<<
ธันวาคม 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
12 ธันวาคม 2566

การประชุมว่าด้วยการทำความเข้าใจประเทศจีน ประจำปี 2566: ความท้าทายและโอกาสในการบอกเล่าเรื่องราวของจีน

  • นายซุย เทียนข่าย อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐอเมริกา ร่วมถกประเด็นความสัมพันธ์จีน-สหรัฐอเมริกาในเชิงความคิดและเชิงเล่าเรื่อง
  • ศาสตราจารย์ หวง เหรินเว่ย รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน และกรรมการบริหารของสถาบันสายแถบและเส้นทางและธรรมาภิบาลโลกแห่งมหาวิทยาลัยฟูตัน กล่าวว่า การจากไปของนายเฮนรี อัลเฟรด คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้จุดประกายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคใหม่

การประชุมว่าด้วยการทำความเข้าใจประเทศจีน (Understanding China Conference) โดยสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน (China Institute for Innovation & Development Strategy) ได้จัดขึ้น ณ นครกว่างโจว ประเทศจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในหัวข้อ "ความพยายามครั้งใหม่ของจีนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกที่ไม่เคยมีมาก่อน การบรรจบกันของผลประโยชน์และการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน" ทั้งนี้ ในระหว่างงานเลี้ยงอาหารกลางวันได้มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดยนายซุย เทียนข่าย (Cui Tiankai) ที่ปรึกษาสภาสถาบันกิจการต่างประเทศของสภาประชาชนจีน และอดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐอเมริกา โดยประธานของงานเลี้ยงดังกล่าวคือนายเจิ้ง หยงเหนียน (Zheng Yongnian) ประธานสถาบันวิจัยเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าแห่งนครกว่างโจว (Guangzhou Guangdong Hong Kong Macao Greater Bay Area Research Institute) และหัวหน้าสถาบันวิจัยกิจการระหว่างประเทศเฉียนไห่ (Qianhai International Affairs Research Institute) มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (เซินเจิ้น)

นายซุย เทียนข่าย ได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการบอกเล่าเรื่องราวของจีนอย่างถูกต้องแม่นยำเพื่อนำเสนอแก่นแท้ของจีน พร้อมกับเน้นย้ำถึงความเข้าใจผิดในวงกว้างเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของจีน ได้แก่ เจตจำนงเชิงยุทธศาสตร์ระดับโลกของจีน นโยบายต่างประเทศรอบนอกของจีน และรูปแบบการทูตของจีน โดยเขาได้เลือก "ซุนหงอคง" เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของรูปแบบการทูตของจีน ซึ่งโดดเด่นในด้านความซื่อสัตย์ ความแน่วแน่ การแยกแยะดีชั่ว ความสามารถ และแง่มุมทางวัฒนธรรมจีนที่เด่นชัด

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ก่อนที่การประชุมครั้งนี้จะเปิดฉากขึ้น นายเฮนรี อัลเฟรด คิสซิงเจอร์ (Henry Alfred Kissinger) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้ถึงแก่กรรม

"หลายคนกล่าวถึงและยกย่องเขาในการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งนี้ เขาเป็นที่รู้จักเพราะมีความสนใจอย่างจริงจังในเรื่องของเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์ระดับโลก และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านภาวะผู้นำโลก" ศาสตราจารย์ หวง เหรินเว่ย (Huang Renwei) รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน (China Institute for Innovation & Development Strategy) และกรรมการบริหารของสถาบันสายแถบและเส้นทางและธรรมาภิบาลโลกแห่งมหาวิทยาลัยฟูตัน (Fudan Institute for Belt and Road and Global Governance) กล่าว

"การจากไปของคุณคิสซิงเจอร์เป็นการเปิดบทใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คุณคิสซิงเจอร์เคยกล่าวอยู่บ่อยครั้งว่า การเยือนจีนแต่ละครั้งนำมาซึ่งข้อมูลเชิงลึกและความรู้ใหม่ ๆ เขาคือสัญลักษณ์ของยุคสมัย ทว่าการจากไปของเขาไม่ได้ทำให้ยุคสมัยสิ้นสุดลง แต่กลับเป็นการจุดประกายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคใหม่"

วิดีโอ - https://mma.prnewswire.com/media/2296394/video.mp4 
วิดีโอ - https://mma.prnewswire.com/media/2296396/Video2.mp4




Create Date : 12 ธันวาคม 2566
Last Update : 12 ธันวาคม 2566 11:21:03 น. 0 comments
Counter : 693 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

The Imaginary Girl*
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add The Imaginary Girl*'s blog to your web]