงมามากเท่าใดจะทำให้เกิดภาวะ OVERSOLD ซึ่งโอกาสที่ราคาหุ้นจะตีกลับขึ้นไปในลักษณะการ “ปรับตัวทางเทคนิค” มีอยู่สูง ในทางกลับกัน ถ้าเส้น 14 RSI วิ่งสูงขึ้นจนเข้าไปในเขต OVERBOUGHT แล้ว โอกาสที่ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลงก็มีเช่นเดียวกัน

copy มาให้ดูครับ credit blog คุณลีเปรม
การประยุกต์ใช้ RSI

ตัวเลขดังกล่าว ในทางปฏิบัติแล้ว ผมเเห็นบ่อยเมื่อหุ้นขึ้นแรงๆ ส่วนใหญ่ rsi จะวิ่งระดับ 70-90 กว่าตลอดต่อเนื่อง
ในทางตรงช้าม พอหุ้นตกลงต่อเนื่อง rsi บ่อยครั้งก็ วิ่งแถวๆ ต่ำกว่า 30 ไม่ขึ้นก็มี
ดัง นั้นเมื่อเกิด overbought / oversold แล้วก็ไม่ใช่ว่าต้องซื้อต้องขายทันที แต่จะต้องดู indicator ตัวอื่นประกอบด้วยทุกครั้ง ถึงจะตัดสินใจได้ถูกต้อง

ส่วนตัวผมจะดู ระดับหนึ่งว่า rsi วิ่งขึ้นหรือวิ่งลง เป็น trend ราคาถือต่อหรือขาย
อีกอย่างที่ rsi ช่วยวิเคราะห์ได้

หากราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า high เดิมแต่ ค่า rsi ต่ำกว่า ค่าrsi ของ high เดิม ราคาหุ้นนั้นอาจจะไม่ปรับสูงขึ้นกว่าเดิมอีกหรืออาจจะปรับตัวลงแทน

ใน ทางกลับกัน หากราคาหุ้นปรับตัวลดลง มากกว่า low เดิมแต่ ค่า rsi สูงกว่า ค่าrsi ของ low เดิม ราคาหุ้นนั้นอาจจะไม่ปรับลงต่ำกว่าเดิมอีกหรืออาจจะปรับตัวขึ้นแทน
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:24:02 น.
  
เรื่องต่อไปนะครับ Fast Stochastic

copy มาให้ดูครับ credit blog คุณลีเปรม



สโตแคสติกส์แบบเร็ว FAST STOCHASTIC

STOCHASTIC แบบเร็วนี้ เป็นเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของระดับราคาในปัจจุบัน ภายในช่วงกว้างของระดับราคา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งมีการแกว่งตัวที่รวดเร็วมาก จึงทำให้หลายฝ่ายไม่นิยมใช้ เนื่องจากมีการแกว่งตัวที่ผันผวนและไม่แน่นอน ดังนั้น SLOW STOCHASTIC จึงเป็นที่นิยมใช้มากกว่า STOCHASTIC นี้ประกอบด้วยค่าดัชนีสองค่าคือ %K และ %D โดยจะบอกถึงภาวะซื้อมากไป (OVERBOUGHT) เมื่อ STOCHASTIC ตัดเส้น 80% ขึ้นไป คืออยู่ในช่วงระหว่างเส้น 80% ถึง 100 % และจะบอกภาวะขายมากไป (OVERSOLD) เมื่อ STOCHASTIC เตือนชี้จะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น 20% ลงมา และสัญญาณซื้อจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %Kตัดเส้น %D ขึ้นไป สำหรับสัญญาณเตือนขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %D ตัดเส้น 80% ขึ้นไป และสัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อเส้น %K ตัดเส้น %D ลงมา

