...ความรู้สามารถเรียนทันกันได้...
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
29 มิถุนายน 2559
 
All Blogs
 

ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) “ประธานาธิบดีโลกไร้เงินสด” และผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Facebook



Posted By: รุจิสรรค์ เลียวพานิช

peter thiel-01

คำถาม ถ้าคุณต้องเดินทางไปยังเกาะแห่งหนึ่ง

แต่พาหนะเพียงอย่างเดียวที่คนมักใช้เพื่อข้ามไปยังเกาะแห่งนั้น มีเพียง ‘เรือ’ ซึ่งปฎิเสธคุณ

คุณคิดว่าการเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดแล้วหรือยัง หรือมันแค่จุดเริ่มต้นของอีกสิ่งหนึ่ง?

วันที่สตีฟ จอบส์ ถูกไล่ออกจากบริษัทที่เขาสร้างมาด้วยน้ำมือตัวเอง ใครหลายคนอาจคิดว่า เส้นทางธุรกิจของเขา มาถึงตอนจบแล้ว แต่ใครจะคิดว่านั่น เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของ สินค้าเปลี่ยนโลก ที่ชื่อ ไอแพค ไอโฟน

เมื่อ 12 ปีให้หลัง สตีฟ ถูกเรียกกลับเข้ามาให้ฟื้นอาณาจักร Apple Inc ที่กำลังล่มสลาย

เช่นกันกับ วันที่อดีตนักศึกษากฏหมายคนหนึ่ง ถูกปฏิเสธเข้ารับการทำงาน ในการสัมภาษณ์รอบสุดท้าย จากศาลสูงสุดของประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนความฝันของนักศึกษากฏหมายหลายคน เพราะมันหมายถึงหลักประกันความมั่นคงไปตลอดชีวิต

มองย้อนกลับไป

บางทีวันนั้นเขาอาจรู้สึกเส้นทางชีวิตเขามาถึงทางตันแล้ว แต่ใครจะรู้ ว่านั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้น ของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เมื่อโลกพบเทคโนโลยีใหม่ เรือยนต์ถูกแทนที่เรือพาย เลยมาจนถือกำเนิดยุค Baby Boomer (ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคที่นิยมมีลูกหลายๆ คน หลายประเทศเศรษฐกิจจึงเติบโตตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น)

เรื่อยมาจนเจนเนเรชั่น X ยุคที่ความขยันคือโอกาส ยุคที่ Demand มากกว่า Supply มาก ๆ

ยุคที่คนที่ผลิตอะไรออกมาก็มีโอกาสขายได้ง่าย หรือขยันจนจบการศึกษาสูง ๆ ก็จะมีงานทำดี ๆ ก้าวหน้าในบริษัท

แต่เมื่อเรือที่ใช้เชื้อเพลิงกำลังถูกแทนที่ด้วยพลังงานชนิดใหม่ พร้อมกับการเติบโตของคนเจเนอเรชั่น Y ถึง Z ยุคที่เมื่อมองไปทางไหน ก็มีคนเหมือนกันกับเราไปหมด

ระบบการศึกษาหลายปีที่ผ่านมาผลิตคนที่เหมือนกันออกมาเต็มไปหมด

ยุคที่ความขยันไม่ใช่โอกาสอีกแล้ว

เพราะคนขยันทำซ้ำในเรื่องเดียวกันเต็มไปหมด อีกอย่างก็คือคนรุ่นก่อนที่ทำงาน องค์กรบางแห่ง บริษัทแทบจะเลี้ยงไปจนเกษียณอายุ แต่ความมั่นคงในยุคหนึ่ง ไม่ใช่ความมั่นคงในอีกยุค

ยิ่งคนรุ่นใหม่หลายคนรู้ดีว่าพวกเทคโนโลยีอีกอย่าง ที่กำลังขโมยงานเขา ยกเว้นเขาจะร่วมหัวจมท้ายไปกับมัน โต๊ะทำงานจึงเป็นสิ่งที่บอกความฝัน ที่แตกต่างของคน ต่างยุคได้ดี

คนยุคก่อนฝันจะนั่งอยู่บนโต๊ะทำงานในห้องใหญ่โตบนสำนักงานหรู ขณะที่คนยุคใหม่ฝันถึงการทำงานโดยไม่ต้องมีโต๊ะทำงาน ทำงานที่บ้าน หรือทำงานไปด้วยเดินทางไปด้วยยิ่งดี

นี่จึงเหตุผลที่คนรุ่นเก่ามองคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบออกมาไม่ได้เรื่อง มาทำงานไม่ขยัน ไม่อดทน มาเดี๋ยวก็ลาออก

