ไฟเย็นก็เป็นไฟ

ยิงจากแถวสอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
3 พฤศจิกายน 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ยิงจากแถวสอง's blog to your web]
Links
 

 
อยู่บ้านชั้นเดียว อย่างไรให้ปลอดภัย

ปัญหาและความรู้สึกของการอยู่บ้านชั้นเดียวนั้น มักจะอยู่ที่เรื่องของความเป็นสัดส่วนและความปลอดภัย ผู้ออกแบบหรือพวกสถาปนิกนั้นจะเจอคำถามและความรู้สึกนี้อยู่บ่อยๆวันนี้ Decor.Mthai จึงนำเรื่องของการ อยู่บ้านชั้นเดียว อย่างไรให้ปลอดภัยมาเสนอเพื่อนๆ ค่ะ

อยู่บ้านชั้นเดียวอย่างไรให้ปลอดภัย


การสร้างบ้านหลายชั้นหรือชั้นเดียวนั้นขึ้นอยู่ที่ขนาดพื้นที่ในเชิงปริมาณการใช้สอย และในเชิงราคาค่างวดจะเห็นชัดแจ้งว่าการสร้างบ้านชั้นเดียวในพื้นที่ที่มีราคาแพงย่อมไม่คุ้มต่อเนื้อที่ใช้สอยที่เกิดขึ้น ในทางกลับกัน ในพื้นที่โล่งกว้างชานเมืองในชนบทปลูกอาคารชั้นเดียวแผ่ไปตามพื้นที่ก็อาจมีความเหมาะสมในเรื่องความคุ้มของราคาที่ดินที่ไม่แพงเหมือนในเมือง


บ้านชั้นเดียวนั้นจะให้บรรยากาศและการใช้สอยที่แตกต่างจากบ้านหลายชั้น ทั้งในเชิงของพื้นที่ภายในและพื้นที่ภายนอกในแง่ของบรรยากาศและความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น ความอบอุ่น ความเป็นกันเองการต้อนรับเชื้อเชิญ ความน่าอยู่ ความใกล้ชิด เหล่านี้บ้านชั้นเดียวจะมีศักยภาพมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของบ้านชั้นเดียวนั้นด้วยในขณะที่ปลูกเป็นบ้านหลังใหญ่ หรือเป็นอาคาร 2-3 หลังเรียงรายต่อเนื่องกัน จะให้ความรู้สึกที่อบอุ่นและปลอดภัยกว่าตรงนี้คาดว่าท่านคงจะเข้าใจอยู่แล้ว โดยไม่ต้องให้อธิบายยืดเยื้อ

การออกแบบผังบ้านให้ปลอดภัย


การออกแบบผังบ้านให้ปลอดภัย : นอกเหนือจากความสัมพันธ์เหมาะสมในเรื่องของประโยชน์ใช้สอยขั้นตอนการใช้สอยแล้ว การกำหนดอาณาบริเวณตามหลักวิธีสถาปัตยกรรม อันได้แก่ บริเวณภายนอกบริเวณกึ่งภายนอก บริเวณสาธารณะ บริเวณสัญจร บริเวณส่วนตัว ฯลฯก็เป็นสิ่งที่ต้องกระทำอยู่แล้ว  แต่จะต้องคำนึงถึงมากเป็นพิเศษเพราะบริเวณและห้องทุกห้องอยู่ในชั้นเดียวกันเราจะเน้นว่าจะต้องเข้าถึงโรงรถได้ง่ายจากภายนอก จะต้องขนของเข้าสู่ครัวได้สะดวกเพื่อนฝูงแขกเหรื่อควรเข้าห้องรับแขกได้ง่าย และมีสัดส่วน บริเวณสัญจรก็ควรกว้างขวางพอเพียงและไปยังส่วนต่างๆ ของบ้านได้ง่าย ส่วนของห้องนอน ซึ่งถือว่าเป็นบริเวณส่วนตัวตำแหน่งก็มักจะอยู่ด้านในสุดของตัวบ้าน หรือในบริเวณที่เห็นได้ยากจากบริเวณรับแขกพักผ่อน และนี่คือหลักการง่ายๆ ขั้นต้น

การออกแบบระดับและรูปร่างของบ้าน


การออกแบบระดับและรูปร่างของบ้าน : ในทางปฏิบัติ หลังจากที่ตัวบ้านก่อสร้างเสร็จ และเข้าอยู่แล้วห้องที่ว่าเป็นสัดส่วนตามหลักการนั้น อาจจะไม่เป็นสัดส่วนเมื่อมองจากภายนอก คำถามที่พบบ่อยก็คือห่วงว่าคนที่เดินรอบบ้านจะเข้าถึงห้องนอนได้ง่าย เพราะมีชั้นเดียว..ก็ค่อนข้างจะยอมรับในความรู้สึกนั้น เพราะสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่และขับถ่ายได้นั้น(กลัวจะมีคนเข้าใจว่ารวมถึงพืชด้วย) ต้องการความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยอยู่ในเพิงถ้ำ บนคาคบไม้ จริง ๆ แล้วระดับหน้าต่างตามปกติจากพื้นห้องก็คือ 0.90เมตร ระดับพื้นบ้านชั้นเดียวอย่างน้อยจะยกสูงจากพื้นดิน 0.6-1.20เมตร เป็นปกติ เมื่อรวมกับระดับหน้าต่างแล้วจะเท่ากับ 1.50-2.10เมตร ซึ่งจะพ้นสายตาระดับปกติ นอกจากนี้ระบบประตูหน้าต่างและการตกแต่งด้วยม่าน (บังตา)ก็ช่วยได้มากในความรู้สึกปลอดภัยจะเห็นว่าความรู้สึกนี้สามารถสร้างขึ้นมาได้และเป็นจริงได้ในเชิงปฏิบัติ