FORMULA

FAST %k = CURRENT CLOSE – LOWEST LOWn
HIGHEST HIGHn – LOWEST LOWn

%D = 3 PERIOD MODIFIED MOVING AVERAGE OF FAST %k

n = NUMBER OF PERIODS

เรื่องต่อไปนะครับ Slow Stochastic

copy มาให้ดูครับ credit blog คุณลีเปรม

สโตแคสติกส์แบบช้า SLOW STOCHASTIC

SLOW STOCHASTIC เป็นอีกแบบหนึ่งของเครื่องมือวัดการแกว่งตัวของราคา ที่ถูกทำให้ราบเรียบขึ้นจาก FAST STOCHASTIC ซึ่ง SLOW STOCHASTIC ใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE ในการหาค่า SLOW %K เท่ากับ 3 PERIOD แต่ใน FAST STOCHASTIC ค่าของ FAST %Kจะใช้ MODIFIED MOVING AVERAGE เท่ากับ 1 PERIOD หรือไม่มีการเฉลี่ยนั่นเอง

FORMULA

SLOW %K = 3 Period Modified Moving Average of FAST %K

%D = 3 Period Modified Moving Average of SLOW %K

หลักการวิเคราะห์ SLOW STOCHASTIC ใช้หลักเดียวกันกับ FAST STOCHASTIC

การประยุกต์ใช้ fast & slow stochastic

2 ตัวนี้ผมให้ความสำคัญอันดับต้นๆ รองจาก Ema นะครับ
สิ่งหนึ่งซึ่งใช้ได้ดี คือการตัดกันของเส้น %K และ %D

หาก%K ตัด ลง%D ลงมา หรือ ค่า%K น้อยกว่า ค่า%D เป็นสัญญาณกลับตัวจากขึ้นเป็นลงครับ
หาก%K ตัด ลง%D ขึ้นไป หรือ ค่า%K มากกว่า ค่า%D เป็นสัญญาณกลับตัวจากลงเป็นขึ้นครับ

ส่วน การเลือกใช้ fast และ slow ขึ้นอยู่กับนิสัยหุ้นของแต่ละตัว อันนี้ความแม่นยำจะเกิดจากการเรียนรู้ครับ เพราะ fast จะเร็วกว่า slow
ทำให้เกิดการ error ของสัญญาณ โดนหลอกได้ครับ
ในทางกลับกัน slow จะช้ากว่า fast
ทำ ให้เกิดการ error ของสัญญาณบางทีก็ช้าเกินไปสำหรับหุ้นบางตัวได้ครับ ทั้งนี้ต้องดู indicator ตัวอื่นๆ ประกอบด้วยครับถึงจะตัดสัญญาณลวงออกไปได้
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:24:24 น.
  
เรื่องต่อไปนะครับ MACD

copy มาให้ดูครับ credit blog คุณลีเปรม

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง / แยกทาง
MOVING AVERAGES CONVERGENCE/ DIVERGENCE

เครื่อง มือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีจะให้สัญญาณซื้อขายที่ถูกต้อง ชัดเจน ในสภาพตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เครื่องมือที่เหมาะสำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้น - ปานกลาง (4-6 อาทิตย์) ที่ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงกว้าง ๆ คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง - แยกทาง (MACD)

MACD เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่สร้างขึ้น และพัฒนาโดย GERALD APPEL ในปี ค.ศ.1979 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับราคา (TREND FOLLOWING) สามารถใช้วัดระดับ (DEGREE) ตลาดว่าเป็นตลาด BULL หรือตลาด BEAR

วิธีการคำนวณ
เส้น MACD สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นนี้ นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL ส่วนจำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ย ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ 12 วัน และ 25 (หรือ 26 วัน) มีข้อสังเกตว่า เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวนี้ จะมีระยะเวลายาวนาน กว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นประมาณ 1 เท่า

การให้สัญญาณซื้อขายที่นิยมวิธีหนึ่งของ MACD คือ การใช้สัญญาณ (SIGNAL LINE) ตัดกับเส้น MACD