ขณะที่คนรุ่นใหม่มองกลับไปที่องค์กรว่าไม่สามารถตอบสนอง Need เขาได้ เพราะคุณรุ่นใหม่ อยากมีความเป็นเอกลักษณ์ตัวเองมากขึ้น ทั้งที่บางทีเขาเองก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าตัวเองจะไปทางไหน

นี่ถึงอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมกระแส Start up กับ Freelance ถึงมาแรง เพราะมันตอบโจทย์ชีวิตเขาได้มากกว่า

อีกทั้งไม่กี่ปีก่อน ความฝันของนักศึกษาจบใหม่ๆ คือมีตำแหน่งบนนามบัตรว่า ซีอีโอ ในองค์กรใหญ่ ๆ เพราะคือความเท่ห์ ความคูล แต่ไม่กี่ปีถัดมา การได้ชื่อว่าเป็น ‘ผู้ก่อตั้ง’, ‘ผู้ร่วมก่อตั้ง’ กลับมาแทนที่

Peter Thiel ผู้สร้าง Paypal

มองย้อนกลับวันนั้น วันที่ชายชื่อ ‘Peter Thiel’ ถูกปฏิเสธการเข้าทำงานในศาลสูง เขาจะรู้หรือไม่ มันคือการสิ้นสุดของสิ่งหนึ่ง เพื่อเริ่มต้นอีกสิ่งหนึ่ง เพราะไม่กี่ปีให้หลัง เขาคือผู้สร้าง ‘Paypal’ การชำระเงินโดยไร้เงินสด และยังมีส่วนสำคัญในการสร้างเว๊ปไซด์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกที่ชื่อ ‘Facebook’

เมื่อเขาตัดสินใจยัดเงินให้ มาร์ค ซักเกอร์เบอร์ก เพื่อเป็นทุนตั้งแต่ยังอยู่ระยะตั้งไข่ อยู่ในหอพัก ก่อนปัจจุบันจะผันตัวมารับอีกบทบาทหนึ่งในฐานะอาจารย์สอนผู้ประกอบการ หรือจะเรียกว่า “อาจารย์ Start Up” ก็ไม่ผิด

อะไรที่อยู่เบื้องหลังความคิดของอาจารย์ผู้นี้ ที่สามารถมองเห็นความสามารถในตัวคน ที่คนบางคน บอกว่าประหลาด สุดโต่ง หรือมีบุคลิกแปลกแยกกับสังคม แต่เขากับพร้อมที่ยัดเงินใส่มือคนพวกนั้น เพื่อให้นำไปสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

ขณะที่คนอื่นอาจมองพวกนั้น แล้วเห็นแต่ตัวประหลาด จนไปถึงหัวเราะเย้ยหยัน ขณะเดียวกันกับที่เขามองซีอีโอบริษัทพวกเทคโนโลยี ที่ใส่สูทเนี้ยบหรูแบบพิมพ์นิยม เป็นพวกนักขายชั้นกระจอก และหลีกเลี่ยงการลงทุนกับบริษัทที่มีซีอีโอลักษณะเช่นนั้น

อะไรคือสิ่งที่พระอาจารย์ผู้นี้จะชี้ทางแก่ศิษย์ยานุศิษย์

เริ่มต้นด้วยคำถาม?

คำถามที่ดีมักนำสู่คำตอบที่ดี ถ้าคำถามยุคเรือพาย ของเซอร์ไอแซค นิวตัว ว่า…

“ทำไมผลแอพเปิลถึงตกลงพื้น ทำไมไม่ลอยขึ้นฟ้า” นำไปสู่การค้นพบ ‘กฏแรงโน้มถ่วงของโลก’

คำถามของปีเตอร์ ธีล ที่ว่า…

“มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณคิดว่าสำคัญและเป็นความจริง แต่ไม่ค่อยมีใครเห็นด้วย?”

นี่อาจเป็นคำถามในการค้นพบธุรกิจที่สร้างนวัตกรรม

เพราะมันเป็นคำถามที่ท้าทายสติปัญญา ความรู้ที่ร่ำเรียนกันมา ที่คนเรียนมาเหมือน ๆ กัน และเห็นพ้องต้องกัน อีกทั้งมันยังท้าทายภาวะจิตใจของผู้ตอบ เพราะมันหมายถึงต้องพยายามพูดในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย

ปีเตอร์ ธีล บอกว่า…

“ทักษะการคิดอันชาญฉลาดหายากก็จริง แต่ที่หายากกว่าคือ ความกล้า”

ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าการที่ใครพยายามขบคิด

เพื่อให้ได้คำตอบแตกต่างจากคนอื่น บางทีมันอาจนำไปสู่การคิดถึง ‘ในสิ่งที่ไม่เคยมี’ หรือที่ปีเตอร์ ธีล เรียกว่าความก้าวหน้าแนวดิ่ง คือ การทำสิ่งใหม่ แตกต่างจาก ความก้าวหน้าในแนวราบ คือการเลียนแบบสิ่งที่ใช้ได้ผลอยู่แล้ว

โดยปีเตอร์ ยกตัวอย่าง…

ถ้าคุณมีเครื่องพิมพ์ดีด 1 ตัว แล้วผลิตออกมาอีกเป็น 100 อัน นั่นคือการสร้างความก้าวหน้าแนวราบ แต่ถ้าคุณมีเครื่องพิมพ์ดีด แล้วสร้างโปรแกรมพิมพ์งาน นั่นคือความคิดแนวดิ่ง

Monopoly ไม่ใช่ความผิดปกติ แต่คือเงื่อนไขของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

เมื่อพูดถึง Monopoly คนส่วนใหญ่มักคิดถึงการผูกขาดที่มักเกิดจากอำนาจรัฐ หรือสัญญาสัมปทาน เพราะอาจเคยชินกับภาพสมัยก่อน (โดยเฉพาะประเทศแถวตะวันออกเฉียงใต้ ที่เดี๋ยวนี้ก็ยังเห็นอยู่)

หรือผูกขาดเพราะเข้ามาสู่ตลาดก่อน

แต่ Monopoly ของปีเตอร์ คือ การผูกขาดด้วยการทำผลิตภัณฑ์ที่ดีจนคู่แข่งไม่สามารถแข่งขันได้ หรือแบบที่ไม่ใช่ลงไปในสนามรบเดิม ที่ผู้ชนะด้วยการฆ่าคู่ต่อสู้ให้ตายในสนามรบ

แต่คือสร้างสนามรบขึ้นมาใหม่ โดยสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าให้กับผู้บริโภค ถ้าให้ยกตัวอย่างก็คงเทียบได้กับไอโฟนที่สร้างสนามรบใหม่ด้วยการย่นย่อมือถือให้ลงมาอยู่ในมือถือเครื่องเดียว แทนการต่อสู้ในตลาดมือถือเดิม Cellularที่เน้นเรื่องสัญญาณการสื่อสารเป็นหลัก (คือสร้างสนามรบใหม่เพื่อทำลายสนามรบเดิม)

บวกทัศนคติของปีเตอร์ ที่เชื่อว่าบริษัทผูกขาดใดที่พยายามขัดขวางความก้าวหน้าของสังคม จากประวัติศาสตร์ท้ายที่สุด บริษัทนั้นจะอยู่ไม่ได้ เพราะจะมีบริษัทผู้ผูกขาดที่ดีกว่ามาแย่งบัลลังก์ไป

ปีเตอร์ยังบอกด้วยว่า

บริษัทในโลกธุรกิจมีอยู่ 2 แบบ

หนึ่งคือบริษัทที่เงินเป็นสิ่งสำคัญ กับ บริษัทที่เงินเป็นทุกอย่าง

บริษัทที่ผูกขาดนั้นสามารถคิดอย่างอื่นได้นอกจากการทำเงิน (คิดนวัตกรรม)

ขณะที่บริษัทที่เงินคือทุกสิ่งจะถูกให้จมจ่ออยู่กับกำไรระยะสั้น จนไม่มีพื้นที่ให้กับแผนระยะยาว

เริ่มจากแคบ แล้วค่อยไปกว้าง

มันเป็นเรื่องยากมากที่จะหวังทุกๆ คนมาเป็นลูกค้าของเรา เราจึงต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าหรือตลาดให้ชัดเจนก่อน โดยควรเริ่มจากตลาดที่เล็กก่อน เพื่อจะได้โฟกัสและทุ่มทรัพยากรที่มีจำกัดลงไป เหตุผลคือการครอบครองตลาดเล็กไม่ยากเท่ากับตลาดใหญ่และการเรียกร้องความสนใจจากคนนับพันง่ายกว่าคนนับล้าน

พอยึดครองตลาดเล็กได้แล้ว ถึงค่อยขยับขึ้นไป ตัวอย่างที่เห็นได้ดีที่สุดคือ

บริษัทเอเมซอน ของเจฟฟ์ เบซอส ที่มีเป้าหมายจะเป็นเบอร์หนึ่งในการขายสินค้าออนไลน์ทุกชนิด แต่เริ่มจากการขาย ‘หนังสือ’ ก่อน ก่อนที่ตอนหลังจะเริ่มค่อย ๆ ขยับไปสู่สินค้าที่ใกล้เคียง แล้วค่อย ๆ

