<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
12 สิงหาคม 2551

Full Frame หรือ Fool's Frame?

เรื่องนี้ ต้องเริ่มด้วยความเชื่ออย่างหัวปักหัวปำก่อน ว่า กล้อง digital Fool's Frame เอ๊ย DSLR Full Frame หมายถึงกล้องที่มีเซนเซอร์ขนาด 24mm x 36mm (+/- 10%)

ส่วนกล้องอื่นๆ ที่เซนเซอร์เล็กกว่า หรือ ใหญ่กว่า ไม่ใช่ full frame

ไม่เริ่มอย่างนี้ มันต้องว่ากันอีกยาว
ปัญหาหนักอก (ผู้ชายส่วนใหญ่ ... ที่เล่นกล้อง) คือ

ทำไม บ.กล้องมันถึงกั๊กกล้อง FF กันนักวะ ไม่ยอมทำออกมาขายซักที





นอกจากเรื่องราคา และขนาดแล้ว กล้อง DSLR 24x36mm ยังมีปัญหาทางเทคนิคอีกพอสมควร

หนึ่งในปัญหาเทคนิค เป็นเรื่องของกฏพื้นฐานทางฟิสิกส์ ที่ยังหาทางออกไม่เจอ
ปัญหาที่ว่าคือ ตัวรับภาพ (photosite) บน CCD/CMOS ต้องการแสงที่ตกกระทบตั้งฉากเท่านั้น
แสงจะมาจากมุมเฉียงๆ ไม่ได้เลย

ถ้าแก้ปัญหานี้ได้ เรื่องอื่นๆก็เบาลงมา

nikon เคยออกกล้องรุ่นโปรรุ่นนึง ที่แก้ปัญหานี้สมัียเมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว
แต่คุณภาพรูปที่ได้ มันแย่ถึงแย่มาก .. แย่ถึงระดับ "คำตอบสุดท้าย" ที่ตลาดยอมรับไม่ได้ .. เจ๊งไปตามระเบียบ


ปัญหานี้ เป็นปัญหาหนักอกสุดของกล้อง DSLR ที่อยากใช้ sensor ใหญ่
เพราะเลนส์ส่วนใหญ๋ (เกือบทั้งหมด) ออกแบบมาโดยใช้กฏเกณฑ์เดิม สมัยกล้องใช้ฟิล์ม

ฟิล์ม ไม่มีปัญหาเรื่องแสงที่มาจากมุมเฉียงๆ
ขอเพียงแสงพอ จะมาเฉียงหรือมาตรง ก็สร้างภาพได้ทั้งนั้น

photosite บน sensor มันไม่ใช่อย่างนั้น
แสงต้องมาตรงๆเท่านั้น



ปัญหางูกินหาง



เลนส์ที่ออกแบบมาโดยใช้กฏเกณฑ์เดิม (ของกล้องฟิล์ม) จะให้แสงกระทบ sensor ตั้งฉากตรงๆ เฉพาะภาพส่วนตรงกลางเท่านั้น
ภาพริมๆ ขอบๆ .. แสงจะตกกระทบเป็นมุมเฉียง .. ใช้ไม่ได้

มันถึงมี crop factor เกิดขึ้น
ถ้าจะดึงดันเอาเลนส์(ฟิล์ม) มาใช้ .. sensor ต้องเล็กลง เพราะต้องรับเฉพาะภาพตรงกลาง จะไปเอาภาพตามขอบมาใช้ไม่ได้

ถ้าจะใช้ sensor ขนาดใหญ่เท่าฟิล์ม (24x36) ก็ต้องออกแบบเลนส์ให้มีวงภาพใหญ่ขึ้น
เลนส์ที่มีวงภาพใหญ่ขึ้น ขนาดก็ใหญ่ขึ้น (และหนักขึ้น)
แย่กว่านั้นอีกคือ เลนส์ที่มีวงภาพใหญ่ขึ้น ความสามารถในการแยกรายละเอียด (วัดคร่าวๆด้วย MTF) มันต่ำลง

ถ้าจะสร้างเลน์ให้มีวงภาพใหญ่ขึ้น (เพื่อใช้นิดเดียว) และมีความสามารถในการแยกรายละเอียดสูง (เพื่อให้เกินความสามารถของ sensor ทั้งแผ่น) ... การผลิตมันยากมาก ถึงเป็นไปแทบไม่ได้