MACD = EMA (12 DAYS) - EMA (25 DAYS)
SIGNAL LINE = EMA 9 DAYS OF MACD
EMA = EXPONENTIAL MOVING AVERAGE

เส้น MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) จะเหวี่ยงตัวอยู่บนกราฟที่มี SCALE 0 เป็นค่าแกนกลาง

หลักการวิเคราะห์

1. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขึ้นระยะกลาง
2. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มลงระยะกลาง
3. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL)
4. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มลดลง เป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL)
5. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
6. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
7. ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับยอดเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
8. ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับฐานเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น
9. ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นบวก แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BULL
10. ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นลบ แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BEAR

ข้อสังเกต

เครื่อง มือวิเคราะห์ทางเทคนิคแบบ MACD นี้ อาจมีข้อจำกัดสำหรับตลาดหุ้นไทย ในความเป็นจริง คือ MACD มักจะให้สัญญาณซื้อขายค่อนข้างช้า ดังนั้น จึงควรนำเอาเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้สำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้นมาประกอบพิจารณาในการซื้อขายด้วย เช่น STOCHASTIC และ MOMENTUM เป็นต้น

การใช้เครื่องมือ MACD เพียงอย่างเดียว มักจะทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้กำไรสูงสุด ดังนั้น จึงควรนำหลักการของ DIVERGENCE มาประกอบการตัดสินใจ

การประยุกต์ใช้ MACD

MACD เป็นตัวช่วยยืนยันสัญญาณการขึ้น-ลง ของราคาหุ้นได้ดีครับ
โดยส่วนตัว จะดูประกอบ trend ราคาว่าสอดคล้องกันหรือเปล่า
โดยเฉพาะการหาหุ้น day trade และหุ้นเล่นภายในวัน โดยการยืนยัน
ค่า hist เป็นบวกหรือเปลี่ยนจากลบเป็นบวกในวันแรกครับ

ค่า ของ Hist ควรจะสอดคล้องกับการไหลของราคา เช่น การที่หุ้นปรับราคาเพิ่มขึ้น ค่า Hist ควรจะปรับเพิ่มหรือติดลบน้อยลงอย่างสอดคล้องกัน
ในทางตรงข้าม การที่หุ้นปรับราคาลดลง ค่า Hist ควรจะปรับลดลงหรือติดลบมากขึ้นอย่างสอดคล้องกัน
การที่ราคาหุ้นไม่สอดคล้องกับค่า Hist อาจจะเกิดสัญญาณลวงต้องเช็ค indicator ตัวอื่นประกอบด้วยครับ
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:25:28 น.
  
เรื่องสุดท้ายครับ VOLUMN

copy มาให้ดูครับ credit blog คุณลีเปรม




ปริมาณการซื้อขาย VOLUME (VOL)

VOLUME คือ ปริมาณการซื้อขายของหุ้น โดยความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณการซื้อขาย มีข้อสังเกตดังนี้ :

ความสัมพันธ์ในแง่บวก

1. เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน และปริมาณการซื้อขายปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นการสนับสนุนการขึ้นของราคา
2. เมื่อราคาที่พุ่งสูงขึ้น ต่อมามีการปรับตัวลง หากปริมาณการซื้อขายปรับตัวลดลงด้วย จะเป็นการแสดงถึงการลดลงชั่วคราวของราคา ก่อนที่จะมีการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอีกครั้งหนึ่ง
3. การขายอย่างตื่นตระหนก (PANIC SELLING) เกิดขึ้นจากราคาที่มีการลดลงมาเป็นระยะเวลานาน และต่อมาราคาตกดิ่งลงในขณะที่ VOLUME กลับเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นช่วงวิกฤติการขาย (SELLING CLIMAX) ซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของตลาดหรือหุ้น เพราะบ่อยครั้งที่วิกฤติการขาย (SELLING CLIMAX) จะเป็นจุดจบของ BEAR MARKET

