<<
ธันวาคม 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
6 ธันวาคม 2566

CGTN: การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นเรื่องเร่งด่วน เวลาของเรากำลังหมด แต่ทางเลือกยังมีเหลือ

ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองที่เข้มแข็งและเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าปักกิ่งเป็นเมืองที่ปลอดภัยและมั่นคง พ้นภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ไม่ใช่ในฤดูร้อนปี 2566 เมื่ออุณหภูมิร้อนทะลุปรอท แต่ละวันร้อนจัดกว่า 40 องศาเซลเซียส และหลังจากที่ผ่านพ้นสภาพอากาศร้อนอบอ้าวได้ไม่นานก็เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม และผู้คนหลายพันคนต้องพลัดถิ่น

ขณะที่ปักกิ่งฟื้นตัว ความน่าหวาดกลัวแต่คล้ายคลึงกันนี้ก็กำลังปรากฏให้เห็นไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดของสหรัฐฯ ในรอบกว่าศตวรรษที่เมืองลาไฮนาของฮาวาย น้ำท่วมหนักที่ทำลายหนึ่งในสี่ของเมืองเดอร์นา ประเทศลิเบีย อากาศร้อนจัดและภัยแล้งที่เลวร้ายยิ่งขึ้นในชิลีและแถบจะงอยแอฟริกา ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในประเทศหมู่เกาะต่าง ๆ ซึ่งอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (Ant?nio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวไว้ว่า "มนุษยชาติได้เปิดประตูนรกเอาไว้" และ "เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่โลกที่อันตรายและไม่มั่นคง"

แม้กระดิ่งเตือนภัยจะดังขึ้นเรื่อย ๆ แต่เราไม่ควรหมดหวังและยอมแพ้ แต่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลงมือทำ โดยประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดสองแห่งของโลกอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ได้แสดงเจตจำนงทางการเมืองของตนผ่านปฏิญญาซันนีแลนด์ (Sunnylands Statement) และเมื่อมองย้อนกลับไปอีกสักนิด ตั้งแต่พิธีสารเกียวโตไปจนถึงความตกลงปารีส ก็ได้มีการกำหนดเป้าหมายที่มีผลผูกพัน เพื่อร่วมกันจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเกินที่กำหนดไว้

จีนได้ดำเนินการตามคำมั่นที่ให้ไว้ ในการบรรลุเป้าหมายปล่อยคาร์บอนถึงเพดานสูงสุดก่อนบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทะเลทราย การทำความสะอาดอากาศ ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เปลี่ยนโครงสร้างพลังงาน และสร้างความตระหนักรู้ให้สาธารณชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ จีนกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อปลูกฝังวงจรธรรมชาติที่ยั่งยืนมากขึ้น เพื่อชดใช้ผลกระทบที่ทำต่อสิ่งแวดล้อมไว้ก่อนหน้านี้ เลี่ยงสร้างปัญหาใหม่ ๆ และมุ่งอนุรักษ์โลกของเราด้วยวิธีที่สร้างสรรค์มากขึ้น

หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลก แต่ภาระกลับกระจายกันอย่างไม่เท่าเทียม ในด้านหนึ่ง ประเทศพัฒนาแล้วเป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซดักความร้อนเป็นส่วนใหญ่นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ในทางกลับกัน ประเทศกำลังพัฒนาปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า แต่กลับต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด คำมั่นสัญญาจากประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกบางแห่งไม่ได้แผ่ขยายออกไป เพราะติดกับปัญหาทางการเมือง อุปสรรคจากระบบราชการ ทั้งยังเกิดประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเร่งความช่วยเหลือจากธนาคารเพื่อการพัฒนาและผู้บริจาคภาคเอกชน

ความอยุติธรรมลุกไหม้อยู่ในใจกลางวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และเปลวไฟที่เกิดขึ้นก็แผดเผาความหวังและความเป็นไปได้ต่าง ๆ ดังที่บรรดาผู้นำโลกเตือนเอาไว้ว่า "เราดำเนินต่อไปไม่ได้" มีอา มอตต์ลีย์ (Mia Mottley) นายกรัฐมนตรีบาร์เบโดส กล่าว "หากให้เอาผลประโยชน์ของคนจำนวนหนึ่งมาก่อนชีวิตของคนจำนวนมาก"

การทำให้แน่ใจว่าการร่วมแรงร่วมใจจะให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่าแยกกันทำนั้นต้องอาศัยความเป็นผู้นำ วิสัยทัศน์ และการตกลงร่วมกันจากหลายฝ่าย โดยจีนพร้อมกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกกำลังเป็นผู้นำในการนำเสนอผลงานที่ดีที่สุด ลดราคาพลังงานหมุนเวียน แบ่งปันความรู้ในการดำเนินโครงการที่ยั่งยืน และเปลี่ยนผ่านสู่ยุคคาร์บอนต่ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลก เราจะเปลี่ยนเจตจำนงให้เป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้ก็ต่อเมื่อเราหันหน้าจับมือกัน และบรรเทาผลกระทบต่อสภาพอากาศที่เรามีส่วนทำให้เปลี่ยนไปได้




Create Date : 06 ธันวาคม 2566
Last Update : 6 ธันวาคม 2566 11:26:01 น. 0 comments
Counter : 661 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

The Imaginary Girl*
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add The Imaginary Girl*'s blog to your web]