เพราะการฝนเลนส์ที่ว่า ใช้เวลาเป็นเดือนๆ และ QC ซ้ำซาก ต้องตรวจวัดคุณภาพชิ้นเลนส์สม่ำเสมอ ตั้งแต่เป็นชิ้นแก้วที่ยังไม่ได้ถูกตัดถูกฝนเลยด้วยซ้ำ

ถ้าสงสัยว่า เลนส์อย่างที่ว่า ไม่มีใครทำขายแน่หรือ?
ขอบอกว่า เลนส์อย่างที่ว่า ... มีคนทำขาย ...
แต่ราคาแพงเกินกล้อง 24x36 full frame เสียอีก
(เพราะกระบวนการฝนชิ้นแก้ว และ QC อย่างที่ว่ามา)



นอกจาก ปัญหางูกินหางที่ว่ามา

ยังมีปัญหาจรเข้ขวางคลองอีก



ตอน DSLR ออกมาใหม่ๆ (แถวๆปี คศ. 2000)
เลนส์ที่มีในท้องตลาด รวมทั้งที่ผลิตออกมาใหม่
เป็นเลนส์ที่ออกแบบโดยเทคโนโลยีเลนส์สำหรับกล้องฟิล์มทั้งนั้น
เพื่อลดต้นทุนทั้งค่าวิจัย ทั้งค่าการตลาด และค่าแก้ตัวที่โดนด่าว่า ทำให้ใช้เลนส์เก่าไม่ได้
นอกจากนั้น เทคโนโลยีการผลิต sensor ยังไม่ค่อยดี ความละเอียดต่ำ สีสันค่อนข้างแย่

บ.กล้องพบว่า เลนส์ที่ผลิตโดยเทคโนฯ เพื่อฟิล์ม ให้ภาพที่คุณภาพเกินขีดความสามารถ sensor ... ถ้า sensor นั้นขนาดเล็กพอ

เลยเป็นที่มาของ APS/APS-C sensor ... เพราะมันเป็นขนาดใหญ่สุดเท่าที่จะใหญ่ได้
ใหญ่กว่านี้ ... คุณภาพรูปตามของ เละเทะไม่เป็นเรื่อง

(เริ่มวนในอ่างแล้ว )

มี บ.กล้องอยู่ บ.เดียวเท่านั้น (ที่คุณก็รู้ว่าใคร ) ... มองอีกแง่มุมหนึ่ง
ถ้าไม่อยากพายเรือวนในอ่าง เพื่อแก้ไขปัญหาที่แก้ไขไม่ได้
ก็ต้องลุกจากอ่าง ... แก้ปัญหาจากอีกมุมมอง

ทำเซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง (ความละเอียด สีสัน คุณภาพภาพ ฯลฯ)
แต่ขนาดให้เล็กลง

แล้วออกแบบเลนส์ใหม่หมด ทิ้งคอนเซปท์การออกแบบเลนส์เพื่อใช้กับฟิล์มทิ้งให้หมด
โจทย์สำหรับเลนส์ที่ออกแบบใหม่มานี้ สั้นๆ
ต้องให้แสงตกกระทบเซนเซอร์แบบตั้งฉาก ตั้งแต่ขอบซ้ายยันขอบขวา ขอบบนยันขอบล่าง โดย ต้องไม่มีการ crop เป็นอันขาด

เมื่อบอกให้ออกแบบใหม่หมด วิศวกรออกแบบเลนส์ก็คิดง่ายขึ้น
สร้างเลนส์ตามที่ว่าได้
โดยให้มีชิ้นแก้วพิเศษ ที่ทำหน้าที่รวมแสง ให้แสงที่ออกมาจากท้ายเลนส์ เป็นลำขนาน เพื่อตกกระทบเซนเซอร์เป็นมุมฉาก

ทุกอย่างเป็นไปตามทฤษฏี

กล้องระบบใหม่ .. คุณภาพสูง โดยที่กล้องขนาดเท่ากล้องทั่วๆไป ที่เป็นที่ยอมรับมานับสิบๆปี

เลนส์ของกล้องระบบใหม่ .. คุณภาพสูง ให้ภาพคมชัด ทั้งตรงกลางและขอบภาพ .. โดยที่เลนส์ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าเลนส์ทั่วไป ที่เป็นที่ยอมรับมานับสิบๆปี