เพิ่มสินค้าอื่นขึ้นเรื่อย ๆ

ผลิตภัณฑ์ต่อให้ดีแค่ไหน ก็ต้องการการขาย

ปีเตอร์บอกว่า…

ความผิดพลาดอย่างหนึ่งก็คือ การคิดว่า สร้างผลิตภัณฑ์ที่ออกมายอดเยี่ยมได้ก็พอแล้ว เพราะถ้าผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมก็สามารถขายได้ด้วยตัวเอง

แต่จริง ๆ แล้วใครที่บอกกับคนอื่นว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองยอดเยี่ยมถึงขั้นนั้น บางทีเขาไม่หลอกคนอื่นอยู่ ก็กำลังหลอกตัวเอง เพราะผลิตภัณฑ์ต่อให้ดีแค่ไหน ก็ต้องการการขาย และการขายที่ดีจะต้องแนบเนียน

และจะได้ผลมากก็จะซับซ้อนมากถึงขั้นเมื่อคุณ ‘ไม่มีพนักงานขาย’

โดยยกตัวอย่างบริษัท พาลันเทียร์

บริษัทที่เขาร่วมก่อตั้ง ทำผลิตภัณฑ์ระบบวิเคราะห์ข้อมูล เขาไม่ได้จ้างพนักงานขายมารับผิดชอบเลย แต่ปล่อยให้เป็น หน้าที่ของซีอีโอ อเล็กซ์ คอร์ป ผู้ร่วมก่อตั้ง

เพราะของที่ขายมีราคาตั้งแต่ล้านดอลล่าร์ขึ้นไป และแน่นอนลูกค้าซื้อของราคาขนาดนี้ ต้องการคุยกับซีอีโอ มากกว่ารองประธานฝ่ายขาย

การขายแนบเนียน ที่ผมเคยเจอและคิดว่าจำเป็นมาก ก็คือการขายตัวเอง

ลองคิดว่าถ้าเป็นผู้หญิง แล้วเราจะทำให้ผู้ชายสักคนสนใจตัวเรา การจะพรีเซนต์ตัวเองว่าดีอย่างนู้นอย่าง  ก็ใช่ที่ มันดูไม่ดี จะให้ดีต้องให้คนอื่นมาโปรโมทให้แทน

ความสำเร็จไม่สูตรสำเร็จ

ปีเตอร์ ธีล บอกว่า

“สูตรสำเร็จของการเป็นผู้ประกอบการนั้นไม่มีอยู่จริง”

(คือไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวนั่นเอง)

เพราะนวัตกรรมทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงไม่สามารถกำหนดเป็นขั้นเป็นตอนได้

“แบบแผนอย่างเดียวที่ค้นพบ คือ คนที่สำเร็จจะมองเห็นคุณค่า ในที่ที่คาดไม่ถึง”

และพวกเขาทำเช่นนั้นบนฐานของ ‘หลักการคิด’ เรื่องธุรกิจ ‘ไม่ใช่สูตรสำเร็จ’

บางทีถ้าความสำเร็จ หรือ ความมั่นคง เป็นเหมือน เกาะ ๆ หนึ่ง เกาะ ๆ นั้น คงมีหลายเส้นทางให้เราเลือกไปยังเกาะ ซึ่งแต่ละเส้นทางไม่เหมือนกัน (ถึงแม้คนส่วนใหญ่นิยมไปทางเรือ)

วันที่ปีเตอร์ ธีล ถูกปฎิเสธให้ขึ้นเรือลำนั้นมันอาจหมายถึงถูกปฏิเสธแค่ขึ้นเรือลำหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีอีกหลายเส้นทางให้เราเลือกไป ถ้าเรายังคิดจะไปยังเกาะนั้น

ซึ่งเส้นทางของแต่ละคนที่ไปยังเกาะ ย่อมไม่เหมือนกัน อยู่ที่ใครจะเลือกเส้นทางไหน บางทีเราต้องเลือกเส้นทางของเราเอง ที่บางทีอาจไม่เหมือนคนอื่น หรือสร้างเส้นทางใหม่ขึ้นมา

ส่วนสำหรับปีเตอร์ ธีล เมื่อถูกปฏิเสธขึ้นเรือ เขาเลือก…ที่จะสร้างเกาะแห่งใหม่ขึ้นมา!

*สามารถหาอ่านหนังสือที่ Zero to One ที่ปีเตอร์ ธีลเป็นผู้เขียนได้ โดยมีแปลเป็นภาษาไทยแล้วครับ

//www.leaderwings.co/business/professor-startup/






 

Create Date : 29 มิถุนายน 2559
0 comments
Last Update : 29 มิถุนายน 2559 16:40:32 น.
Counter : 1454 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Querist
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add Querist's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.