สถาปนิกที่เข้าใจจุดอ่อนในกรณีนี้จะออกแบบห้องนอนให้ยกระดับสูงขึ้นมาจากระดับพื้นห้องอื่นในระดับของบ้านชั้นเดียวเล่นระดับ นอกจากจะช่วยความรู้สึกเป็นสัดส่วนแล้วยังทำให้ลีลาของตัวบ้านสวยงามน่าสนใจขึ้น (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิกแต่ละคน)จึงขอสรุปตัดบทตรงนี้ก่อนว่าบ้านชั้นเดียวนั้นสามารถสร้างความรู้สึกปลอดภัยทั้งในเชิงจิตวิทยาและในเชิงปฏิบัติด้วยรูปแบบและวิธีการต่าง ๆมากมายขึ้นอยู่ว่าท่านเจ้าของบ้านจะเป็นคนหัวสมัยใหม่ ใจกว้างและยอมรับเหตุผลในการที่จะรับวิธีและรูปแบบต่าง ๆ นั้นได้มากน้อยแค่ไหนจนเดี๋ยวนี้ผมก็ยังรู้สึกว่า บ้านที่มีลีลา มีพื้นที่ มีบรรยากาศใช้สอยดี ๆมีรูปลักษณ์เก๋แปลกตา แตกต่างจากบ้านทั่วไปนั้น มักจะเป็นบ้านของสถาปนิกเสียเองคนอื่น ๆ ดูก็จะบอกว่าแปลก พิลึก หรือไม่เข้าใจ และพานไม่ยอมรับเอาง่าย ยังไม่ได้ศึกษาวิจัยว่าเกิดอะไรแต่ก็เชื่อว่าพื้นฐานทางศิลปะและเทคโนโลยีประยุกต์ของประเทศเรานั้นยังน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วความคิดเห็นและโลกทัศน์จึงอยู่ในวงจำกัดที่สามารถหากรอบอ้างอิงได้ง่าย

ความร้อนจากหลังคา


ความร้อนจากหลังคา : มีผลโดยตรงต่อบ้านชั้นเดียวเรื่องนี้เป็นสภาวะปกติ แต่ด้วยเทคโนโลยีและวัสดุก่อสร้าง (กันความร้อนในปัจจุบัน)ช่วยแก้ปัญหานี้ได้มากแล้ว เช่นเดียวกับการวางผังอาคารให้รับลมหลบแดดก็มีส่วนช่วยได้เป็นทวีคูณซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้สำหรับการออกแบบของสถาปนิกตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จวบจนปัจจุบันและในอนาคต (หากสงครามโลกครั้งที่ 3 ไม่เกิดและโลกเราไม่สูญเสียบรรยากาศไปเสียก่อนด้วยมลภาวะจากฝีมือมนุษย์)

ถึงตรงนี้นึกถึงการสะท้อนความร้อนจากพื้นหรือถนนภายในบริเวณที่ดินเข้าสู่ตัวบ้านซึ่งจะทำให้ห้องต่างๆ ร้อนนั่นเอง กรณีนี้เป็นกับอาคารแทบทุกประเภทสำหรับบ้านชั้นเดียวจะได้รับผลกระทบมากหน่อย เพราะไม่มีชั้นบนสำหรับหลบเลี่ยงดังนั้น การหลบเลี่ยงก็คือการออกแบบหลังคาคลุมบริเวณลาน เฉลียง ระเบียงการออกแบบผนังห้องให้ไม่รับแสงสะท้อนหรือสามารถกันแสงสะท้อนได้โดยตรง ถึงตรงนี้ทำให้นึกถึงหลังคาทรงจั่วที่มีความลาดเอียงลงมาก มีข้อสังเกตว่าเชิง่ชายจะยื่นต่ำลงมาเกะกะ กรณีนี้คงต้องพิจารณากันในเชิงปฏิบัติว่า “เราคงไม่ออกแบบความสูงของระดับพื้นและตัวบ้านให้เกิดปัญหาดังกล่าว”เพราะสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องของการออกแบบเพื่อ “แก้” ปัญหา ไม่ใช่ “สร้าง”ปัญหา




Create Date : 03 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2557 15:06:36 น. 0 comments
Counter : 1047 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.