แล้วปัญหาเรื่องนี้มันอยู่ตรงไหน?
ไอ้ชิ้นแก้วพิเศษที่ว่า มันออกแบบพิเศษ และต้องวางที่ตำแหน่งเฉพาะระหว่างกลุ่มชิ้นแก้วอื่นๆ

บ.ที่คุณก็รู้ว่าใคร จดทะเบียนลิขสิทธิ คุณสมบัติ คุณลักษณะ การออกแบบชิ้นแก้ว ตำแหน่งที่วาง ฯลฯ
จดๆๆๆๆๆ ยิบ
จนชนิดที่ว่า ... ถ้า บ.อื่น ทำอะไรซักอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาในแนวทางนี้ มีสิทธิโดนฟ้องจนล้มละลายได้



บ.อื่นๆ เดือดร้อนไหม?



.. ไม่เดืิอดร้อน ..
ไม่มองว่าเป็นปัญหาด้วยซ้ำ

เพราะฝ่ายวิจัยการตลาดของ บ.กล้องอื่นๆ พบความจริงที่ว่า

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ต้องการใช้กล้อง ที่ให้ภาพสวยๆ คมๆ ชัดๆ
จะเป็น APS/APS-C หรืออะไร .. ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ไม่สนใจ


และกล้อง APS/APS-C ที่ทำๆขายอยู่นั้น มีขีดความสามารถเกินพอ ที่จะตอบสนองความต้องการผู้บริโภคส่วนใหญ่ ได้อีกยาวนาน

มีผู้บริโภค (ซื้อกล้อง) ส่วนน้อย (น้อยมากๆ) เท่านั้น
ที่ยังติดกล้องฟิล์ม และต้องการเซนเซอร์ขนาด 24x36 (ซึ่งมันคืออะไรก็ไม่รู้ รู้แต่ว่า ต้องการๆๆๆๆๆๆ)

ความต้องการอย่างนี้ .. ทุกบริษัทเขาชอบมากๆๆๆๆ (ไม่เฉพาะ บ.กล้อง)
เข้าทางปืน ฝ่าย ปชส. เพราะ Customer Locked-in เป็นความฝันอันสูงสุดของฝ่ายการตลาด/ปชส.
เขาสามารถออกข่าวเป็นระยะๆ ได้ว่า
"ความต้องการ(ที่ไม่มีทางตอบสนองได้)ของลูกค้า (ที่ถูกล็อกคอไว้แล้ว)นั้น ... ทาง บ.มิได้นิ่งนอนใจ กำลังค้นคว้าหาทางผลิตสินค้า ที่ลูกค้าต้องการ

เขาไม่ได้โกหก .. เพราะสินค้าดังกล่าว จะมีออกมาเรื่อยๆ

เพียงแค่ ไม่ต้องพูดความจริงทั้งหมดที่ว่า
สินค้าดังกล่าว มันเป็นสินค้าราคา premium ตลอดกาล
ก็เกินพอ



บ.L มาอีกแนวทาง .. ทำได้ดีกว่า บ.แรก

เมื่อจะบ้าเลือด ก็ต้องบ้าดีเดือดให้ถึงที่สุึด

อย่างแรกคือ ดัดแปลงตัวเซนเซอร์
ให้เลนส์รวมแสงขนาดจิ๋วที่อยู่บน photosite (PS) แต่ละตัว วางเยื้องศูนย์ เพื่อให้แสงที่ตกกระทบในแนวเฉียงๆ หักเหลงมาสู่ PS ตรงๆ

เซนเซอร์ 10 ล้านพิกเซล .. วางตำแหน่งเลนส์จิ๋วใหม่เกือบ 4 ล้านเลนส์

เท่านั้นยังไม่พอ ...
เลนส์ถ่ายรูปทุกตัว ที่สามารถดึงศักยภาพนี้ออกมาเต็มที่ จะมี ROM chip ฝังอยู่ เพื่อบอกคุณสมบัติทางแสงของเลนส์แต่ละตัวๆไป

แสงที่มาแนวเฉียง ถึงจะถูกเลนส์เยื้องศูนย์ (Offset Micro Lens, OML) บีบให้ลงสู่ PS ตรงๆ แต่ก็ยังลงไม่เต็มที่