ความสัมพันธ์ในแง่ลบ

1. เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน แต่ปริมาณการซื้อขายกลับลดลง จะเป็นการค้านการขึ้นของราคา
2. เมื่อราคาที่ลดลง ต่อมามีการปรับตัวขึ้น แต่หากปริมาณการซื้อขายลดลง จะเป็นการค้านการขึ้นราคาในขณะนั้น
3. เมื่อราคาวิ่งขึ้นกลับไปถึงจุดสูงเก่า แต่ VOLUME ไม่มากเท่ากับ VOLUME ของจุดสูงเก่า จะเป็นการค้านการขึ้นของราคา และอาจนำไปสู่การปรับตัวลงของราคาในช่วงต่อไป
4. เมื่อราคากับ VOLUME ขึ้นไปด้วยกันช้า ๆ จนถึงระดับหนึ่งแล้ว ราคาวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วโดย VOLUME ได้สูงมากขึ้นผิดปกติ และถ้าหลังจากนั้นราคาเริ่มลดต่ำลง จะถือว่า ณ จุดนั้นเป็นการเปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลง
5. ถ้าราคาสูงขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน และเมื่อมาถึงจุดที่ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ VOLUME กลับยังคงสูงมาก จะเป็นสัญญาณเตือนว่ามีการขายระบายหุ้นออกในลักษณะของการโยนหุ้น (มีการซื้อขายกันระหว่างกลุ่มเพื่อไม่ให้ราคาตก) ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับตัวลงของราคาในช่วงต่อไป
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:25:47 น.
  
อ.คะ อยากให้ อ.สอนดู fibonacci ตัวนี้ใช้งานได้ดี และใช้ได้จริงมั้ยคะ
โดย: mama1

Fibonacci Numbers เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติ เป็นตัวเลขที่เรียกได้ว่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว ตัวเลขที่เราสามารถนำมาใช้ได้เลยมีดังนี้


แบบทศนิยม
แบบเปอร์เซ็นต์
0.236 23.60 %
0.382 38.20 %
0.500 50.00 %
0.618 61.80 %
0.764 76.40 %
1.000 100.00 %
1.382 138.20 %
1.618 161.80 %
2.618 261.80 %
4.236 423.60 %
......

จากกราฟ ราคาหุ้นข้างต้น เป็นตัวอย่างจริงของหุ้น BBL เมื่อราคาหุ้นมันขึ้นจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 2 และมันก็ปรับฐาน retrace ลงมา ทีนี้หากเราไม่มีวิชาติดตัวถามว่าราคาหุ้นมันควรจะลงมาเท่าไหร่ก็ไม่สามารถ จะคาดคะเนได้ แต่หากเรามีวิชาติดตัว คุณคงบอกได้นะครับว่าแนวรับมันควรจะอยู่ที่ไหน

ถ้าเราใช้ Meta Stock เราก็จะได้แนวรับหลายระดับได้แก่ แนวรับที่ 23.6% , 38.2%, 50.0%, 61.80% ในที่นี้แนวรับมันหยุดที่ 50% ที่ราคาใกล้ๆ 48 และหลังจากนั้นมันก็ rebound ขึ้นต่อไป โดยที่ตัวเลขแนวรับที่เกิดขึ้น Meta Stock จัดการให้ทั้งหมด

.แน่ นอนครับเราคงไม่ได้ใช้เจ้า Fibonacci Numbers เพียงอย่างเดียวมาวิเคราะห์หุ้น ถ้าจะให้ดีเราควรนำเอา indicators ตัวอื่นๆมาวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน ซึ่ง indicators พวกนี้ศึกษาได้จากหนังสือที่เกี่ยวกับ technicalanalysis ได้หลายเล่มในท้องตลาด

