<<
ธันวาคม 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
1 ธันวาคม 2566

โครงการแนวทางการลงทุนสีเขียวเปิดสำนักงานประจำภูมิภาคอาเซียนที่จาการ์ตา

โครงการแนวทางการลงทุนสีเขียว (Green Investment Principles หรือ GIP) ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ได้ขยายความครอบคลุมมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการเปิดสำนักงานประจำภูมิภาคอาเซียน หรือ อาเซียน แชปเตอร์ (ASEAN Chapter)

อาเซียน แชปเตอร์ ถือเป็นส่วนสำคัญภายใต้วิสัยทัศน์ในการสร้างเครือข่ายท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพเพื่อเผยแพร่ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ตลอดจนช่วยสร้างโอกาสการลงทุนสีเขียวในประเทศกำลังพัฒนา โดยถือเป็นสำนักงานประจำภูมิภาคแห่งที่สามต่อจากเอเชียกลางและแอฟริกา โดยมีนางมารี ปันเกสตู (Mari Pangestu) อดีตรัฐมนตรีว่าการทระทรวงพาณิชย์อินโดนีเซีย และอดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารโลก และนายริโน โดโนเซโปเอโตร (Rino Donosepoetro) รองประธานประจำอาเซียนของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นั่งเก้าอี้ประธานร่วมกัน

นายหม่า จุน (Ma Jun) ประธานร่วมของคณะกรรมการอำนวยการโครงการแนวทางการลงทุนสีเขียว และประธานคณะกรรมการการเงินสีเขียวแห่งประเทศจีน (China Green Finance Committee) กล่าวว่า "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นอย่างมากในอดีต กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านการเงินที่ยั่งยืน และอาเซียน แชปเตอร์ จะมีส่วนส่งเสริมการเติบโตของการเงินที่ยั่งยืนในอาเซียนผ่านการแบ่งปันความรู้และการเสริมสร้างขีดความสามารถ"

เซอร์ วิลเลียม รัสเซลล์ (William Russell) ประธานร่วมของคณะกรรมการอำนวยการโครงการแนวทางการลงทุนสีเขียว และอดีตนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน กล่าวว่า การเงินสีเขียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีช่องว่างอย่างมาก และ "นี่คือจุดที่โครงการแนวทางการลงทุนสีเขียวเข้ามามีบทบาท ความเคลื่อนไหวในวันนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกระชับความร่วมมือในทุกระดับ อีกทั้งยังเป็นการเรียกร้องให้สถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ ลงมือทำอย่างจริงจังด้วย"

นางมารี ปันเกสตู กล่าวว่า "อาเซียน แชปเตอร์ จะมุ่งเน้นไปที่แนวคิดริเริ่มสามประการ ได้แก่ การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน (ASEAN Taxonomy for Sustainable Finance) การระบุและพัฒนาโครงการที่เชื่อถือได้และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงการสร้างกรอบการทำงานเพื่อรับมือกับผลพวงทางการเงินและสังคมอันเป็นผลมาจากการเงินที่ยั่งยืน"

นายริโน โดโนเซโปเอโตร กล่าวว่า "อาเซียน แชปเตอร์ จะช่วยผลักดันการจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการสร้างและระบุโครงการที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และช่วยยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภูมิภาคจะเข้าร่วมโครงการแนวทางการลงทุนสีเขียวกันมากขึ้น และเราจะดำเนินการตามแนวคิดริเริ่มสามประการที่เรามุ่งมั่นจะทำให้สำเร็จ"

ในโอกาสนี้ นายโบบี เฮอร์นาวาน (Boby Hernawan) เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความพยายามของอินโดนีเซียในการขยายการเงินสีเขียว ขณะที่นายจิน จงเซี่ย (Jin Zhongxia) เจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางจีน ได้กล่าวถึงศักยภาพของอาเซียน แชปเตอร์ ในการทำหน้าที่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด นอกจากนี้ นางฟรานซิสกา โอเออิ (Fransiska Oei) หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ของสมาคมธนาคารอินโดนีเซีย (Perbanas) ได้เน้นย้ำถึงบทบาทของโครงการแนวทางการลงทุนสีเขียวในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ เช่น การขาดความเข้าใจในกฎระเบียบของสำนักงานบริการทางการเงินอินโดนีเซีย (OJK) ความสามารถด้านการเงินที่ยั่งยืนซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด และความจำเป็นในการสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งขึ้น

ในขั้นตอนต่อไป อาเซียน แชปเตอร์ จะจัดตั้งสภาที่ปรึกษา เพิ่มจำนวนสมาชิก ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเสริมสร้างขีดความสามารถและการจับคู่โครงการสีเขียว


 


Create Date : 01 ธันวาคม 2566
Last Update : 1 ธันวาคม 2566 13:38:32 น. 0 comments
Counter : 791 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

The Imaginary Girl*
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add The Imaginary Girl*'s blog to your web]