ก็ให้เอาข้อมูลตำแหน่ง PS แต่ละตำแหน่ง มาคำนวนรวมกับคุณสมบัติเลนส์แต่ละตัว เพื่อชดเชยแสงที่หายไป

ถามว่าทำอย่างนี้ดีไหม
ผลที่ออกมา ก็เรียกว่า ... สุดๆไปเลย
ในราคาที่ ... (คนใช้กล้องยี่ห้อ L' ฟันธงมาว่า) "ไม่แพง"




06 Oct 2008

OML เป็นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
จะทำงานได้ ต้องรู้คุณสมบัติของเลนส์ตัวนั้นๆ โดยรวม
คุณสมบัติที่รู้ ต้องค่อนข้างละเอียดด้วย เพราะ software ต้องชดเชยการแก้ offset นี้อย่างหนัก

แสงสีแดงมันมีพลังการทะลุสูง ... สามารถทะลุชั้น silicon ลงไปได้ตั้งแต่ 3-5 micron

สำหรับเซนเซอร์ทั่วๆไป .. ตัวชั้น photoelectric PN junction จะอยู่ที่ระดับผิว (0-1 micron)
ไมโครเลนส์จะรวมแสง ส่องลงก้นหลุมรับแสง โดยผ่านฟิลเตอร์ (Bayer filter) กรองสีที่ไม่ต้องการออกไป .. แสงสีไหน ก็ลงหลุมรับแสงสีนั้น ไม่มีปัญหา
แสงที่มาจากทางเฉีัยงๆ จะถูกหักเหออกไปนอกหลุมรับแสง และไม่ก่อปัญหาแสงกวน (photon crosstalk)

แต่ถ้าวาง OML ขึ้นมา เท่ากับยอมรับแสงที่มาจากทางเฉียงๆ และเปิดช่องให้แสงที่มาตรงๆ ลงหลุมที่ไม่ใช่ของตัวเองได้

อย่างเช่นแสงสีแดง จะผ่านเลนส์สีแดง ส่วนหนึ่งจะถูกหักเหลงหลุมสีแดง

แต่อีกส่วน จะทะลุเลนส์สีแดง ... ทะลุึผ่านผนังหลุมที่เป็นซิลิกอนซึ่งหนาไม่ถึง 2 micron ไปหล่นลงหลุมสีน้ำเงิน ... ความเพี้ยนจะบังเกิดทันที


leica ROM series ถึุงแพงหูดับตับไหม้ (จากที่แพงสุดๆๆๆ มาแล้ว) เพราะต้องวัดคุณสมบัติการกระจายแสงทุกตัว ก่อนบันทึกค่าลง ROM เวลาถ่ายจะได้ส่งเข้าไปรวมกับข้อมูลภาพ raw แล้วสร้่างภาพที่ไม่มีปัญหาออกมา

แพง ... และแพง




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2551
4 comments
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2551 10:20:42 น.
Counter : 907 Pageviews.

 

ได้ความรู้ น่าสนใจดีครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ของขายดีที่สุด มักไม่ใช่ของที่เทคโนโลยีดีที่สุด และของที่เทคโนโลยีดีที่สุด มักจะไปไม่ค่อยรอด

 

โดย: Pynx 14 สิงหาคม 2551 23:54:10 น.  

 

ได้ความรู้เพียบ

 

โดย: ปออุ๊ก 13 ตุลาคม 2551 0:40:46 น.  

 

ทุกวันนี้คนที่ที่ทำงานผมก็ยังคงรอคอยการมาของ FF...

 

โดย: Machinist IP: 125.27.1.219 13 พฤศจิกายน 2551 0:14:33 น.  

 

สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 29 มีนาคม 2560 13:03:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


แมวเหมียวพุงป่อง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 67 คน [?]




งดทิป

ชอบใจเนื้อหา
- ก้อปปี้ไปเผยแพร่ในเน็ตได้ แต่**ต้อง**อ้างอิงถึงที่มา
- ห้ามนำไปตีพิมพ์ลงบนกระดาษ

การละเมิด แล้วโดนฟ้องร้อง ไม่มีการต่อรอง คดีจบเมื่อศาลตัดสินเท่านั้น .. เคลียร์?
New Comments
[Add แมวเหมียวพุงป่อง's blog to your web]