ตัวอย่างข้างล่างเป็นการนำเอา indicator เช่น MACD ( Oscillator ) มาประกอบในการวิเคราะห์ เพื่อหาว่าคลื่นของ ELLIOTT มันวิ่งไปถึงคลื่นลูกที่ 5 หรือยัง ซึ่งจะสังเกตุเห็นว่าเส้นสีแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุด 3 และ 5 มีทิศทางขึ้น ในขณะที่เส้นแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุดยอดของ MACD มีทิศทางลง ลักษณะนี้เรียกว่าเกิด divergence คือมันมีทิศทางสวนทางกัน เช่นนี้ก็จะสามารถ forecast ได้ว่ากราฟหุ้นได้มาถึงจุดสูงสุดคลื่นลูกที่ 5 แล้ว

ที่มา //www.richerstock.net/Elliott/ELTHEORY.htm


การประยุกต์ใช้

ส่วน ใหญ่ จะใช้ประกอบการดูรอบขึ้นลงทั้งรอบ เพื่อหาแนวรับตามตัวเลขดังกล่าว และแนวต้านเช่นเดียวกัน หรือบางครั้งกรณีที่หุ้นขึ้นหรือลงแรงเป็นแท่งเทียนยาว
ก็สามารถดูหาแนวรับ-ต้าน จาก fibo ได้และประเมินการขึ้นหรือลงต่อเนื่องได้ครับ
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:26:01 น.
  
เข้ามาชื่มชม ผลงานความขยันของศิษย์เอก แก๊บแก๊บครับ
โดย: กู้กุ้ย วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:22:31:56 น.
  
แวะมาเยี่ยมเยียนศิษย์เอกอ.กู้กุ้ยค่ะ...

ขอบคุณ คุณแก๊บแก๊บมากเลยค่ะ ที่สรุปรวบรวมความรู้ของอ.กู้กุ้ย

เก็บไว้เสมือนเป็นห้องสมุดให้ได้ค้นคว้า หาอ่านได้ง่ายขึ้นค่ะ





โดย: Active IP: 110.168.1.175 วันที่: 22 กรกฎาคม 2555 เวลา:22:40:58 น.
  
คุณแก๊บแก๊บ... คะ
ขอบคุณมากสำหรับความปราถนาดี และความตั้งใจจริงในการรวบรวมการสอนของคุณกู้กุ้ย และแบ่งปันให้กับทุกๆคน เพื่อสะดวกในการอ่านทบทวน และเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นอย่างมากมาย. ซึ่งการรวบรวมและเรียงลำดับการสอนในครั้งนี้. อาจเป็นการยากสำหรับบางคนซึ่งยังไม่ชำนาญในการใช้ computer ก็เป็นได้. การเสียสละเวลาของคุณแก๊บแก๊บในครั้งนี้นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ... ขอบคุณค่ะ
โดย: อมยิ้มน่ารัก IP: 124.120.151.120 วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:0:14:14 น.
  
อย่าชมเยอะครับเดี๋ยวตัวลอย
จริงๆแล้วที่ผมทำเป็นแค่งานเล็กๆ้น้อยๆเท่านั้นเองครับ แค่ copy ข้อความจากอาจารย์และเพื่อนๆมาจัดเรียงให้อ่านง่ายขึ้น

ที่ทำบล้อกนี้ เพราะผมสังเกตเห็นคนที่เข้ามาใหม่หลายๆครั้งจะมีคำถามเดิมๆตลอด อาจารย์และเพื่อนๆในบล็อกก็จะมาช่วยกันตอบคำถามเืกือบทุกคำถาม(ถ้าไม่ตกไปจริงๆ)
ทำให้มีแนวความคิดว่า ถ้าผมรวบรวมสิ่งที่อาจารย์สอนและสิ่งที่มือใหม่ควรรู้ก็น่าจะช่วยแบ่งเบาอาจารย์ได้บ้าง และเป็นการช่วยเหลือเพื่อนๆมือใหม่ได้บ้างครับ

อย่างไรก็ดี บล็อกนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นมาได้เลย ถ้าไม่มีความเอื้อเฟื้อของอาจารย์และเพื่อนๆครับ

ดันั้น credit ใดๆก็ตามที่ได้รับผมขอยกให้อาจารย์กู้กุ้ยทั้งหมดครับ
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:8:26:00 น.
  
ขอมาชื่นชมด้วยคนนะจ้ะ หลานแก๊บแก๊บ ดีจ้ะมาช่วย ๆ กัน ป้าชอบดูเด็ก ๆ ยุคใหม่ขยันใฝ่เรียนและมีน้ำใจ ขอบใจอีกครั้งนึงจ้ะ..ป้าขอเป็นกำลังใจให้น้า....
โดย: ป้าแวว IP: 124.122.3.113 วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:9:08:14 น.
  
ขอบคุณครับป้าแวว
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 24 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:33:31 น.
  
มาเก็บข้อมูลไปทำการบ้าน อิอิ
โดย: กุหลาบไฟ (สาวกกุหลาบไฟ ) วันที่: 30 กรกฎาคม 2555 เวลา:19:12:50 น.
  
ผมพึ่งเข้ามาอ่าน ทำให้เข้าใจอะไร ๆ ต่าง ๆ มากมายขึ้น ขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน นะครับ ที่กรุณาสละเวลา มาให้ความรู้เพื่อพัฒนาความคิดและบุคลากรทุก ๆ คน
ขอบคุณมากครับ
โดย: เซียวเอ่อ (New Trader ) วันที่: 8 ธันวาคม 2555 เวลา:12:05:14 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดี มีประโยชย์ มากเลย ขอให้รวยรวยทั้งอาจารย์และคุณแก๊บแก๊บ สุขภาพแข็งแรงนะค่ะ
โดย: jayjay IP: 58.9.170.224 วันที่: 15 มกราคม 2556 เวลา:0:34:00 น.
  
ขอบพระคุณอ.แก๊บๆมากๆค่ะ^^ ต้องอ่านอีกหลายรอบเลยค่ะ แต่ไม่ถอยค่ะ จะอ่านจนกว่าจะเข้าใจหล่ะค่ะ อยากจับปลาเป็นต้องฝึกเยอะๆ อิอิ
โดย: เปิ้ล (Viper@24 ) วันที่: 25 มกราคม 2556 เวลา:20:13:36 น.
  
ขอบคุณมากๆๆๆครับ
โดย: Doo Jai IP: 124.121.98.108 วันที่: 27 มกราคม 2556 เวลา:9:44:39 น.
  
ขอบคุณคะ อาจารย์์แก๊บ สอบถามหน่อยคะว่าเราจะดูกราฟหุ้นแต่ละตัวได้จากที่ไหนคะ
โดย: คณิต IP: 171.98.54.117 วันที่: 28 มกราคม 2556 เวลา:0:01:39 น.
  
ดูจากโปรแกรม Efinance ครับ
โบรคเกอร์ส่วนใหญ่จะมีให้ใช้ฟรีนะครับ
โดย: แก๊บแก๊บ วันที่: 28 มกราคม 2556 เวลา:8:12:49 น.
  
ขอบคุณคะ พอดีใช้ของ ktzmico ไม่แน่ใจว่าเข้าไปดูตรงไหน พยายามหา Efinance ไม่เจอเลยคะ ขอบคุณค่ะ
โดย: คณิต IP: 210.213.57.73 วันที่: 28 มกราคม 2556 เวลา:18:36:51 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้และขอบคุณสำหรับความใจดีมีน้ำใจของอาจารย์กู้กุ้ยและอาจารย์แก๊บแก๊บ ขอบคุณค่ะ ด้วยความเคารพ
โดย: พัดลม IP: 110.168.181.77 วันที่: 30 พฤษภาคม 2556 เวลา:19:31:01 น.
  
ขอแช นะคับได้ความรู้มากๆคับ
โดย: อ IP: 110.169.149.206 วันที่: 24 กรกฎาคม 2557 เวลา:19:36:51 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แก๊บแก๊บ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]